Ekonomi/Bisnis

Sabtu, 21 Mei 2011

สัมผัสประเทศเพื่อนบ้าน : ประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดเนเซีย (ตอนที่ 1)

โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน

แผนที่ประเทศมาเลเซีย

ความเป็นมาของโครงการ
ความเดิมนั้น นักศึกษาวิชาเอกภาษามลายูของม. สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เมื่อครั้งจบการศึกษาปีที่ 3 แล้ว ในช่วงภาคฤดูร้อนของปีการศึกษาดังกล่าว จะต้องไปเรียนภาษามลายูที่ประเทศมาเลเซีย จะเป็นเวลา 2 อาทิตย์ หรือ 1 เดือน แล้วแต่ทางเจ้าภาพจะเป็นผู้กำหนด รวมทั้งการเจรจาต่อรองของ ผศ.ดร. วรวิทย์ บารู ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นวุฒิสภาจากจังหวดปัตตานีในฐานะผู้รับผิดชอบจากทาง ม. สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี โดยทางเจ้าภาพจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดในขณะที่นักศึกษาเหล่านั้นอยู่ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ หน่วยงานที่เป็นเจ้าภาพในประเทศมาเลเซียนั้นคือ Dewan Bahasa dan Pustaka มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า The Institute of Language and Literature เดิมหน่วยงานนี้มีชื่อว่า Balai Pustaka จัดตั้งขึ้นเมื่อ 22 มิถุนายน 1956 มีสถานะเป็นหน่วยงานหนึ่งของกระทรวงศึกษาธิการ

เริ่มจากโครงการทางเลือก
เมื่อปี ได้รับแจ้งจากทาง Dewan Bahasa dan Pustaka ว่าจำนวนนักศึกษาวิชาเอกภาษามลายูของม. สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ที่จะเข้าร่วมโครงการเรียนภาษามลายูที่กรุงกัวลาลัมเปอร์นั้น ต้องแบ่งโควต้าให้กับนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา หรือที่รู้จักในจังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า “กูเลียะห์ยะลา”ด้วย ถ้าเป็นไปตามนั้น จะทำให้มีนักศึกษาวิชาเอกภาษามลายูของม. สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จำนวนหนึ่งไม่สามารถจะเดินทางไปเรียนภาษามลายูได้ ด้วยต้องเสียโควต้าให้กับนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ทำให้ผศ.ดร. วรวิทย์ บารู ต้องหาที่รองรับในประเทศมาเลเซียให้กับนักศึกษาที่ต้องเสียโควต้า

และเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2549 ผู้เขียนต้องไปประชุมด้านเศรษฐกิจที่สำนักงานวางแผนเศรษฐกิจของรัฐมะละกา และรับปากกับผศ.ดร. วรวิทย์ บารู ว่าจะลองคุยกับทางรัฐมะละกา เพื่อช่วยหาที่รองรับนักศึกษาที่ต้องเสียโควต้า ที่สำนักงานวางแผนเศรษฐกิจของรัฐมะละกาวันนั้น ผู้เขียนต้องยกแม่น้ำทั้งห้า หาเหตุผลเพื่อให้ทางรัฐมะละการับนักศึกษาที่ต้องเสียโควต้า ซึ่งมีประมาณ 20 คน ปรากฎว่าผู้บริหารของรัฐมะละกาบางส่วนไม่ค่อยจะเต็มใจรับ โดยให้เหตุผลเรื่องที่พัก และปัญหาอีกหลายเรื่อง แต่สิ่งที่ผู้เขียนประทับใจจนถึงวันนี้ คือ รศ. ดร. อาบูบาการ์ รองอธิการบดีสถาบันอุดมศึกษาแห่งหนึ่งที่สังกัดรัฐบาลท้องถิ่นรัฐมะละกา ประกาศรับนักศึกษาที่ต้องเสียโควต้าดังกล่าว พร้อมกล่าวว่าทางสถาบันของท่าน พร้อมให้ที่พัก ผู้เขียนจึงนำผลจากการพูดคุยกับทางรัฐมะละกามาแจ้งให้กับผศ.ดร. วรวิทย์ บารู

เกิดจากการป้องกันข้อผิดพลาด
การป้องกันข้อผิดพลาดเป็นสิ่งที่ดีที่สุด นอกจากรัฐมะละกาแล้ว ผู้เขียนยังได้พูดคุยกับเพื่อนเก่าคนหนึ่ง ซึ่งเคยทำกิจกรรมนักศึกษามาด้วยกัน ในยุคที่สมาพันธ์นักศึกษาเอเชีย (ASA – Asian Students Association) ยังรุ่งเรือง โดยเพื่อนเก่าคนนี้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของรัฐปาหัง
ทางเพื่อนเก่าเห็นด้วยกับการรับนักศึกษาที่ต้องเสียโควต้า แต่ขอเปลี่ยนรูปแบบจากการเรียนภาษามลายูตาม Dewan Bahasa dan Pustaka มาเป็นโครงการครอบครัวอุปถัมภ์ (Projek Keluarga Angkat) โดยนักศึกษาจะได้เรียนรู้ภาษามลายูตามธรรมชาติ มีการเรียนรู้วิถีชีวิตชาวมลายูในประเทศมาเลเซีย ผู้เขียนเห็นด้วยและมีความมั่นใจเป็นอย่างมาก เชื่อว่าถ้าการส่งนักศึกษาที่ต้องเสียโควต้าดังกล่าว ไปยังรัฐมะละกาล้มเหลว ก็ยังมีรัฐปาหังเป็นแหล่งรองรับ

อย่างไรก็ตามในเวลาต่อมา ทางมหาวิทยาลัยอิสลามยะลาได้ยกเลิกการส่งนักศึกษาไปเรียนภาษามลายูที่ Dewan Bahasa dan Pustaka ทำให้นักศึกษาจากม. สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ที่ต้องเสียโควตานั้นสามารถเดินทางไปเรียนภาษามลายูร่วมกับเพื่อนๆได้ ทางผศ.ดร. วรวิทย์ บารู จึงแจ้งแก่ผู้เขียนว่าโครงการที่ผู้เขียนไปพูดคุยกับทางรัฐมะละกาและรัฐปาหังนั้น ก็ขอให้ดำเนินการต่อไป โดยให้นักศึกษาวิชาเอกมลายูศึกษาเข้าร่วมโครงการแทน

โครงการครอบครัวอุปถัมภ์
นับตั้งแต่นั้นโครงการของนักศึกษาวิชาเอกมลายูศึกษาก็เริ่มขึ้น โดยดำเนินการโครงการครอบครัวอุปถัมภ์ที่รัฐปาหัง และทางเพื่อนเก่าได้ประสานกับทางรัฐนัครีซัมบีลันให้รับโครงการครอบครัวอุปถัมภ์ด้วย เพื่อจะได้เรียนรู้จารีตประเพณีของชาวรัฐนัครีซัมบีลันที่ยึดถือจารีตประเพณีอาดัตเปอร์ปาเตะห์ (Adat Perpateh) ซึ่งยึดถือฝ่ายมารดาเป็นหลัก (Matrilial) ต่อมาจึงเป็นธรรมเนียมที่โครงการครอบครัวอุปถัมภ์ของนักศึกษาวิชาเอกมลายู จะต้องมีครอบครัวอุปถัมภ์ที่รัฐปาหัง และรัฐนัครีซัมบีลัน แต่บางปีก็เปลี่ยนจากรัฐนัครีซัมบีลันเป็นรัฐเปรัค แต่ที่ขาดไม่ได้คือการไปทำความรู้จักกับรัฐมะละกาและกรุงกัวลาลัมเปอร์

เปลี่ยนมาเป็นโครงการท่องเที่ยวแบบผจญภัย (Adventure Tour)
ครั้งหนึ่งขณะที่พานักศึกษาวิชาเอกมลายูศึกษาเข้าร่วมโครงการครอบครัวอุปถัมภ์ เมื่อเดินทางถึงรัฐกลันตัน โดยเข้าร่วมฝึกภาษา ศิลปะและวัฒนธรรมมลายู ที่ Dewan Bahasa dan Pustaka เขตฝั่งตะวันออก (รัฐกลันตัน รัฐตรังกานู และรัฐปาหัง) เป็นเวลา 3 วัน ขณะที่กำลังจะเดินทางสู่รัฐปาหัง ได้รับแจ้งจากรัฐปาหังว่าโครงการครอบครัวอุปถัมภ์ ต้องเลื่อน ด้วยรัฐบาลมาเลเซียมีการเปลี่ยนแปลงคณะรัฐมนตรี ทำให้เพื่อนเก่าต้องเปลี่ยนกระทรวง และในพื้นที่ไม่มีความพร้อมนอกจากต้องเลื่อนเวลาการเดินทางเท่านั้น ผู้เขียนจึงเปลี่ยนโครงการกระทันหันมาเป็นการเดินทางรอบแหลมมลายู เพื่อรู้จักรัฐต่างๆในแหลมมลายูและประเทศสิงคโปร์

เมื่อสรุปผลของโครงการ ทำให้เห็นว่าการเดินทางรอบแหลมมลายูและประเทศสิงคโปร์ ทำให้เกิดผลกับนักศึกษามากกว่า นักศึกษารู้จักรัฐต่างๆของมาเลเซียมากกว่าเดิม รู้จักวิถีชีวิต สภาพความเป็นไปของบ้านเมืองในรัฐต่างๆ มากกว่าโครงการครอบครัวอุปถัมภ์ แต่ถ้าจะให้ดีต้องมีการบูรณาการระหว่างโครงการครอบครัวอุปถัมภ์ โครงการเดินทางรอบแหลมมลายูและประเทศสิงคโปร์ และโครงการฝึกอบรมภาษา ศิลปะ และวัฒนธรรมมลายูเข้าด้วยกัน ดังนั้นในช่วงภาคฤดูร้อนของปีนี้ จึงเป็นโครงการบูรณาการ โดยเดินทางแบบผจญภัยในรัฐต่างๆ รอบแหลมมลายู ประเทศสิงคโปร์ ประเทศอินโดเนเซีย การฝึกอบรมภาษา ศิลปะ และวัฒนธรรมมลายูที่ Dewan Bahasa dan Pustaka เขตฝั่งตะวันออก (รัฐกลันตัน รัฐตรังกานู และรัฐปาหัง) และการอยู่อาศัยกับครอบครัวอุปถัมภ์ที่รัฐเปรัค แต่การฝึกอบรมภาษา ศิลปะ และวัฒนธรรมมลายูที่ Dewan Bahasa dan Pustaka รัฐกลันตันต้องเลิก ด้วยสาเหตุจากเวลาและการเปลี่ยนผู้บริหารของหน่วยงาน ส่วนครอบครวอุปถัมภ์ที่รัฐเปรัคก็ต้องเลิกไป ด้วยนักศึกษาวิชาเอกมลายูศึกษาเข้าฝึกอบรมเป็นเวลา 7 วันที่มหาวิทยาลัยมาลายา กรุงกัวลาลัมเปอร์

จากโครงการ Study Abroad ประเทศเพื่อนบ้านมาเป็นโครงการ Fieldwork ประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดเนเซีย
ด้วยทางม. สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มีนโยบายส่งเสริมให้นักศึกษาไปเรียนรู้ยังต่างประเทศ หรือที่เรียกว่า Study Abroad โดยทางคณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์กล่าวว่า ถ้าไปประเทศไกลๆไม่ได้ เอาแค่ประเทศมาเลเซีย ประเทศเพื่อนบ้านที่ติดชายแดนกับจังหวดชายแดนภาคใต้ก็ได้ ถ้าไปนานๆไม่ได้ เอาแค่สักอาทิตย์ก็ได้ ผู้เขียนจึงเสนอโครงการไปยังคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยเป็นโครงการ Study Abroad ประเทศเพื่อนบ้าน แม้จะยังมีการถกเถียงว่าจริงๆแล้ว Study Abroad คืออะไร ต้องใช้เวลาเท่าไร มีลักษณะอย่างไร ต้องเป็นการเรียนรู้ในห้องเรียนในประเทศนั้นๆเท่านั้นหรือ

ดังนั้นเมื่อพิจารณาโครงการ Study Abroad ประเทศเพื่อนบ้านที่ผู้เขียนเสนอ จึงเห็นว่าก็ยังคงเข้าข่าย Study Abroad เพราะมีการเรียนรู้ในห้องเรียนกับทาง Dewan Bahasa dan Pustaka รัฐกลันตัน แถมยังได้ความรู้มากกว่า เมื่อได้เดินทางไปยังรัฐต่างๆ ในแหลมมลายู ได้สัมผัสสังคมมาเลเซียที่เป็นจริง ดีกว่าได้จากการเรียนรู้ในห้องสี่เหลี่ยมที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ส่วนถ้าจะใช้คำว่า Study Tour ผู้เขียนมีความรู้สึกว่าการเดินทางของนักศึกษาวิชาเอกมลายูศึกษาในครั้งนี้ยังห่างไกลจากคำว่า Study Tour เพราะปกติแล้ว การเดินทางแบบ Study Tour ค่อนข้างจะมีความสะดวก สบาย นอนโรงแรม มีการเหมารถ มีผู้ประสานงานอำนวยความสะดวก มีความเป็นทางการมากกว่า

ส่วนหนึ่งของผู้เข้าร่วมโครงการ

นางสาวอิลฮัม กูเต๊ะ

นางสาวรุมนี มะมิง

นางสาวอาฟีนี โต๊ะแว

นางสาวฟาตีฮะห์ บองอแม

นายซุลกีฟลี มะกูวิง

การเดินทางของนักศึกษาวิชาเอกมลายูศึกษาในครั้งนี้น่าจะเรียกว่า การเดินทางแบบ Adventure Tour มากกว่า Study Tour เพราะนักศึกษาวิชาเอกมลายูศึกษา ไม่เพียงนอนในโรงแรม หรือบนรถเท่านั้น แต่บางคืนต้องนอนที่สถานีขนส่ง นอนในมัสยิด หรือแม้แต่นอนที่สนามบิน ส่วนการอาบน้ำนั้นบางครั้งต้องอาบน้ำที่สถานีขนส่ง ดังนั้นในนาทีสุดท้ายในการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเทศมาเลเซีย หรืออินโดเนเซีย รวมทั้งผ้าป้าย ผู้เขียนจึงเปลี่ยนจากคำว่าโครงการ Study Abroad มาเป็นโครงการ Fieldwork ซึ่งผู้เขียนเห็นว่าน่าจะเหมาะสมกว่า เป็นการสัมผัสพื้นที่ นำประสบการณ์จากพื้นที่ที่ได้สัมผัสเพื่อไปประยุกต์กับเรียนรู้ภาคทฤษฎีในห้องเรียนสี่เหลี่ยมเล็กๆ ที่ม. สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีต่อไป ดังนั้นชื่อโครงการนี้ในภาษาอังกฤษจึงเป็น “2011 Thailand-Malaysia-Singapore-Indonesia Fieldwork Project” ก่อนที่จะเป็นรูปเป็นร่างนั้น เราตกลงว่าจะเดินทางไปยังรัฐต่างๆ รอบแหลมมลายู แล้วเข้าไปยังประเทศสิงคโปร์ จากนั้นเดินทางไปยังเกาะบาตัม จังหวัดหมู่เกาะเรียว ประเทศอินโดเนเซีย ซึ่งเป็นเกาะที่อยู่ใกล้ประเทศสิงคโปร์

ต่อมาเราได้งบวิจัยจากมหาวิทยาลัยมาลายา ประเทศมาเลเซีย บวกกับงบส่วนหนึ่งจากวิชาเอกมลายูศึกษา ทำให้เราสามารถเดินทางไปไกลกว่าที่เราวางแผน ดังนั้นนอกจากรัฐต่างๆ ในแหลมมลายู และสิงคโปร์แล้ว เราจึงยังมีพื้นที่ให้เลือกอีก 2 พื้นที่ พื้นที่แรก คือ ไปรัฐซาบะห์ รัฐซาราวัค และประเทศบรูไน ส่วนพื้นที่ที่สองคือ ไปประเทศอินโดเนเซีย โดยมีเป้าหมายที่กรุงจาการ์ตา เมืองบนดุง และเมืองโบโกร์ ในที่สุดตกลงเลือกพื้นที่ที่สอง สำหรับผู้ร่วมโครงการในส่วนของนักศึกษามีทั้งหมด 14 คน ในจำนวนนี้เป็นนักศึกษาวิชาเอกภาษามลายู 1 คน นอกจากนักศึกษาแล้ว ยังมีผู้ร่วมเดินทางด้วยจำนวนหนึ่ง โดยช่วงเดินทางรัฐต่างๆรอบแหลมมลายูมี 2 คน ช่วงเดินทางไปประเทศอินโดเซียพร้อมนักศึกษาเพิ่มอีก 2 คน ต่อมามีผู้ร่วมเดินทางไปประเทศอินโดเนเซียภายหลังเพิ่มอีก 1 คน และในช่วง 4-5 วันสุดท้ายที่ประเทศอินโดเนเซียมีผู้ร่วมเพิ่มอีก 2 คน สรุปได้ว่ามีผู้ร่วมโครงการ “2011 Thailand-Malaysia-Singapore-Indonesia Fieldwork Project” ทั้งหมด 21 คน โดยผู้ที่มีอายุน้อยที่สุดที่เข้าร่วมโครงการ คือ เด็กชายนิฮัสซันฮามีดีปุตรา บินนิฮัสซัน อายุ 5 ขวบ เป็นการร่วมเดินทางไปยังรัฐต่างๆของแหลมมลายูครั้งที่ 2 เดินทางไปยังประเทศสิงคโปร์เป็นครั้งที่ 4 และเดินทางไปยังประเทศอินโดเนเซียเป็นครั้งที่ 3



และการเดินทางครั้งนี้ทางรายการโทรทัศน์ ช่อง ThaiPBS คือรายการ "ดี สลาตัน ณ แดนใต้" ได้อนุเคราะห์อุปกรณ์ถ่ายวิดีโอ สำหรับเก็บภาพตลอดการเดินทางของเรา ซึ่งส่วนหนึ่งสามารถใช้ในรายการดังกล่าว ในช่วง "มองเพื่อนบ้าน"

แผนที่รัฐกลันตัน

รัฐกลันตัน
รัฐกลันตันมีชื่อเต็มว่า รัฐกลันตัน ดารุลนาอิม (Kelantan Darul Naim)
ประมุขของรัฐกลันตัน คือ สุลต่านมูฮัมหมัดที่ 5 (Sultan Muhammad V)
ผู้นำฝ่ายบริหาร หรือ มุขมนตรี คือ ดาโต๊ะ นิอับดุลอาซีซ บินนิมัต (Dato' Bentara Setia Haji Nik Abdul Aziz bin Nik Mat)

เป็นรัฐที่ติดต่อกับจังหวัดนราธิวาส รัฐกลันตันมีความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์กับจังหวัดชายแดนภาคใต้ ราชวงศ์ของรัฐกลันตันมาจากปัตตานี และราชวงศ์เจ้าเมืองปัตตานีคนสุดท้ายนั้นมาจากกลันตัน ความสัมพันธ์ของประชาชนรัฐกลันตันกับประชาชนจังหวัดชายแดนภาคใต้จึงเป็นความสัมพันธ์ของเครือญาติ มีวัฒนธรรม ภาษาพูดที่เหมือนกัน ถ้าภาษามลายูกลางพูดว่า มากัน (กิน) มาลัม(กลางคืน) ซือรัง(จู่โจม) ภาษามลายูกลันตันกับภาษามลายูจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือที่รู้จักในนามภาษามลายูปัตตานี จะพูดว่า มาแก (กิน) มาแล(กลางคืน) ซือแร(จู่โจม)
ส่วนคำที่ตามด้วย – า เช่น อาปา (อะไร) อาดา(มี) ภาษามลายูกลันตันกับภาษามลายูภาษามลายูปัตตานี จะพูดว่า อาปอ (อะไร) อาดอ(มี)

รัฐกลันตัน มีประชาการทั้งหมด 1,678,000 คน และแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 10 อำเภอ ประกอบด้วย
1. อำเภอโกตาบารู (Jajahan Kota Bharu)
2. อำเภอกัวมูซัง (Jajahan Gua Musang)
3. อำเภอบาเจาะ (Jajahan Bachok)
4. อำเภอกัวลาไกร (Jajahan Kuala Krai)
5. อำเภอมาจัง (Jajahan Machang)
6. อำเภอปาเซร์มัส (Jajahan Pasir Mas)
7. อำเภอปาเซร์ปูเตะห์ (Pasir Puteh)
8. อำเภอตานะห์แมเราะห์ (Jajahan Tanah Merah)
9. อำเภอตุมปัต (Jajahan Tumpat)
10.อำเภอเยอลี (Jajahan Jeli)
และมีการจัดตั้งกิ่งอำเภอเมื่อปี 2010 มีชื่อว่า กิ่งอำเภอโลยิง (Jajahan Kecil Lojing)

วันแรกของการเดินทาง วันที่ 21 เมษายน 2011
ผู้เขียนเองต้องเคลียร์งานที่ค้างๆก่อนการเดินทาง ทำให้ต้องเสียเวลากับสิ่งเหล่านี้ ทำให้ต้องให้คณะนักศึกษาวิชาเอกมลายูศึกษาเดินทางไปล่วงหน้า เวลา ประมาณ 07.35 น. คณะนักศึกษาวิชาเอกมลายูศึกษาได้เริ่มออกเดินทางจาก ม. สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เพื่อเข้าสู่ประเทศมาเลเซีย ตามโครงการ “2011 Thailand-Malaysia-Singapore-Indonesia Fieldwork Project”เป้าหมายแรกคือตลาดตาบา อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ประตูสู่รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย
เมื่อนักศึกษาวิชาเอกมลายูศึกษาเดินทางมาถึงตลาดตาบา ต้องเสียเวลารอผู้เขียนที่เดินทางมาที่หลัง รวมทั้งทานอาหารเช้า การแลกเปลี่ยนเงินตรา การประทับตราหนังสือเดินทาง ทำให้เกือบเที่ยงวันจึงสามารถเดินทางข้ามไปยังตลาดปังกาลันกูโบร์ ที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองตลาดตาบา นักศึกษาวิชาเอกมลายูศึกษาก็ได้เรียนรู้การเข้า-ออกระหว่างชายแดนประเทศไทยกับประเทศมาเลเซีย ซึ่งบางอย่างก็ไม่มีเขียนในตำรา หรือไม่อาจเขียนในตำราได้

ภาพระลึกกับคุณซีตีอาแอเสาะ อูมาร์ รุ่นพี่ศิษย์เก่าเอกมลายูศึกษาที่เคยร่วมเดินทางไปรัฐซาบะห์และประเทศฟิลิปปินส์

ภาพฝั่งตลาดปังกาลันกูโบร์ อำเภอตุมปัต รัฐกลันตัน

บนเฟอร์รี่ระหว่างตลาดตาบา อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาสกับตลาดปังกาลันกูโบร์ อำเภอตุมปัต รัฐกลันตัน

นักศึกษามลายูศึกษาบนเฟอร์รี่ระหว่างตลาดตาบากับตลาดปังกาลันกูโบร์

นักศึกษามลายูศึกษาบนเฟอร์รี่ระหว่างตลาดตาบากับตลาดปังกาลันกูโบร์

บนรถบัสกำลังเดินทางจากตลาดปังกาลันกูโบร์เข้าเมืองโกตาบารู

เราเดินทางจากตลาดปังกาลันกูโบร์ ไปยังเมืองโกตาบารูนั้น เราขึ้นรถบัสของบริษัท SKMK หรือ Syarikat Kenderaan Melayu Kelantan ซึ่งเป็นบริษัทรถบัสที่ผูกขาดการขนส่งภายในรัฐกลันตัน บริษัท SKMK จัดตั้งขึ้นในปี 1947 ในนามของบริษัท North Eastern Transport Service Limited (NETS) ในปี 1957 ได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากหน่วยงานรัฐที่ชื่อว่า MARA ต่อมาทาง MARA ได้เข้าไปดูแลการบริหาร และในปี 1967 ได้เปลี่ยนชื่อจากบริษัท North Eastern Transport Service Limited (NETS) มาเป็นบริษัท Syarikat Kenderaan Melayu Kelantan (SKMK) บริษัทเป็นรัฐวิสาหกิจจนถึงปี 2000 จึงมีการขายกิจการให้บริษทเอกชนที่ชื่อว่า บริษท Nadicorp Holding ในการเดินทางเข้าเมืองโกตาบารูครั้งนี้ เราไม่ลืมที่จะชมชุมชนชาวมาเลเซีย เชื้อสายไทยพุทธที่ชุมชนบ้านบ่อเสม็ด หรือ ชุมชนเตอรือเบาะ (Terbak) อำเภอตุมปัต ที่ตั้งอยู่ริมทางระหว่างทางไปเมืองโกตาบารู เพราะต้องการให้นักศึกษาวิชาเอกมลายูศึกษาได้รู้จักชุมชนนี้บ้าง ด้วยพวกเราที่อยู่ฝั่งไทย เวลาไปรัฐกลันตัน หรือ จะลงภาคสนามของมหาวิทยาลัยก็ดี หน่วยงานวิจัยก็ดี มักลงพื้นที่นี้ด้วย นักศึกษาวิชาเอกมลายูศึกษาจะได้บอกกับเพื่อนๆในมหาวิทยาลัยว่า ชุมชนนี้พวกเราก็เคยผ่านมาแล้ว

เราถึงตัวเมืองโกตาบารู เมืองเอกของรัฐกลันตันค่อนข้างจะเย็น เมื่อนักศึกษาวิชาเอกมลายูศึกษาเข้าโรงแรมที่พักแล้ว ก็อาบน้ำ แต่ค่อนข้างจะเสียเวลาด้วยห้องน้ำมีจำนวนไม่เพียงพอกับจำนวนนักศึกษาที่มีถึง 14 คน ในวันแรกนี้ช่วงกลางคืน ได้ไปกินอาหารที่ Medan Selera เป็นพื้นที่ว่างสำหรับเปิดขายอาหารในช่วงกลางคืน ส่วนหนึ่งของผู้ค้าขายจะเป็นคนจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในคืนนี้นักศึกษาวิชาเอกมลายูศึกษาได้เรียนรู้ถึงการขายเม็ดมะม่วงหิมพานต์ที่ตลาดกลางคืนเมืองโกตาบารู ซึ่งเป็นสินค้าที่นำมาจากชุมชนปะการอ ไม่ห่างจากม. สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

หน้าป้ายบรรยายตลาดสดซีตีคาดีเยาะห์ เมืองโกตาบารู

หน้าป้ายบรรยายตลาดสดซีตีคาดีเยาะห์ เมืองโกตาบารู

สินค้าที่ผลิตจากอินโดเนเซีย

สภาพตลาดขายสินค้าเสื้อผ้าในเมืองโกตาบารู

สภาพตลาดสดซีตีคาดีเยาะห์ ในเมืองโกตาบารู

เม็ดมะม่วงหิมพานต์ที่ขายในตลาดสดซีตีคาดีเยาะห์ ในเมืองโกตาบารู

เม็ดมะม่วงหิมพานต์ที่ขายในตลาดสดซีตีคาดีเยาะห์ ในเมืองโกตาบารู

นักศึกษามลายูศึกษาที่แผงขายกล้วยในตลาดสดซีตีคาดีเยาะห์ เมืองโกตาบารู

สภาพตลาดสดที่ Medan Selera เมืองโกตาบารู

สภาพตลาดสดที่ Medan Selera เมืองโกตาบารู

เก็บภาพที่ระลึกตลาดสดที่ Medan Selera เมืองโกตาบารู

นักศึกษามลายูศึกษาหน้าแผงขายไก่สดที่ตลาดสดซีตีคาดีเยาะห์ เมืองโกตาบารู

นักศึกษามลายูศึกษากำลังสำรวจตลาดสดซีตีคาดีเยาะห์ เมืองโกตาบารู

นักศึกษามลายูศึกษากำลังสำรวจตลาดสดซีตีคาดีเยาะห์ เมืองโกตาบารู

นักศึกษามลายูศึกษาหน้าที่ทำการพรรคอิสลามแห่งมาเลเซีย หรือ พรรคปาส

บรรยากาศวันศุกร์ที่ดาโต๊ะนิอับดุลอาซีซ นิมัต มุขมนตรีรฐกลันตันบรรยายธรรม หน้าที่ทำการพรรคอิสลามแห่งมาเลเซีย หรือ พรรคปาส

บรรยากาศวนศุกร์ที่ดาโต๊ะนิอับดุลอาซีซ นิมัต มุขมนตรีรฐกลันตันบรรยายธรรม หน้าที่ทำการพรรคอิสลามแห่งมาเลเซีย หรือ พรรคปาส

แผนผังแสดงถึงพิพิธภัณฑ์ของรัฐกลันตันที่มีถึง 6 แห่ง

เก็บภาพที่ระลึกกลางเมืองโกตาบารู

เก็บภาพที่ระลึกหน้าพิพิธภัณฑ์แห่งรัฐกลันตัน เมืองโกตาบารู


เก็บภาพที่ระลึกกลางเมืองโกตาบารู

เก็บภาพที่ระลึกหน้าอาคารธนาคารหรืออาคารการคลงที่เรียกว่า Bank Kerapu กลางเมืองโกตาบารู

เก็บภาพที่ระลึกหน้าอาคาร Tabung Haji กลางเมืองโกตาบารู

เก็บภาพที่ระลึกหน้าอาคาร สำนักงานการท่องเที่ยวมาเลเซีย (Tourism Malaysia)กลางเมืองโกตาบารู

เก็บภาพที่ระลึกหน้าอาคาร สำนักงานสภาปฏิบัติการการท่องเที่ยวมาเลเซีย (Majlis Tindakan Pelancongan Malaysia)กลางเมืองโกตาบารู

เก็บภาพที่ระลึกหน้าอาคาร สำนักงานสภาปฏิบัติการการท่องเที่ยวมาเลเซีย (Majlis Tindakan Pelancongan Malaysia)กลางเมืองโกตาบารู

เก็บภาพที่ระลึกหน้าอาคารสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งรัฐกลันตัน (Pusat Penerangan Pelancongan Negeri Kelantan)กลางเมืองโกตาบารู

เที่ยวห้าง KB Mall กลางเมืองโกตาบารู

เจอนักเรียนจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มาเรียนภาษาอังกฤษที่ห้าง KB Mall กลางเมืองโกตาบารู

หน้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยี่มารา(UiTM) วิทยาเขตเมืองโกตาบารู

ป้ายซอยราชาปาตานี ซอยที่อดีตเจ้าเมืองปัตตานีเคยอาศัย หลังจากที่อพยพออกจากเมืองปัตตานี

เก็บภาพที่ระลึกห้าป้ายชื่อซอยราชาปาตานี

รอรถบัสที่ป้ายรถในเมืองโกตาบารู

วันที่สองของการเดินทาง วันที่ 22 เมษายน 2011
วันที่สองนี้ นักศึกษาวิชาเอกมลายูศึกษา ได้เริ่มออกสำรวจเมืองโกตาบารู สำหรับเมืองโกตาบารูนี้ มีประชากร609,886 คน ถือเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดด้านฝั่งตะวันนอกของแหลมมลายู โดยวันนี้ช่วงเช้าราว 7 โมงเช้า นักศึกษาวิชาเอกมลายูศึกษาไปเดินทางไปสำรวจตลาดสดที่ชื่อ Pasar Siti Khadijah และตลาดบริเวณ Medan Selera เพื่อดูการซื้อขายพืชผัก ซึ่งส่วนหนึ่งนำเข้ามาจากประเทศไทย วันนี้นักศึกษาวิชาเอกมลายูศึกษาได้เรียนเกี่ยวกับเศรษฐกิจ นอกจากดูตลาดสดแล้ว ยังได้ดูอาคารสำนักงานของหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการทำฮัจญ์ ที่ชื่อว่า Tabung Haji ช่วงเช้านี้ ยังมีการเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ของรัฐกลันตัน ซึ่งรัฐกลันตันมีพิพิธภัณฑ์อยู่ทั้งหมดถึง 6 แห่ง

ไปเยี่ยมชมอาคารสำนักงานของพรรคอัมโน (พรรคฝ่ายค้านในรัฐกลันตัน) สำนักงานการส่งเสริมการท่องเที่ยวของรัฐกลันตัน ตอนกลับยังที่พัก ยังโชคดีอีกด้วย ขณะผ่านสำนักงานพรรคปาส (พรรครัฐบาลของรัฐกลันตัน) ด้วยวันนี้เป็นวันศุกร์ นักศึกษาสามารถเห็นสภาพท่านมุขมนตรีรัฐกลันตันกำลังบรรยายธรรม เมื่อกลับถึงที่พัก แต่ละคนก็พักผ่อนเพื่อเอาแรงไว้เดินดูสถานที่ต่างๆในตอนบ่าย ซึ่งจะมีอาคารศาลชั้นต้น ศาลสูง อาคารสำนักงานหน่วยงานรัฐบาลสหพันธรัฐที่ชื่อว่า Wisma Persekutuan อาคารสำนักงานบรรษัทพัฒนาเศรษฐกิจแห่งรัฐกลันตัน (Kelantan State Economic Development Corperation) อาคารสำนักงานเทศบาลเมืองโกตาบารู

ผู้เขียนตัดสินให้นักศึกษาพักที่เมืองโกตาบารู 2 คืน ด้วยที่โรงแรมที่พักนั้นค่อนข้างจะถูก และนักศึกษาจะได้รู้จักเมืองโกตาบารูยิ่งขึ้น ในช่วงตอนเย็นนักศึกษาเริ่มออกไปสำรวจ ดูตลาดเมืองโกตาบารูเองได้แล้ว พอช่วงกลางคืน แต่ละคนก็ออกไปกินอาหารเอง รู้สึกว่านักศึกษาเริ่มมั่นใจในตัวเองมากขึ้น แม้ว่าบางคนจะเพิ่งมาเมืองโกตาบารูเป็นครั้งแรกก็ตาม ด้วยเวลาที่ค่อนข้างมีจำกัด ทำให้โครงการที่จะให้นักศึกษาได้พบปะกับนักเขียนของรัฐกลันตันต้องเลิกไป

สองนักศึกษามลายูศึกษาเตรียมเดินทางไปรัฐตรังกานู

นักศึกษามลายูศึกษาเตรียมเดินทางไปรัฐตรังกานู

วันที่สามของการเดินทาง วันที่ 23 เมษายน 2011
สำหรับวันที่สามของการเดินทางนี้ จะเป็นการเดินทางจากเมืองโกตาบารู รฐกลนตัน ไปยังเมืองกัวลาตรังกานู เมืองเอกของรัฐตรังกานู

แผนที่รัฐตรังกานู

รัฐตรังกานู
รัฐตรังกานูมีชื่อเต็มว่า รัฐตรงกานู ดารุลอีมาน (Terengganu Darul Iman)
ประมุขของรัฐ คือ สุลต่านมีซาน ไซนาลอาบีดิน (Sultan Mizan Zainal Abidin) เป็นพระองค์ได้รบเลือกให้เป็นพระราชาธิบดี หรือ Yang Di Pertuan Agong ของประเทศมาเลเซีย
ผู้นำฝ่ายบริหาร หรือ มุขมนตรี คือ ดาโต๊ะอาหมด ซาอิด (Dato' Ahmad Said )
รัฐตรังกานู มีประชากรทั้งหมด 1,148,496 คน โดยแบ่งเขตการปกครองได้ 7 อำเภอ คือ

1.อำเภอกัวลาตรังกานู (Kuala Terengganu)
2.อำเภอเบอซุต (Besut)
3.อำเภอดูงุน (Dungun)
4.อำเภอเกอมามัน (Kemaman)
5.อำเภอมารัง (Marang)
6.อำเภอเซอติว (Setiu)
7.อำเภอฮูลูตรงกานู (Hulu Terengganu)

เมืองกัวลาตรังกานู (Kuala Terengganu)
นายกเทศมนตรี ชื่อ ดาโต๊ะมัตราซาลี กสซิม (Datuk Mat Razali Kassim)
ประชากรมีทั้งหมด 396,433 คน

ในช่วงเช้า ขณะที่อยู่ที่เมืองโกตาบารู รัฐกลันตัน นักศึกษาต้องรีบเร่งทำภารกิจส่วนตัว เพื่อให้ทันเวลารถบัสที่จะไปเมืองกัวลาตรังกานู ซึ่งจะออกเวลา เวลา08.30 น. หลังจากนั้นจึงเดินทางไปยังเมืองกัวลาตรังกานู เมืองเอกของรัฐตรังกานู โดยใช้เวลา 3 ชั่วโมง ถึงเมืองกัวลาตรังกานู 11.30 น. หลังจากทานอาหารเช้าควบเที่ยงที่สถานีรถขนส่งกัวลาตรังกานูเสร็จแล้ว คณะนักศึกษาวิชาเอกมลายูศึกษาจึงเดินทางไปยังอุทยานอารยธรรมอิสลาม หรือ Taman Tamadun Islam สำหรับอุทยานอารยธรรมอิสลามนี้รัฐบาลท้องถิ่นรัฐตรังกานูใช้งบประมาณถึง 249 ล้านริงกิต (ประมาณ 2,490 ล้าน) มีการนำพื้นที่ที่ไม่ค่อยได้ใช้ประโยชน์สักเท่าไร มาพัฒนาเป็นอุทยานอารยธรรมอิสลาม มีการจำลองมัสยิดต่างๆจากทั่วโลก มาย่อส่วนสร้างขึ้นในอุทยานแห่งนี้ สำหรับประเทศไทยก็มีการจำลองมัสยิดกลาง จังหวัดปัตตานีด้วย

นักศึกษาบนรถบัสขณะกำลังไปเมืองกัวลาตรังกานู

ที่ทำการพรรคสมาคมจีนมาเลเซีย (Malaysia Chinese Association) ประจำเมืองเบอซุต รัฐตรังกานู มีธงอยู่ 3 เสา เป็นธงพรรคการเมือง ธงมาเลเซีย และธงรัฐตรังกานู

ห้องสมุดประชาชนแห่งรัฐตรังกานู อาคารใหญ่โต

หน้ารถบัสทรงบ้านเพื่อเดินทางไปยังอุทยานอารยธรรมอิสลาม

ตราสัญญลักษณ์อุทยานอารยธรรมอิสลาม

แผนผังอุทยานอารยธรรมอิสลาม หรือ Taman Tamadun Islam

ซุ้มทางเข้าอุทยานอารยธรรมอิสลาม

อาคารจำลองมัสยิดอัล-ซัคเราะห์ ที่อุทยานอารยธรรมอิสลาม ซึ่งชาวมุสลิมส่วนใหญ่เข้าใจผิดว่าเป็นมัสยิดอัล-อักซอ ที่ดินแดนปาเลสไตน์

ภาพแสดงระหว่างมัสยิดอัล-ซัคเราะห์ กับมัสยิดอัล-อักซอ ที่ดินแดนปาเลสไตน์

ภาพแสดงระหว่างมัสยิดอัล-ซัคเราะห์ กับมัสยิดอัล-อักซอ ที่ดินแดนปาเลสไตน์

ภาพแสดงระหว่างมัสยิดอัล-ซัคเราะห์ กับมัสยิดอัล-อักซอ ที่ดินแดนปาเลสไตน์

ภาพแสดงระหว่างมัสยิดอัล-ซัคเราะห์ กับมัสยิดอัล-อักซอ ที่ดินแดนปาเลสไตน์

อาคารจำลองมัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี

อาคารจำลองมัสยิดซามาร์รา ประเทศอิรัค

อาคารจำลองมัสยิดอัล-มานาร์ กูดุส ประเทศอินโดเนเซีย

ภาพมัสยิดคริสตัล ในช่วงกลางคืน

ภาพมัสยิดคริสตัล ในช่วงกลางคืน

ภาพมัสยิดคริสตัล

เก็บภาพที่ระลึกหน้ามัสยิดคริสตัล รัฐตรังกานู

เก็บภาพที่ระลึกบริเวณอุทยานอารยธรรมอิสลาม

เก็บภาพที่ระลึกบริเวณอุทยานอารยธรรมอิสลาม

เก็บภาพที่ระลึกบริเวณอุทยานอารยธรรมอิสลาม

วันนี้เกิดผิดพลาดด้านการสื่อสาร ด้วยได้ประสานติดต่อกับผู้อำนวยการ และรองผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์แห่งรัฐตรังกานู ทางเขาแจ้งว่าวันนี้(สำหรับผู้บริหาร)วันหยุด จึงเข้าใจว่าพิพิธภัณฑ์แห่งรัฐตรังกานูไม่เปิดบริการ เราจึงเพียงแวะชมด้านออกของพิพิธภัณฑ์เท่านั้น

ถึงอย่างไรก็ได้สัมผัสอาคารพิพิธภัณฑ์แห่งรัฐตรังกานู ที่ชาวรัฐตรังกานูภาคภูมิใจนักว่าเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ก็ไม่เสียเที่ยว เพราะรองผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์แห่งรัฐตรังกานูเสนอให้มีการจัดสัมมนาเกี่ยวกับความสมพันธ์ประเทศไทยกับรัฐตรังกานู นอกจากนั้นคณะนักศึกษามลายูศึกษาได้เดินทางชมสภาพเมืองกัวลาตรังกานู และถือเป็นการเรียนรู้ภาษาถิ่นภายในตัว จากรัฐกลันตันที่พูดด้วย ออ ออ แอ แอ มาเป็นรัฐตรังกานูที่พูดด้วย เออ เออ อัง อัง

แผนผังอาคารพิพิธภัณฑ์แห่งรัฐตรังกานู

อาคารพิพิธภัณฑ์แห่งรัฐตรังกานู ถือเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อาคารพิพิธภัณฑ์แห่งรัฐตรังกานู

สิ่งที่ผู้เขียนค่อนข้างจะภูมิใจในตัวนักศึกษาคือ ส่วนหนึ่งมีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ มีการจดบันทึกตลอดของการเดินทาง การที่รถบัสออกตอนกลางคืน ทำให้เรามีเวลาที่จะทำความรู้จักกับเมืองกัวลาตรังกานู ดังนั้นเราจึงตัดสินใจไม่นอนที่เมืองนี้ เพื่อความสบายใจ เมื่อรถบัสจากเมืองโกตาบารู มาถึงสถานีรถบัสเมืองกัวลาตรังกานู เราจึงซื้อตั๋วโดยสารเพื่อไปยังเมืองกวนตันทันที โดยรถบัสออกเดินทางจากเมืองกัวลาตรังกานู เวลา 20.30 น.

บริเวณสถานีรถบัส ขณะรอรถบัสเพื่อเดินทางไปเมืองกวนตัน รัฐปาหัง

บริเวณร้านอาหาร ที่สถานีรถบัส ขณะรอรถบัสเพื่อเดินทางไปเมืองกวนตัน รัฐปาหัง

บนรถบัส ขณะกำลังเดินทางไปเมืองกวนตัน รัฐปาหัง

วันที่สี่ของการเดินทาง วันที่ 24 เมษายน 2011

แผนที่รัฐปาหัง

รัฐปาหัง
รฐปาหัง มีชื่อเต็มว่า ปาหัง ดารุลมะอมูร์ (Pahang Darul Makmur)
ประมุของรัฐปาหง คือ สุลต่าน อาหมด ชาห์ (Sultan Ahmad Shah) พระองค์เคยดำรงตำแหน่งเป็นพระราชาธิบดีของประเทศมาเลเซีย
ผู้นำฝ่ายบริหาร หรือ มุขมนตรี คือ ดาโต๊ะ อัดนัน ยะกู๊บ (Adnan Yaakob )

รัฐปาหังมีประชากร ทั้งหมด 1,574,259 คน แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 11 อำเภอ คือ

1.อำเภอกวนตัน(Kuantan)
2.อำเภอเบอรา(Bera)
3.อำเภอคาเมรอนไฮแลนด์(Cameron Highlands)
4.อำเภอเยอรันตุต(Jerantut)
5.อำเภอเบินตง (Bentong)
6.อำเภอลีปีส(Lipis)
7.อำเภอมารัน(Maran)
8.อำเภอเปอกัน(Pekan)
9.อำเภอราอุบ(Raub)
10.อำเภอรอมปิน(Rompin)
11.อำเภอเตอเมอร์โละห์(Temerloh)

ส่วนเมืองกวนตัน เมืองเอกของรัฐปาหังมีประชาการ 607,778 คน
รัฐปาหังยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่ออยู่ 3 แห่ง คือ Genting Highlands, Cameron Highlands และ Bukit Fraser

สำหรับการเดินทางของนกศึกษาวิชาเอกมลายูศึกษานั้น เราเดินทางถึงเมืองกวนตัน เมืองเอกรัฐปาหัง เวลาเกือบเที่ยงคืน เราต้องนอนที่สถานีรถขนส่งเมืองกวนตันจนเช้าตรู่ ที่สถานีรถบัสเมืองกวนตันแห่งนี้ถือเป็นจุดแรกของการเดินทางในคร้งนี้ที่จะทดสอบความอดทนต่อความยากลำบาก ความกล้าผจญภัย ของนักศึกษา เพราะครั้งนี้คือครั้งแรกที่เราต้องนอนที่สถานีรถบัส แม้ผู้เขียนจะมีเครือข่ายนักเขียน นักวิชาการ หรือร่วมทั้งผู้ที่เคยมาใช้บริการของ ม. สงขลาคริทร์ วิทยาเขตปัตตานี แต่ผู้เขียนไม่ได้ประสานกับบุคคลเหล่านั้น แม้แต่ ดาโต๊ะยะกู๊บ อีซา อดีตรองผู้อำนวยการศึกษาธิการแห่งรัฐปาหัง ท่านผู้อาวุโสที่พร้อมจะให้การต้อนรับหรือช่วยเหลือ

ขณะเพิ่งมาถึงเมืองกวนตันบริเวณสถานีรถบัสเมืองกวนตัน รัฐปาหัง

ขณะเพิ่งมาถึงเมืองกวนตันบริเวณสถานีรถบัสเมืองกวนตัน รัฐปาหัง

ขณะเพิ่งมาถึงเมืองกวนตันบริเวณสถานีรถบัสเมืองกวนตัน รัฐปาหัง

บริเวณสถานีรถบัสเมืองกวนตัน รัฐปาหัง

บริเวณสถานีรถบัสเมืองกวนตัน รัฐปาหัง นักศึกษาบันทึกประสบการณ์การเดินทางของตนเอง

บริเวณสถานีรถบัสเมืองกวนตัน รัฐปาหัง นักศึกษาบันทึกประสบการณ์การเดินทางของตนเอง

บริเวณสถานีรถบัสเมืองกวนตัน รัฐปาหัง นักศึกษาบันทึกประสบการณ์การเดินทางของตนเอง

บริเวณสถานีรถบัสเมืองกวนตัน รัฐปาหัง นักศึกษาบันทึกประสบการณ์การเดินทางของตนเอง

เช้าตรู่ของวันนี้ นักศึกษาได้ออกไปสำรวจตลาดเช้าที่ต้งอยู่บริเวณไม่ห่างจากสถานีรถบัส ได้ซื้ออาหารเช้าเพื่อไปกินที่ร้านอาหารไทย บริเวณสถานีรถบัส ร้านอาหารนี้ทุกครั้งที่ผู้เขียนมาเยี่ยมเมืองกวนตันมักจะแวะกินอาหารบ้านเรา แต่ปีนี้ไม่เหมือนปีก่อน ร้านอาหาร Terminal Tomyam ใหญ่ขึ้น มีการขยายจากห้องเดี่ยวมาเป็นสองห้อง มีความเป็นมาตราฐานมากขึ้น ที่น่าแปลกใจ ร้านต้มยำร้านนี้ยังมี "มุมอาหารตะวันตก" น่าภูมิใจแทนเจ้าของร้านชาวนราธิวาสคนนี้

สำรวจตลาดเช้าใกล้สถานีรถบัสเมืองกวนตัน รัฐปาหัง

สำรวจตลาดเช้าใกล้สถานีรถบัสเมืองกวนตัน รัฐปาหัง

สำรวจตลาดเช้าใกล้สถานีรถบัสเมืองกวนตัน รัฐปาหัง

สำรวจตลาดเช้าใกล้สถานีรถบัสเมืองกวนตัน รัฐปาหัง

สำรวจตลาดเช้าใกล้สถานีรถบัสเมืองกวนตัน รัฐปาหัง

ร้านอาหารชื่อ Terminal Tomyam ของชาวนราธิวาส

ภายในร้านอาหารชื่อ Terminal Tomyam ข้างสถานีรถบัสเมืองกวนตัน รัฐปาหัง

หลังจากกินอาหารเช้าเสร็จ เราก็ซื้อตั๋วโดยสารเพื่อไปยังเมืองโยโฮร์บารู โดยเลือกเวลารถบัสออกในตอนกลางคืน เผื่อจะได้มีเวลาเก็บประสบการณ์ที่เมืองกวนตัน หลังจากนั้นเราฝากสัมภาระการเดินทางที่รับฝากของที่สถานีรถบัสเมืองกวนตัน จากนั้นจึงเดินทางชมอาคารศาลต้น ศาลสูง ศาลชารีอะห์ของรัฐปาหัง เป็นการเรียนรู้วิชาระบบกฎหมายในภูมิภาคมลายู(วิชา 431-337)ภายในตัว หลังจากที่ได้เรียนในชั้นเรียน ห้องสี่เหลี่ยมเล็กๆบนอาคาร 19 ของ ม. สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปตตานี วันนี้ถือเป็นการเรียนรู้สภาพความเป็นจริง โชคดีที่รัฐปาหังอาคารหน่วยงานรัฐบาลสหพันธ์กับอาคารหน่วยงานรัฐบาลท้องถิ่นอยู่ติดกัน ทำให้สามารถบรรยายระบบการปกครองของประเทศมาเลซีย ซึ่งก็ตรงกับวิชาการเมืองการปกครองในภูมิภาคมลายู (วิชา 431-336) เชื่อว่าหลังจากนี้การเรียนภาคทฤษฎีในห้องเรียนก็น่าจะดีขึ้น สามารถนึกภาพที่บรรยายได้

ซ้ายมือเป็นอาคารสำนักงานของรัฐบาลท้องถิ่นรัฐปาหัง ส่วนทางขวามือเป็นอาคารสำนักงานของรัฐบาลสหพันธรัฐ หรือรัฐบาลกลางกัวลาลัมเปอร์

นักศึกษาเดินพลาง ศึกษาพลาง

หยุดเพื่อบันทึกเรื่องราว เป็นการเรียนในสภาพพื้นที่จริง

บริเวณแม่น้ำกวนตัน รัฐปาหัง

เก็บภาพที่ระลึกหน้าสถานีรถบัสเมืองกวนตัน รัฐปาหัง

พักใต้ต้นไม้กลางเมืองกวนตัน รัฐปาหัง

น้ำพุกลางเมืองกวนตัน รัฐปาหัง

จับภาพได้!!! ขณะตำรวจจับกุมแรงงานเถื่อนจากประเทศอินโดเนเซีย

เก็บภาพที่ระลึกหน้าสำนักงานอิสลามประจำอำเภอกวนตัน รัฐปาหัง

เก็บภาพที่ระลึกหน้าศาลชารีอะห์ ประจำรัฐปาหัง

เก็บภาพหน้าศาลสูง ศาล Majestic Court และศาล Session Court เมืองกวนตัน รัฐปาหัง

เก็บภาพหน้าศาลสูง ศาล Majestic Court และศาล Session Court เมืองกวนตัน รัฐปาหัง

วันนี้โชคดีอีกอย่างคือ พิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งรัฐปาหัง หรือ Art Museum of Pahangจัดการแสดงอุปกรณ์การทรมานมนุษย์ โดยนำเข้าจากประเทศสเปน ต้องเสียค่าผ่านประตูคนละ 6 ริงกิต(ประมาณ 60 บาท) นักศึกษามลายูศึกษาแสดงความสามารถด้านการตลาด สามารถต่อราคาเหลือ 3 ริงกิต ผู้เขียนก็ยังงงๆ พูดอย่างไรนะ เขาจึงยอมลดราคาให้ หรืออาจสงสารพวกเราที่มาจากแดนไกล หรืออาจประทับใจพวกเราที่กล้าเดินทางแบบผจญภัย

อาคารพิพิธภัณฑ์ Art Museum of Pahang

เก็บภาพที่ระลึกหน้าพิพิธภัณฑ์ Art Museum of Pahang

ภายในพิพิธภัณฑ์ Art Museum of Pahang

ภายในพิพิธภัณฑ์ Art Museum of Pahang

ภายในพิพิธภัณฑ์ Art Museum of Pahang

อุปกรณ์ป้องกันสตรีมีชู้จากสเปน ที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ Art Museum of Pahang

อุปกรณ์ทรมานมนุษย์ที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ Art Museum of Pahang

อุปกรณ์ทรมานมนุษย์ที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ Art Museum of Pahang

อุปกรณ์ทรมานมนุษย์ที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ Art Museum of Pahang

หลังจากนั้นก็ใช้เวลาส่วนหนึ่งอยู่ที่มัสยิดประจำรัฐที่ชื่อว่า มัสยิดสุลต่านอาหมัด I เป็นมัสยิดที่สวยงามมาก ช่วงเย็นปล่อยเป็นอิสระ ให้แต่ละคนสัมผัสเมืองกวนตันด้วยตนเอง เราตกลงละหมาดมักริบและละหมาดอิซา ที่มัสยิดสุลต่านอาหมัด I

มัสยิดสุลต่านอาหมัด I เมืองกวนตัน ในตอนกลางวัน

มัสยิดสุลต่านอาหมัด I เมืองกวนตัน ในยามค่ำคืน

ด้วยรถบัสจะออกจากเมืองกวนตันเวลา 24.00 น. เราจึงไม่รีบเร่ง เวลาที่เหลือเราจึงตักตวงประสบการณ์จากการสมผัสเมืองกวนตน ในการเดินทางไปเมืองโยโฮร์บารูครั้งนี้ เราเจตนาซื้อตั๋วโดยสารเวลาเที่ยงคืน เผื่อว่าการเดินทางของเราไปยังเมืองโยโฮร์บารู จะถึงตอนเช้าตรู่ราวตี 5 ของวันที่ห้าของการเดินทางครั้งนี้

สองนักศึกษากับสัมภาระในการเดินทาง

เก็บภาพที่ระลึกที่สถานีขนส่งเมืองกวนตัน รัฐปาหัง ก่อนเดินทางไปเมืองโยโฮร์บารู รัฐโยโฮร์

เก็บภาพที่ระลึกที่สถานีขนส่งเมืองกวนตัน รัฐปาหัง

เก็บภาพที่ระลึกที่สถานีขนส่งเมืองกวนตัน รัฐปาหัง

อ่านต่อ - สัมผัสประเทศเพื่อนบ้าน : ประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดเนเซีย (ตอนที่ 2)

Tiada ulasan:

Catat Ulasan