Ekonomi/Bisnis

Jumaat, 30 September 2016

สัมมนาวิชาการ “ภาษามลายูสู่ประชาคมอาเซียน” ณ ม.อ. ปัตตานี


โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน
ผู้เขียนได้รับการติดต่อจากทางสมาคมข้าราชการครูมลายูมาเลเซียตะวันตก (Persatuan Guru-Guru Melayu Malaysia Barat) เพื่อร่วมจัดงานสัมมนาเกี่ยวกับภาษามลายู จึงได้จัดสัมมนาในหัวข้อ "ภาษามลายูสู่ประชาคมอาเซียน" โดยมีนักศึกษาที่ลงทะเบียนวิชา 431-411 สัมมนามลายูศึกษา และวิชา 431-412 โครงงานมลายูศึกษา เป็นผู้รับผิดชอบและดำเนินการโครงการสัมมนาดังกล่าว

โครงการสัมมนาวิชาการ “ภาษามลายูสู่ประชาคมอาเซียน”

1.  ชื่อโครงการ

     โครงการสัมมนาวิชาการ “ภาษามลายูสู่ประชาคมอาเซียน”

2.  หลักการและเหตุผล

ด้วยการเรียนการสอนวิชา 431-411 สัมมนามลายูศึกษา เป็นการเรียนรู้ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติเกี่ยวกับมลายูศึกษา นอกจากนั้นเพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้เกี่ยวกับการจัดสัมมนา ดังนั้นจึงเห็นสมควรได้จัดโครงการสัมมนาวิชาการในหัวข้อภาษามลายูกับประชาคมอาเซียน โดยประสานงานร่วมกับสมาคมข้าราชการครูมลายูมาเลเซียตะวันตก (Persatuan Guru-Guru Melayu Malaysia Barat) กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย การได้เรียนรู้ ได้เข้าใจความเป็นมา และความสำคัญของภาษามลายู จากวิทยากรของประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่ใช้ภาษามลายู จะทำให้นักศึกษาได้รับรู้ข้อมูลจริงจากวิทยากร จะเป็นการพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาให้มีการพัฒนาในการเรียนรู้ภาษาของประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น

3.  ผู้รับผิดชอบโครงการ          
    ศูนย์นูซันตาราศึกษา

4.  วัตถุประสงค์
1) เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการสัมมนา

2) เพื่อให้นักศึกษาได้รับรู้ถึงความสำคัญของภาษามลายู

3) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนวิชา 431-411 สัมมนามลายูศึกษา

5.  เป้าหมาย
1)    เป้าหมายเชิงปริมาณ
        มีนักศึกษาสาขาวิชามลายูศึกษาเข้าร่วมประมาณ  150  คน

2)    เป้าหมายเชิงคุณภาพ

       นักศึกษาที่ลงทะเบียนวิชา 431-411 สัมมนามลายูศึกษา สามารถเขียนรายงานส่วนที่เกี่ยวข้องกับภาษามลายูได้ จำนวน 1 เล่ม

6. ลักษณะการดำเนินโครงการ
          จัดสัมมนาโดยประสานงานกับสมาคมข้าราชการครูมลายูมาเลเซียตะวันตก (Persatuan Guru-Guru Melayu Malaysia Barat) กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เพื่อให้ส่งวิทยากรด้านภาษามลายู จำนวน 3 คน และให้นักศึกษาสาขาวิชามลายูศึกษาที่เคยไปฝึกงานที่พิพิธภัณฑ์แห่งรัฐกลันตัน สมาคมเสียงหนุ่มสาว และคณะกรรมการอิสลามแห่งรัฐกลันตัน จำนวน 3 คน ร่วมเป็นผู้นำเสนอประสบการณ์การใช้ภาษามลายูขณะไปฝึกงานในแต่ละสถานที่

กำหนดการสัมมนาวิชาการ “ภาษามลายูกับประชาคมอาเซียน”

ห้อง 58101 อาคารเรียนรวม 58
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

วันที่ 28 กันยายน 2559 เวลา 13.00-16.00

13.00 น.   ประธานจัดโครงการสัมมนากล่าว

13.10 น.   ประธานพิธีเปิดการสัมมนากล่าวต้อนรับ
13.20-13.50 น.  ประสบการณ์ด้านภาษามลายูของนักศึกษาสาขาวิชา
                     มลายูศึกษาในการฝึกงานที่รัฐกลันตัน มาเลเซีย

       - นางสาวอัสมะ  จิตบรรจง    ประสบการณ์ที่พิพิธภัณธ์แห่งรัฐกลันตัน
       - นางสาวปาโลซ่า   หมู่อำหมัดยู่โซะ ประสบการณ์ที่สมาคมเสียงหนุ่มสาว
       - นางสาวฟาตีเม๊าะ  หะมิมะดิง           ประสบการณ์ที่สำนักงานคณะกรรมการอิสลามแห่งรัฐกลันตัน

14.00-15.45 น. ประสบการณ์จากประเทศมาเลเซีย
       - นาย Abu Bakar Bin Mohd Abdullah  หัวข้อ   Peribahasa dalam Bahasa Melayu
       - นาย Ismail Bin Hassan  หัวข้อ Sejarah Bahasa Melayu
       - นาย Kamarulzaman Bin Ismail   หัวข้อ Pelajaran Bahasa Melayu di Abad ke 21

15.50-16.00 น.  ประธานพิธีกล่าวปิดการสัมมนา

และหลังจากเสร็จการสัมมนาแล้ว ผู้เขียนได้เชิญวิทยากรและผู้เข้าร่วมจากประเทศมาเลเซีย เข้าชั้นเรียนวิชา 431-211 อารยธรรมมลายู เพื่อให้ความรู้กับนักศึกษาสาขาวิชามลายูศึกษา และนอกจากนั้นได้ร่วมเซ็นหนังสือ Momerundum of Understanding ระหว่างศูนย์นูซันตาราศึกษา (Nusantara Studies Center) กับสมาคมข้าราชการครูมลายูมาเลเซียตะวันตก สาขารัฐตรังกานู และ 8 โรงเรียนมัธยมของรัฐตรังกานู ประเทศมาเลเซีย 
ประมวลภาพการจัดสัมมนา "ภาษามลายูสู่ประชาคมอาเซียน"




















Selasa, 27 September 2016

สัยยิดมูฮัมหมัด อัลซากอฟฟ์ : กงสุลกิตติมศักดิ์อาณาจักรออตโตมานประจำสิงคโปร์

       สัยยิดมูฮัมหมัด อัลซากอฟฟ์ เป็นบุคคลที่มีบทบาทยิ่งในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโลกมลายูกับอาณาจักรออตโตมาน เขาเป็นหลานปู่ของสัยยิดอับดุลราหมาน อัลซากอฟฟ์  ปู่ของเขาเป็นนักธุรกิจชาวอาหรับฮัดรามีที่เดินทางมายังสิงคโปร์ในปี 1824  ปู่ของเขาได้ตั้งบริษัทชื่อว่า AlSagoff and Company โดยประกอบกิจการมากมาย ทั้งส่งออกไม้ซุง ยางพารา มะพร้าว โก้โก กาแฟ จากแหลมมลายูไปยังยุโรป และกลุ่มประเทศอาหรับ นอกจากนั้นยังมีเรือเดินเส้นทางสิงคโปร์ไปมะละกา และพื้นที่ในรัฐโยโฮร์ หลังจากสัยยิดอับดุลราหมาน อัลซากอฟฟ์ เสียชีวิต  บิดาของสัยยิดมูฮัมหมัด อัลซากอฟฟ์ ชื่อสัยยิดอาหมัด อัลซากอฟฟ์ ก็รับช่วงธุรกิจต่อ และเขาได้แต่งงานกับราชาซีตี (Raja Siti) บุตรสาวของฮัจญีฟาตีมะห์ (Haji Fatimah) คนเชื้อสายบูกิส (จากเกาะสุลาเวซี อินโดเนเซีย) ยิ่งทำให้อาณาจักรทางธุรกิจของสัยยิดอาหมัด อัลซากอฟฟ์ ขยายตัวออกไปอีก นอกจากธุรกิจในสิงคโปร์ยังขยายไปยังเกาะสุลาเวซีอีกด้วย เมื่อสัยยิดอาหมัด อัลซากอฟฟ์ เสียชีวิตในปี 1875 ธุรกิจทั้งหมดจึงเป็นของสัยยิดมูฮัมหมัด อัลซากอฟฟ์  สำหรับตระกูลอัลซากอฟฟ์แล้ว ถือได้ว่าสัยยิดมูฮัมหมัด อัลซากอฟฟ์ เป็นคนแรกของตระกูลที่เกิดในสิงคโปร์ โดยปู่ของเขาพาคุณพ่อของเขาเดินทางมาจากดินแดนฮัดราเมาต์ในประเทศเยเมน


       สิงคโปร์ถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางทางการเมืองและเศรษฐกิจของชาวอาหรับฮัดรามี และนอกจากนั้นสิงคโปร์ยังเป็นศูนย์กลางหรือ Hub ของเรืออาหรับฮัดรามี  ความสำคัญของสิงคโปร์ที่มีติอชาวอาหรับฮัดรามี เช่น ในปี 1928 ชาวอาหรับฮัดรามี ยังมีการจัดการประชุมชื่อว่า Hadrami Peace Conference ในสิงคโปร์  และสิงคโปร์เองยังเป็นศูนย์กลางการนำชาวมุสลิมเดินทางไปแสวงบุญยังนครมักกะห์ จากบันทึกปรากฎว่าในปี 1874  บริษัทของตระกูลอัลซากอฟฟ์ คือ บริษัท AlSagoff Singapore Steamship Company ได้ส่งคนไปทำฮัจญ์จำนวน 3,476 คน  และในปี 1885 มีบริษัทชาวอาหรับในสิงคโปร์ถึง 80 บริษัท ในสิงคโปร์ มีครอบครัวอาหรับที่มีชื่อเสียง เช่น ครอบครัวอัลซากอฟฟ์  ครอบครัวอัลยูนิด  ครอบครัวอัลกัฟฟ์ การที่สัยยิดมูฮัมหมัด อัลซากอฟฟ์ เป็นผู้ประกอบการส่งคนไปทำฮัจญ์ที่นครมักกะห์ ทำให้เขาต้องมีความสัมพันธ์กับอาณาจักรออตโตมาน ซึ่งขณะนั้นนครมักกะห์ เป็นดินแดนภายใต้การปกครองของอาณาจักรออตโตมาน

      สำหรับเครือข่ายชาวอาหรับฮัดรามีในภูมิภาคมลายูนั้น สามารถเป็นสะพานสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโลกมลายูกับอาณาจักรออตโตมาน ชาวอาหรับฮัดรามีจากดินแดนในประเทศเยเมนปัจจุบัน ได้อพยพไปยังภูมิภาคมลายู จนเกิดลูกหลานมากมาย กระจายไปทั่ว มีทั้งในรัฐโยโฮร์ รัฐปาหัง รัฐตรังกานู เกาะชวา เกาะสุมาตรา เกาะกาลีมันตัน  กลุ่มลูกหลานเชื้อสายชาวอาหรับฮัดรามีเหล่านี้ จะสร้างเครือข่ายมากมาย และชาวอาหรับเอง มีความรู้ทางศาสนาอิสลามค่อนข้างสูง จนได้รับตำแหน่งสูงๆทางศาสนาอิสลามในอาณาจักรออตโตมาน  นายยาห์ยา อาร์มายานี ในหนังสือของเขาชื่อ Middle East Past and Present ได้กล่าวไว้ว่า The Turks honored the religion of the Arabs, the language of the Arabs, and the laws which the Arab had established ซึ่งส่วนหนึ่งกล่าวว่า ความสัมพันธ์ระหว่างสัยยิดมูฮัมหมัด อัลซากอฟฟ์ ผ่านความสัมพันธ์กับชาวอาหรับฮัดรามีที่มีบทบาทในอาณาจักรออตโตมาน

       อาณาจักรออตโตมาน มีการจัดตั้งสถานกงสุลในสิงคโปร์เมื่อปี 1864 และมีสัยยิดมูฮัมหมัด อัลซากอฟฟ์เป็นกงสุลของอาณาจักรออตโตมาน สัยยิดมูฮัมหมัด อัลซากอฟฟ์ ยังสร้างความสัมพันธ์กับบรรดาสุลต่านต่างๆในเกาะสุมาตรา เช่น สุลต่านแห่งเมืองเซียะศรีอินทราปุรา   สุลต่านแห่งเมือนปอนเตียนัก  สุลต่านแห่งเมืองลังกัต รวมทั้งผู้ว่าการของรัฐมะละกา รัฐปีนัง   เขายังสนับสนุนชาวอาเจะห์ในการต่อสู้กับฮอลันดา ชุมชนชาวอาหรับสิงคโปร์ได้บริจาคทรัพย์สินให้แก่ชาวอาเจะห์  โดยครอบครัวอัลซากอฟฟ์ เป็นตัวหลักในการรวบรวมเงินบริจาคในการสนับสนุนชาวอาเจะห์ ส่วนมัสยิดฮัจญีฟาตีมะห์ เป็นศูนย์กลางในการเคลื่อนไหวครั้งนี้ สัยยิดมูฮัมหมัด อัลซากอฟฟ์เสียชีวิตขณะที่มีอายุได้ 70 ปี เมื่อปี 1906  เมื่อเขาได้เสียชีวิต  หลานน้าของเขาที่ชื่อว่า สัยยิดโอมาร์ อัลซากอฟฟ์ ต้องเดินทางกลับจากการบริหารบริษัทเครืออัลซากอฟฟ์ในกรุงอิสตันบุล เพื่อมาเป็นผู้บริหารในสิงคโปร์ต่อจากน้าของเขา
       ขณะที่สัยยิดมูฮัมหมัด อัลซากอฟฟ์ หรือที่รู้จักกันในชื่อ นงจิ (Nong Chik) ยังมีชีวิตเขาได้ทำกิจกรรมเพื่อสังคมมุสลิมมากมาย เช่น จัดตั้งกองทุนวากัฟชื่อว่า SMA Wakaf Funds  คำว่า SMA มาจากชื่อของเขาในภาษาอังกฤษว่า Syed Mohamed AlSagoff   และจัดตั้ง Muslim Trust Fund Association สำหรับ Muslim Trust Fund Association ยังคงมีจนถึงปัจจุบัน โดยทำหน้าที่บริหารมัสยิด และดำเนินการบริหารศูนย์เด็กกำพร้า 2 แห่ง  คือ ศูนย์เด็กกำพร้าผู้ชายดารุลอิฮซาน (Darul Ihsan Boys’ Orphanage) และศูนย์เด็กกำพร้าผู้หญิงดารุลอิฮซาน (Darul Ihsan Girls’ Orphanage) นอกจากนั้นเขาได้สร้างและได้บริจาคทรัพย์สินเพื่อโรงเรียนอาหรับอัลซากอฟฟ์(Alsagoff Arab School )  ปัจจุบันโรงเรียนแห่งนี้เปิดการสอนจนถึงระดับมัธยมปลาย  และยังมีสิ่งหนึ่งที่เราไม่เคยทราบ นั้นคือ โรงแรมราฟเฟิล สิงคโปร์ ซึ่งเป็นโรงแรมที่มีชื่อของประเทศสิงคโปร์ และเปิดบริการตั้งแต่ปี 1887 นั้น แม้ว่าคนเชื้อสายอาร์เมเนียแห่งตระกูลซาร์กิส จะเป็นผู้บริหารโรงแรมจนมีชื่อเสียง แต่เจ้าของกรรมสิทธิ์ตัวอาคารและที่ดินนั้น เป็นของตระกูลอัลซากอฟฟ์ โดยตระกูลอัลซากอฟฟ์เพิ่งจะขายอาคารและที่ดินโรงแรมราฟเฟิลให้ธนาคารมาลายันแบงกิ้ง ในปี 1963 ในราคาขณะนั้น 1.415 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์

      เราไม่อาจปฏิเสธถึงบทบาทตระกูลอัลซากอฟฟ์ ทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจ และไม่อาจปฏิเสธถึงบทบาทของสัยยิดมูฮัมหมัด อัลซากอฟฟ์ ในการเป็นสะพานเชื่อมระหว่างโลกมลายูกับอาณาจักรออตโตมานในอดีต

Sabtu, 10 September 2016

Peranan Ulama Patani di Jambi dan Aceh, Indonesia.

Oleh Nik Abdul Rakib Bin Nik Hassan
     Kedua dua tempat itu di Indonesia iaitu Jambi dan Aceh, penulis telah melawat sebahagiannya untuk mencari hubungan di antara Patani dengan Jambi dan Aceh. Di sini saya akan muatkan sebahagian dari sebuah artikel yang ditulis oleh Wan Mohd Saghir Abdullah dengan tajuk }Peranan Ulama Patani di Perantauan". 
                   Peta Aceh
                Peta Jambi
PERANAN ULAMA PATANI DI JAMBI
Ketika terjadi pertikaian khilafiah di Mekah, kemenangan berada di tangan golongan Wahhabiyah. Ia menyebabkan beberapa ulama tidak aman tinggal di Mekah. Di antara mereka termasuklah Tengku Mahmud Zuhdi bin Abdur Rahman al-Fathani.
Tengku Mahmud Zuhdi al-Fathani mengambil Jambi sebagai tempat persinggahan pertamanya.

Di Jambi secara tidak langsung beliau mendapat tempat dan ramai orang datang mengunjungi beliau kerana ingin menuntut ilmu. Dalam tempoh yang relatif tidak memakan masa yang lama beliau dan kawan-kawan berhasil mendirikan tempat pendidikan di Tahtul Yaman.

Oleh kerana Sultan Sulaiman Selangor mengajaknya pindah ke Selangor, lalu beliau meninggalkan Jambi, tetapi tempatnya di Jambi diganti oleh anaknya, Tengku Muhammad bin Tengku Mahmud Zuhdi al-Fathani.

Pengaruh dan peranan Tengku Muhammad al-Fathani di Jambi sangat besar, sangat ramai muridnya. Di Jambi beliau dikenali dengan nama 'Ulama Jubah Hitam' kerana setiap kali mengajar beliau memakai jubah hitam dan berserban dengan kemas.

Penulis telah dua kali datang ke Jambi (1985 dan 1986) menginap di rumah anaknya bernama Zakaria. Daripada wawancara yang diperoleh, hampir seluruh pendapat masyarakat, bahawa setelah Tengku Muhammad al-Fathani tiada, memang tidak ditemui lagi ulama yang setaraf dengan beliau baik dari segi keilmuan ataupun besar pengaruhnya kepada masyarakat.

Sewaktu berada di Jambi, penulis sempat menyalin kandungan Harian Ampera yang ada dalam simpanan penduduk.

Harian Ampera hari Selasa, 28 Disember 1976, halaman 6 mencatatkan, "Seorang Tokoh Agama Islam yang terkenal di Jambi Tuan Guru Zuhdy, hari Minggu, 26 Disember tutup usia di Jakarta. Almarhum singgah di Jakarta dalam perjalanan kembali ke Jambi dari Tanah Suci Mekah. Jenazah Tokoh Islam Jambi itu, Senin kelmarin tiba di lapangan Pal Merah dengan pesawat terbang milik National Air Charter.

"Ribuan masyarakat termasuk sejumlah besar pejabat pemerintah di sini menyambutnya di lapangan terbang. Dari Pal Merah jenazah dibawa ke Mesjid Raya Jambi untuk disembahyangkan dan hari Senin petang kelmarin dikebumikan di seberang Kota Jambi".

PERANAN ULAMA PATANI DI ACEH
Hubungan antara Patani dan Aceh sebagai pusat penyebaran Islam di Asia Tenggara berjalan sudah demikian lama. Barangkali sejak diperkenalkan agama Islam di Asia Tenggara, hubungan kekeluargaan antara kedua-dua tempat tersebut sudah terjalin dengan eratnya.

Dapat dicatat di antara ulama Aceh yang datang menyebar Islam ke Patani ialah Sheikh Muhammad Sa'id dan Sheikh Shafiyuddin (Tok Raja Faqih).

Penulis difahamkan bahawa ulama dan tokoh Aceh yang sangat terkenal iaitu Teungku Daud Beureueh (1896-10 Juni 1987) termasuk salah seorang keturunan ulama Patani yang berhijrah dari Patani ke Aceh pada zaman dulu. Sampai di mana kebenaran cerita ini masih dalam tahap penelitian.

Mengenai Teungku Daud Beureueh di sini tidak perlu diperkenalkan lagi kerana sudah cukup banyak diketahui oleh orang, juga pernah dimuatkan dalam ruangan ini.


Jika kita kaji watak peribadi Teungku Daud Beureueh dan keseluruhan watak masyarakat Aceh dengan watak ulama-ulama Patani dan keseluruhan watak masyarakat Patani, sangat banyak persamaan terutama sekali sikap cenderung kepada pemerintahan bercorak Islam dan anti kafir. Maka sangat boleh diterima bahawa orang-orang Patani memang terjalin pertalian kekeluargaan dengan orang-orang Aceh.