Ekonomi/Bisnis

Rabu, 18 Mei 2011

การเลือกตั้งประเทศสิงคโปร์ ปี 2011 กับการลาออกจากทุกตำแหน่งของนายลีกวนยิวและนายโก๊ะจ๊กตง

โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน

เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2011 นาย S R Nathan ประธานาธิบดีประเทศสิงคโปร์ โดยการแนะนำของนายกรัฐมนตรีได้ประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร และกำหนดวันรับสมัครในวันที่ 27 เมษายน 2011 ส่วนวันเลือกตั้งคือ วันเสาร์ ที่ 7 พฤษภาคม 2011 การเลือกตั้งครั้งนี้มีหลายพรรคลงสมัครรับเลือกตั้ง ผลปรากฎว่าพรรค The People's Action Party ซึ่งเป็นพรรคที่ผูกขาดครองอำนาจมาอย่างยาวนานตั้งแต่สิงคโปร์ได้รับเอกราช กลับได้คะแนนเสียงต่ำสุดในรอบ 52 ปี สิ่งนี้เป็นการส่งสัญญาณเตือนว่า กระแสความไม่พอใจของประชาชนชาวสิงคโปร์ที่มีต่อรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี ลี เซียน ลุง นั้นกำลังเพิ่มสูงขึ้นทุกขณะ

แผนที่สิงคโปร์แสดงพรรคการเมืองต่างๆที่ลงรับเลือกตั้ง

แม้ว่าพรรค The People's Action Party จะสามารถกวาดที่นั่งในรัฐสภาได้ถึง 81 ที่นั่ง จากทั้งหมด 87 ที่นั่ง แต่คะแนนเสียงที่กลับลดลงเหลือเพียงร้อยละ 60.14 ซึ่งเป็นการลดลงจากการเลือกตั้งทั่วไปครั้งก่อนเมื่อปี 2006 ถึงร้อยละ 6.46 จากจำนวนผู้ใช้สิทธิในการเลือกตั้งเกือบ 2 ล้าน 6 หมื่นคน ในจำนวนนั้นมีผู้ออกมาใช้สิทธิ์มากถึงร้อยละ 93 ขณะที่พรรคฝ่ายค้าน คือ พรรคคนงาน หรือ Workers' Party of Singapore ซึ่งเคยได้เพียงสองที่นั่งจากการเลือกตั้งเมื่อ 5 ปีก่อน กลับสามารถคว้าที่นั่งจากการเลือกตั้งครั้งนี้เพิ่มได้ถึง 6 ที่นั่ง โดยมีที่นั่งเพิ่มอีก 3 ที่นั่งจากส.ส. ในระบบ Non-constituency Member of Parliament

ป้ายหาเสียงของพรรคฝ่ายค้าน
การหาเสียงของพรรคฝ่ายค้าน

ส่วนคะแนนเสียงที่เรียกว่า popular votes ของพรรค The People's Action Party นั้นในการเลือกตั้งครั้งนี้ ร่วงลงไปเหลือแค่ร้อยละ 60.14 จากเดิมที่ได้ถึงร้อยละ 66.60 ในการเลือกตั้งเมื่อปี 2006

หลังการเลือกตั้งนายลีกวนยิวและนายโก๊ะจ๊กตง อดีตนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ ได้ประกาศลาออกจากทุกตำแหน่งทางการเมือง พร้อมยุติบทบาททางการเมือง ถือเป็นการถ่ายอำนาจจากนักการเมืองอาวุโส มาเป็นนักการเมืองรุ่นใหม่ โดยคณะรัฐมนตรีใหม่จะมีการโละรัฐมนตรีเก่าถึง 10 คน จากที่มีอยู่ 14 คน

ผลการเลือกตั้งปี 2011
พรรคการเมืองต่างๆที่เข้าร่วมในการเลือกตั้ง
ผลการเลือกตั้งของรัฐสภาสิงคโปร์
ผลการเลือกตั้งของรัฐสภาสิงคโปร์

สัญญลักษณ์พรรค People's Action Party

The People's Action Party (PAP) มีผู้นำชื่อ นาย Lee Hsien Loong
ผลการเลือกตั้งปี 2006 ได้ส.ส. 82 ที่นั่ง มีคะแนน popular votes ร้อยละ 66.60
ผลการเลือกตั้งปี 2011 ได้ส.ส. ลดลงเหลือ 81 ที่นั่ง มีคะแนน popular votes 1,212,514 คะแนนคิดเป็นร้อยละ 60.14 ลดลงจากเดิมร้อยละ 6.46

สัญญลักษณ์ของพรรค Workers' Party of Singapore

Workers' Party of Singapore (WP) มีผู้นำชื่อ นาย Low Thia Khiang
ผลการเลือกตั้งปี 2006 ได้ส.ส. 1 ที่นั่ง และได้ส.ส. ในระบบ Non-constituency Member of Parliament 1ที่นั่ง และมีคะแนน popular votes ร้อยละ 16.34

ผลการเลือกตั้งปี 2011 ได้ส.ส. 6 ที่นั่ง และได้ส.ส. ในระบบ Non-constituency Member of Parliament 2ที่นั่ง และมีคะแนน popular votes 258,510 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 12.83 คะแนนลดลงร้อยละ 3.51

สัญญลักษณ์ของพรรค Singapore People's Party

Singapore People's Party มีผู้นำพรรคชื่อ Chiam See Tong พรรคนี้จดตั้งขึ้นเมื่อปี 1994
เคยเป็นพรรคหนึ่งในพรรคแนวร่วมที่ใช้ชื่อว่า Singapore Democratic Alliance (SDA) โดยขณะนั้นมีนาย Chiam See Tong เป็นประธานพรรค Singapore Democratic Alliance (SDA)
ในการเลือกตั้งปี 2006 พรรคนี้ได้รับเลือกเป็นส.ส. 1 คน แต่ในการเลือกตั้งปี 2011 ปรากฎว่าพรรคนี้ไม่ได้รับเลือกแม้แต่คนเดียว แต่ได้ส.ส. ในระบบ Non-constituency Member of Parliament 1 ที่นั่ง

สัญญลักษณ์ของพรรค National Solidarity Party

National Solidarity Party มีผู้นำคือ ประธานพรรคชื่อ นาย Sebastian Teo เลขาธิการพรรคชื่อนาย Goh Meng Seng พรรค National Solidarity Party เคยเป็นพรรคหนึ่งในพรรคแนวร่วมที่ใช้ชื่อว่า Singapore Democratic Alliance (SDA) ต่อมาในปี 2007 พรรค National Solidarity Party แยกตัวออกจาก Singapore Democratic Alliance (SDA) ในการเลือกตั้งครั้งนี้พรรค National Solidarity Party ไม่ได้รับเลือกตั้งแม้แต่ที่นั่งเดียว แต่มีคะแนน popular votes ถึง 242,682 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 12.04

สัญญลักษณ์ของพรรค Singapore Democratic Party

Singapore Democratic Party มีผู้นำชื่อ นาย Chee Soon Juan สำหรับการเลือกตั้งครั้งนี้พรรค Singapore Democratic Party ไม่ได้รับเลือกตั้งแม้แต่ที่นั่งเดียว แต่มีคะแนน popular votes จำนวน 97,362 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 4.83 เพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 0.76

สัญญลักษณ์ของพรรค Reform Party (Singapore)

Reform Party (Singapore) มีผู้นำชื่อ นาย Kenneth Jeyaretnam เป็นบุตรชายของนาย Joshua Benjamin Jeyaretnam อดีตส.ส.และผู้นำฝ่ายค้านที่เสียชีวิตเมื่อ 30 กันยายน 2008 ขณะที่มีอายุได้ 82 ปี พรรคนี้จัดตั้งขึ้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2008 ในการเลือกตั้งครั้งนี้ พรรคนี้ไม่ได้รับเลือกตั้งแม้แต่ที่นั่งเดียว แต่มีคะแนน popular votes จำนวน 86,294 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 4.28

สัญญลักษณ์ของพรรคSingapore Democratic Alliance (SDA)

Singapore Democratic Alliance (SDA) มีผู้นำพรรคชื่อ นาย Desmond Lim พรรคนี้เป็นพรรคแนวร่วมที่ประกอบด้วย 4 พรรคการเมือง คือ พรรค National Solidarity Party (NSP), พรรค Singapore Justice Party (SJP), พรรค Singapore People's Party (SPP) และพรรค Singapore Malay National Organization (PKMS) ต่อมาพรรค National Solidarity Party (NSP) และพรรค Singapore People's Party (SPP) ได้ลาออกจากพรรค Singapore Democratic Alliance (SDA) พรรคนี้ไม่ได้รับเลือกตั้งแม้แต่ที่นั่งเดียว แต่มีคะแนน popular votes จำนวน 55,988 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 2.78 จากเดิมที่ได้ร้อยละ 12.99 ลดลงถึงร้อยละ 10.21

นายลีกวนยิว (Lee Kuan Yew)



นายลีกวนยิว หรือ นาย Harry Lee Kuan Yew เกิดเมื่อ16 กันยายน 1923 เป็นผู้สนับสนุนการจัดตั้งประเทศมาเลเซีย ว่ากันว่าการกำหนดวันที่ 16 กันยายน 1963 เป็นวันจัดตั้งประเทศมาเลเซียก็มาจากวันเกิดของนายลีกวนยิว

ครอบครัว
นายลีกวนยิว มาจากครอบครัวจีนฮกเกี้ยน เขาเป็นรุ่นที่ 4 ของครอบครัวที่อพยพมาจากประเทศจีนมาอาศัยอยู่ในประเทศสิงคโปร์ ปู่ทวดของเขาคือนาย Lee Bok Boon ได้อพยพมาจากกวางตุ้ง เข้ามายังประเทศสิงคโปร์ในปี 1862 เขาเป็นบุตรชายคนโตของนาย Lee Chin Koon และนาง Chua Jim Neo โดยมารดาของเขาเป็นชาวจีนฮกเกี้ยนบาหยายะหยา (Baba Nyonya) เขาเกิดที่บ้านเลขที่ 92 ถนนหมู่บ้านชวา (Jalan Kampung Jawa) ประเทศสิงคโปร์ เขาได้รับอิทธิพลมาจากปู่ของเขาที่ชื่อว่า Lee Hoon Leong โดยปู่เพิ่มชื่อให้เขาว่า Harry ดังนั้นเขาจะรู้จักในนามของ Harry Lee เขามาใช้ชื่อจีนของเขาเมื่อเข้าสู่วงการการเมืองสิงคโปร์ นายลีกวนยิวได้แต่งงานกับนาง Kwa Geok Choo เมื่อ 30 กันยายน 1950 โดยมีบุตรชาย 2 คน และบุตรสาว 1 คน

ชีวิตวัยเยาว์
ได้รับการศึกษาชั้นต้นที่ โรงเรียนประถมตะกูราว (Sekolah Rendah Teluk Kurau) ชั้นมัธยมปลายที่ Raffles Institution ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อสิงคโปร์ตกอยู่ภายใต้อำนาจของญี่ปุ่น การศึกษาของเขาต้องหยุดลงระหว่างปี 1942 ถึง 1945 โดยในปี 1943ถึง 1944 เขาทำงานเป็นผู้ตรวจภาษาอังกฤษให้กับ Hodobu ซึ่งเป็นหน่วยประชาสัมพันธ์ของญี่ปุ่น

การศึกษาอุดมศึกษา
ภายหลังสงครามโลกคร้งที่ 2 ยุติลง เขาเข้าศึกษาด้านกฎหมายต่อที่ Fitzwilliam College ของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ หลังจากจบการศึกษาแล้ว เขากลับประเทศสิงคโปร์ในปี 1949 เพื่อเป็นทนายความที่ สำนักทนายความ Laycock & Ong
การจัดตั้งพรรคกิจประชาชน พรรคนี้มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า People's Action Party และมีชื่อเป็นภาษามลายูว่า Parti Tindakan Rakyat โดยมีชื่อย่อว่า PAP ประสบการณ์แรกทางการเมืองของนายลีกวนยิวคือช่วยหาเสียงให้กับหัวหน้าของเขาที่ชื่อว่า John Laycock ภายใต้พรรคก้าวหน้า (Progresive Party) พรรคที่สนับสนุนอังกฤษ ในการเลือกตั้งปี 1951

ต่อมาในปี 1954 เขาร่วมกับปัญญาชนชนชั้นกลางประชุมจัดตั้งพรรคกิจประชาชน โดยจัดประชุมที่ Victoria Memorial Hall มีผู้เข้าร่วมรวมทั้งสหภาพแรงงานประมาณ 1,500 คน เข้าร่วมจัดตั้งพรรคในครั้งนี้ นอกจากนั้นมี Tunku Abdul Rahman Putra ผู้นำพรรค UMNO และนาย Tan Cheng Lock ผู้นำพรรคสมาคมจีนมาเลเซีย หรือ Malaysia Chinese Association(MCA) ในการจัดตั้งพรรคคร้งนั้น ผู้ที่เป็นประธานพรรค People's Action Party คือ นาย Toh Chin Chye ส่วนนายลีกวนยิวเป็นเลขาธิการพรรคคนแรก



เป็นผู้นำฝ่ายค้าน
นายลีกวนยิวชนะการเลือกตั้งในปี 1955 โดยเขตส.ส.เขต Tanjong Pagar เขาเป็นผู้ต่อต้านนาย David Saul Marshall (ต่อมาเป็นประธานาธิบดีสิงคโปร์)จากพรรคแรงงาน เขาเป็นหนึ่งในตัวแทนจากพรรค People's Action Party ที่เดินทางไปกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษเพื่อเจรจาถึงสถานะและรัฐธรรมนูญของสิงคโปร์ สถานะในพรรค People's Action Party ของเขาสั่นคลอน เมื่อกลุ่มคอมมิวนิสต์สามารถยึดครองพรรค People's Action Party ต่อมา Lim Yew Hock ผู้นำรัฐบาลสิงคโปร์ทำการจับกุมบรรดาผู้นำกลุ่มคอมมิวนิสต์ทั้งนอกและในพรรค People's Action Party ทำให้สถานะของเขามั่นคงขึ้น

นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์
ในการเลือกตั้งเมื่อ 1 มิถุนายน 1959 ปรากฏว่า People's Action Party ชนะการเลือกตั้ง 43 ที่นั่งจากทั้งหมด51 ที่นั่ง ทำให้นายลีกวนยิวกลายเป็นนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์คนแรก รับตำแหน่งเมื่อ 5 มิถุนายน 1959 โดยอังกฤษยอมให้สิงคโปร์ปกครองตนเอง ยกเว้นกิจการทางการทหารและการต่างประเทศ ผู้ที่เป็นผู้นำรัฐบาลสิงคโปร์ก่อนหน้านี้คือนาย Lim Yew Hock โดยมีตำแหน่งเป็นมุขมนตรี หรือ Chief Minister of Singapore

การจัดตั้งประเทศมาเลเซีย
ในปี 1961 ตนกูอับดุลราห์มาน ปุตรา นายกรัฐมนตรีสหพันธรัฐมาลายา ได้เสนอให้มีการจัดตั้งประเทศมาเลเซีย โดยรวมสหพันธรัฐมาลายา สิงคโปร์ รัฐซาบะห์ และรัฐซาราวัคเข้าด้วยกัน จึงมีการสำรวจประชามติเมื่อ 1 กันยายน 1962 ปรากฏว่าร้อยละ 70 เห็นด้วยกับการรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศมาเลเซีย ดังนั้นเมื่อ16 กันยายน 1963 จึงเกิดประเทศใหม่ที่ชื่อว่าประเทศมาเลเซีย ประกอบด้วยสหพันธรัฐมาลายา สิงคโปร์ รัฐซาบะห์ และรัฐซาราวัค

การแยกตัวของสิงคโปร์
นายลีกวนยิว ลงพื้นที่แก้ไขปัญหาการจลาจล
การจลาจลระหว่างเชื้อชาติที่ Kallang Gasworks
การจลาจลระหว่างเชื้อชาติที่ Kallang Gasworks
การจลาจลระหว่างเชื้อชาติที่ Kallang Gasworks

ภายหลังจากการจัดตั้งประเทศมาเลเซียแล้ว ปรากฏว่ามีปัญหาภายใน และเมื่อ 21 กรกฎาคม 1964 เกิดจลาจลระหว่างเชื้อชาติมลายูกับจีนขึ้นที่ Kallang Gasworks สิงคโปร์ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 23 คน และบาดเจ็บอีกนบร้อยคน เริ่มจากการเดินขบวนเนื่องในโอกาสวันเมาดิลราซุล หรือฉลองวันเกิดของศาสดามูฮัมหมัด(ซ.ล.) มีการขว้างขวดเข้าไปในขบวนดังกล่าว ทำให้ทั้ง Tunku Abdul Rahman Putra นายกรัฐมนตรีมาเลเซียและนายลีกวนยิว ต้องลงสนามเพื่อแก้ไขปญหานี้ ต่อมา Tunku Abdul Rahman Putra นายกรัฐมนตรีมาเลเซียได้ตัดสินให้สิงคโปร์แยกตัวออกจากมาเลเซีย โดยมีการประชุมกันในวันที่ 7 สิงหาคม 1965 และนายลีกวนยิวได้ประกาศทางโทรทัศน์แยกตัวออกจากมาเลเซีย ในวันที่ 9 สิงหาคม 1965

นายโก๊ะ จ๊กตง (Goh Chok Tong)


เกิดเมื่อ 20 พฤษภาคม 1941 ที่ประเทศสิงคโปร์ มีบิดาชื่อนาย Goh Kah Khoon ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว กับนาง Quah Kwee Hwa เขาได้แต่งงานกับนาง Tan Choo Leng เมื่อปี1965 มีบุตรชาย 1 คน และบุตรสาว 1 คน

การศึกษา
เรียนชั้นมัธยมปลายระหว่างปี 1955-1960 ที่ Raffles Institution ประเทศสิงคโปร์
จบปริญญาตรีด้านเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ โดยเรียนระหว่างปี 1961-1964
และจบปริญญาโทด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ จากวิทยาลัยวิลเลี่ยมส์ (Williams College) สหรัฐอเมริกา วิทยาลัยที่มีชื่อเสียงของสหรัฐ ซึ่งก่อตั้งเมื่อปี 1793 โดยเรียนจบในปี 1967

กิจกรรมและตำแหน่งทางการเมือง

เป็นส.ส. จากพรรค People's Action Party ตั้งแต่ปี 1976
เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรม (Trade and Industry) ในปี 1979-81
เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธาณสุข (Health) ในปี 1981
เป็นรองนายกรัฐมนตรี ในปี 1985-90
เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (Defence) ในปี 1982-91
เป็นนายกรัฐมนตรี ระหว่างวันที่ 28 พฤศจิกายน 1990 – 12 มีนาคม 2004
เป็นรัฐมนตรีอาวุโส ในปี 2004-วันที่ประกาศลาออก

Tiada ulasan:

Catat Ulasan