Ekonomi/Bisnis

Selasa, 31 Julai 2012

งานสัมมนานานาชาติว่าด้วยมุขปาฐะครั้งที่ 8 (SEMINAR INTERNASIONAL VIII ) ที่เมืองตันหยงปีนัง ประเทศอินโดเนเซีย

โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน
หลังจากที่ได้นำนักศึกษาสาขาวิชามลายูศึกษาไปลงภาคสนามรู้จักประเทศเพื่อนบ้าน หลังจากที่ได้เรียนรู้ในห้องเรียนที่มอ. ปัตตานีแล้ว  โดยเดินทางรอบแหลมมลายู  เข้าเมืองบาตัม ประเทศอินโดเนเซีย  ประเทศสิงคโปร์ รัฐซาบะห์ รัฐซาราวัค ประเทศมาเลเซีย และประเทศบรูไน เมื่อส่งนักศึกษาที่สถานีรถบัสปุตรา กรุงกัวลาลัมเปอร์แล้ว ข้าพเจ้ากับอาจารย์ซาวาวี  ปะดาอามีน ก็ได้เดินทางต่อไปยังรัฐโยโฮร์ เพื่อเข้าร่วมงานสัมมนาวิชาการว่าด้วยมุขปาฐะของโลกมลายู ที่เมืองตันหยงปีนัง จังหวัดหมู่เกาะเรียว ประเทศอินโดเนเซีย

ในตอนเย็นก็เดินทางถึงเมืองโยโฮร์บารู รัฐโยโฮร์ ต้องพักที่เมืองนี้หนึ่งคืน  เพราะเรือที่จะไปยังเมืองตันหยงปีนังนั้นมีในช่วงเช้าของอีกวันหนึ่ง  และในตอนเช้าของวันต่อมา เราก็ได้เดินทางไปยังท่าเรือนานาชาติสตูลังลาอุต ของเมืองโยโฮร์บารู ในช่วงนั้นก็ติดต่อ SMS กับเพื่อนชาวอินโดเนเซียที่จะเข้าร่วมงานสัมมนานั้นด้วย  แต่ได้รับแจ้งว่าเขาได้เดินทางออกจากเมืองตันหยงปีนัง โดยเดินทางไปร่วมงานอีกงานหนึ่งในเมืองบาตัม ด้วยเขาแจ้งว่าทางเจ้าภาพจัดงานไม่มีความเป็นมืออาชีพ มีกำหนดการที่มั่วมาก แต่เขาก็แจ้งว่าเมื่อถึงท่าเรือนานาชาติเมืองตันหยงปีนัง  ให้ไปที่สำนักงานวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวของเมืองตันหยงปีนัง ซึ่งตั้งอยู่ไม่ห่างจากท่าเรือมากนัก เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของสำนักงานดังกล่าวพาพวกเราไปยังที่จัดงานและโรงแรมที่พัก

ที่ท่าเรือนานาชาติเมืองตันหยงปีนัง เราทานอาหารที่ร้านใกล้ท่าเรือ  และต้องตกใจเมื่อมีผู้ชายคนหนึ่งพูดภาษาไทย และเรียกเราว่า “ลุง”  ได้ความว่าเขาเคยทำงานที่เกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี  ทำให้พูดภาษาไทยได้เล็กน้อย  พอถามถึงร้านอาหารอีบูซียัม (แม่สยาม) เขาไม่รู้จัก  นานมาแล้วเพื่อนข้าพเจ้าที่เคยศึกษาที่เมืองยอกยาการ์ตา บอกว่าเมื่อเขาเดินทางไปที่เมืองยอกยาการ์ตา  เขาจะเดินทางไปทางเรือ โดยไปขึ้นเรือที่เมืองตันหยงปีนัง  และจะพัก จะทานอาหารที่บ้านอีบูซียัม  เป็นคนใจดี  เป็นคนไทยที่แต่งงานกับชาวอินโดเนเซีย
 ที่ท่าเรือนานาชาติสตูลังลาอุต เมืองโยโฮร์บารู
 กับเรือที่จะเดินทางไปเมืองตันหยงปีนัง  อินโดเนเซีย
 บนเรือขณะกำลังวิ่งไปยังเมืองตันหยงปีนัง
 บนเรือที่วิ่งไปยังเมืองตันหยงปีนัง
 ทุ่นสีแดง เป็นทุ่นแบ่งเขตแดนระหว่างมาเลเซีย-สิงคโปร์
 ทุ่นสีเขียวเป็นทุ่นแบ่งเขตแดนระหว่างมาเลเซีย-สิงคโปร์
 เรือสิงคโปร์กำลังขนทราย เพื่อถมทะเล
 กัปตันเรือที่วิ่งไปยังเมืองตันหยงปีนัง
 กลางทะเล เจอเรือสำราญ Star Cruise

ชาวอินโดเนเซียที่เคยมาทำงานในประเทศไทย
 โปสเตอร์ที่ติดหน้าสำนักงานวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวฯ
โปสเตอร์ที่ติดหน้าสำหนักงานวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวฯ
โปสเตอร์ Save our Heritage
เมื่อทางเจ้าหน้าที่สำนักงานวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวเมืองตันหยงปีนังพาพวกเราไปถึงโรงแรมแล้ว  พวกเราต้องรอการเช็คอินโรงแรมเป็นเวลาค่อนข้างนานมาก เริ่มทำใจเหมือนอย่างที่คุณ Viddy ได้เตือนไว้  หลังจากได้ห้องพักแล้ว เราไปยังห้องสัมมนา  เพื่อถามกำหนดการงานสัมมนา  เมื่อได้ทราบกำหนดการสัมมนาแล้ว แทบทำใจไม่ได้ เมื่อรู้ว่าอีกประมาณ 10 กว่านาทีต่อไปเป็นช่วงที่ข้าพเจ้าต้องขึ้นเวทีร่วมกับนักวิชาการอื่นๆ ส่วนอาจารย์ซาวาวีโล่งอกหน่อย เพราะขึ้นเวทีในช่วงวันถัดไป  
ศาสตราจารย์ ดร. มูฮัมหมัด ฮัจญีซาและห์ บรรยายเรื่อง ฮังตูวะห์
ผู้เขียนทักทายศาสตราจารย์ ดร. ฮารุน  ดาวุด
กำลังบรรยายคลายเครียดด้วยเสียงหัวเราะของผู้เข้าร่วม
ศาสตราจารย์ ดร. มุคลิส ปาเอนี ชาวมักกาซาร์ กำลังบรรยาย
เก็บภาพที่ระลึก
อาจารย์ ซาวาวี กำลังบรรยาย
อาจารย์ ซาวาวีกำลังบรรยาย
งานสัมมนานานาชาติว่าด้วยมุขปาฐะครั้งที่ 8 นี้จัดพร้อมกันกับอีกงานหนึ่งที่ชื่อว่า Revitalisasi Budaya Melayu III (การฟื้นฟูวัฒนธรรมมลายู ครั้งที่ 3) สำหรับงานสัมมนานานาชาติว่าด้วยมุขปาฐะครั้งที่ 8 นี้ มีหัวข้อใหญ่ของการสัมมนาว่า From Memory to Reality (Dari Ingatan menjadi Kenyatakan) หรือจากความทรงจำสู่ความเป็นจริง ส่วนหัวข้อย่อยของการสัมมนาครั้งนี้ คือ

1.Melayu dan Globalisasi (Malay and Globalization).
2.Sempadan: Geopolitik, Sejarah, Warisan Budaya, dan Pengelolaan Tradisi Lisan (Border Space: Geopolitics, History, Heritage, and Safeguarding of Oral Traditions).
3.Perayaan Keberagaman: Keberagaman Hayati, Keberagaman Budaya, dan Perubahan Kebudayaan (Celebrating Diversity: Biodiversity, Cultural Diversity, and  Cultural  Changes).
4.Identitas  dan Pembentukan Karakter Bangsa untuk Perdamaian Dunia dan Kesejahteraan Masyarakat (Identity and Nation Character Building for Peace and Prosperity).
5.Tradisi Lisan di Masa Depan, Penguatan Komunitas, dan Industri Kreatif (Oral Tradition in the Future: Community Development, and Creative Industry).
 การแสดงงิ้ว
 การแสดงของคณะงิ้ว
 การแสดงของคณะงิ้ว
 การแสดงมะโย่งจากสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ผสมกับรัฐกลันตัน
 การเล่นดนตรีมลายู
 การเต้นของชาวมลายู
 การแสดงของชาวมลายู
การแสดงของชาวมลายู
การเข้าร่วมสัมมนาในครั้งนี้ของข้าพเจ้านั้น มาจากทางเจ้าภาพ ซึ่งนายกสมาคมมุขปาฐะแห่งประเทศอินโดเนเซียเป็นอาจารย์ของมหาวิทยาลัยอินโดเนเซีย ได้ติดต่อประสานกับทางตันศรี อิสมาแอล ฮุสเซ็น อดีตประธานสหพันธ์นักเขียนแห่งชาติมาเลเซีย (GAPENA) ให้เป็นผู้เสนอบทความวิชาการในการสัมมนาครั้งนี้ด้วย  แต่ทางตันศรี อิสมาแอล ฮุสเซ็นให้ทางเจ้าภาพติดต่อประสานกับคุณยามาล ตูกีมีน ชาวสิงคปร์ และข้าพเจ้า ดังนั้นการเดินทางของข้าพเจ้าจึงเป็นการเดินทางในนามของตันศรี อิสมาแอล ฮุสเซ็น ทางเจ้าภาพจะไม่ออกค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ส่วนอาจารย์ซาวาวี ได้รับเชิญให้ได้เสนอบทความวิชาการในฐานะได้รับการคัดเลือกจากเจ้าภาพ ทางเจ้าภาพจึงออกค่าใช้จ่ายในการเดินทางให้  การเดินทางของเราทั้งสองแค่สถานะของการไปก็เริ่มมั่วแล้ว  จึงแจ้งเพื่อนชาวอินโดเนเซียว่า เราทั้งสองทำงานด้วยกัน ทำงานห้องเดียวกัน โต๊ะทำงานก็ใกล้กัน และที่เจ้าภาพแจ้งว่าข้าพเจ้าทางเจ้าภาพไม่ออกค่าใช้จ่ายการเดินทางนั้น ไม่เพียงส่งมาทางอีเมล์ข้าพเจ้าเท่านั้น ที่แจ้งว่าอาจารย์ซาวาวีทางเจ้าภาพออกค่าใช้จ่ายการเดินทางให้ก็แจ้งผ่านอีเมล์ข้าพเจ้าด้วย !!!!!  บอกเพื่อนชาวอินโดเนเซียว่า วันหน้าถ้าทำอะไร ก็ให้เหมือนๆกัน  ถ้าได้ก็ได้ด้วยกัน ถ้าไม่ได้ ก็ให้ ไม่ได้ทั้งสองคน  สำหรับเราทั้งสองไม่มีปัญหา แต่คนอื่นในโอกาสต่อไป อาจมีปัญหา  หรือเกิดความรู้สึกไม่ดีต่อเจ้าภาพ
ถ่ายภาพกับนักวิชาการจากสหรัฐ
ถ่ายภาพกับนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยไลเดน เนเธอร์แลนด์
ถ่ายภาพกับนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยไลเดน เนเธอร์แลนด์
รับมอบหนังสือจากนักวิชาการมาเลเซีย
เจ้าหนูน้อยกับนักวิชาการชาวอินโดเนเซีย
ถามชาวอินโดเนเซีย
เล่นกับชาวอินโดเนเซีย
เล่นกับชาวอินโดเนเซีย
ดูภาพของตนเอง
พักที่ล๊อบบี้โรงแรม
เก็บภาพที่ระลึกสองนักวิชาการอินโดเนเซีย
สองชาวอินโดเนเซีย
กับชาวเมืองจัมบี สุมาตรา อินโดเนเซีย
กับชาวอินโดเนเซีย
การเข้าร่วมสัมมนาในเมืองตันหยงปีนัง จังหวัดหมู่เกาะเรียว ครั้งนี้ถือเป็นการพบปะเพื่อนเขา และการสร้างความรู้จักกับเพื่อนใหม่  นอกจากนั้นยังได้พบกับคุณสิริ สุกใส อดีตข้าราชการชั้นสูงของกระทรวงเกี่ยวกับศิลปะ วัฒนธรรมของประเทศมาเลเซีย ซึ่งได้รู้จักมาเป็นเวลานานแล้ว  โดยทางคุณสิริ สุกใสได้ร่วมกับทางศาสตราจารย์ ดร. ฮารุน  ดาวุด จากประเทศมาเลเซีย นำศิลปะการแสดงของจังหวัดชายแดนภาคใต้ไปแสดงในงาน Revitalisasi Budaya Melayu III (การฟื้นฟูวัฒนธรรมมลายู ครั้งที่ 3)  เป็นการแสดงมะโย่งที่มีการผสมกันระหว่างนักแสดงของจังหวัดชายแดนภาคใต้  รัฐกลันตัน มาร่วมกัน

ในช่วงงานสัมมนาทางเจ้าภาพได้พาไปยังสถานที่ต่างๆ  เช่น พาไปยังสถานที่ขายเสื้อผ้า  นอกจากนั้นยังได้พาไปเยี่ยมพิพิธภัณฑ์ของจังหวัดหมู่เกาะเรียว  ซึ่งแม้ว่าจะเป็นพิพิธภัณฑ์เล็กๆ แต่ก็ยังดีกว่าสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ไม่มีพิพิธภัณฑ์เป็นของตนเองเลย  ที่จะจัดทำในจังหวัดนราธิวาส ก็เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีเสียงภาพถ่ายเท่านั้น  นับว่าแตกต่างยิ่งกับจังหวัดหมู่เกาะเรียว
 เพื่อนชาวอินโดเนเซียหน้าพิพิธภัณฑ์
 เพื่อนชาวอินโดเนเซียหน้าพิพิธภัณฑ์
 ภายในพิพิธภัณฑ์จังหวัดหมู่เกาะเรียว
 สภาพภายในพิพิธภัณฑ์หมู่เกาะเรียว
 สภาพภายในพิพิธภัณฑ์จังหวัดหมู่เกาะเรียว
ปืืนเป็นของที่จัดแสดง
 ดาบเป็นสิ่งของที่จัดแสดง
 เครื่องใช้เป็นสิ่งของที่จัดแสดง
 เครื่องใช้เป็นสิ่งของที่จัดแสดง 
 ปืนขนาดเล็กเป็นสิ่งของที่จัดแสดง
ปืนใหญ่เป็นหนึ่งในสิ่งที่จัดแสดง
สำหรับแผนที่จะไปเยี่ยมเกาะปือญืองัตนั้น  ปรากฎว่าในช่วงดังกล่าว ฝนตก คลื่นแรง  ทำให้ไม่สามารถเดินทางไปยังเกาะปือญืองัต (Pulau Penyengat)  เมื่องานสัมมนาเสร็จสิ้นแล้ว ข้าพเจ้าจึงเดินทางไปเกาะปือญืองัตเอง   ด้วยได้รู้จักกับชาวเกาะนี้เมื่อครั้งร่วมงานที่รัฐมะละกา ต่อมาได้พบกับเขาอีกครั้งที่งานสัมมนาในครั้ง

สุสานราชาอาลีฮัจญี
 ที่สุสานราชาอาลีฮัจญี
ที่สุสานราชาอาลีฮัจญี
การเดินทางไปเกาะปือญืองัตถือเป็นโอกาสดีมาก  เพราะที่เกาะแห่งนี้เดิมเป็นศูนย์อำนาจหนึ่งของอาณาจักรโยโฮร์-เรียว  ได้ไปเยี่ยมสถานที่สำคัญๆบนเกาะ  รวมทั้งสุสานราชาอาลีฮัจญี ซึ่งถือเป็นนักววรณกรรมที่มีชื่อเสียงมากคนหนึ่งในโลกมลายู

Tiada ulasan:

Catat Ulasan