Ekonomi/Bisnis

Rabu, 31 Ogos 2022

Gurindam nasihat untuk ibu bapa Melayu Patani

Gurindam nasihat untuk ibu bapa.

Ibu Bapak membiarkan kebebasan

Anak akan menjadi keliaran

 

Ibu Bapak melalaikan agama

Tiadalah anak berbudi mulia

 

Ibu Bapak menuju surga

Teguhkan anak belajar agama

 

Ibu Bapak menuju dunia

Kukuhkan ilmu Alam Maya

 

Ibu Bapak keluarga dicintai

Kepada saudara kasih mengasihi

 

Ibu Bapak junjungi agama

menengok kaji pada ulama

 

Ibu Bapak beradab sopan

Menjaga anak maruah berkawan

 

Ibu Bapak berpantang lari

Pahit manisnya sama dibagi

 

Ibu Bapak menbentuk budi

Lemah lembut budi pekerti

 

Ibu Bapak bersifat sopan

Muka manis senyum menawan

 

Ibu Bapak sedekah memberi

Anah akan ikut turuti

 

Ibu Bapak membentuk insani

Mendidik mengajar tiada berhenti

 Zawawi Pakda Amin

Patani, Thailand Selatan.


 

Sabtu, 27 Ogos 2022

Gurindam nasihat untuk pemuda.

Gurindam nasihat untuk pemuda.

Jika ingin menjadi penguasa

Pelajarilah segala ilmu raja

 

Jika ingin menjadi perwira

Mesti pelajarilah ilmu perkasa

 

Jika ingin menjadi wirausaha

Ilmu ekonomi jangan tiada

 

Jika ingin menjadi ulama

Mesti timbailah kitab tua

 

Jika ingin menjadi pemasak

Belajarlah ilmu kangkong lobak

 

Jika ingin menjadi hulubalang

Mesti belajar tombak pedang

 

Jika ingin menjadi sopir

Ketahuilah jalan hulu hilir

 

Jika ingin menjadi pemuisi

Ilmu sastra penuhkan diri

 

Jika ingin menjadi pencatat

Jangan tiada baca hikayat

 

Jika ingin menjadi mahasiswa

Segala ilmu mesti ditimba

 

Jika ingin menjadi raja

Belajarlah Adat dan tatasusila

 

Jika ingin menjadi guru

Jangan tiada segala ilmu

Sulaiman Smahae

Patani, Thailand Selatan.

ตำนานประวัติศาสตร์มลายู

 โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน

ซาลาลาตุส วาลาติน (Sulalatus Salatin) หรือการสืบทอดของบรรดาสุลต่าน หรือที่รู้จักในอีกช่อหนึ่งว่า ประวัติศาสตรมลายู เป็นงานเขียนทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับความรุ่งเรือง และ การล่มสลายของสุลต่านแห่งรัฐมะละกา   เป็นงานเขียนที่เขียนโดยนักเขียนชาวมลายูหลายคน มีการกล่าวว่า เมื่อชาวโปรตุเกสเข้ามายึดครองรัฐมะละกา ชาวโปร์ตุเกสได้นำสำเนาประวัติศาสตร์มลายูนี้กลับไปยังมืองกัวในอินเดีย  ในเวลาไม่กี่ต่อมาสำเนาประวัติศาสตร์มลายูนี้ทางขุนนางมลายูที่ชื่อว่าโอรังกายาซูกูห์ (Orang Kaya Suguh) ได้นำจากเมืองกัว กลับไปยังรัฐโยโฮร์

เขียนขึ้นในรัฐมะละกาและด้วยเมื่อสุลต่านมะห์มุดชาห์ล่าถอยจากรัฐมะละกาในปี ค.ศ. 1511 จึงได้นำต้นฉบับประวัติศาสตรมลายูตัวไป จากนั้นต้นฉบับนี้ถูกนำไปยังรัฐโยโฮร์จากเมืองกัมปาร์ บนเกาะสุมาตราในปี ค.ศ. 1528

 

ประวัติศาสตรมลายู สำเนาฉบับที่มีในวันนี้เชื่อว่า มาจากต้นฉบับปี ค.ศ. 1356 และแก้ไขใหม่ในปี ค.ศ.1612 สำเนาต้นฉบับที่มีอยู่บันทึกว่า ปี ค.ศ. 1808

 

งานเขียนนี้ถือว่ามีความสำคัญเพราะอธิบายถึงขนบธรรมเนียมของรัฐ การจัดเรียงของสุลต่านมลายู และประวัติศาสตร์ของรัฐมลายู และอาจกล่าวได้ว่ามีความกับการบันทึกประวัติศาสตร์ของจีน ด้วยเหตุนี้งานเขียนประวัติมลายู จึงถูกจัดอยู่ในความทรงจำแห่งโลก หรือมรดกโลกของ UNESCO ในปี 2001

งานเขียนประวัติศาสตร์นี้มีอย่างน้อย 29 เวอร์ชั่น ในบรรดาต้นฉบับที่มีอยู่ทั้งหมด จะมีเนื้อหาที่แตกต่างบ้าง

 

งานเขียนประวัติศาสตร์มลายูนี้มีอย่างน้อย 29 เวอร์ชั่นหรือต้นฉบับนั้น ที่เก็บที่ประเทศอังกฤษมี 11 ฉบับ (10 ฉบับในกรุงลอนดอน  1 ฉบับอยู่ในเมืองแมนเชสเตอร์) ประเทศเนเธอร์แลนด์มีอยู่ 12 ฉบับ (11 ฉบับอยู่ในเมืองไลเดน  1 ฉบับในเมืองอัมสเตอร์ดัม) ประเทศอินโดเนเซียมี 5 ฉบับ (5 ฉบับอยู่ในกรุงจาการ์ตา) และประเทศรัสเซียมีอยู่ 1 ฉบับ (เก็บไว้ในเมืองเลนินกราด ชื่อระหว่างปี 1924–1991 หรือในปัจจุบันชื่อว่าเมืองเซนตืปีเตอร์เบิร์ก)

ตัวอย่างเวอร์ชั่นต่างๆ

1.เวอร์ชั่น Raffles แปลเป็นภาษาอังกฤษครั้งแรก โดย John Leyden ปี 1821

2.เวอร์ชั่น Munshi Abdullah ปี 1831

3.เวอร์ชั่น Edouard Dulaurier ปี 1849

4.เวอร์ชั่น แปลนาษาฝรั่งเศส ปี 1896

5.เวอร์ชั่น William Shellabear ปี 1915

6.เวอร์ชั่น Raffles 18 พิมพ์โดย Richard Olaf Winstedt ปี 1938

7.เวอร์ชั่น Aman Datuk Madjoindo พิมพ์ในกรุงจาการ์ตา 1959

Rabu, 24 Ogos 2022

ซองก๊ก หมวกของชาวมลายู

โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน

ซองก๊ก  หมวกของชาวมลายู

ซองก๊ก หรือ Songkok, peci หรือ kopiah เป็นหมวกที่สวมใส่กันอย่างแพร่หลายในประเทศบรูไน อินโดเนเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ตอนใต้ และภาคใต้ของประเทศไทย โดยส่วนใหญ่มักเป็นผู้ชายที่สวม ตามพจนานุกรม Kamus Besar Bahasa Indonesia อธิบายว่า ซองก๊กเป็นหมวกสวมบนศีรษะของผู้ชายทำจากกำมะหยี่ ในอินโดนีเซียจะเรียกว่า peci ซึ่งยังเกี่ยวข้องกับขบวนการชาตินิยมด้วย

 

ผู้นำของประเทศต่างๆ เช่นประเทศอินโดเนเซีย มาเลเซีย บรูไน  สิงคโปร์ ภาคใต้ฟิลิปปินส์ สวมซองก๊ก

ประเทศอินโดเนเซีย 

   ประเทศมาเลเซีย

ประเทศบรูไน 

ประเทศสิงคโปร์

ภาคใต้ฟิลิปปินส์

ในคาบสมุทรมลายูจะเรียกว่า “ซองก๊ก” ในขณะที่ในภาษาชวาเรียกว่า "โกเปียะห์" หมวกนี้ยังเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในอินโดนีเซียว่า "peci" แม้ว่า peci จะมีรูปร่างเป็นวงรีมากกว่าและบางครั้งก็มีการตกแต่งอีกด้วย

 

หมวกโกเปียะห์ หรือ Kopiah (kupiah) ถูกบันทึกว่าถูกใช้โดยกองกำลังพิเศษ -ของอาณาจักรมาชาปาฮิต ที่ว่า Bhayangkara บันทึกไว้ใน Hikayat Banjar เขียนใน (หรือหลังจากนั้นไม่นาน) 1663[8]:181[9]:204[10] คำว่า Kopiah ถูกบันทึกในพจนานุกรมภาษาอิตาลี-ภาษามลายู ที่ทำโดย Antonio Pigafetta ในปี 1521 (ตีพิมพ์ในปี 1524) โดยเขียนว่า  cophia และคำว่า Kupiah ถูกบันทึกในตำนานอิสกันดาร์ซูการ์ไนน์ (Hikayat Iskandar Zulkarnain) ซึ่งต้นฉบับเขียนก่อนปี 1600

 

ซองก๊ก ยังถูกใช้โดยกองทัพมาเลเซียและบรูไนและตำรวจในพิธีการบางอย่าง

ทหารในประเทศมาเลเซีย

ตำรวจในชุดพิธีการของประเทศมาเลเซีย

ทหารในประเทศบรูไน



ตำรวจในประเทศบรูไน


 

Sabtu, 20 Ogos 2022

หนังสือพิมพ์วาร์ตามาลายา หรือ Warta Malaya หนังสือภาษามลายูภายใต้ญี่ปุ่นยุคสงครามโลก

โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน

หนังสือพิมพ์วาร์ตามาลายา หรือ Warta Malaya บางที่ก็รู้จักในนามของหนังสือพิมพ์วาร์ตามลายู หรือ Warta Melayu เป็นหนังสือพิมพ์รายวันในภาษามลายูที่ใช้ในมาลายาและสิงคโปร์ หนังสือพิมพ์ฉบับแรกซึ่งเขียนด้วยภาษามลายูอักขระยาวีมีขึ้นในปี 1930 หนังสือพิมพ์ฉบับนี้เกิดขึ้นในขณะที่มีหนังสือพิมพ์ภาษามลายูผุดขึ้นราว 81 ฉบับ ทั่วมาลายาและสิงคโปร์

ในช่วงทศวรรษที่ 1930 พรรคมลายูหนุ่ม หรือ Kesatuan Melayu Muda ได้ซื้อหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ จนหนังสือพิมพ์ฉบับนี้มีส่วนเกี่ยวข้องทางการเมืองในช่วงเริ่มต้นของลัทธิชาตินิยมมลายู และเป็นปากเสียงของพรรคการเมืองที่ชื่อว่า พรรคมลายูหนุ่ม หรือ Kesatuan Melayu Muda ซึ่งเป็นพรรคการเมืองฝ่ายซ้ายยุคแรกของมาลายา เป็นหนังสือพิมพ์ที่ได้รับความนิยมสูง และเป็นหนังสือที่มีการรับหนังสือพิมพ์จากสมาชิกในต่างประเทศ

 

หนังสือพิมพ์วาร์ตามาลายา พิมพ์โดย  Anglo-Asiatic Press Limited ตั้งอยู่ที่ถนน North Bridge Road ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 1929 โดยนายสัยยิดฮุสเซ็น บินสัยยิดอาลี อัลซาก๊อฟ (Syed Hussein bin Ali Alsagoff) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจครอบครัว Alsagoff ที่สิงคโปร์

 

นอกจากหนังสือพิมพ์วาร์ตามาลายา ได้มีการออกหนังสือพิมพ์อีก 2 ฉบับ คือหนังสือพิมพ์ฉบับวันอาทิต์ภายใต้ชื่อว่า หนังสือพิมพ์วาร์ตาอาฮัด (Warta Ahad) ออกครั้งแรกเมื่อ 5 พฤษาคม 1935 และอีกฉบับ เป็นหนังสือพิมพ์รูปภาพรายสัปดาห์ ชื่อว่า วาร์ตาเยอนากา (Warta Jenaka) พิมพ์ในปีถัดมา

หนังสือพิมพ์วาร์ตามาลายา จำหน่ายในราคาฉบับละ 10 เซ็นต์ เดิมมี 12 หน้า แต่ภายในหนึ่งเดือนขยายเป็น 16 หน้า ในวันที่ 1 มกราคม 1934 บริษัท Anglo-Asiatic Press Limited ได้เปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท Warta Malaya Press Limited และราคาต่อฉบับ เหลือ 6 เซ็นต์ต่อฉบับเนื่องจากผลกำไรที่เพิ่มขึ้น

 

หนังสือพิมพ์นี้ มีบทความที่ครอบคลุมเหตุการณ์ในประเทศมุสลิมต่างๆ ที่อยู่นอกสิงคโปร์และมาลายาของอังกฤษ และเป็นหนังสือพิมพ์มลายูฉบับแรกที่รับข้อมูลจากสำนักข่าวต่างประเทศ  บทความของหนังสือพิมพ์นี้ได้กล่าวถึงประเด็นต่างๆ มากมายที่ส่งผลต่อสิทธิของชาวมลายู รวมทั้งการศึกษา สิทธิทางการเมือง และเศรษฐกิจ

พนักงานของหนังสือพิมพ์มีบุคคลที่มีบทบาททางการเมืองในเวลาต่อมา เช่น นายออน จาฟาร์ ประธานคนแรกของพรรคอัมโน (United Malays National Organization) นายอับดุลราฮิม  กีไย ซึ่งได้รับการขนานนามว่าเป็น "บิดาแห่งวารสารศาสตร์มลายู" และ นายยูซุฟ  อิสฮัก ประธานาธิบดีคนแรกของสิงคโปร์

 

ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1941 นายอิบราฮิม ยากู๊บ นักชาตินิยมชาวมลายูและประธานของพรรค Kesatuan Melayu Muda (KMM) ในขณะนั้นได้ซื้อหนังสือพิมพ์เพื่อใช้โฆษณาชวนเชื่อต่อต้านอังกฤษ หลังจากการที่สิงคโปร์ถูกยึดรงในปี 1942 หนังสือพิมพ์ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลทหารญี่ปุ่นที่สิงคโปร์  หนังสือพิมพ์หยุดพิมพ์เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 1942

 

จุกเริ่มต้นการซื้อหนังสือพิมพ์วาร์ตามาลายา

นายอิบราฮิม ยากู๊บ ได้พบปะกับวิศวกรเหมืองแร่ชาวญี่ปุ่น ชื่อว่า ishikawa โดยได้บอกวัตถุประสงค์ของเขาและพรรคพวก ในการร่วมมือกับฝ่ายญี่ปุ่น พร้อมที่จะเป็นหูตาให้ญี่ปุ่น และนายอิบราฮิม ยากู๊บ ได้พบปะกับ Michio Hirakawa ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญในหนวยงานลับของญี่ปุ่นในมาลายา ในการพูดคุยกับ Michio Hirakawa ทางนายอิบราฮิม ยากู๊บ ได้แจ้งวัตถุประสงค์และแนวทางในการเคลื่อนไหวของพรรคของนายอิบราฮิม ยากู๊บอย่างลับๆ นั้นคือการมีหนังสือพิมพ์ของตนเอง

 

ในเดือนมษายน 1941 ด้วยความเห็นชอบของรัฐบาลในกรุงโกเตียว  ทางกงสุลใหญ่ญี่ปุ่นประจำสิงคโปร์ คือนาย Ken Tsurumi ได้มอบเงินจำนวน 18,000 ดอลลาร์ ให้แก่นายอิบราฮิม ยากู๊บ  เพื่อซื้อหนังสือพิมพ์มลายู ที่ชื่อ หนังสือพิมพ์วาร์ตามาลายา ที่มีสัยยิดฮุสเซ็น  บินอาลี อัลซาก๊อฟ เป็นเจ้าของ หลังจากซื้อหนังสือพิมพ์วาร์ตามาลายาแล้ว ทางนายอิบราฮิม ยากู๊บก็ขึ้นเป็นบรรณาธิการ และทุกสาขาของสำนักงานหนังสือพิมพ์วาร์ตามาลายาทั่วมาลายา ทางนายอิบราฮิม ยากู๊บ ก็มอบหมายให้สมาชิกพรรค Kesatuan Melayu Muda เป็นผู้ดำเนินการ

 

บรรณาธิการคนแรกของหนังสือพิมพ์คือนายออนน์ จาอาฟาร์ (ประธานพรรคอัมโนคนแรก) ซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ 1930 ลาออกปี 1933 เขาถูกแทนที่โดย นายสัยยิดเชค สัยยิดอาหมัด อัลฮาดี (1933-34) ผู้นำที่โดดเด่นในขบวนการฝ่ายแนวคิดใหม่ (Kaum Muda) ซึ่งสนับสนุนอิสลามที่ก้าวหน้า ภายใต้ความทันสมัยของอิสลาม นายซัยยิด ฮุสเซน บิน อาลี อัลซาก๊อฟ เจ้าของหนังสือพิมพ์ได้เข้าควบคุมหลังปี 1934 ถึง 1941 ต่อมานายอิบราฮิม ยากู๊บ กลายเป็นบรรณาธิการคนสุดท้ายจนกระทั่งปิดตัวลงในปี 1942

 

รายชื่อบรรณาธิการหนังสือพิมวาร์ตามาลายา ระหว่างปี 1930-1945

 

รายชื่อบรรณาธิการ

นายออน จาฟาร์          ได้รับแต่งตั้งปี 1930      ลาออกปี  1933

นายสัยยิดเชค สัยยิดอาหมัด อัลฮาดี ได้รับแต่งตั้งปี 1933 ลาออกปี  1934

นายซัยยิด ฮุสเซน บิน อาลี อัลซาก๊อฟ ได้รับแต่งตั้งปี 1934 ลาออกปี  1941

นายอิบราฮิม ยากู๊บ ได้รับแต่งตั้งปี 1941 ลาออกปี 1942

Isnin, 1 Ogos 2022

การเดินทางของหนังสือประวัติศาสตร์ปัตตานี (ปาตานี) ของนายอาหมัด ฟัตฮี อัล-ฟาตานี ฉบับแปลภาษาไทย

โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน

สมัยที่ ผศ. ดร. พีรยศ  ราฮิมมูลา เป็นผู้อำนวยการสถาบันสมุทรรัฐเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ได้เปิดโอกาสให้ผู้สนใจทั่วไป ที่สนใจในการแปลหนังสือ หรือเอกสารเกี่ยวกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีต้นฉบับเป็นภาษาต่างประเทศ ผู้เขียนมีหนังสือเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ปาตานีจำนวนหนึ่ง ที่เป็นภาษามลายู ดังนั้นจึงเสนอโครงการแปลเข้าร่วม และดีใจยิ่งที่ได้รับการอนุมัติจากสถาบันสมุทรรัฐเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา หนังสือที่เสนอขอแปลคือ หนังสือประวัติศาสตร์ปัตตานี (ปาตานี) ของนายอาหมัด ฟัตฮี อัล-ฟาตานี

นายอาหมัด ฟัตฮี อัล-ฟาตานี อดีตบรรณาธิการนิตยสารเปองาซุห์ รัฐกลันตัน มาเลเซีย เป็นนิตยสารที่มีชื่อเสียงอยู่ในวงการนักวิชาการ นักศาสนาของรัฐกลันตัน มาเลเซีย และสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ รุ่นก่อนๆจะรู้จักดี  ปัจจุบันนายอาหมัด ฟัตฮี อัล-ฟาตานี เป็นนักเขียนรับเชิญของคณะกรรมการอิสลามและจารีตประเพณีมลายูแห่งรัฐกลันตัน น่าจะตั้งแต่สมัย ดร.นิอัซลัน อับดุลฮาดี เป็นผู้นำของคณะกรรมการอิสลามและจารีตประเพณีมลายูแห่งรัฐกลันตัน หนังสือประวัติศาสตร์ปัตตานีเป็นหนังสือที่อ่านเข้าใจง่าย ด้วยเป็นหนังสือสำหรับคนทั่วไป มากกว่าจะเป็นหนังสือเชิงวิชาการ

หนังสือประวัติศาสตร์ปัตตานีเล่มนี้ ดำเนินการแปลโดย สถาบันสมุทรัฐฯ มอ. ปัตตานี พิมพ์ครั้งแรกในสมัย ผศ. ดร. พีรยศ ราฮิมมูลา เป็นผู้อำนวยการสถาบัน และพิมพ์ครั้งที่สองในสมัย ผศ. ดร. วรวิทย์  บารู เป็นผู้อำนวยการสถาบัน สำหรับพิมพ์ครั้งที่สอง ได้รับงบประมาณการพิมพ์จากกระทรวงยุติธรรม ยุค นายชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ เป็นปลัดกระทรวงยุติธรรม  สำหรับชื่อหนังสือนั้น ระหว่างคำว่า ปัตตานีกับปาตานี จะใช้อะไรกัน ตอนแรกจะใช้คำว่า ปาตานี ตามภาษามลายูว่า Patani แต่คงต้องอธิบายคำว่า ปาตานี และคำว่าปาตานียังไม่เป็นที่นิยมในหมู่บางกลุ่ม น่าจะยังไม่เกิดกระแสการต่อสู้ระหว่างกันกับการใช้คำว่า ปัตตานี ปาตานี ฟาฏอนี และเห็นว่า หนังสือของนักประวัติศาสตร์ท้องถิ่น คุณ อ. บางนรา ก็ใช้คำว่า ปัตตานีอดีตและปัจจุบัน (2519) และปัตตานีในอดีต ซึ่งเป็นภาคแรกของปัตตานีอดีตและปัจจุบัน (2523) ดังนั้นจึงใช้คำว่า ปัตตานี แม้จะหมายถึง ปาตานี มากกว่าที่จะหมายถึงจังหวัดปัตตานี

จุดอ่อนของหนังสือฉบับแปลภาษาไทยเล่มนี้ ทั้งพิมพ์ครั้งที่หนึ่งและครั้งที่สอง คือ การขาดการตรวจทานภาษาและการพิมพ์ การคัดเกลาภาษา การพิมพ์ผิด ซึ่งในการพิมพ์ครั้งต่อไปจะต้องแก้ไขสิ่งที่กล่าวข้างต้น แม้ว่าการตอบรับค่อนข้างจะดี ด้วยไม่ขาย แจกฟรี จึงหมดภายในเวลาไม่นาน ผศ. ดร. วรวิทย์  บารู เคยเสนอให้พิมพ์อีกครั้ง แต่เป็นการเรียบเรียงมากกว่าจะเป็นการแปล ด้วยสามารถเพิ่มเติม แก้ไขเนื้อหา เพิ่มหลักฐานใหม่ๆ จะทำให้หนังสือมีความสมบูรณ์มากขึ้น จุดประสงค์ของการแปลหนังสือเล่มนี้ ผศ. ดร. พีรยศ  ราฮิมมูลา กล่าวว่า เพื่อเปิดอีกมุมหนึ่งของประวัติศาสตร์ท้องถิ่น นายชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ ครั้งเป็นปลัดกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า พิมพ์เผยแพร่ไปเลย ยิ่งปิด คนก็ยิ่งอยากรู้ เปิดไปเลย สุดท้ายก็ไม่มีคนอยากรู้