Ekonomi/Bisnis

Jumaat, 29 Mac 2013

Muhammad Uthman El-Muhammady : นักการศาสนาอิสลามนามอุโฆษของประเทศมาเลเซีย

โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน
 มูฮัมหมัด อุสมาน อัล-มูฮัมหมัดดี (Muhammad Uthman El-Muhammady)
นักการศาสนานามอุโฆษแห่งรัฐกลันตัน มาเลเซีย

เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2013 ที่ผ่านมา ชาวมาเลเซียต้องสูญเสียนักการศาสนานามอุโฆษคนหนึ่ง  ท่านเป็นนักการศาสนาที่มาจากรัฐกลันตัน รัฐที่ได้ชื่อว่าเป็นรัฐที่เคร่งในศาสนาอิสลามของประเทศมาลเซีย

มูฮัมหมัด อุสมาน อัล-มูฮัมหมัดดี เป็นนักเขียนแนวศาสนาอิสลาม และเป็นนักดะวะห์ หรือนักเผยแพร่ศาสนาอิสลาม  เขาได้รับรางวัล Maal Hijrah แห่งชาติของมาเลเซียประจำปีฮิจเราะห์ศักราช 1426 เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2005

เขาเกิดที่หมู่บ้านตะโละ ตำบลปันยี เมืองโกตาบารู รัฐกลันตัน เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 1943 และสิ้นชีวิตเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2013 ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์
การศึกษา
เขาได้รับการศึกษาชั้นต้นที่โรงเรียนมลายู ต่อมาในปี 1943 ได้เข้าเรียน ระดับ Special Malay Class ที่โรงเรียนสุลต่านอิสมาแอล ซึ่งต่อมาโรงเรียนนี้ได้เปลี่ยนชื่อเป็นวิทยาลัย ใช้ชื่อว่า Maktab Sultan Ismail หรือ Sultan Ismail College  โดยเขาเรียนถึงชั้นมัธยมปีที่ 5  ต่อมาเขาได้เรียนชั้น Higher School Certificate (HSC) ที่วิทยาลัยสุลต่านอับดุลฮามิด หรือ Sultan Abdul Hamid College ที่เมืองอลอร์สตาร์ รัฐเคดะห์

ในปี 1963 เขาได้เข้าเรียนด้านอิสลามศึกษา ที่มหาวิทยาลัยมาลายา กรุงกัวลาลัมเปอร์ จนได้รับปริญญาตรีด้านอิสลามศึกษาในปี 1966 ต่อมาเป็นผู้ช่วยอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยดังกล่าว พร้อมๆกับศึกษาปริญญาโท จนจบปริญญาโทในปี 1969

เขาได้เริ่มทำงานเป็นอาจารย์ที่ภาควิชาอิสลามศึกษาของมหาวิทยาลัยมาลายา จนถึงปี 1973 ต่อมาได้ลาออกพร้อมกลับไปยังรัฐกลันตัน ทุ่มเวลาให้กับการเขียนหนังสือและเผยแพร่ศาสนาอิสลาม  
ในปี 1995 เขาได้รับปริญญาเอกกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยไซนส์มาเลเซีย หรือ Universiti Sains Malaysia ในฐานะที่ได้ทุ่มเทเวลาให้กับการผลิตงานเขียนแนวศาสนาอิสลามและการเผยแพร่ศาสนาอิสลาม

เขาเป็นผู้ที่มีความสนใจในด้านวิชาความรู้อิสลามและปรัชญาตะวันตก  แนวความคิดอิสลามและมุมมองต่อแนวคิดดังกล่าว รวมทั้งแนวคิดของกลุ่มสุนหนี่ 

เขายังทุ่มเทเวลาให้กับการเรียนแนวกีตาบ หรือ หนังสือศาสนาแบบจารีตนิยม โดยได้สอนในมัสยิดบริเวณอำเภอปาเสร์มัส และอำเภอโกตาบารู  นอกจากนั้นเป็นวิทยากรรับเชิญในการบรรยายศาสนาตามที่ต่างๆ

เขาสิ้นชีวิตด้วยโรคหัวใจที่บ้านพักบุคลากรของสถาบันนานาชาติว่าด้วยแนวคิดอิสลามและอารยธรรม หรือ Institut Antarabangsa Pemikiran Islam dan Ketamadunan หรือในภาษาอังกฤษว่า The International Institute of Islamic Thought and Civilization (ISTAC) ซึ่งเป็นสถาบันที่สังกัดมหาวิทยาลัยอิสลามนานาชาติ
The International Institute of Islamic Thought and Civilization (ISTAC) 
 The International Institute of Islamic Thought and Civilization (ISTAC)

เขาเป็น Fellow ของสถาบันนานาชาติว่าด้วยแนวคิดอิสลามและอารยธรรม และนอกจากนั้นเขายังได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกรรมการของมูลนิธิที่ชื่อว่า Yayasan Karyawan  และยังเป็นอาจารย์พิเศษสาขาศาสนาเปรียบเทียบระดับบัณฑิตวิทยาลัยของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมารา หรือ Universiti Teknologi Mara (UiTM)

ผลงานเขียนของเขา :
“Al-Quranul-Karim, terjemahan dan Huraian Maksud”- การแปลและการอธิบายเพิ่มเติมจากการแปลเป็นภาษาอังกฤษของ Abdullah Yusuf Ali จัดพิมพ์โดย Dewan Bahasa dan Pustaka (DBP) (หนังสือชุดจำนวน 5 เล่ม).
“Fathul Mu’in, terjemahan dan Huraian Maksud” จัดพิมพ์โดยสำนักงานคณะกรรมการอิสลามแห่งรัฐกลันตัน เมืองโกตาบารู  รัฐกลันตัน
“Peradaban dalam Islam” จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Pustaka Aman Press เมืองโกตาบารู รัฐกลันตัน ปี 1976 และมีการจัดพิมพ์เพิ่มอีกหลายครั้ง
“Memahami Islam"  จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Pustaka Aman Press เมืองโกตาบารู รัฐกลันตัน ปี 1977
“Islam, Peribadi, Tarbiah dan Institusi” จัดพิมพ์โดย คณะกรรมการศาสนาอิสลามแห่งรัฐกลันตัน ปี1987
“Islam dan Kebudayaan” เอกสารจัดพิมพ์โดย Dewan Bahasa dan Pustaka (DBP)

ชีวิตส่วนตัว
แต่งงานกับคุณ Mariam Hussein มีบุตรด้วยกัน 11 คน เป็นบุตรสาว 7 คน และบุตรชาย 4 คน

Khamis, 21 Mac 2013

Khazanah Nasional : กองทุนปีกการเงินของรัฐบาลมาเลเซีย

โดย นิอับดุลรากิีบ  บินนิฮสซัน
Khazanah Nasional Berhad  หรือ คาซานะห์ นาชั่นนาล  จำกัด เป็นกองทุนปีกการเงินของรัฐบาลมาเลเซีย จัดตั้งขึ้นภายใต้กฎหมายการจัดตั้งบริษัทปี 1965 เมื่อวันที่ 3 กันยายน 1993 ในฐานะบริษัทมหาชน  หุ้นของกองทุนนี้ถือโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ตามพ.ร.บ.กระทรวงการคลังปี 1957
ประธานกองทุนคาซานะห์นาชั่นนาล
กองทุนคาซานะห์ นาชั่นนาล  ประกอบด้วยคณะกรรมการบริหาร 9 คน ซึ่งประกอบด้วยจากหน่วยงานรัฐและเอกชน   นายดาโต๊ะสรีนายิบ บินตุนอับดุลราซัค ในฐานะนายกรัฐมนตรีเป็นประธานคณะกรรมการบริหาร
กองทุนคาซานะห์ นาชั่นนาล  มีการลงทุนในมากกว่า 50  บริษัท 
โครงสร้างการบริหารของกองทุนคาซานะห์นาชั่นแนล
ทรัพย์สินทั้งหมด (net asset value) ของกองทุนคาซานะห์ นาชั่นนาล  ในปี 2012 มี 29 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมูลค่าสุทธิที่จะได้รับ (net realizable value) ในปีดังกล่าว คือ 121.6 พันล้านริงกิตมาเลเซีย
กองทุนคาซานะห์ นาชั่นนาล  เป็นตัวแทนของรัฐบาลในการลงทุนข้ามชาติ
กองทุนคาซานะห์นาชั่นนาล ประกอบกิจการหลายประเภท เช่น

ถือหุ้นในกิจการด้านการเกษตร  เช่น
 0-MAFC 100%
0-Blue Archipelago 100%
0-Biotropics 100%

ถือหุ้นในกิจการด้านยานยนต์  เช่น 
0-Miyazu Seisakusho 9.12%

ถือหุ้นในกิจการด้านวัสดุพื้นฐาน เช่น
0-CIMA 100%

ถือหุ้นในกิจการด้านสถาบันการเงิน เช่น
0-Santubong Ventures 100%
0-ACRM 70%
0-Valuecap 33.33%
0-ACR Holdings 31.56%
0-ACR ReTakaful 40%
0-Bank Muamalat 30.0%
0-CIMB Group 28.39%
0-EON Capital 10.0%]=[
0-Jadwa Investment 10.0%
0-IDFC 8.97%

ถือหุ้นในกิจการด้านสุขภาพ เช่น
0-Integrated Healthcare Holdings (IHH) 100%
0-Parkway 23.86% (held via IHH)
0-Pantai Holdings 60%
0-IMU Health 67.5% (held via IHH)
0-Apollo Hospital 12.21%
0-Pharmaniaga 86.8% (held via UEM Group)

ถือหุ้นในกิจการด้านสาธารณุปโภคและการก่อสร้าง เช่น
0-Plus Expressways 16.74%
0-UEM Group 100%
0-UEM Builders 100%
0-Opus International 96.39%

ถือหุ้นในกิจการด้านการท่องเที่ยว เช่น
Themed Attractions 100%

ถือหุ้นในกิจการด้านการสื่อสารและโทรคมนาคม เช่น
0-Axiata Group Berhad 44.51%
0-Telekom Malaysia 36.78%
0-TimedotCom 18.38%
0-Time Engineering 45%
0-Astro 29.34%

ถือหุ้นในกิจการด้านอสังหาริมทรัพย์ เช่น
0-STLR 100%
0-Iskandar Investment Berhad 60%
0-Putrajaya Holdings 15.59%
0-UEM Land 77.14%

ถือหุ้นในกิจการด้านเทคโนโลยีและไบโอเทค เช่น
0-Atlantic Quantum 100%
0-MTDC 100%
0-SilTerra Malaysia 98.05%
0-Springhill Bioventures 33.33%

ถือหุ้นในกิจการด้านคมนาคมและโลจิสติคส์ เช่น
0-Penerbangan Malaysia 100%
0-Malaysia Airlines 17.08%
0-Malaysia Airports 60%
0-Pos Malaysia 32.21%
0-Westport 8.55%

ถือหุ้นในกิจการด้านสาธารประโยชน์ เช่น
0-Tenaga Malaysia 35.69%
0-Northern Utility 20%
0-Shuaibah Water and Electricity Company 12%

ถือหุ้นในกิจการด้านอื่นๆ เช่น
0-KCS Green Energy 80%
0-Parkson Retail 7.84%
0-DRB-HICOM 5.13%


ในการดดีลขายหุ้นธนาคารกรุงศรีอยุธยาของกลุ่มจีอีที่เหลืออยู่ 25.33% จะมีความชัดเจนหลังจากวันที่ 26 มีนาคมนี้ มี 2 ตัวเก็ง คือ"มิตซูบิชิ" ชิงดำ "กองทุนคาซานาห์" กองทุนจากมาเลเซีย  

ถ้ากองทุนคาซานะห์นาชั่นนาล ประสบความสำเร็จในการซื้อหุ้นครั้งนี้ ก็จะเป็นอีกก้าวหนึ่งของกองทุนปีกการเงินของรัฐบาลมาเลเซียในการขยายกิจกรรมในสถาบันการเงินของประเทศไทย
 และต้องการขยายไปลงทุน

รายงานว่ากองทุนนี้ได้จับมือกับซัน ไลฟ์ ไฟแนนเชียล อิงค์ กลุ่มธุรกิจด้านประกันชีวิตจากแคนาดา เพื่อเข้าซื้อหุ้นในบริษัทประกันร่วมทุนของซีไอเอ็มบี และอาวิว่าในมาเลเซีย รวมถึงขณะนี้ยังมีกระแสข่าวว่ากองทุนคาซานาห์ยังเป็นผู้เสนอเข้าซื้อหุ้นมูลค่า 500 ล้านดอลลาร์ ของ บมจ.ไทยประกันชีวิตอีกด้วย

Jumaat, 15 Mac 2013

ปฏิบัติการยึดรัฐซาบะห์ มาเลเซีย : ปฏิบัติการฆ่าตัวตายของกองกำลังติดอาวุธรัฐสุลต่านซูลู ภาคใต้ฟิลิปปินส์

โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน
การที่กองทัพสุลต่านแห่งซูลู  ซึ่งสังกัดสุลต่านซูลูที่ชื่อว่า สุลต่านจามาลุล กีรามที่ 3 จากหมู่เกาะซูลู ภาคใต้ฟิลิปปินส์ ได้ยกพลขึ้นยึดหมู่บ้านตันดูวอ ใกล้กับเมืองลาฮัตดาตู ในรัฐซาบะห์ ประเทศมาเลเซีย  โดยทางรัฐบาลมาเลเซียให้เวลาในการเจรจา แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จในการเจรจา จนในที่สุดทางรัฐบาลมาเลเซียจึงใช้วิธีการปราบอย่างรุนแรง

รัฐซาบะห์เป็นของใคร
กล่าวกันว่าเดิมนั้นดินแดนรัฐซาบะห์ในปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรบรูไนนับตั้งแต่ศตวรรษที่ 15  ต่อมาทางรัฐสุลต่านซูลูกล่าวว่าทางรัฐบรูไนได้ยกดินแดนบอร์เนียวเหนือให้รัฐสุลต่านซูลู ในขณะที่ทางประวัติศาสตร์รัฐบรูไนปฏิเสธว่ารัฐบรูไนไม่ได้ยกดินแดนซาบะห์ให้แก่รัฐสุลต่านซูลู
การที่รัฐสุลต่านซูลูอ้างถึงการที่ซาบะห์หรือเดิมนั้นชื่อว่าบอร์เนียวเหนือเป็นส่วนหนึ่งของรัฐสุลต่านซูลูนี้เอง ทำให้รัฐสุลต่านซูลู ซึ่งจริงๆแล้วรัฐนี้ล้มทลายไปนานแล้ว แต่บางส่วนต้องการที่จะให้รัฐสุลต่านคงอยู่ เพื่อความชอบธรรมในการเรียกร้องสิทธิเหนือรัฐซาบะห์
เหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันคือการที่กองกำลังติดอาวุธรัฐสุลต่านซูลูยึดรัฐซาบะห์
สุลต่านยามาลุล กีราม ที่ 3 เป็นอีกหนึ่งในบรรดาสุลต่านที่อุปโลกตนเองขึ้นมา ดังนั้นเขาจึงเรียกร้องให้มีการคืนรัฐซาบะห์ให้แก่รัฐสุลต่านซูลู  หลายต่อหลายคนที่อุปโลกขึ้นมาเป็นสุลต่าน เป็นสุลต่านที่อาศัยร้านค้าเป็นสำนักงานสุลต่าน

สุลต่านยามาลุล กีราม ที่ 3
สำนักงานของสุลต่านเอสมาแอล กีราม ที่ 2
ร้านค้าที่ใช้เป็นสำนักงานของสุลต่านคนหนึ่ง
ในวันที่12 กุมภาพันธ์ 2013 กองกำลังติดอาวุธรัฐสุลต่านซูลู ได้ขึ้นบกที่ชายฝั่งบริเวณหมู่บ้านตันดูวอ เมืองลาฮัดดาตู  ต่อมาในวันที่14 กุมภาพันธ์ ทางผู้บัญชาการตำรวจมาเลเซียแจ้งว่ากองกำลังติดอาวุธรัฐสุลต่านซูลูดังกล่าวเป็นกองกำลังของผู้สืบเชื้อสายสุลต่านซูลู จากภาคใต้ฟิลิปปินส์  ในวันเดียวกันทางดาโต๊ะสรีมูฮัมหมัด นายิบ ตุนอับดุลราซัค นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ได้กล่าวว่าทางมาเลเซียจะดำเนินการเจรจากับผู้บุกรุกครั้งนี้  ก่อนที่จะขับไล่ผู้บุกรุกออกจากพื้นที่รัฐซาบะห์
 กองกำลังติดอาวุธรัฐสุลต่านซูลู
 กองกำลังติดอาวุธรัฐสุลต่านซูลู
 กองกำลังติดอาวุธรัฐสุลต่านซูลู
 กองกำลังติดอาวุธรัฐสุลต่านซูลู
และต่อมาในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ ทางดาโต๊ะสรีฮีชามุดดิน ตุนฮุสเซ็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ยืนยันว่ากองกำลังติดอาวุธดังกล่าวเป็นผู้สนับสนุนรัฐสุลต่านซูลู  ต่อมาในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ยืนยันอีกครั้งว่า ทางรัฐบาลมาเลเซียกับรัฐบาลฟิลิปปินส์จะร่วมมือกันแก้ไขปัญหาการบุกรุกครั้งนี้
.
                ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ รัฐบาลฟิลิปปินส์ ได้ส่งเรือสำหรับนำกลุ่มคนราว 180 คน พร้อมกองกำลังติดอาวุธ อีกราว 30 คน เพื่อกลับไปยังประเทศฟิลิปปินส์  วันที่ 26 กุมภาพันธ์เป็นวันสุดท้ายที่ทางรัฐบาลมาเลเซียได้ขีดเส้นสำหรับการดำเนินการขั้นเด็ดขาด ถึงอย่างไรก็ตามการเจรจาก็ยังคงดำเนินการอยู่

               วันที่ 28 กุมภาพันธ์  ทางรัฐบาลมาเลเซียถูกกดดันให้มีการเจรจาโดยตรงกับสุลต่านยามาลุล กีราม ที่ 3 ซึ่งการบุกรุกได้ดำเนินการมาเป็นเวลามากกว่าสามอาทิตย์แล้ว  ในวันที่ 1 มีนาคม 2013 เกิดการปะทะกันระหว่างฝ่ายตำรวจกับฝ่ายกองกำลังติดอาวุธรัฐสุลต่านแห่งซูลู  ฝ่ายตำรวจเสียชีวิต 2 นาย คือ ASP Zulkifli Mamat และ Sjn Sabarudin Daud ฝ่ายกองกำลังติดอาวุธรัฐสุลต่านแห่งซูลู  เสียชีวิต 12 คน เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านตันดูวอ (Tanduo)

ต่อมาในวันที่  2 มีนาคม  เจ้าหน้าที่ตำรวจเสียชีวิตอีก 6 นายจากการถูกโจมตีในหมู่บ้าน Sri Jaya Simunul เมืองเซิมโปร์นา ส่วนฝ่ายกองกำลังติดอาวุธรัฐสุลต่านแห่งซูลูก็เสียชีวิต 6 คนเช่นกัน  ในวันที่ 3 มีนาคม  ศพเจ้าหน้าที่ตำรวจ  6 นายถูกลำเลียงออกจากหมู่บ้าน พร้อมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจอีก 19 นายที่ไม่สามารถออกจากพื้นที่ขณะเกิดการปะทะกัน
                ในวันที่ 4 มีนาคม ทางนาย Jose Brillantes เจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงการต่างประเทศฟิลิปปินส์ และนาย J. Eduardo Malaya ทูฟิลิปปินส์ประจำประเทศมาเลเซียได้เดินทางไปพบดาโต๊ะสรี ดร. อาหมัด ซาอิด ฮามีดี  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมมาเลเซีย และดาโต๊ะสรีฮีชามุดดิน ตุนฮุสเซ็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เพื่อหาทางออกในการแก้ปัญหานี้

สถานการณ์ยังคงตึงเครียด ต่อมาในวันที่ 5 มีนาคม ทางรัฐบาลมาเลเซียเริ่มมีการโจมตีทางอากาศไปยังกลุ่มกองกำลังติดอาวุธรัฐสุลต่านแห่งซูลูที่หมู่บ้านตันดูวอ พร้อมเริ่มส่งกำลังตำรวจรุกไปยังหมู่บ้านดงกล่าว ทางนายกรัฐมนตรีมาเลเซียก็ได้ประกาศว่าทางรัฐบาลมาเลเซียจำเป็นต้องรักษาและปกป้องอธิปไตยของประเทศ หลังจากการเจรจาด้วยสันติวิธีไม่ประสบความสำเร็จ.
ผู้บัญญาการตำรวจกับผู้บัญชาการทหารสูงสุด
 ผู้บัญาการตำรวจมาเลเซีย ตันสรีอิสมาแอล โอมาร์ พร้อมพลเอกตันสรีซุลกีฟลี  มูฮัมหมัดซีน ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้กล่าวถึงการปฏิบัติการที่เรียกว่า OpsDaulat บรรลุวัตถุประสงค์ นั้นคือการปกป้องอธิปไตยของประเทศ

การปะทะกันมีผลทำให้เกิดการเสียชีวิตดังนี้
1 มีนาคม กองกำลังรัฐฯ  12 คน ฝ่ายตำรวจ 2 คน  ชาวบ้าน 1 คน
3 มีนาคม กองกำลังรัฐฯ  7 คน ฝ่ายตำรวจ 6 คน  ชาวบ้าน 4 คน
6-7 มีนาคม กองกำลังรัฐฯ 33 คน ฝ่ายตำรวจ - คน  ชาวบ้าน - คน
10 มีนาคม กองกำลังรัฐฯ  - คน ฝ่ายตำรวจ - คน  ชาวบ้าน 1 คน
12 มีนาคม กองกำลังรัฐฯ   3 คน ฝ่ายตำรวจ 1 คน  ชาวบ้าน - คน
และคาดว่าการเสียชีวิตจะยังคงมีจำนวนเพิ่มขึ้น

ชาวซูลูในรัฐซาบะห์
ด้วยรัฐซาบะห์กับรัฐสุลต่านซูลูนั้น มีชนเผ่าซูลูอาศัยอยู่ทั้งในทั้งสองดินแดน  สำหรับชนเผ่าซูลูในรัฐซาบะห์นั้นจะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ

กลุ่มแรก เป็นกลุ่มชาวซูลูที่เดินทางเข้าไปอาศัยอยู่ในรัฐซาบะห์มาเป็นเวลาหลายชั่วอายุคนแล้ว  ชาวซูลูกลุ่มนี้ในรุ่นปัจจุบัน มีบทบาทสำคัญในสังคมรัฐซาบะห์ เป็นข้าราชการ นักการเมือง นักธุรกิจ หนึ่งในชาวซูลูกลุ่มนี้ที่มีชื่อเสียง และเป็นผู้หนึ่งทที่มีบทบาทสำคัญในการนำรัฐซาบะห์เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของประเทศมาเลเซีย คือ ตุน ดาตูมุสตาฟา บินดาตูฮารุน ผู้ว่าการคนแรกของรัฐซาบะห์

กลุ่มที่สอง คือกลุ่มชาวซูลูที่อพยพหนีภัยจากหมู่เกาะซูลู ภาคใต้ฟิลิปปินส์ เป็นกลุ่มที่ทางรัฐบาลมาเลเซีย ได้มอบสัญชาติมาเลเซียให้แก่กลุ่มคนเหล่านี้ ทำให้พวกเขามีสิทธิเหมือนชาวมาเลเซียทั่วไป บางส่วนได้รับการศึกษาเป็นอย่างดี สามารถมีบทบาทในสังคมของรัฐซาบะห์

กลุ่มที่สาม คือกลุ่มชาวซูลูที่อพยพเช่นเดียวกันกับกลุ่มที่สอง แต่อาจจะอพยพมาภายหลังจากกลุ่มที่สอง กลุ่มที่สามนี้เป็นกลุ่มที่ไม่ได้รับสัญชาติมาเลเซีย แต่ทางรัฐบาลมาเลเซียออกบัตรผู้อพยพให้แก่กลุ่มคนเหล่านี้ ทำให้พวกเขาสามารถอาศัยอยู่ในรัฐซาบะห์ได้ตลอดไป แม้จะไม่มีสิทธิเฉกเช่นชาวมาเลเซีย

ผลกระทบจากการเกิดเหตุการณ์กองกำลังรัฐสุลต่านซูลูบุกยึดรัฐซาบะห์
จะทำให้เกิดปฏิกิริยาหลากหลายขึ้นจากเหตุการณ์นี้  ในกลุ่มของกองกำลังติดอาวุธรัฐสุลต่านซูลู อาจได้รับกำลังใจ ความเห็นอกเห็นใจจากกลุ่มชาวซูลูที่ยังฝังใจว่ารัฐซาบะห์เป็นของตนเอง ซึ่งอาจรวมถึงชาวฟิลิปปินส์ส่วนใหญ่ที่ถือว่ารัฐซาบะห์นั้นเป็นดินแดนที่สุลต่านแห่งซูลูให้เช่าเท่านั้น ดังนั้นถึงเวลาที่ฟิลิปปินส์จะต้องเรียกร้องดินแดนแห่งนี้คืนจากมาเลเซีย และด้วยมีผู้ที่อุปโลกตนเองเป็นสุลต่านมีจำนวนมาก การที่กองกำลังติดอาวุธรัฐสุลต่านซูลูได้บุกไปยังรัฐซาบะห์ก็อาจทำให้ความศรัทธาของชาวซูลูในหมู่เกาะซูลูที่มีต่อสุลต่านยามาลุล กีราม ที่ 3 เพิ่มมากขึ้น
หนังสือพิมพ์ในฟิลิปปินส์เรียกร้องให้คืนรัฐซาบะห์
 ชาวมุสลิมฟิลิปปินส์เรียกร้องให้คืนรัฐซาบะห์แก่ประเทศฟิลิปปินส์
ชาวมุสลิมฟิลิปปินส์เรียกร้องให้คืนรัฐซาบะห์แก่ประเทศฟิลิปปินส์
ในทางกลับกันการที่กองกำลังติดอาวุธรัฐสุลต่านซูลูภายใต้การนำของสุลต่านยามาลุล กีราม ที่ 3 ได้บุกรุกรัฐซาบะห์ ทำให้มีผลกระทบต่อความเห็นอก เห็นใจของชาวมาเลเซียโดยภาพรวมที่ต่อชาวหมู่ซูลู  ชาวมาเลเซียมีความระวาดระแวงต่อชาวซูลูบางทั้งๆที่มีสัญชาติมาเลเซีย เช่นนายตำรวจมาเลเซียผู้หนึ่งถูกจับฐานมีเจตนาไม่แจ้งข่าวการเข้ามาของกองกำลังติดอาวุธชาวซูลูในเมืองเซิมโปร์นา จนนำมาซึ่งความเสียหายต่อชีวิตตำรวจมาเลเซีย  ครั้งหนึ่งในอดีตชาวมาเลเซียมักเห็นอก เห็นใจชาวซูลู และชนชาวมุสลิมอื่นๆในหมู่เกาะซูลูและแผ่นดินใหญ่เกาะมินดาเนา รวมทั้งรัฐบาลมาเลเซียเองก็เป็นตัวกลางในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างกลุ่มแบ่งแยกดินแดนในภาคใต้ฟิลิปปินส์กับรัฐบาลฟิลิปปินส์ 

ความเห็นอก เห็นใจที่มีต่อชาวซูลูย่อมจะต้องลดลง และการช่วยเหลือด้านการพัฒนาชาวมุสลิมมินดาเนา ซึ่งจะรวมทั้งชาวซูลูของรัฐบาลมาเลเซีย  ตามที่รัฐบาลมาเลเซียสัญญาจะให้ความช่วยเหลือครั้งที่มีการทำสนสัญญายุติสงครามระหว่างรัฐบาลฟิลิปปินส์กับขบวนการปลดปล่อยอิสลามแห่งโมโร หรือ Moro Islamic Liberation Front ย่อมต้องชงักลง  ดังนั้นการปฏิบัติการของกองทัพสุลต่านแห่งซูลู  นอกจากจะประสบความพ่ายแพ้ การฆ่าตัวตายแล้ว ยังน่าจะถือเป็นการทำลายความเห็นอก เห็นใจของชาวมาเลเซียที่มีต่อชาวซูลูในหมู่เกาะซูลู และชาวซูลูที่ไม่ใช่สัญชาติมาเลเซีย ซึ่งอาศัยอย่ในรัฐซาบะห์มากกว่า 8 แสนคนอีกด้วย