Ekonomi/Bisnis

Sabtu, 25 Februari 2017

ขบวนการอาเจะห์เสรี ตอนที่ 1

โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน
บทความเรื่อง ขบวนการอาเจะห์เสรี นี้จะเขียนเป็นตอนๆ โดยการแปลและเรียบเรียง จากหนังสือชื่อ Gerakan Aceh Merdeka ที่เขียนขึ้นโดย เนตา เอ็ส ปาเน 

เริ่มแรกการต่อสู้ของประชาชนชาวอาเจะห์
ถ้าย้อนกลับมองอดีต  การเกิดกบฏที่ต่อเนื่องถึงกระบวนการแบ่งแยกดินแดนอาเจะห์เพื่อเอกราชนั้น  ไม่อาจปฏิเสธถึงการมีกลุ่มที่ต่อต้านในหมู่ผู้นำอาเจะห์  การที่ดินแดนนั้นเข้าเป็นส่วนหนึ่งในสาธารณรัฐอินโดเนเซีย  และสนับสนุนการประกาศเอกราชของสาธารณรัฐอินโดเนเซียหรือไม่  นั่นคือไม่กี่วันหลังจากประกาศเอกราชของสาธารณรัฐอินโดเนเซียของซูการ์โน-ฮัตตา  กลุ่มที่ต่อต้านก็เกิดขึ้นที่อาเจะห์  5 วันหลังจากการประกาศเอกราช  นั่นคือวันที่ 22 สิงหาคม 1945  มีบรรดาผู้นำและนักต่อสู้ชาวอาเจะห์รวมตัวกันที่บ้านตือกูอับดุลลอฮฺ ยือนิบ ที่เมืองบันดาอาเจะห์  ตือกู ยัก อารีฟ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร Volksraad (สภาที่จัดตั้งโดยฮอลันดาที่กรุงจาการ์ตา)  ผู้มีตำแหน่งเป็น Resident ของอาเจะห์ก็เข้าร่วมในการประชุมคร้งนั้นด้วย  เขาแจ้งข่าวว่าซูการ์โน-ฮัตตาได้ประกาศเอกราชประเทศสาธารณรัฐอินโดเนเซียแล้ว  โดยมีดินแดนตั้งแต่ซาบัง (Sabang)ในอาเจะห์จนถึงเมอราวเก Merauke)ในอิเรียนจายา

ในโอกาสนั้นตือกูยักอารีฟได้ให้แนวคิดแก่ประชาชนชาวอาเจะห์ บรรดาผู้นำและนักต่อสู้ที่อาเจะห์ให้สนับสนุนซูการ์โน-ฮัตตา  ขณะนั้นตือกูยักอารีฟถือเป็นนักการเมืองหนุ่มที่มีอิทธิพลในฐานะเป็นResidentของอาเจะห์แม้ว่าเขาจะมีอายุเพียง 46 ปี  แต่การนำของเขาในฐานะResidentได้รับการเคารพจากประชาชน เมื่อได้ยินคำกล่าวดังกล่าว  ตือกูอับดุลลอฮฺ ยือนิบได้พูดว่า “ข้าพเจ้าสนับสนุนอะไรก็แล้วแต่  ที่ตือกู ยัก อารีฟได้ตัดสินใจ แต่ต้องสังเกตด้วยว่าญี่ปุ่นยังคงมีอำนาจเต็มที่ในอาเจะห์  นอกจากนั้นฮอลันดาและพันธมิตรของเขาได้มีอำนาจเหนือซาบัง” ทั้งหมดที่เข้าประชุมเห็นด้วยกับตือกูอับดุลลอฮฺ  ซูการ์โน-ฮัตตา  จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุน แต่เพื่อให้ดินแดนอาเจะห์หรือนักต่อสู้ชาวอาเจะห์ด้วยตนเอง

ตรงกับวันที่ 22 สิงหาคม 1945 มีการลงมติโดยวันรุ่งขึ้นบรรดาผู้นำชาวอาเจะห์ต้องประชุมกันที่ชูโชกัน สำนักงานResidentของอาเจะห์)  เพื่อกำหนดแนวทางในการเดินต่อไป  ขณะเดียวกันมีการออกหนังสือเชิญการประชุมที่ชูโชกันครั้งนั้นมีบรรดาผู้นำชาวอาเจะห์เป็นจำนวน 56 คนเข้าร่วม  แต่เต็งกูมูฮัมหมัด ดาวุด บือเระห์ไม่ได้เข้าร่วม  ประมาณเวลา 09.00 น.  ตือกูยักอารีฟได้เปิดการประชุม  บนโต๊ะของเขามีคัมภีร์อัล-กูรอ่าน  และธงแดง-ขาว  หลังจากได้เปิดการประชุมตือกูยักอารีฟได้ยืนขึ้นแล้วได้เอาคัมภีร์อัล-กูรอ่าน  หลังจากนั้นได้กล่าวคำปฏิญาณตนและ “ด้วยนามของพระผู้เป็นเจ้า  ข้าจะจงรักภักดีเพื่อพิทักษ์เอกราชของสาธารณรัฐอินโดเนเซียจนหยดเลือดสุดท้านของข้า”  คำสัญญาจงรักภักดีนี้ได้กล่าวขึ้นอีกครั้งโดยตือกู ฟังลีมา โปแลม มูฮัมหมัด อาลี  ตามคำบอกเล่าส่วนหนึ่งที่อาเจะห์กล่าวว่า มูฮัมหมัด อาลีเป็นบุคคลแรกที่ได้ข่าวการประกาศเอกราชสาธารณรัฐอินโดเนเซียของซูการ์โน-ฮัตตา  หลังจากมูฮัมหมัด อาลีผู้มีอายุ 54 ปีกล่าวคำสัญญาเสร็จ  ผู้นำคนอื่นๆที่เข้าร่วมประชุมที่ชูโชกันก็เวียนกันกล่าวคำสัญญา

ประมาณเวลา 10.00 น. ผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมดก็ออกจากห้อง ธงแดง-ขาวก็ถูกโบกสะบัดโดยอดีตหัวหน้าตำรวจที่อาเจะห์  ซึ่งมีชื่อว่า นายฮูเซ็น  นาอิม  และช่วยโดยนายมูฮัมหมัด  อามีน บูเกะห์  นี่คือครั้งแรกที่ธงแดง-ขาวถูกโบกที่ดินแดนแห่งระเบียงมักกะห์นี้  หลังจากนั้นมีการปฏิญาณคำสัญญาสนับสนุนสาธารณรัฐอินโดเนเซีย  พร้อมโบกธงแดง-ขาวเกิดขึ้นทั้วดินแดนอาเจะห์  นับตั้งแต่นั้นบรรดาผู้นำของอาเจะห์ได้พร้อมใจกันยกตือกูยักอารีฟเป็นผู้นำของเขา  หลังจากนั้นไม่นานตือกูยักอารีฟได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ว่าราชการคนแรกของอาเจะห์  แต่ไม่ได้หมายความว่าประชาชนชนชาวอาเจะห์ทุกคนมีความเหมือนที่แสดงออกโดยบรรดาผูนำชาวอาเจะห์ที่เข้าประชุมที่สำนักงานของResident  ส่วนน้อยของชาวอาเจะห์เห็นว่าเอกราชของสาธารณรัฐอินโดเนเซียทำให้พวกเขาขาดทุน ความคิดนี้ส่วนใหญ่มาจากบรรดาขุนนาง (hulubalang)ที่กระหายอำนาจ  พวกเขาหวังว่าด้วยการพ่ายแพ้ของญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่2  ประเทศญี่ปุ่นจะถอยออกจากอาเจะห์  ด้วยประการดังกล่าวพวกเขาจะเป็นผู้ปกครองในดินแดนอาเจะห์ไม่ใช่ซูการ์โน-ฮัตตาในนามของประชาชนชาวอินโดเนเซียที่ได้ประกาศเอกราชแล้ว  บรรดาขุนนางเหล่านี้มั่นใจว่าอำนาจนั้นสามรถมีได้โดยความช่วยเหลือจากฮอลันดา  นั้นหมายความว่าตลอดการยึดครองของญี่ปุ่น  พวกเขามีความใกล้ชิดกับบรรดาหน่วยราชการการลับของฮอลันดา  หนึ่งในตระกูลขุนนางที่ต่อต้านการประกาศเอกราชของสาธารณรัฐอินโดเนเซีย คือ ตือกู มูฮัมหมัด ดาวุด จุมบอก  ซึ่งเกิดที่หมู่บ้านจุมบอก ตือกู มูฮัมหมัด ดาวุด จุมบอกเป็นผู้ชายที่แข็งกร้าว  มีความเด็ดขาด ห้ามคนหนุ่มอาเจะห์โบกธงแดง-ขาว  ในวันที่ 15 กันยายน 1945 เขาส่งตัวแทนไปพบเจ้าหน้าที่ที่ถูกญี่ปุ่นกักตัวที่รันเตาปราฟาท,สุมาตราเหนือ เพื่อให้เข้ามายังอาเจะห์  อย่างไรก็ตามการต่อสู้ของตือกู มูฮัมหมัด ดาวุด จุมบอกในการต่อต้านเอกราชของสาธารณรัฐอินโดเนเซียที่อาเจะห์ล้มเหลวกลางทาง  เพราะนักต่อสู้เอกราชสาธารณรัฐอินโดเนเซียที่อาเจะห์อยู้ภายใต้การนำของซามาอุน กาฮารูได้ปฏิบัติการจู่โจมไปยังฐานที่มั่นของตือกู มูฮัมหมัด ดาวุด จุมบอก  ในประวัติศาสตร์อาเจะห์ได้เรียกเหตุการณ์นี้ว่าเหตุการณ์จุมบอก(1)

ส่วมหนึ่งของผู้นำอาเจะห์เห็นว่าความจริงแล้วสงครามจุมบอกเป็นสงครามระหว่างนักปราชญ์ศาสนากับบรรดาขุนนาง  กลุ่มคนทั้งสองกลุ่มในสังคมอาเจะห์นี้มีความขัดแย้งกันตั้งแต่สมัยยุคอาณานิคมฮอลันดา  เหล่าขุนนางนี้มักถูกมองว่าเป็นผู้ทำลายการต่อสู้ของนักปราชญ์ศาสนาและนักต่อสู้ชาวอาเจะห์ในการต่อต้านเจ้าอาณานิคมฮอลันดา  ภูมิหลังนี้ทำให้สงครามจุมบอกกลายเป็นสงครามใหญ่ ซึ่งส่วนหนึ่งของผู้นำอาเจะห์เรียกว่าสงครามระหว่างพี่น้องที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์อาเจะห์ (2)

สงครามดังกล่าวสามารถยุติลงในปลายปี 1946  ในการปราบอิทธิพลและกดดันต่อบรรดาขุนนางหรือผู้สนับสนุนตือกู มูฮัมหมัด ดาวุด จุมบอกนั้น  ผู้นำนักต่อสู้ชาวอาเจะห์ที่ชื่อว่ามูฮัมหมัด นูร์ เอล-อิบราฮิมได้นำกองกำลังจำนวน 1,000 คนจากอาเจะห์เหนือและปีดีไปยังพื้นที่บีรึน,อาเจะห์เหนือ  วัตถุประสงค์คือเพื่อจู่โจมฐานที่มั่นใหญ่ของกลุ่มจุมบอก  พื้นที่บีรึนได้กลายเป็นฐานที่มั่นใหญ่ของบรรดาผู้นำหรือกลุ่มจุมบอก  ในการปะทะกันที่ฐานที่มั่นใหญ่นั้น  กลุ่มจุมบอกมีการต่อต้านการจู่โจมของนักต่อสู้ชาวอาเจะห์ที่สนับสนุนการประกาศเอกราชของสาธารณรัฐอินโดเนเซีย 

ในการประทะด้วยกำลังอาวุธเกิดขึ้นระหว่างกลุ่มกาฮารูกับกลุ่มขุนนางดาวุด จุมบอก ในปี 1946  กลุ่มศักดินานั้นในที่สุดก็แตกสลาย  มีการคาดว่าผู้เสียชีวิตจากสงครามจุมบอกมีประมาณ 1,500 คน (3)  ส่วนใหญ่ของผู้เสียชีวิตเป็นสมาชิกของกลุ่มจุมบอก  รวมทั้งตือกู มูฮัมหมัด ดาวุด จุมบอกด้วย  นี้คือประวัติศาสตร์ที่ขมขื่นสำหรับเหล่าบรรดาขุนนางที่อาเจะห์

เหตุการณ์จุมบอกเป็นจุดจบของประวัติศาสตร์ที่ยาวนานศักดินาขุนนางในดินแดนที่อยู่ปลายสุดของเกาะสุมาตรา  อย่างไรก็ตามเหตุการณ์จุมบอกสามารถกล่าวได้ว่าเป็นประวัติศาสตร์แรกเริ่มสำหรับการต่อสู้ที่ยาวนานของประชาชนชาวอะเจะห์ที่มีต่อสาธารณรัฐอินโดเนเซีย  ถ้าจะให้ชัดก็คือมีความเหมือนระหว่างขุนนางจุมบอกกับขบวนการอาเจะห์เสรี  อย่างน้อยก็สามารถเห็นถึงภูมิศาสตร์ของการต่อสู้ของพวกเขา  ฐานที่มั่นของขุนนางจุมบอกคือพื้นที่บริเวณบีรึน เฉกเช่นเดียวกับขบวนการอาเจะห์เสรี  เริ่มฐานที่มั่นตั้งอยู่ในเขตปีดี ภายหลังจากนายฮาซัน ตีโรออกไปยังต่างประเทศ  ฐานที่มั่นของขบวนการอาเจะห์เสรีย้ายไปยังพื้นที่บีรึน  แม้จะเป็นเช่นนั้นก็ตาม จนถึงปัจจุบันยังไม่พบหลักฐานที่หนักแน่นว่าบรรดาลูกหลานตระกูลดาวุด จุมบอก  หรือบรรดาขุนนางคนอื่นเข้าร่วมในการต่อสู้ของขบวนการอาเจะห์เสรี (ต่อ)

อ้างอิง
1. M. Nur  El  Ibrahimy.1982. Tgk. M. Daud  Beureueh  Peranannya  dalam  pergolakan di 
Aceh. Jakarta : Gunung Agung
2. สัมภาษณ์  H. M. Nur  El  Ibrahimy, Tempo 26 ธันวาคม 1999
3. นิตยสาร Tajuk, 23 ธันวาคม 1998