Ekonomi/Bisnis

Jumaat, 30 Disember 2011

สุลต่านอบดุลฮาลิม มูอัดซม ชาห์ : พระราชาธิบดีองค์ใหม่ของประเทศมาเลเซีย

Al-Sultan Almu'tasimu Billahi Muhibbuddin Tuanku Alhaj Abdul Halim Mu'adzam Shah Ibni Al-Marhum Sultan Badlishah (lahir 28 November 1927) merupakan Sultan Kedah ke-27 (1958 - kini) serta Yang di-Pertuan Agong Malaysia yang ke-5 (1970 - 1975) dan ke-14 (mulai 13 Disember 2011).

Biografi

Baginda diputerakan di Anak Bukit, Alor Setar, Kedah sebagai Tunku Abdul Halim. Baginda merupakan anak kedua Tunku Badlishah bersama Tunku Safiah binti Tunku Mahmud, namun putera tertua yang hidup. Baginda kemudian menjadi Raja Muda Kedah pada 1949.

Baginda merupakan lepasan pelajar Wadham College, Oxford, di mana baginda mendapat diploma dalam Sains Sosial dan Pentadbiran Awam.[1] Baginda mewarisi takhta Kedah ayahandanya pada Julai 1958 dan ditabalkan pada Februari 1959.[2]

Yang di-Pertuan Agong

Tuanku Abdul Halim terpilih menjadi Timbalan Yang di-Pertuan Agong antara September 1965 dan September 1970. Apabila dipilih sebagai Yang di-Pertuan Agong pada 1970, ketika berumur 43 tahun, baginda menjadi Yang di-Pertuan Agong kedua termuda yang pernah dilantik iaitu selepas Tuanku Syed Putra, Raja Perlis yang dilantik ketika berumur 40 tahun.

Baginda menyaksikan pertukaran kali pertama ketua kerajaan Malaysia iaitu apabila ayahanda saudara baginda, Perdana Menteri Tunku Abdul Rahman Putra Al-Haj memberikan jawatannya kepada timbalannya Tun Abdul Razak. Tunku Abdul Rahman merasakan beliau tidak patut berkhidmat di bawah anak saudaranya.[3]

Pada November 2006, Tuanku Abdul Halim dipilih buat kali kedua sebagai Timbalan Yang di-Pertuan Agong, bermula Disember 2006 hingga Disember 2011. Beliau merupakan sultan ketiga memegang jawatan ini dua kali, selepas Tuanku Ja’afar dari Negeri Sembilan dan Sultan Mizan Zainal Abidin dari Terengganu.

Pada 15 Julai 2008 baginda menyambut Jubli Emas, iaitu ulang tahun pemerintahan baginda ke-50 di Kedah.[4]

Pada 12 dan 13 Oktober 2011, Mesyuarat Majlis Raja-raja yang ke-225 telah memutuskan bahawa Sultan Kedah, Sultan Abdul Halim Mu’adzam Shah ibni Almarhum Sultan Badlishah bakal menggantikan Tuanku Mizan sebagai Yang di-Pertuan Agong yang ke-14 mulai 13 Disember 2011 [5]. Maka, sekiranya masih dalam kesihatan yang baik pada 13 Disember 2011, baginda bakal menjadi Yang di-Pertuan Agong yang ke-14, sekaligus menjadi sultan pertama menjadi Yang di-Pertuan Agong dua kali dan yang tertua ditabalkan (84 tahun).[6] Yang di-Pertuan Agong tertua sebelum ini ialah Sultan Salahuddin Abdul Aziz Shah dari Selangor, yang ditabalkan di usia 73 tahun.

Keluarga diraja
YDPA Sultan Abdul Halim diarak bersama Ratu Elizabeth II dalam kereta roda diraja British, ketika membuat lawatan rasmi ke London pada 1974.

Sultan Abdul Halim mempunyai dua sultanah rasmi:

Pada 1956, Tuanku Hajjah Bahiyah, puteri Tuanku Abdul Rahman ibni Almarhum Tuanku Muhammad dari Negeri Sembilan, yang mangkat pada 2003, dan
Pada 1975, Che Haminah Hamidun, orang kebanyakan dari Perak, yang kini Sultanah Kedah.[7]

Baginda memiliki tiga puteri. Dua yang tertua merupakan kembar, Tunku Soraya dan Tunku Sarina. Seorang lagi ialah Tunku Intan Safinaz. Baginda memiliki lima cucu.

Baginda pernah berkahwin pada awal remaja Baginda pada sekitar 1945 bersama orang kebanyakan dan berpisah semasa Baginda melanjutkan pelajaran Baginda ke England. Hasil dari perkahwinan ini telah dikurniakan seorang seorang Puteri.[perlu rujukan]

Raja Muda Kedah kini ialah Tunku Abdul Malik ibni Sultan Badlishah, adinda baginda.

Selasa, 22 November 2011

เข้าร่วมการมอบรางวัล Sagang Award ที่เมืองเปอกันบารู จังหวัดเรียว ประเทศอินโดเนเซีย

โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน

เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ผู้เขียนได้เข้าร่วมงานมอบรางวัล Sagang Award ที่จัดโดยมูลนิธิ ซาฆัง (Yayasan Sagang) ซึ่งผู้เขียนจะเล่าในโอกาสต่อไป

Marhalim Zaini Seniman Pilihan Sagang 2011

PEKANBARU — Dewan Juri Anugerah Sagang 2011 menuntaskan tugas akhirnya. Pada rapat dan penilaian dewan juri, Selasa (18/10), berhasil menetapkan para penerima Anugerah Sagang 2011 dari tujuh kategori yang ada. Beberapa kategori patut dicermati, walaupun sebagiannya lagi tidak menghadirkan kejutan berarti. Kategori yang selalu mendapatkan perhatian utama masyarakat tentu saja Seniman Pilihan dan Buku Pilihan. Di tahun 2011 ini, dewan juri akhirnya memutuskan seniman Marhalim Zaini sebagai penerima anugerah. Marhalim selama ini dikenal sebagai sastrawan, kritikus, teaterawan, dan juga pegiat seni yang tunak. Dia mengungguli sembilan nominator lainnya. Persaingan ketat terjadi antara Marhalim dengan Taufik Effendi Aria, Gde Agung Lontar, GP Ade Dharmawi, dan Hang Kafrawi.

“Marhalim adalah seniman serba bisa. Dia tunak melakukan aktivitas berkesenian sudah sejak lama. Karya-karyanya berpengaruh tidak hanya di Riau, tapi juga mampu berbicara di pentas nasional. Ini adalah poin penting yang kami catat sebagai dewan juri,” kata H Rida K Liamsi, Ketua Dewan Juri Anugerah Sagang 2011.
Selain seniman, kategori yang paling dinanti pecinta dan pelaku seni adalah buku pilihan. Tahun ini, Buku Pilihan Sagang 2011 akhirnya jatuh pada Sunting, buku puisi karya Kunni Masrohanti. Ratusan puisi yang terbit di buku Sunting ini dinilai memiliki kualitas bagus, mempunyai pengaruh yang luas, serta kualitas penerbitannya yang bagu. Sunting unggul tipis dari novel Anak-anak Langit karya Muhammad Amin MS.
Kategori lain yang perlu dicermati tahun ini adalah Institusi atau Lembaga Pilihan Sagang. Untuk kategori ini memang agak berbeda dari biasanya. Karena, yang mendapatkan anugerah tahun ini adalah perkampungan Meskom. Perkampungan yang terletak di Kabupaten Bengkalis ini dikenal memiliki dan memelihara budaya berzapin. Hampir semua masyarakat di sana pandai menari zapin. Grup tari jga tumbuh dan berkembang dengan baik di Meskom.
“Ini adalah fenomena kebudayaan yang menarik. Bagaimana sebuah perkampungan, tepatnya sebuah desa, memiliki dan memelihara budaya zapin dengan baik dan berkembang,” kata Rida lagi.
Untuk kategori karya alternatif, tahun ini diberikan kepada drama televisi berjudul Keluarga Bakar. Drama yang banyak mengangkat budaya Melayu ini memang sangat menghibur dan memberikan apresiasi yang baik bagi perkembangan budaya Melayu. Kehadiran Keluarga Bakar ini setidaknya menjadi ‘sitawar sidingin’ di tengah gencarnya budaya sinema elektronik (sinetron) sabun yang banyak berseliweran di televisi.
Untuk tahun ini, Karya Jurnalistik Pilihan Sagang diraih wartawan Riau Pos Fedli Azis dengan karyanya yang berjudul Fiesta Bokor Riviera; Bertandang ke Kampung Wisata. Karya Fedli Azis ini hanya unggul tipis dari karya Alfiadi yang berjudul Melongok Aktivitas di Kampung Meskom; Takkan Zapin Hilang di Bumi yang juga terbit di koran yang sama.
Sedangkan karya penelitian budaya, tahun ini diraih Meramu Tradisi Melayu dalam Cerita Pendek; Upaya Kreatif Melindungi Generasi dari Kealfaan Tradisi. Penelitian ini merupakan karya Bambang Kariyawan, seorang guru di SMA Cendana Rumbai. Menurut dewan juri, Bambang Kariyawan menemukan hal-hal baru dan bisa diadaptasi bagi kebudayaan, khususnya kesusasteraan.
Kategori terakhir adalah Seniman Serantau Pilihan Sagang 2011. Tahun ini, dewan juri memberikan kepada Tom Ibnur, seorang koreografer Indonesia yang banyak mengeksplorasi dan mengeksploitasi kebudayaan Melayu.(

Selasa, 1 November 2011

ประธานาธิบดีสุสิโล บัมบัง ยูโดโยโน ปรับคณะรัฐมนตรี ชุด Indonesia Bersatu II

Kabinet Indonesia Bersatu II
Presiden Susilo Bambang Yudhoyono dilantik menjadi Presiden RI untuk periode kedua, 2009 - 2014, pada 20 Oktober 2009. Bersama Wakil Presiden Boediono, Presiden SBY diambil sumpahnya dalam Sidang Paripurna MPR-RI. Sehari kemudian, 21 Oktober 2009, Presiden SBY mengumumkan daftar anggota kabinet baru yang dinamai `Kabinet Indonesia Bersatu II`. Sesuai ketentuan UU No.39 Tahun 2008 tentang Kementerian Negara, jumlah kementerian tetap 34, terdiri atas 3 (tiga) Menteri Koordinator dan seorang Sekretaris Negara, 20 (duapuluh) menteri yang memimpin departemen, dan 10 (sepuluh) menteri negara.


Pada 18 Oktober 2011, Presiden SBY mengumumkan reshuffle kabinet. Para menteri baru tersebut dilantik pada 19 Oktober 2011. Terdapat tujuh wajah baru di jajaran kementerian. Tidak semuanya baru sama sekali karena ada beberapa yang bergeser posisi. Lalu, ada penambahan fungsi pada dua kementerian sehingga nama lembaganya pun berubah. Keduanya adalah Kementerian Pendidikan Nasional yang kini menjadi Kementerian Pendidikan dan Kebudayaan, lalu Kementerian Kebudayaan dan Pariwisata berubah menjadi Kementerian Pariwisata dan Ekonomi Kreatif.


Berikut susunan Kabinet Indonesia Bersatu II selengkapnya:



Dr. H. Susilo Bambang Yudhoyono
Presiden Republik Indonesia
www.presidensby.info Prof. Dr. Budiono, M.Ec
Wakil Presiden Republik Indonesia
www.setwapres.go.id



Marsekal TNI (Purn) Djoko Suyanto
Menteri Koordinator
Politik, Hukum dan Keamanan
www.polkam.go.id Ir. Hatta Rajasa
Menteri Koordinator
Perekonomian
www.ekon.go.id
Dr. H.R. Agung Laksono
Menteri Koordinator
Kesejahteraan Rakyat
www.menkokesra.go.id

Letjen TNI (Purn) Sudi Silalahi
Menteri Sekretaris Negara
www.setneg.ri.go.id Gamawan Fauzi SH,MS
Menteri Dalam Negeri
www.depdagri.go.id


Dr. Raden Mohammad Marty Muliana Natalegawa, M.Phil, B.Sc
Menteri Luar Negeri
www.deplu.go.id EE Mangindaan,SIP
Menteri Perhubungan
www.dephub.go.id Prof.Dr.Ir. Muhammad Nuh
Menteri Pendidikan dan Kebudayaan
www.depdiknas.go.id


Prof. Dr. Ir. Purnomo Yusgiantoro
Menteri Pertahanan
www.dephan.go.id Ir.Mohamad Suleman Hidayat
Menteri Perindustrian
www.dprin.go.id Dr.H. Salim Segaf Al-Jufrie
Menteri Sosial
www.depsos.go.id


Amir Syamsudin
Menteri Hukum dan HAM
www.depkehham.go.id Gita Wirjawan
Menteri Perdagangan
www.depdag.go.id Drs. H. Suryadharma Ali
Menteri Agama
www.depag.go.id


Ir. H. Tifatul Sembiring
Menteri Komunikasi dan Informatika
www.depkominfo.go.id Ir. H. Suswono, MMA
Menteri Pertanian
www.deptan.go.id Dr. Mari E. Pangestu
Menteri Pariwisata dan Ekonomi Kreatif
www.budpar.go.id


Basrief Arief
Jaksa Agung
www.kejaksaan.go.id Zulkifli Hasan, SE, MM
Menteri Kehutanan
www.dephut.go.id Balthazar Kambuaya
Menteri Negara Lingkungan Hidup
www.menlh.go.id


Agus D.W. Martowardojo
Menteri Keuangan
www.depkeu.go.id Ir. Jero Wacik, SE
Menteri Energi dan Sumber Daya Mineral
www.esdm.go.id Linda Amalia Sari, Sip
Menteri Negara Pemberdayaan Perempuan
www.menegpp.go.id


Dr. dr. Endang Rahayu Sedyaningsih
Menteri Kesehatan
www.depkes.go.id Syarif Cicip Sutardjo
Menteri Kelautan dan Perikanan
www.dkp.go.id Azwar Abubakar
Menteri Negara Pendayagunaan Aparatur Negara
www.menpan.go.id


Ir. H. Ahmad Helmy Faishal Zaini
Menteri Negara Pembangunan Daerah Tertinggal
www.kemenegpdt.go.id Drs H. A. Muhaimin Iskandar, MSi
Menteri Tenaga Kerja dan Transmigrasi
www.nakertrans.go.id Djan Faridz
Menteri Negara Perumahan Rakyat
www.kemenpera.go.id


Dr. Syariefuddin Hasan
Menteri Negara Koperasi dan UKM
www.depkop.go.id Ir. Djoko Kirmanto, Dipl. HE
Menteri Pekerjaan Umum
www.pu.go.id Dr. Andi Alfian Mallarangeng
Menteri Negara Pemuda dan Olahraga


Dahlan Iskan
Menteri Negara Badan Usaha Milik Negara
www.bumn-ri.com Prof. Dr. Armida Alisjahbana
Menteri Negara Perencanaan Pembangunan Nasional/Kepala BAPPENAS
www.bappenas.go.id Prof.Dr.Ir. H. Gusti Muhammad Hatta
Menteri Negara Riset dan Teknologi/Kepala BPPT
www.ristek.go.id

Sabtu, 15 Oktober 2011

ประมวลภาพการจัดงานสัมมนาวิชาการนานาชาติว่าด้วยมลายูศึกษาครั้งที่ 1 (1st INTERNATIONAL SEMINAR ON MALAY STUDIES 2011)

โดยนิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน

ชื่อโครงการ
งานสัมมนานานาชาติว่าด้วยมลายูศึกษา ครั้งที่ 1 หรือ 1st INTERNATIONAL SEMINAR ON MALAY STUDIES 2011

หลักการและเหตุผล
ปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย เป็นปัญหาที่เกิดจากกลุ่มชนสองกลุ่มที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เดียวกัน โดยทั้งสองกลุ่มมีความแตกต่างกันทั้งทางภาษา ชาติพันธุ์ วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์และศาสนา กลุ่มชนทั้งสองกลุ่มดังกล่าวคือกลุ่มไทยพุทธ ซึ่งมีการใช้ภาษาไทย มีเชื้อชาติไทย นับถือศาสนาพุทธ และมีขนบธรรมเนียม ประเพณีแบบไทย ชนกลุ่มนี้มีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับอีกกลุ่มชนหนึ่ง คือ กลุ่มชาวจีน จนทั้งสองกลุ่มมีความรู้สึกเป็นหนึ่งเดียว

กลุ่มชนนี้มีสถานะเป็นชนกลุ่มน้อยในระดับท้องถิ่น แต่ขณะเดียวกันชนกลุ่มนี้มีสถานะเป็นชนกลุ่มใหญ่ในระดับประเทศ ในทางกลับกัน กลุ่มชาวมลายูมุสลิม ซึ่งมีการใช้ภาษามลายูท้องถิ่นปัตตานี มีเชื้อชาติมลายู นับถือศาสนาอิสลาม และมีขนบธรรมเนียม ประเพณีแบบชาวมลายู กลุ่มชาวมลายูนี้มีสถานะทางสังคมอยู่สามมิติ มิติแรกในระดับท้องถิ่น ชาวมลายูถือเป็นชนกลุ่มใหญ่ของพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนมิติที่สองเป็นมิติในระดับประเทศ ชาวมลายูในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นชนกลุ่มน้อยในระดับประเทศ สำหรับมิติที่สาม ชาวมลายูในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นชนกลุ่มใหญ่ในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ชาวมลายูในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นส่วนหนึ่งของโลกวัฒนธรรมมลายู (Malay Culture World) หรือในอีกชื่อหนึ่งว่า นูซันตารา (Nusantara ) ซึ่งประกอบด้วยประเทศมาเลเซีย อินโดเนเซีย บรูไน สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ การที่ชาวมลายูในประเทศต่างๆ มีภูมิหลังและมีสถานะที่แตกต่างกัน เช่น ชาวมลายูในประเทศมาเลเซีย โดยเฉพาะรัฐในแหลมมลายู เป็นชนกลุ่มใหญ่ในรัฐดังกล่าว แต่เป็นชนกลุ่มน้อยในรัฐซาบะห์ และรัฐซาราวัค ส่วนชาวมลายูในประเทศบรูไนนั้นประกอบด้วย 7 ชนเผ่า แม้จะเป็นชนกลุ่มใหญ่ของประเทศ แต่หนึ่งในชนเผ่าเหล่านั้นคือชนเผ่าดูซุน เป็นชนเผ่าที่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลาม ชาวมลายูในประเทศสิงคโปร์นั้นมีสถานะเป็นชนกลุ่มน้อยของประเทศ

ส่วนในประเทศอินโดเนเซียเอง ชาวมลายูมีทั้งที่นับถือศาสนาอิสลาม และศาสนาคริสต์ เฉกเช่นเดียวกันกับชาวมลายู(Malayan Race) ในประเทศฟิลิปปินส์ มีทั้งที่นับถือศาสนาอิสลามและนับถือศาสนาคริสต์ การที่ชาวมลายูในโลกวัฒนธรรมมลายู (Malay Culture World) มีสถานะทั้งที่เป็นชนกลุ่มใหญ่ และชนกลุ่มน้อย ซึ่งส่วนหนึ่งของสังคมในประเทศดังกล่าว สามารถอยู่ร่วมกันในลักษณะสังคมพหุวัฒนธรรม มีความเข้าใจซึ่งกันและกัน มีการเคารพสิทธิของกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในสังคมนั้นๆ จึงเห็นว่าสมควรที่จะนำประสบการณ์ กิจกรรม ของสังคมในประเทศดังกล่าว มาร่วมเรียนรู้กับกลุ่มชนชาวมลายูในจังหวัดชายแดนภาคใต้ อันจะสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป

หน่วยงานอื่นที่เข้าร่วม
1. รายการ “ดี สลาตัน ณ แดนใต้” สถานีโทรทัศน์ ThaiPBS
2. อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส
3. อุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส
4. ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส

เป้าหมายและวัตถุประสงค์
- เป้าหมาย:
เพื่อจุดประเด็นการนำบทเรียนเกี่ยวกับสังคมพหุวัฒนธรรม ความสมานฉันท์ที่เกิดขึ้นในกลุ่มประเทศโลกวัฒนธรรมมลายู (ประเทศมาเลเซีย อินโดเนเซีย สิงคโปร์ บรูไน และฟิลิปปินส์) มาเสนอการประยุกต์ใช้ในจังหวัดชายแดนภาคใต้

- วัตถุประสงค์:
1. เพื่อให้ชุมชน สังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้เรียนรู้ประสบการณ์การอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม ของพี่น้องร่วมชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในกลุ่มประเทศโลกวัฒนธรรมมลายู ทั้งในสถานภาพของชนกลุ่มใหญ่ และชนกลุ่มน้อยในประเทศดังกล่าว
2. เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การเรียนรู้ ประสบการณ์ของชาวมลายูที่อาศัยอยู่ในกลุ่มประเทศโลกวัฒนธรรมมลายูโดยวิทยากรที่ได้รับเชิญ กับผู้เข้าร่วมสัมมนาที่มาจากจังหวัดชายแดนภาคใต้

กลุ่มเป้าหมาย
1. ผู้เข้าร่วมโครงการจากต่างประเทศ ได้แก่ วิทยากร หรือนักวิชาการในสถาบันอุดมศึกษา หรือนักวิชาการที่มีความชำนาญด้านสังคมพหุวัฒนธรรมจากประเทศมาเลเซีย อินโดเนเซีย สิงคโปร์ บรูไน ฟิลิปปินส์ และอื่นๆ
2. ผู้เข้าร่วมโครงการจากภายในประเทศ ได้แก่ วิทยากร หรือนักวิชาการในสถาบันอุดมศึกษา หรือนักวิชาการที่มีความชำนาญด้านสังคมพหุวัฒนธรรมจากประเทศไทย รวมทั้ง นักศึกษา ประชาชนและบุคคลทั่วไปที่ให้ความสนใจ

รูปแบบการจัดงาน
การจัดงานสัมมนาวิชาการนานาชาติว่าด้วยมลายูศึกษาครั้งนี้ เป็นการจัดสัมมนาแบบบูรณาการ โดยมีกิจกรรมต่างๆดังต่อไปนี้

1. งานเสวนาและอบรมการเขียนบทกวีเพื่อสันติภาพ (Puisi Perdamaian)
จัดขึ้นที่อุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส โดยมีนักเรียนจากโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจากพื้นที่อำเภอบาเจาะและอำเภอใกล้เคียง

2. งานสัมมนาวิชาการในหัวข้อ “ปาตานี : ประสบการณ์จากโลกมลายู (Patani : Lessons from Malay Culture World)
จัดขึ้นที่ หอประชุมกาญจนาภิเษก อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส โดยมีผู้นำศาสนา ผู้บริหารโรงเรียนรัฐ ประชาชนทั่วไป จากอำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส

3. งานลงพื้นที่สัมผัสจังหวัดชายแดนภาคใต้
โดยคณะวิทยากรจากกลุ่มประเทศโลกวัฒนธรรมมลายูจะลงพื้นที่เยี่ยมสถาบันอุดมศึกษาที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เช่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา และมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา รวมทั้งลงพื้นที่เยี่ยมสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เพื่อทางคณะวิทยากรจะได้เห็นสภาพความเป็นจริงของพื้นที่ ซึ่งอาจแตกต่างจากการเสนอข่าวของสื่อมวลชนในต่างประเทศ

4. การพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับชุมชน
คณะวิทยากรได้พบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับชุมชน โดยเลือกชุมชนบ้านตะโละมาเนาะ ตำบลลุโบ๊ะสาวอ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส

5. การเสวนาในหัวข้อ “การพัฒนาปาตานี : จากสายตาของโลกวัฒนธรรมมลายู”
เป็นการพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาจังหวัดชายแดน เพื่อเป็นช่องทางในการพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนต่อไป
ระหว่างคณะวิทยากรและคณะทำงานจัดงานสัมมนา ประกอบด้วยคณาจารย์แผนกวิชามลายูศึกษา มอ. ปัตตานี รวมทั้งเจ้าหน้าที่ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส และคณะนักศึกษาผู้ปฏิบัติงานประจำศูนย์ศูนย์นูซันตาราศึกษา แผนกวิชามลายูศึกษา มอ. ปัตตานี ซึ่งทำหน้าที่นักศึกษาช่วยงานการสัมมนาในครั้งนี้

วันเวลาการจัดสัมมนา
ระหว่างวันที่ 24-27 กัยายน 2554

วิทยากรที่เข้าร่วมโครงการ
ประกอบด้วยวิทยากรที่มาจากประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ บรูไน อินโดเนเซีย และพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

ศาสตราจารย์ ดร. ซุลฮัสรี นาเซร์ จากศูนย์อารยธรรมมลายูแห่งภูมิภาคมลายู (Pusat Tamadun Melayu Nusantara) มหาวิทยาลัยอินโดเนเซีย ประเทศอินโดเนเซีย

คุณยามาล ตูกีมีน นักวิชาการอาวุโส จากประเทศสิงคโปร์ ปัจจุบันเป็นนักวิชาการรับเชิญ หรือ Fellow ของมหาวิทยาลัยแห่งชาติมาเลเซีย หรือ Universiti Kebangsaan Malaysia

คุณซัลมี มัสรา (นามปากกา) วิทยากรจากประเทศบรูไน ดารุสสาลาม ผู้มีชื่อเต็มว่า Dato' Paduka DiRaja Dr. Ustaz Awang Haji Abdul Hamid Bin Haji Tamat เป็นนักวิชาการรับเชิญ หรือ Fellow ของมหาวิทยาลัยบรูไนดารุสสาลาม หรือ Universiti Brunei Darussalam

คุณอับดุลนัดดีน บินซาอีดิน ผู้สื่อข่าวอาวุโส หนังสือพิมพ์บอร์เนียวโพสต์ รัฐซาบะห์ ประเทศมาเลเซีย

คุณไมมูนะห์ บินตีอับดุลราห์มาน นักกิจกรรมสตรี วิทยากรจากประเทศสิงคโปร์

คุณเปาซียะห์ บินตีนอร์ดิน นักกิจกรรมสตรี วิทยากรจากรัฐซาบะห์ ประเทศมาเลเซีย

ในวันที่ 24 กันยายน 2554 ทางคณะจัดงานสัมมนาได้ออกเดินทางจากม. สงขลานครินทร์ โดยไปรับโปสเตอร์ฉากหลังที่ร้านไวนิลในตัวเมืองปัตตานี จากนั้นจึงเดินทางไปยังอำเภอบาเจาะ ซึ่งเป็นอำเภอที่ใช้จัดงานสัมมนาวิชาการในครั้งนี้ โดยผู้เขียนนัดกับรถตู้ที่เช่าไว้ที่หน้าห้องสมุดประชาชนอำเภอบาเจาะ เมื่อถึงอำเภอบาเจาะทางคณะนักศึกษาปฏิบัติงานจัดสัมมนาได้เดินทางไปยังอุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส เพื่อเคลียร์พื้นที่สำหรับการจัดงานเสวนาและอบรมการเขียนบทกวีเพื่อสันติภาพ หรือ Puisi Perdamaian ซึ่งจะจัดในช่วงกลางคืนราว 20.00 น.

ส่วนผู้เขียนได้เดินทางพร้อมรถตู้ไปยังชายแดนจังหวัดนราธิวาส-รัฐกลันตัน โดยรถตู้ไปส่งผู้เขียนที่ตลาดตาบา อำเภอตากใบ เพื่อข้ามไปยังตลาดปึงกาลันกูโบร์ ซึ่งระยะทางที่จะไปเมืองโกตาบารูสั้นกว่าทางอำเภอสุไหงโกลก หลังจากนั้นรถตู้จึงเดินทางต่อไปยังอำเภอสุไหงโกลก ด้วยผู้เขียนตัดสินใจให้รถตู้รอคณะวิทยากรที่อำเภอสุไหงโกลก แม้ระยะทางจะไกลกว่าทางอำเภอตากใบ แต่มีข้อดีหลายอย่าง เช่น ด่าน ตม. อำเภอตากใบจะทำการปิดเวลา 17.00 น. ในขณะที่ด่าน ตม. อำเภอสุไหงโกลกจะทำการปิดเวลา 22.00 น. ดังนั้นในกรณีเกิดเหตุที่ไม่คาดคิด หรืออาจเสียเวลาในการเดินทาง การกลับทางชายแดนด้านอำเภอสุไหงโกลกย่อมปลอดภัยกว่า ในกรณีต้องใช้เวลาในการเดินทางมากกว่า

เมื่อผู้เขียนเดินทางข้ามไปยังฝั่งตลาดปึงกาลันกูโบร์ จากตลาดตาบา อำเภอตากใบ ก็ได้โทร.ถึงวิทยากรจากรัฐซาบะห์ ประเทศมาเลเซีย สอบถามการเดินทางของเขา ได้รับคำตอบว่าได้เดินทางถึงสนามบินกัวลาลัมเปอร์แล้ว กำลังรอขึ้นเครื่องไปยังเมืองโกตาบารู จึงให้ดูและสอบถามหาวิทยากรจากบรูไน อินโดเนเซียและสิงคโปร์ที่จะเดินทางร่วมลำจากกัวลาลัมเปอร์ไปยังเมืองโกตาบารู ปรากฎว่าได้พบคณะวิทยากรดังกล่าว ยกเว้นวิทยากรจากประเทศอินโดเนเซีย ต่อมาผู้เขียนได้รับข้อความ SMS จากวิทยากรอินโดเนเซียว่าเดินทางถึงสนามบินกัวลาลัมเปอร์แล้ว แต่มีผู้คนจำนวนมากที่เข้าแถวรอการประทับตราหนังสือเดินทาง เขากังวลว่ากลัวจะไม่ทันกับเที่ยวบินที่จะเดินทางพร้อมวิทยากรคนอื่นๆ จึงตอบไปว่าผู้เขียนเองก็เคยเกิดเหตุการณ์เช่นนี้บ่อยครั้ง แต่ก็สามารถทันเที่ยวบินนั้นๆได้ และหวังว่าเขาก็คงจะทันเช่นกัน

แต่สุดท้ายปรากฎว่าเขาไม่ทันกับเที่ยวบินที่ซื้อตั๋วไว้ จำเป็นต้องซื้อตั๋วเครื่องบินใหม่โดยเดินทางเที่ยวบินตอนค่ำ จึงแนะนำว่าเมื่อเดินทางถึงสนามบินโกตาบารูให้โทร.ติดต่อญาติผู้เขียน เพื่อให้เขาเป็นผู้รับที่สนามบิน และนำไปส่งที่โรงแรมซึ่งได้จองห้องพักไว้แล้ว โดยให้เขาพักที่เมืองโกตาบารู 1 คืน ช่วงเช้าวันถัดมาให้ญาติเป็นผู้ส่งไปยังชายแดนด้านอำเภอตากใบ โดยผู้เขียนจะไปรับที่บริเวณชายแดน สำหรับคณะวิทยากรที่ได้เดินทางมาถึงแล้วนั้น ผู้เขียนได้พากลับยังจังหวัดนราธิวาสล่วงหน้า เพราะมีกิจกรรมที่ต้องทำ นั้นคือ งานเสวนาและอบรมการเขียนบทกวีเพื่อสันติภาพ

คณะวิทยากรเดินทางถึงบริเวณชายแดนด้านอำเภอสุไหงโกลกราว 18.30 น. จากนั้นขึ้นรถตู้ไปยังตัวเมืองนราธิวาส โดยคณะวิทยากรจะไปทานอาหารค่ำที่ตัวเมืองนราธิวาส เมื่อถึงตัวเมืองนราธิวาสต้องทานอาหารอย่างรีบเร่ง เพราะได้รับแจ้งจากคณะทำงานการจัดสัมมนาที่อุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส ว่าบรรดานักเรียน เยาวชนที่ได้เชิญเข้าร่วมนั้นได้เดินทางมาถึงแล้ว เราเดินทางถึงอุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี ประมาณ 20.30 น. จากนั้นจึงถามคณะวิทยากรว่ามีใครพร้อมที่จะขึ้นเวทีบรรยายให้นักเรียน เยาวชนทันที โดยไม่เข้าห้องพัก ปรากฎว่าวิทยากรผู้ชายพร้อมขึ้นเวที ดังนั้นกิจกรรมเสวนาและอบรมการเขียนบทกวีเพื่อสันติภาพจึงเริ่มขึ้น

เวทีเสวนาและอบรมการเขียนบทกวีเพื่อสันติภาพ ที่อุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส

การบรรยายเรื่องการเขียนบทกวีเพื่อสันติ โดยวิทยากรจากสิงคโปร์

การบรรยายเรื่องการเขียนบทกวีเพื่อสันติ โดยวิทยากรจากบรูไน

การบรรยายของบรรดาวิทยากรได้รับการขานรับจากนักเรียน เยาวชนเป็นอย่างดี ในช่วงที่มีการเปิดโอกาสตั้งคำถามปรากฏว่ามีนักเรียนหลายคนแสดงความกล้า ซักถามวิทยากร ในการเสวนาและอบรมการเขียนบทกวีเพื่อสันติภาพครั้งนี้มีนักเรียน เยาวชนเข้าร่วมเกือบ 60 คน สิ่งที่เป็นปัญหาในการจัดงานครั้งนี้คือ ด้วยการจัดงานในช่วงกลางคืน ที่พักสำหรับนักเรียน เยาวชน ไม่เพียงพอ และไม่สามารถกางเต็นท์ได้ เพราะเป็นช่วงที่มีฝนตกเป็นบางเวลา และการที่จะให้นักเรียน เยาวชนกลับบ้านหลังจากเสร็จสิ้นงานเสวนานั้นก็ไม่ได้ เพราะสถานการณ์ภาคใต้ยังมีปัญหาอยู่ กลัวว่าจะเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด

ดังนั้นแม้ว่ายังจะมีนักเรียน เยาวชน จำนวนหนึ่งต้องการที่จะเข้าร่วม แต่ก็ไม่อาจรับได้ ด้วยไม่มีที่พักรองรับ ผู้เขียนได้ประสานไปยังโรงเรียนต่างๆในพื้นที่อำเภอบาเจาะ และอำเภอยี่งอ โดยให้แต่ละโรงส่งนักเรียนแห่งละ 5-10 คน สิ่งที่น่าประทับใจคือโรงเรียนเจริญวิทยานุสรณ์ ตำบลลุโบะสาวอ อำเภอบาเจาะ เมื่อไปประสานงาน ปรากฏว่าทางผู้บริหารโรงเรียนเห็นชอบ และเมื่อถึงเวลาแจ้งจำนวนผู้เข้าร่วม ทางอาจารย์โรงเรียนแจ้งว่าจะมีนักเรียนประมาณ 20 คนขอเข้าร่วม เหตุที่มีจำนวนมาก เพราะพวกเขาเห็นโปสเตอร์การจัดงานที่มีวิทยากรจากหลากหลายประเทศ

นักเรียนจากโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในพื้นที่อำเภอบาเจาะและอำเภอใกล้เคียง

นักเรียนจากโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในพื้นที่อำเภอบาเจาะและอำเภอใกล้เคียง

การบรรยายเกี่ยวกับบทกวีในครั้งนี้ มีวิทยากรสองท่านที่บรรยายด้วยอารมณ์ของศิลปิน นั้นคือ คุณซัลมี มัสตรา จากประเทศบรูไน และคุณยามาล ตูกีมีน จากประเทศสิงคโปร์ โดยทั้งสองได้บรรยายถึงประสบการณ์การเขียนบทกวีของตนเอง พร้อมทั้งได้ให้เห็นถึงความสำคัญของงานเขียนบทกวี วิทยากรจากประเทศสิงคโปร์ได้กระซิบให้ผู้เขียนว่า เมื่อพูดถึงการเขียนบทกวีแล้ว แม้เวลาค่อนข้างดึก แต่ทำให้เขาตาสว่าง เพราะบทกวีนั้นเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเขา การบรรยายเป็นไปจนเวลาเกือบเที่ยงคืน ทางวิทยากรสิงคโปร์แจ้งว่ายุติได้แล้ว เพราะตอนนี้เวลาเกือบจะตีหนึ่งแล้ว (เวลาสิงคโปร์และมาเลเซีย)

ผู้เขียนค้านว่าตอนนี้เวลาในประเทศไทยยังไม่ถึงเที่ยงคืน ดังนั้นขอใช้เวลาอีกสักนิด เพื่อให้ถึงเที่ยงคืน เมื่อถึงเวลาเที่ยงคืน การเสวนาก็ได้ยุติลง นักเรียน เยาวชน แยกย้ายไปพัก ส่วนวิทยากรสตรีก็กลับที่พักพร้อมกับวิทยากรสิงคโปร์ เพราะนอกจากดึกแล้ว ยังเหนื่อยกับการเดินทาง ส่วนวิทยากรจากรัฐซาบะห์ ประเทศมาเลเซียและวิทยากรจากบรูไนยังคงสนุกสนานกับการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้เข้าร่วมสัมมนาคนอื่นๆ ในการจัดเสวนาที่อุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดีครั้งนี้ เกิดความผิดพลาดคือ คณะทีมงานจากรายการ ดีสลาตัน ณ แดนใต้ ของช่อง ThaiPBS ซึ่งถือเป็นผู้ร่วมจัดงานด้วย พักที่ตัวเมืองปัตตานี แทนที่จะพักที่ตัวเมืองนราธิวาส เหมือนกับคณะเจ้าหน้าที่ผู้สนับสนุนงบประมาณการจัดงานครั้งนี้ ทำให้ไม่สามารถเก็บภาพขณะที่มีการจัดงานได้ จะมีเพียงทีมงานจากสำนักข่าวประชไท ที่ได้ร่วมสังเกตุการณ์และพักที่อุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดีร่วมกับผู้เข้าร่วมคนอื่นๆ

ทีมงานจากเจ้าของทุนสนับสนุนการจัดงานสัมมนาเข้าร่วมสังเกตุการณ์ด้วย

นักเรียนจากโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในพื้นที่อำเภอบาเจาะและอำเภอใกล้เคียง

นักเรียนจากโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในพื้นที่อำเภอบาเจาะและอำเภอใกล้เคียง

นักเรียนจากโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในพื้นที่อำเภอบาเจาะและอำเภอใกล้เคียง

นักเรียนจากโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในพื้นที่อำเภอบาเจาะและอำเภอใกล้เคียง

นักเรียนจากโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในพื้นที่อำเภอบาเจาะและอำเภอใกล้เคียง

ผู้สื่อข่าวประชาไท ร่วมสังเกตุการณ์งานสัมมนาด้วย กำลังสัมภาษณ์วิทยากรจากประเทศมาเลเซีย

วิทยากรจากบรูไนกำลังอธิบายถึงการเขียนบทกวีแก่นักศึกษาจาก มอ. ปัตตานี และเยาวชนในพื้นที่

วิทยากรจากบรูไนกำลังอธิบายถึงการเขียนบทกวีแก่นักศึกษาจาก มอ. ปัตตานี และเยาวชนในพื้นที่

คุณอาหมัดดาลุดดิน และญาติอีกคน ผู้ทำหน้าที่ประสานงานกับคณะทำงานสัมมนาในประเทศมาเลเซีย ได้ทำหน้าที่ดูแลวิทยากรจากอินโดเนเซีย ซึ่งไม่สามารถเดินทางจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ไปยังเมืองโกตาบารูตามกำหนดการได้ ด้วยผู้คนที่เข้าแถวเพื่อประทับตราเข้าประเทศมาเลเซียมีจำนวนมาก จนเลยเวลา ทำให้พลาดเที่ยวบินที่กำหนดไว้


ในวันที่ 25 กันยายน 2554 ช่วงเช้าหลังจากทานอาหารเช้าเรียบร้อยแล้ว คณะวิทยากรจึงเดินทางไปยังพิพิธภัณฑ์บ้านขุนละหาร อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์เอกชนที่จัดตั้งขึ้นโดยคุณรัศมินทร์ นิติธรรม หรือผู้ใหญ่มิง บัณฑิตหนุ่มจากกรุงเทพฯที่กลับมาเป็นผู้นำของชุมชนตนเอง และได้รับแนวความคิดในการฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น จนสามารถจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ขึ้นมา ทางคณะจัดงานสัมมนาได้ประสานกับผู้ใหญ่มิง เพื่อให้คณะวิทยากรไปชมพิพิธภัณฑ์บ้านขุนละหาร ซึ่งสร้างความประทับใจแก่คณะวิทยากรและได้เห็นถึงความพยายามของคนท้องถิ่นในการอนุรักษ รักษา ฟื้นฟู ศิลปวัฒนธรรมมลายูท้องถิ่น

ถ่ายภาพหมู่ในพิพิธภัณฑ์บ้านขุนละหาร

ภายในพิพิธภัณฑ์บ้านขุนละหาร

นักดนตรีกิตติมศักดิ์จากประเทศสิงคโปร์และบรูไนดารุสสาลาม

ขอเก็บภาพสวยๆในพิพิธภัณฑ์บ้านขุนละหาร

วิทยากรจากบรูไนกำลังพูดคุยกับวิทยากรจากอินโดเนเซียเกี่ยวกับการจัดการของพิพิธภัณฑ์บ้านขุนละหาร

เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์บ้านขุนละหารกับเครื่องดนตรีพื้นเมืองอายุประมาณ 150 ปี

ในขณะที่คณะวิทยากรชมพิพิธภัณฑ์บ้านขุนละหารอยู่นั้น ทางประธานสภาเทศบาลตำบลยี่งอที่ได้ประสานเพื่อเข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ย้อนรอบประวัติศาสตร์เมืองยี่งอ จังหวัดนราธิวาส ก็ได้เดินทางมาที่พิพิธภัณฑ์บ้านขุนละหาร เพื่อแจ้งแก่คณะวิทยากรว่าทางเทศบาลตำบลยี่งอ ยินดีต้อนรับคณะวิทยากร หลังจากนั้นคณะวิทยากรก็ได้เดินทางไปยังชมพิพิธภัณฑ์ย้อนรอบประวัติศาสตร์เมืองยี่งอ ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ได้รับการสนุบสนุนจากภาครัฐ

ประธานสภาเทศบาลตำบลยี่งอ กับวิทยากรจากอินโดเนเซีย

ประธานสภาเทศบาลตำบลยี่งอ พูดคุยกับวิทยากรจากอินโดเนเซีย

ในการจัดงานสัมมนาวิชาการครั้งนี้ ทางรายการ"ดี สลาตัน ณ แดนใต้" ของสถานีโทรทัศน์ ThaiPBS ก็ถือเป็นหนึ่งในเจ้าภาพร่วมการจัดงานครั้งนี้ด้วย ด้วยทีมงานรายการ"ดี สลาตัน ณ แดนใต้" ของสถานีโทรทัศน์ ThaiPBS พักที่ตัวเมืองปัตตานี ทำให้ช่วงเช้าของวันที่ 25 กันยายน 2554 ต้องเดินทางมาสมทบกับคณะวิทยากร และได้ร่วมเดินทางและถ่ายวิดีโอกิจกรรมต่างๆในครั้งนี้ด้วย การเดินทางร่วมของทีมงานรายการ"ดี สลาตัน ณ แดนใต้" ครั้งนี้ ทำให้ที่มงานดังกล่าวสามารถที่จะถ่ายทำรายการ ต่อยอดจากที่ได้ร่วมเดินทางในครั้งด้วย

คณะวิทยากรและทีมงานรายการ"ดี สลาตัน ณ แดนใต้" ของสถานีโทรทัศน์ ThaiPBS ร่วมเดินทางเยี่ยมวังพระยาระแงะ ในตัวเมืองนราธิวาส

คณะวิทยากรและทีมงานรายการ"ดี สลาตัน ณ แดนใต้" ของสถานีโทรทัศน์ ThaiPBS ร่วมเดินทางเยี่ยมวังพระยาระแงะ ในตัวเมืองนราธิวาส

คณะวิทยากรเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ย้อนรอยประวัติศาสตร์เมืองยี่งอ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส

คณะวิทยากรเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ย้อนรอยประวัติศาสตร์เมืองยี่งอ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส

ในช่วงบ่ายของวันที่ 25 กันยายน 2554 งานสัมมนาวิชาการนานาชาติก็ได้เริ่มขึ้น ครั้งแรกทางคณะทำงานจัดงานสัมมนาต้องการที่จะเชิญคณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม. สงขลานครินทร์ ปัตตานี มาเป็นประธานเปิดงานในฐานะที่คณะมนุษยศาสตร์ฯ เป็นเจ้าของโครงการสัมมมนาวิชาการครั้งนี้ แต่ด้วยเมื่อคำนึงถึงระยะทางที่ค่อนข้างจะอยู่ห่างจากมหาวิทยาลัย จึงเชิญทางนายก อบจ. นราธิวาส เป็นประธานเปิดงาน โดยทางอบจ. นราธิวาส ได้ส่งตัวแทนมาเป็นประธานเปิดงาน นั้นคือ คุณฟัครูรอซี สาและ รองประธานสภา อบจ. นราธิวาส สำหรับผู้เข้าร่วมสัมมนาในครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือจากทางอำเภอบาเจาะ เป็นผู้เชิญกลุ่มเป้าหมายของการสัมมนา ปรากฏว่ามีกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย ทั้งผู้นำศาสนา ผู้บริหารโรงเรียน ผู้นำชุมชน นักการเมืองท้องถิ่น กลุ่มสตรี กลุ่มนักเรียน เยาวชน และกลุ่มไทยพุทธจากชุมชนบ้านเชิงเขา ตำบลปะลุกาสาเมาะ อำเภอบาเจาะ


ผู้เข้าร่วมงานสัมมนาจากผู้นำศาสนาเข้าลงทะเบียนการร่วมสัมมนา

ผู้เข้าร่วมงานสัมมนาจากผู้นำศาสนาเข้าลงทะเบียนการร่วมสัมมนา

กำลังกล่าวเปิดงานสัมมนาวิชาการนานาชาติว่าด้วยมลายูศึกษา ครั้งที่ 1

คุณฟัครูรอซี สาและ รองประธานสภา อบจ. นราธิวาส เป็นตัวแทน นายก อบจ. นราธิวาส เป็นประธานเปิดงานสัมมนา

ผู้เข้าร่วมสัมมนาจากพื้นที่อำเภอบาเจาะและพื้นที่ใกล้เคียง

ผู้เข้าร่วมสัมมนามาจากชุมชนไทยพุทธในพื้นที่ตำบลปะลุกาสาเมาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส

ผู้เข้าร่วมสัมมนามาจากหลากหลายกลุ่ม

ผู้เข้าร่วมสัมมนาจากผู้นำศาสนาและผู้บริหารโรงเรียนรัฐในพื้นที่อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส

ผู้เข้าร่วมสัมมนาจากผู้นำศาสนาและผู้บริหารโรงเรียนรัฐในพื้นที่อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส

ผู้เข้าร่วมสัมมนาจากพื้นที่อำเภอบาเจาะและพื้นที่ใกล้เคียง

เข้าร่วมสัมมนามาจากกลุ่มสตรี

ศาสตราจารย์ ดร. ซุลฮัสรี นาเซร์ จากมหาวิทยาลัยอินโดเนเซีย

วิทยากรจากประเทศบรูไน

วิทยากรจากประเทศสิงคโปร์กำลังแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับวิทยากรจากรัฐซาบะห์ ประเทศมาเลเซีย

ศาสตราจารย์ ดร. ซุลฮัสรี นาเซร์ จากมหาวิทยาลัยอินโดเนเซีย

เวทีสัมมนา ที่หอประชุมกาญจนาภิเษก อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส

เวทีสัมมนา ที่หอประชุมกาญจนาภิเษก อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส

เวทีสัมมนา ที่หอประชุมกาญจนาภิเษก อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส

เวทีสัมมนา ที่หอประชุมกาญจนาภิเษก อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส

อาจารย์ซาวาวี ปะดาอามีน กำลังบรรยายเรื่องศาสนาพื้นเมืองในโลกวัฒนธรรมมลายู

คุณยามาล ตูกีมีน นักวิชาการจากประเทศสิงคโปร์

คุณอับดุลนัดดีน ซาอีดิน นักหนังสือพิมพ์บอร์เนียวโพสต์ จากรัฐซาบะห์ ประเทศมาเลเซีย

คุณเปาซียะห์ บินตีนอร์ดิน นักกิจกรรมสตรีจากรัฐซาบะห์ ประเทศมาเลเซีย

ผู้เข้าร่วมสัมมนาถ่ายภาพที่ระลึกกับคณะวิทยากร

ผู้นำชุมชนถ่ายภาพที่ระลึกกับคณะวิทยากร

กิจกรรมหนึ่งของงานสัมมนาวิชาการนานาชาติครั้งนี้คือ การพบปะ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับชุมชน ตอนแรกเราได้ประสานกับชุมชนในตัวเมืองนราธิวาส ด้วยบรรดาผู้นำชุมชนดังกล่าว ส่วนหนึ่งจะเป็นปัญญาชนคนรุ่นใหม่ แต่เมื่อถึงเวลาปรากฎว่า ตรงกับช่วงที่มีการแข่งขันเรือหน้าพระที่นั่ง ในค่ำดังกล่าวส่วนใหญ่ของคนในชุมชนดังกล่าวจะไปร่วมงาน และบรรดาผู้นำชุมชนรุ่นใหม่ส่วนหนึ่งเป็นข้าราชการ จึงต้องเข้าร่วมในงานดังกล่าว ทำให้การพบปะกับชุมชนในตัวเมืองนราธิวาสต้องเลิกโดยปริยาย เราจึงหาทางออกโดยเลือกชุมชนบ้านตะโล๊ะมาเนาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส เป็นที่พบปะชุมชน โดยเลือกช่วงค่ำ ณ มัสยิดวาดีลฮุสเซ็น หลังจากผู้คนในชุมชนเสร็จจากการละหมาดมักริบ วิทยากรบางคนจึงได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เกี่ยวกับสังคมพหุวัฒนธรรมในประเทศของตนเองกับสิ่งที่ได้สัมผัสในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

ถ่ายภาพที่มัสยิดวาดิลฮุสเซ็น

เยี่ยมชมรอบๆมัสยิดวาดิลฮุสเซ็น

วิทยากรจากรัฐซาบะห์ ประเทศมาเลเซียกำลังอธิบายสภาพสังคมบรูไนให้กับชุมชนบ้านตะโละมาเนาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส

วิทยากรจากรัฐซาบะห์ ประเทศมาเลเซียกำลังอธิบายสภาพสังคมพหุวัฒนธรรมของรัฐซาบะห์ให้กับชุมชนบ้านตะโละมาเนาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส

วิทยากรจากประเทศบรูไนกำลังอธิบายสภาพสังคมบรูไนให้กับชุมชนบ้านตะโละมาเนาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส

วิทยากรจากประเทศบรูไนกำลังอธิบายสภาพสังคมบรูไนให้กับชุมชนบ้านตะโละมาเนาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส

ตอนเช้าของวันที่ 26 กันยายน 2554 คณะวิทยากรและผู้ปฏิบัติงานของงานสัมมนา ได้เดินทางออกจากอุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี เพื่อเดินทางไปบรรยายเรื่องสังคมพหุวัฒนธรรมในโลกวัฒนธรรมมลายู การเดินทางครั้งนี้ เราเดินทางไปยังจังหวัดยะลาก่อน โดยมีเป้าหมายเพื่อพบคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา ซึ่งปรากฎว่าในช่วงเวลาดังกล่าวทางมหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา อยู่ในช่วงของการสอบปลายภาค ทำให้การพบปะ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นค่อนข้างจะต้องใช้เวลาสั้นๆ บุคคลที่เป็นเป้าหมายคืออาจารย์กูมัจดี ยามีรูเด็ง และคณะ แม้จะเป็นเพียงช่วงเวลาสั้นๆ แต่เราก็สามารถสร้างความรู้จัก สร้างเครือข่ายกับทางคณาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา

คณะวิทยากรถ่ายภาพเป็นที่ระลึกกับอาจารย์กูมัจดี ยามีรูเด็ง

หลังจากออกจากมหาวิทยาลัยราชภัฎยะลาแล้ว ด้วยเวลาที่มีจำกัด ทำให้เราต้องเลือกระหว่างพบคณาจารย์มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา กับการเยี่ยมชมโบราณสถานที่อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี ซึ่งทางผู้ขับรถให้คำแนะนำว่าน่าจะเลือกการเยี่ยมชมเมืองโบราณมากกว่า เพราะอาจใช้เวลาที่สั้นกว่า และไม่เป็นทางการ ถ้าไปเยี่ยมมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา อาจต้องใช้เวลาที่มากกว่า อาจจะไม่ทันกับเวลาที่จะบรรยายที่ ม. สงขลานครินทร์

ณ เมืองโบราณยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี

ณ เมืองโบราณยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี

ณ เมืองโบราณยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี

เราเดินทางถึง ม. สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เมื่อเกือบจะบ่ายโมง ซึ่งเป็นเวลาที่ต้องบรรยาย ทำให้เราตัดสินใจทานอาหารเที่ยงหลังจากบรรยายเสร็จ ทางคณะนักศึกษาผู้ปฏิบัติงานได้เตรียมห้องบรรยาย ประสานงานกับทางหอสมุด หอสมุด จอห์น เอฟ. เคเนดี้ โดยเลือกห้องมินิเธียเตอร์ ซึ่งเป็นห้องที่สามารถจุนักศึกษาได้ประมาณ 150 คน โดยใช้เวลาในการบรรยายประมาณ 2 ชั่วโมง เราใช้วิธีการบรรยายเรื่องสังคมพหุวัฒนธรรม สลับกับการตั้งคำถามของนักศึกษา เวทีในห้องมินิเธียเตอร์นี้มีอาจารย์ ซาวาวี ปะดาอามีน เป็นผู้ดำเนินการ

นักศึกษาประมาณ 120 คน เข้าร่วมฟังการบรรยายเรื่องสังคมพหุวัฒนธรรมที่ ม. สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

วิทยากรจากอินโดเนเซียกำลังบรรยายเรื่องสังคมพหุวัฒนธรรม

สภาพภายในห้องมินิเธียเตอร์ หอสมุด จอห์น เอฟ. เคเนดี้

นักศึกษา ม. สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

นักศึกษา ม. สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

นักศึกษา ม. สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

ภายในห้องมินิเธียเตอร์ หอสมุด จอห์น เอฟ. เคเนดี้ ม. สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

ภายในห้องมินิเธียเตอร์ หอสมุด จอห์น เอฟ. เคเนดี้ ม. สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

ภายในห้องมินิเธียเตอร์ หอสมุด จอห์น เอฟ. เคเนดี้ ม. สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

คุณอับดุลนัดดีน จากรัฐซาราวัค ประเทศมาเลเซียกำลังบรรยายเรื่องสังคมพหุวัฒนธรรม

วิทยากรจากรัฐซาราวัค ประเทศมาเลเซียกำลังบรรยายเรื่องสังคมพหุวัฒนธรรมให้นักศึกษา ม. สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

วิทยากรจากประเทศบรูไนกำลังบรรยายเรื่องสังคมพหุวัฒนธรรมให้นักศึกษา ม. สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

นักศึกษา มอ. ปัตตานีถ่ายรูปร่วมกับวิทยากร ที่ห้องมินิเธียเตอร์ หอสมุด จอห์น เอฟ. เคเนดี้ ม. สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

เมื่อเสร็จจากการบรรยายที่ห้องมินิเธียเตอร์ หอสมุด จอห์น เอฟ. เคเนดี้ ม. สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ราวบ่ายสามโมงแล้ว ทางคณะวิทยากรจึงเดินทางไปทานอาหารเที่ยง หลังจากนั้นราวสี่โมงเย็น คณะวิทยากรจึงเดินทางไปยังหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยพักค้างคืนที่หาดใหญ่หนึ่งคืน ในช่วงกลางคืน เราได้ตั้งโต๊ะเสวนาถึงแนวทางในการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ วิทยากรแต่ละท่านสัญญาว่าพร้อมจะให้การสนับสนุนโครงการต่างๆของแผนกวิชามลายูศึกษา อันจะช่วยในการพัฒนาพื้นที่ที่ยังมีความรุนแรงแห่งภาคใต้ตอนล่างกลับสู่ความสงบเหมือนเดิม วิทยากรหลายท่านแสดงความคิดเห็นว่า ข่าวที่ปรากฎในสื่อต่างๆของประเทศตนเองนั้น ขัดแย้งกับสภาพความเป็นจริงที่ตนเองได้สัมผัสมา แม้ว่าจะเป็นเพียงช่วงเวลาสั้นๆก็ตาม

วิทยากรสตรีสองท่านกล่าวเหมือนกันว่า กิจกรรมที่ทำ เช่น การบรรยายนั้น มีมากจนแทบจะมีเวลาส่วนตัวไม่ได้ ซึ่งก็เข้ากับที่ผู้เขียนตั้งใจไว้ นั้นคือใช้เวลาที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์มากที่สุด ใช้เวลาให้คุ้มที่สุด รวมทั้งใช้งบประมาณน้อยที่สุดเพื่อให้ได้กิจกรรมมากที่สุด ช่วงเช้าของวันที่ 27 กันยายน 2554 คณะวิทยากรจึงแยกย้ายกลับถิ่นฐานของแต่ละคน แม้วันที่ 27 กันยายน 2554 งานสัมมนาวิชาการนานาชาติว่าด้วยมลายูศึกษาจะเสร็จสิ้นแล้ว

แต่คณะผู้ปฏิบัติงานยังมีงานที่ต้องทำอีกมาก รวมทั้งการพิมพ์ประกาศนียบัตรแก่วิทยากร คณะนักศึกษาผู้ปฏิบัติงาน และบรรดานักเรียน เยาวชนที่เข้าร่วมงานอบรมบทกวีเพื่อสันติภาพ โดยประสานกับรศ. อาหวัง ล่านุ้ย คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และ ผศ. นิฟาริด ระเด่นอาหมัด รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและวัฒนธรรม ม. สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เพื่อเป็นผู้เซ็นชื่อในใบประกาศนียบัตรดังกล่าว