Ekonomi/Bisnis

Sabtu, 27 Februari 2010

กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศบรูไน

โดย นิอับดุลราก๊บ บินนิฮัสซัน

แผนที่ประเทศบรูไน

ชนพื้นเมืองในประเทศบรูไน ประกอบด้วย 7 ชนเผ่าด้วยกัน แต่เพื่อให้ความเป็นหนึ่งเดี่ยวด้านการเมืองการปกครอง ทั้ง 7 ชนเผ่า โดยภาพรวมจะใช้ชื่เรียกว่า มลายู หรือ มาเลย์ สำหรับสำหรับคนภายในประเทศบรูไนเอง จะแบ่งออกเป็นชนเผ่าตามสภาพความเป็นจริง ชนชาวบรูไน ประกอบด้วยชนเผ่าต่างๆ ดังนี้

1. Melayu Brunei
2. Kedayan
3. Tutong
4. Dusun
5. Belait
6. Murut
7. Bisaya

ชาวมลายูบรูไน
ชาวมลายูบรูไนเป็นชนกลุ่มใหญ่ที่สุดในบรรดา 7 ชนเผ่าของชาวบรูไน ชนชาวมลายูบรูไนนี้ บางส่วนยังตั้งถิ่นฐานอยู่ในรัฐซาบะห์ ภาษาพูดของชาวมลายูบรูไนนั้นมีสำเนียงที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะเป็นของตนเอง แต่จะใช้ภาษามลายูมาตราฐานเมื่อต้องการสื่อกับบุคคลที่ไม่เข้าใจภาษามลายูบรูไน

การแต่งกายของสตรีชาวมลายูบรูไน

ชาวดูซุน
ชาวดูซุน เป็นกลุ่มชนที่ใหญ่ที่สุดในรัฐซาบะห์ ส่วนใหญ่ชาวดูซุนจะนับถือศาสนาคริสต์ บางส่วนจะนับถือศาสนาอิสลาม ชาวดูซุน มีความหลากหลายทางภาษาและวัฒนธรรม ประชากรของชาวดูซุนส่วนหนึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศบรูไน

การแต่งกายของชาวดูซุน

การแต่งกายของชาวดูซุน

ชาวเบอไลต์
ชาวเบอไลต์เป็นอีกชนเผ่าหนึ่งที่ถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มชาติพันธุ์มลายูในประเทศบรูไน ชาวเบอไลต์ส่วนใหญ่จะตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขตเบอไลต์ ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่เขตของเขตการปกครองของประเทศบรูไน ชาวเบอไลต์มีภาษาพูดเป็นของตนเอง คือภาษาตูตง

ชาวตูตง
ชาวตูตงเป็นอีกชนเผ่าหนึ่งที่ถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มชาติพันธุ์มลายูในประเทศบรูไน ชาวตูตงส่วนใหญ่จะตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขตตูตง ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่เขตของเขตการปกครองของประเทศบรูไน ชาวตูตงมีภาษาพูดเป็นของตนเอง นั้นคืออภาษาตูตง

รูปร่างหน้าตาของชาวตูตง

แผนที่ตั้งถิ่นฐานของชาวตูตง

ชนชาวบีซายา(Bisaya)
ชาวบีซายา เป็นชนพื้นเมืองฝั่งทะเลด้านตะวันตกของชาวเกาะบอร์เนียว กล่าวกันว่า ชนชาวบีซายาเป็นกลุ่มแรกๆที่เข้ารับศาสนาอิสลามราวศตวรรษที่ 13 ชาวบีซายาในรัฐซาบะห์และบรูไนมีชื่อที่ซ้ำกับชนชาวบีซายา(Visaya)ในฟิลิปปินส์ แต่ทั้งสองชนเผ่าไม่เกี่ยวข้องกันเลย

ความเป็นมาของคำว่า ชนชาวบีซายา
ตำนานกล่าวว่า คำว่า ชนชาวบีซายา(Bisaya) มาจาก คำว่า Mabisa Iya ซึ่งมีความหมายว่า ผู้ชายหรือผู้หญิงที่สง่างาม ต่อมาเพี้ยนมาเป็นบีซายาจนถึงปัจจุบัน

แผนที่ที่ตั้งถิ่นฐานของชาวบีซายา

เครื่องแต่งกายของชาวบีซายา (Bisaya)

การแต่งกายประจำเผ่าของหญิงชาวบีซายา

ชนชาวมูรุต
เป็นชนชาวที่อาศัยอยู่ทั้งในรัฐซาบะห์รัฐซาราวัค เกาะกาลีมันตัน บอร์เนียวและประเทศบรูไน เดิมชาวมูรุตก็อาศัยอยู่บ้านยาว(Long house ) เหมือนกัน แต่ในปัจจุบันมีน้อยมาก

ขนบธรรมเนียมประเพณีการแต่งงานของชาวมูรุต
ขนบธรรมเนียมประเพณีการแต่งงานของชาวมูรุตโดยเฉพาะชาวมูรุตตาโฮล (Murut Tahol) หรือมูรุตกากัล Tagal มีความพิเศษจากชนเผ่ามูรุตอื่นๆ ยังคงมีพิธีแต่งงานที่บ้านยาว(Long house ) และขนบธรรมเนียมประเพณีที่เรียกว่า tina’uh และ barian sampai mati ยังมีการปฏิบัติจนถึงปัจจุบัน พิธีกรรม tana’uh ถือเป็นพิธีกรรมขั้นสูงสุดของขนบธรรมเนียมการแต่งงานของชาวมูรุต ตาโฮล หรือตากัล คือการให้สินสอดของฝ่ายชายต่อฝ่ายหญิง พิธีกรรม tana’uh นี้สามารถปฏิบัติได้หลังจากการแต่งงานผ่านไปแล้ว 20 ปี หรือ 30 ปี ส่วนพิธี barian sampai mati ในปัจจุบันมีน้อยมาก

ชายหญิงชาวมูรุตในชุดแต่งกายประจำเผ่า

การรำของชาวมูรุต

หญิงชาวมูรุตในชุดแต่งกายประจำเผ่า

ชนชาวเกอดายัน
ชนชาวนี้ว่ากันว่าเป็นชาวที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างชาวชวากับชาวมลายูบรูไน เริ่มขึ้นจากในยุคสุลต่านบอลเกียะห์ (1473-1521) โดยพระองค์ชอบการเดินทางไปยังเกาะชวา เกาะสุมาตรา เกาะกาลิมันตัน รวมทั้งหมู่เกาะฟิลิปปินส์ ที่เกาะชวาพระองค์ได้เห็นความขยันของชาวชวาในการเพาะปลูกและการทำนา รวมทั้งมีฝีมือหัตถกรรม ดังนั้นพระองค์จึงได้ขอให้ชาวชวาเดินทางไปตั้งฐิ่นฐานในบรูไน ต่อมากลุ่มชาวชวา ดังนั้นได้สร้างความสัมพันธ์และแต่งงานกับชาวมลายูบรูไน จนเกิดมาเป็นชนชาวเกอดายัน ชาวเกอดายันจะอาศัยอยู่ในบรูไน รัฐซาบะห์และรัฐซาราวัค

การแต่งกายชุดประจำเผ่าของชาวเกอดายัน

Tiada ulasan:

Catat Ulasan