Ekonomi/Bisnis

Isnin, 14 Januari 2008

ระบบศาลยุติธรรมของมาเลเซีย

โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน
ระบบศาลยุติธรรมของมาเลเซีย

ศาลสหพันธรัฐ (Mahkamah Persekutuan)
องค์ประกอบของศาลสหพันธรัฐนั้นมี[1] 1. ประธานศาลสหพันธรัฐ เรียกว่าหัวหน้าผู้พิพากษาศาลสหพันธรัฐ(Ketua Hakim Negara Mahkamah Persekutuan ) และประธานศาลอุทธรณ์ 2. หัวหน้าผู้พิพากษา(Hakim Besar)ของศาลชั้นสูงแห่งมาลายา และศาลชั้นสูงแห่งบอร์เนียว 3. ผู้พิพากษาจำนวน 7 ท่าน ในการดำเนินคดีนั้นศาลฎีกาจะประกอบด้วยผู้พิพากษาจำนวน 3 ท่านโดยได้รับการเลือกจากประธานศาลสหพันธรัฐ แต่ในกรณีที่เป็นคดีสำคัญทางศาลสหพันธรัฐจะมีผู้พิพากษาจำนวน 5 ท่าน

ศาลชั้นสูง (Mahkamah Tinggi)
ศาลชั้นสูงแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ 1. ศาลชั้นสูงมาลายา 2. ศาลชั้นสูงบอร์เนียว (รัฐซาบะห์และรัฐซาราวัค) องค์ประกอบของศาลสูงนั้นมีดังนี้[2] 1. หัวหน้าผู้พิพากษา ( Hakim Besar ) จำนวน 2 ท่าน โดย 1 ท่าน มาจากแหลมมลายู (Malaya ) และอีก 1 ท่านมาจากรัฐซาบาห์ และรัฐซาราวัค 2. ผู้พิพากษาจำนวน35 ท่านโดย 8 ท่าน มาจากรัฐซาบะห์และรัฐซาราวัคและจำนวน 27 ท่านมาจากแหลมมลายู ( Malaya ) ศาลสูงมีอำนาจที่ไม่จำกัด แต่ส่วนใหญ่แล้วคดีที่อยู่นอกเหนืออำนาจของศาลต้นเท่านั้นที่จะไปพิจารณาในศาลสูง และศาลสูงจะรับพิจารณาคดีที่มีการอุทธรณ์จากการตัดสินของศาลชั้นต้น

Mahkamah Rendah ( ศาลชั้นต้น )[3]
ศาลชั้นต้นในแหลมมลายูประกอบด้วย Mahkamah Sesyen, Mahkamah Majistret, Mahkamah Juvenile และ Mahkamah Penghulu

Mahkamah Sesyen
เป็นศาลที่สูงที่สุดในศาลชั้นต้น มีอำนาจในการตัดสินคดียกเว้นคดีที่มีการลงโทษประหารชีวิต ผู้พิพากษาสามารถลงโทษจำเลยได้ยกเว้นแต่ลงโทษประหารชีวิต ในคดีแพ่งมีอำนาจตัดสินในกรณีไม่เกิน100,000ริงกิต ยกเว้นกรณีอหังสาริมทรัพย์, มรดก, การหย่า, การล้มละลาย

Mahkamah Majistret
เป็นศาลที่ตัดสินเกี่ยวกับคดีทั่วไปและคดีอาชญากรรม ผู้พิพากษาชั้น2 สามารถตัดสินคดีในกรณีลงโทษไม่เกิน 12 เดือน ในคดีแพ่งมีอำนาจตัดสินในกรณีไม่เกิน 3,000 ริงกิต ส่วนผู้พิพากษาชั้น1 ของMahkamah Majistretมีอำนาจที่กว้างขวางโดยสามารถลงโทษในกรณีไม่เกิน 10 ปี ในกรณีคดีแพ่งมีอำนาจมีอำนาจตัดสินในกรณีไม่เกิน25,000ริงกิต Mahkamah juvenile เป็นศาลเด็กและเยาวชนที่ผู้พิพากษาชั้น 1 สามารถพิพากษาความผิดได้ทุกประเภทลงโทษได้ยกเว้นประหารชีวิต และผู้พิพากษาต้องมีนักจิตวิทยาจำนวน 2 ท่าน การพิพากษาในศาลนี้จะทำแบบปิดไม่อนุญาตให้สาธารณชนสามารถเข้าฟังการลงโทษผู้ผิดได้ หรือที่เรียกว่า In Camera การลงโทษคือจะส่งไปยังสถานฝึกอบรม หรือ ปล่อยผู้กระทำความผิด

Mahkamah Penghulu เป็นศาลที่มีผู้ใหญ่บ้านเป็นหัวหน้า Mahkamah Penghulu ถือเป็นศาลที่ต่ำที่สุดในบรรดาศาลชั้นต้น ส่วนใหญ่มักไม่ต้องพิจารณาคดี เพราะผู้ใหญ่บ้านสามารถเกลี้ยกล่อมคู่กรณีได้ ศาลชนิดนี้สามารถพิจารณาคดีที่มีความขัดแย้งในวงเงินไม่เกิน 50 ริงกิต และปรับโทษได้ไม่เกิน 25 ริงกิต ศาลชั้นต้นในรัฐซาบะห์และรัฐซาราวัคนั้น เมื่อมีการขยาย พ.ร.บ.ศาลชั้นต้นปี 1948 ไปยังรัฐซาบะห์และรัฐซาราวัคเมื่อ 1 มิถุนายน 1981 จึงทำให้มีการจัดตั้ง Mahkamah Juvenile และ Mahkamah Sesyen ขึ้นในรัฐทั้งสอง โดยมีอำนาจหน้าที่เหมือนกับในแหลมมลายู โดยทั้งสองศาลดังกล่าวในรัฐซาบาห์และรัฐซาราวัคมีผู้พิพากษาชั้น 1และ 2 เช่นกัน ส่วนศาลที่เรียกว่า Mahkamah Penghulu นั้นในรัฐซาบะห์และรัฐซาราวัคไม่มี แต่ในรัฐทั้งสองจะมีศาลชนเผ่าที่เรียกว่า Mahkamah Adat หรือ Mahkamah Anak Negeri[4]

[1] International Law Book Services.2005.Perlembagaan Persekutuan.Petaling Jaya. หน้า167-168

[2] International Law Book Services . แหล่งเดิม หน้า 169-171

[3] Fauziah Shafii & Ruslan Zainuddin.2000.Sejarah Malaysia. Selangor: Fajar Bakti หน้า 500-505.

[4] นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน.2548b.เอกสารบรรยายวิชาระบบกฏหมายในภูมิภาคมลายู.แผนกวิชามลายูศึกษา ภาควิชาภาษา ตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปัตตานี

Tiada ulasan:

Catat Ulasan