Ekonomi/Bisnis

Rabu, 29 Disember 2010

พบปะชาวปัตตานีเชื้อสายอาหรับฮัดรามีที่โรงแรม CS จังหวัดปัตตานี

โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน

เมื่อ 26 ธันวาคม 2553 ผู้เขียนได้รับเชิญจากโครงการจัดตั้งสถาบันสมุทรรัฐเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ม. สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ให้เข้าร่วมรับประทานอาหารค่ำกับศาสตาจารย์ ดร. เองเซง โฮ แห่ง Duke University สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผู้ที่ศึกษาเกี่ยวกับการอพยพของชาวอาหรับฮัดรามี(ประเทศเยเมน)มายังเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในงานเลี้ยงครั้งนี้จะมีผู้สืบเชื้อสายชาวอาหรับฮัดรามีที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในจังหวดชายแดนภาคใต้เข้าร่วมด้วย จึงเห็นเป็นโอกาสดีที่จะได้รู้จักบุคคลเหล่านี้

สำหรับการเดินทางของศาสตาจารย์ ดร. เองเซง โฮ มายังจังหวัดปัตตานีในครั้งนี้ เป็นการเชิญของโครงการจัดตั้งสถาบันสมุทรรัฐเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ให้มาบรรยายเรื่อง "อาหรับฮัดรามีกับการแผ่ขยายของอิสลามในอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" ซึ่งจัดการบรรยายที่ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม. สงขชลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี สำหรับการบรรยายครั้งนี้จะเป็นส่วนหนึ่งจากเนื้อหาหนังสือที่เขาแต่งที่ชื่อว่า The Graves of Tarim: Genealogy and Mobility Across the Indian Ocean จัดพิมพ์โดย University of California Press เมื่อปี 2006

ศาสตาราจารย์ ดร. เองเซง โฮ

กำลังบรรยายให้นักศึกษา

หนังสือที่ชื่อThe Graves of Tarim หนังสือที่บอกเรื่องราวการอพยพของชาวอาหรับฮัดรามี ซึ่งมีถิ่นฐานอยู่ในประเทศเยเมนมายังเอเชียใต้และอเชียตะวันออกเฉียงใต้

บรรยากาศบนโต๊ะอาหารที่โรงแรมซีเอส

บรรยากาศบนโต๊ะอาหารที่โรงแรมซีเอส

บรรยากาศบนโต๊ะอาหารที่โรงแรมซีเอส

สองผู้เข้าร่วมรับประทานอาหารที่โรงแรมซีเอส

ชาวปัตตานีเชื้อสายอาหรับฮัดรามี พูดได้ทั้งภาษาอาหรับ ภาษามลายูถิ่นปัตตานี ภาษาอินโดเนเซีย สำหรับภาษาไทยนั้นนอกจากภาษาไทยกลางแล้ว ยังพูดภาษาไทยใต้อีกด้วย

คุณมูฮัมหมดอาราฟัต บินมูฮัมหมัด ชาวสิงคโปร์ หัวใจปัตตานี นักศึกษาปริญญาเอกจากมหาวิทยาลยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา ผู้ศึกษาเกี่ยวกับชาวปัตตานีโพ้นทะเลที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศซาอุดีอาราเบีย

ศาสตาจารย์ ดร. เองเซง โฮ จาก Duke University สหรัฐอเมริกา ชาวรัฐปีนัง ผู้ศึกษาการเข้ามาของชาวอาหรับฮัดรามี (ประเทศเยเมน)ยังเอเชียใต้และเอเชียตะวนออกเฉียงใต้

กับศาสตาจารย์ ดร. เองเซง โฮ นักมนุษยวิทยาเชิงวัฒนธรรม (Cultural Antropology)

เสวนาโต๊ะกาแฟที่โรงแรมซีเอ็ส ปัตตานี

ทฤษฎีการเข้ามาของอิสลามสู่ภูมิภาคมาลายู
ในที่สุดความยิ่งใหญ่ของอาณาจักรศรีวิชัยและรัฐอื่น ๆ ในยุคเดียวกันก็ต้องสยบต่อ “กระแสของอิสลาม” ที่พัดกระหน่ำสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในราว ๆ คริสต์ศตวรรษที่ 12 และ 13 การเข้ามาของอิสลามได้เปลี่ยนเข็มทิศของศูนย์อารยธรรมมลายูต่าง ๆ ไปยังที่อื่น ๆ เช่น มะละกา จัมบี อาเจะห์ และปัตตานี บรรดานักวิชาการได้นำเสนอทฤษฎีต่าง ๆ เพื่อเชื่อมโยงการเข้ามาของอิสลามยังหมู่เกาะมลายู โดยพื้นฐานแล้วมี 3 ทฤษฎีหลัก ๆ คือทฤษฎีจากอินเดีย มาจากจีนและมาจากอาหรับ

1. ทฤษฎีอิสลามมาจากอินเดีย
ทฤษฎีการเข้ามาของอิสลามสู่ภูมิภาคมลายู(นูซันตารา) โดยบรรดาพ่อค้าชาวอินเดีย ได้ถูกเสนอโดยนักบูรพาคดีชาวตะวันตก เช่น Snouckc Horgronje และ Brain Harrison พวกเขาได้กล่าวว่า สังคมภูมิภาคมลายูเห็นว่าอินเดียเป็นแหล่งที่สามารถจะขอความช่วยเหลือคำแนะนำ คำสั่งสอนชี้แนะและปัญหาทางศาสนาได้ จากที่ทั้งสองฝ่ายมีการติดต่อสัมพันธ์กันนั่นเอง ผู้คนในภูมิภาคมลายูรู้สึกสนใจและชอบศาสนาอิสลามที่พ่อค้าชาวอินเดียนับถืออยู่

มีนักวิจัยบางคนที่ระบุสถานที่เริ่มต้นของการเผยแผ่อิสลามนี้ อย่างเช่น แจ้สโสลิน เดน จอง (Jassolin Den Jong) นักบูรพาคดีคนหนึ่งมีทัศนะว่าการเผยแผ่อิสลามเข้าสูภูมิภาคมลายู(นูซันตารา)กระทำโดยพ่อค้าชาวคุชรัต (Gujerat) ทฤษฏีที่ว่าอิสลามมาจากคุชรัตนี้ก็ถูกนำเสนอขึ้นมาก็ด้วย

เหตุผลว่ามีหลักฐานต่าง ๆ ที่บ่งบอกถึงความเหมือนกันในวัฒนธรรมมลายูของสังคมชาวมลายูในภูมิภาคนี้กับสังคมวัฒนธรรมชาวอินเดีย ทฤษฏีนี้ได้รับการเสริมให้น่าเชื่อถือขึ้นอีกเมื่อมีการพบเจอหินปักหลุมฝังศพ เช่น หินปักหลุมฝังศพของสุลต่านมาลิกซอและห์ กษัตริย์แห่งเมืองสะมุเดอรา (Samudera) พระองค์แรกซึ่งอยู่ในช่วงปี ค.ศ. 1297 หินปักหลุมฝังศพนี้ได้มีการอ้างว่าเอามาจากเมืองคุชรัตเพราะมีรูปร่างลักษณะของหินทั้งสองแห่งนี้เหมือนกัน (D.G.E.Hall 1987 : 253)

โมทัส อาร์โนลด์ (Thomas Arnold) ได้กล่าวในหนังสือของเขาที่มีชื่อว่า “The Praching of Islam” ว่าอิสลามได้มาถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่ในกลุ่มอิมามซาฟีอีย์ เหมือนกับสังคมมุสลิมในมาลาบาร์ในอินเดียเขาได้ปฏิเสธแนวคิดที่ว่าอิสลามมาจากเมืองคุชรัต เพราะสังคมมุสลิมคุชรัตเป็นผู้ที่ปฎิบัติตามมัซฮับฮานาฟี อีกทั้งช่วงเวลาที่คุชรัตรับอิสลามก็ช้ากว่ารัฐปาไซย์ (Pasai) ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อย่างไรก็ตามทฤษฏีต่าง ๆ เกี่ยวกับการเข้ามาของอิสลามในภูมิภาคมลายู(นูซันตารา) จากอินเดียนั้นปรากฏขัดแย้งกับหลักฐานต่าง ๆ ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 7 เสียอีก อันนี้พิสูจน์ได้จากการค้นพบหลักฐานต่าง ๆ ในช่วงท้าย ๆ นี้ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างภูมิภาคมลายูกับโลกอาหรับได้มีมาตั้งแต่กำเนิดของอิสลามเลยทีเดียว

2. ทฤษฏีจากจีน
นอกจากทฤษฎีเรื่องอิสลามเข้าสู่ภูมิภาคมลายู(นูซันตารา) โดยผ่านมาทางอินเดียแล้ว ก็มีทฤษฏีที่ว่าอิส
ลามมาจากจีน ตามประวัติศาสตร์พบว่าอิสลามมาสู่เมืองจีนในสมัยการปกครองราชวงศ์ถัง นั่นคือในราวปี ค.ศ. 650 (Azhar 2000 : 256) และมีนักวิชาการจำนวนมากเหมือนกันที่สนับสนุนทฤษฏีอิสลามมาจากเมืองจีน เช่น Emanuel Godinho De Evedia บอกว่าอิสลามมาสู่ภูมิภาคมลาย(นูซันตารา)จากเมืองจีนโดยผ่านทางกวางตุ้งและไหหนานในตริสตวรรษที่ 9 ทัศนะนี้ปรากฏชัดเจนขึ้นจากหลักฐานหรือผลจากการค้นพบศิลาจารึกที่กัวลาเบอรัง รัฐตรังกานู ทางฝั่งทะเลตะวันออกของแหลมมลายู

ทฤษฏีนี้ได้รับการสนับสนุนจากข้อเท็จจริงที่แสดงถึงความสัมพันธ์ทางด้านการค้ากับระหว่างบรรดาคนมุสลิมจากเอเชียตะวันตก (อาหรับ – เปอร์เชีย) มาตั้งแต่ฮิจเราะห์ ศักราชที่ 3 หรือ คริสตศตวรรษที่ 9 หรืออาจจะก่อนหน้านั้นด้วยซ้ำ คือ ตั้งแต่ฮิจศักราชที่ 1 หรือคริสต์ศตวรรษที่ 7 เสียอีก ตามบันทึกของนักเดินหรือมุสลิมที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งชื่อมาซูดี (Masudi) บอกว่ามีพ่อค้าราว 2000,000 คน ที่กวางตุ้งเป็นมุสลิม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพ่อค้ามุสลิมจากอาหรับ – เปอร์เซีย

เอส. คิว. ฟาตีมี (S.Q.Fatimi) อธิบายอย่างละเอียดในหนังสือของเขา Islam Comes to Malaysia ว่าอิสลามได้ถูกนำมาจากกวางตุ้งของจีนในปลายศตวรรษใต้ในราวปี ค.ศ. 876 การอพยพเคลื่อนย้ายนี้เกิดขึ้นจากผลของเหตุการณ์นั้นมีคนมุสลิมต้องสังเวยชีวิตไปเป็นจำนวนมาก คือ มากกว่าหนึ่งแสนคน คนมุสลิมที่เหลือได้หลบหนีไปยังภูมิภาคมลายู(นูซันตารา)

อย่างไรก็ตามหลักฐานต่าง ๆ ที่สนับสนุนสมมุติฐานของทฤษฏีนี้ยังสามารถโต้แย้งได้อีกมาก เพราะการเข้ามาตั้งถิ่นฐานของชาวมุสลิมยังภูมิภาคมลายูมามาก่อนระยะเวลาที่ปรากฏ ตามทฤษฏีนี้ รวมทั้งการค้นพบสิ่งใหม่ ๆ เกี่ยวกับการเข้ามาของอิสลามสูนูซันตาราที่ดูเหมือนจะขัดแย้งกับที่ได้นำเสนอโดยทฤษฏีข้างต้น และสมมุติฐานดูไม่หนกแน่น เพราะหากอิสลามมาถึงเมืองจีนโดยคนอาหรับนำมาแล้วแน่นอนเหลือเกินว่าบรรดานักเผยแผ่ชาวอาหรับเหล่านั้นจะต้องแวะที่ภูมิภาคมลายู(นูซันตารา)ก่อนไปจีน เพราะภูมิภาคมลายู(นูซันตารา)อยู่ระหว่างเส้นทางการค้าขายของเอเชียตะวันตกกับเอเชียตะวันออกอยู่แล้ว ดังนั้นด้วยเหตุผลดังกล่าวไม่น่าที่อิสลามจะไปยังจีนก่อนแล้วย้อนกลับมายังภูมิภาคมลายู(นูซันตารา)ภายหลัง

3. ทฤษฏีอิสลามมาจากอาหรับ
ทฤษฏีการเข้ามาของอิสลามสู่นูซันตาราโดยนักเผยแผ่ศาสนาอิสลามและบรรดาพ่อค้าและเศรษฐีชาวอาหรับ เป็นทฤษฎีที่สอนคล้องกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ต่าง ๆ ที่ได้ค้นพบมารวมทั้งจากบันทึกของนักเดินเรือทั้งหลาย หากเรามองอย่างหยาบ ๆ ก็จะพบว่าประชาชนในภูมิภาคมลายู(นูซันตารา) ได้มีความสัมพันธ์กับชาวอาหรับมานานแล้ว คือ ตั้งแต่ก่อนยุคอิสลามเรื่อยมาจนถึงการเผยแผ่อิสลามสู่บริเวณนี้

จากบันทึกชั้นหนึ่งที่ได้มีการค้นพบ มีการกล่าวถึงชุมชนอิสลามในสุมาตราเหนือที่เรียกว่า “Tashih” ในปี ค.ศ. 650 ชุมชนนี้มีชาวอาหรับที่เข้ามาในสุมาตราในคริสต์ศตวรรษที่ 7 อยู่อาศัย นอกจากนี้ สัยยิด มูฮัมหมัด นากิบ อัล อัตตาส (S. M. Naqiib al -Atas) ได้ยืนยันว่าเนื้อหาของวรรณกรรมมลายูอิสลามที่ประกอบด้วยคำศัพท์เฉพาะและแนวคิดรวมทั้งระบบการเขียนอักษรยาวีที่ใช้กันอยู่ในภูมิภาคมลายู แสดงถึงแหล่งที่มาของอาหรับหรือตะวันนอกกลางเป็นหลัก (Hashim Musa 2001 : 165) จากการวิเคราะห์และการค้นพบเหล่านี้สามารถบอกได้ว่าการเข้ามาของอิสลามยังนูซัมตาราได้เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 7 โดยการนำเข้ามาของพ่อค้าวาณิชและนักเผยแผ่ศาสนาชาวอาหรับ โดยผ่านเส้นทางการค้าขายของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อไปยังจีน

อ้างอิง :
1)นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน เอกสารประกอบการบรรยาย วิชา 431-211 อารยธรรมมลายู คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม. สงขชลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

2) Fatimi, SQ., 1963. Islam comes to Malaysia. Singapura: Malaysian Sociological Research Institiute Ltd.

3) Hall, DGE., 1979. Sejarah Asia Tenggara. Kuala Lumpur: Dewan Bahasa dan Pustaka.

4) Harrison, B., 1955. South East Asia, A Short History. London: Macmillan & Co.

Ahad, 19 Disember 2010

เยี่ยมพิพิธภัณฑ์สถานแห่งรัฐตรังกานู (Lembaga Perbadan Muzium Negeri Terengganu)

โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน

พิพิธภัณฑ์สถานแห่งรัฐตรังกานูเป็นพิพิธภัณฑ์ที่น่าสนใจยิ่ง เมื่อเปรียบเทียบกับพิพิธภัณฑ์อื่นๆของประเทศมาเลเซียจะเห็นได้ว่าพิพิธภัณฑ์สถานแห่งรัฐตรังกานูเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุด จนรัฐตรังกานูเองถือว่าพิพิธภัณฑ์สถานแห่งรัฐตรังกานูเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวนออกเฉียงใต้ มีเนื้อที่ท้งหมด 27 เฮกเตอร์ หรือ ประมาณ 164.7 ไร่ ครั้งแรกที่ข้าพเจ้าเดินทางไปยังพิพิธภัณฑ์สถานแห่งรัฐตรังกานู เป็นช่วงที่กำลังก่อสร้างอาคารอยู่ จนต่อมาก็ได้เดินทางไปยังพิพิธภัณฑ์สถานแห่งนี้หลายต่อหลายครั้ง และเมื่อต้นเดือนนี้ ซึ่งไม่กี่วันที่ผ่านมาก็ได้เดินทางไปยังพิพิธภัณฑ์สถานแห่งรัฐตรังกานูอีกครั้ง วันนี้จึงขอแนะนำพิพิธภัณฑ์สถานแห่งรัฐตรังกานู ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ที่เก็บรักษาส่วนหนึ่งของตำรับตำราศาสนาของคนจังหวัดชายแดนภาคใต้และประวัติศาสตร์ปาตานีไว้

แผ่นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์แห่งรัฐตรังกานู

ป้ายชื่อพิพิธภัณฑ์สถานแห่งรัฐตรังกานู

แผนผังพิพิธภัณฑ์สถานแห่งรัฐตรังกานู

ประวัติความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์สถานแห่งรัฐตรังกานู
พิพิธภัณฑ์สถานแห่งรัฐตรังกานู(Lembaga Muzium Negeri Terengganu)จัดตั้งขึ้นในปี 1976 ภายใต้ พ.ร.บ. พิพิธภัณฑ์สถานแห่งรัฐตรังกานู ฉบับที่ 9 ปี 1976 และได้ผ่านการลงมติของสภานิติบัญญัติแห่งรัฐเมื่อ 28ธันวาคม 1976และเริ่มบังคับใช้เมื่อ 1 พฤศจิกายน 1977

หลักศิลาจารึกตรังกานู

เริ่มจากการที่สัยยิดฮุสเซ็น กูลาม อัล-บุคารี (Syed Hussein Ghulam Al Bukhari)ได้พบศิลาจารึกตรังกานู(Batu Bersurat Terengganu) ที่หมู่บ้านบูโละห์(Kampung Buloh) ฮูลูตรังกานู (Hulu Terengganu) ในปี 1902 และแนวความคิดในการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์สถานแห่งรัฐตรังกานูเริ่มมีในทศวรรษที่ 1920 และด้วยไม่มีทางเลือกอื่น สุลต่านสุไลมานบัดรุลอาลามชาห์(Duli Yang Maha Mulia Sultan Sulaiman Badrul Alam Syah) แห่งรัฐตรังกานูจึงยินยอมให้นำศิลาจารึกตรังกานูไปเก็บไว้และแสดงที่พิพิธภัณฑ์ภาพถ่ายรัฟเฟิลส์(Muzium Gambar Raffles)ในปี 1923 มุขมนตรีแห่งรัฐตรังกานูขณะนั้นคือดาโต๊ะฮัจญีงะห์ มูฮัมหมัด บินยูซุฟ (Dato’ Haji Ngah Mohd Bin Yusof) ได้รับหนังสือตอบจากที่ปรึกษาของอังกฤษว่า

" Maka apakala diadakan Muzium di dalam Terengganu kelak ataupun tempat lain yang munasabah bolehlah kerajaan mengambil balik pula pada bila-bila masa yang dikehendaki adanya "
(เมื่อมีพิพิธภัณฑ์ที่ตั้งอยู่ในรัฐตรังกานูแล้ว หรือสถานที่อื่นที่มีความเหมาะสม รัฐบาล(ตรังกานู)ก็สามารถเรียกคืน(หลักศิลาจารึก)เมื่อใดก็ได้)

เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์1974 ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการเกี่ยวกับการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์สถานแห่งรัฐตรังกานูขึ้น หลังจากนั้นก็ได้มีการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์สถานแห่งรัฐตรังกานูขึ้นมา

การบริหารพิพิธภัณฑ์สถานแห่งรัฐตรังกานูอยู่ภายใต้อำนาจของสำนักเลขาธิการรัฐตรังกานู (Pejabat Setiausaha Kerajaan Negeri Terengganu) และเริ่มมีการสะสมวัตถุและสิ่งของทางประวัติศาสตร์ในปี 1979

ในปี 1981 มีการแต่งตั้งหัวหน้าผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์สถาน ทำหน้าบริหารพิพิธภัณฑ์สถาน ต่อมาในปี 1985 มีการยกฐานะจากหัวหน้าผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์เป็นผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์สถาน

ในเดือนกรกฎาคม 1992 ศิลาจารึกตรังกานูถูกนำจากพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ กรุงกัวลาลมเปอร์มามอบให้แก่รัฐตรังกานู ต่อมาในเดือน เมษายน 1994 การบริหารการจัดการและสิ่งของที่จัดแสดงได้ย้ายไปอยู่”บ้านใหม่” นั้นคืออาคารพิพิธภัณฑ์สถานแห่งรัฐตรังกานู(Kompleks Muzium Negeri Terengganu) ที่มีพื้นที่ถึง 27 เฮกเตอร์ ตั้งอยู่ที่ หมู่บ้านบูกิตโลซง (Kg. Bukit Losong) เขตปาโละห์(Paloh) เมืองกัวลาตรังกานู (Kuala Terengganu) เมืองเอกของรัฐตรังกานู

ในปัจจุบันพิพิธภัณฑ์แห่งรัฐตรังกานูมีผู้อำนวยการชื่อว่า ฮัจญีมูฮัมหมัดยูซุฟ บินอับดุลลอฮ (Haji Mohd Yusof bin Abdullah)ซึ่งเป็นผู้ที่มีความสนใจเกี่ยวกับจังหวัดชายแดนภาคใต้

Haji Mohd Yusof bin Abdullah ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์สถานแห่งรัฐตรังกานู

Haji Mohd Yusof bin Abdullah ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์สถานแห่งรัฐตรังกานู

มอบของที่ระลึกแก่ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์แห่งรัฐตรังกานู

นักศึกษามลายูศึกษาโชว์แผ่นไม้ประวัติศาสตร์ปาตานีที่เก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์แห่งรัฐตรังกานู

อาคารพิพิธภัณฑ์สถานแห่งรัฐตรังกานูนี้ออกแบบโดยเชื้อพระวงศ์รัฐตรังกานูที่ชื่อว่า ราชาดาโต๊ะ กามารุลบะห์ริน ชาห์(YM Raja Dato’ Kamarul Bahrin Shah) โดยมีอาคารหลักอยู่ 4 อาคาร อาคารหลักมี 5 ชั้น และอีก 3 อาคารมี 4 ชั้น เปิดเป็นทางการโดยสุลต่านมาห์มุดชาห์ อิบนีสุลต่านนาซีรุดดินชาห์

อาคารพิพิธภัณฑ์สถานแห่งรัฐตรังกานู

อาคารพิพิธภัณฑ์สถานแห่งรัฐตรังกานู

สะพานบริเวณอาคารพิพิธภัณฑ์สถานแห่งรัฐตรังกานู

อาคารพิพิธภัณฑ์สถานแห่งรัฐตรังกานู

อาคารพิพิธภัณฑ์สถานแห่งรัฐตรังกานู

อาคารพิพิธภัณฑ์สถานแห่งรัฐตรังกานู

อาคารพิพิธภัณฑ์สถานแห่งรัฐตรังกานู

ด้านหน้าบ้านนักการศาสนาที่ชื่อเชคอับดุลกาเดร์ กอลาม สร้างในปี 1885 ถูกนำมาเก็บไว้ในบริเวณพิพิธภัณฑ์สถานแห่งรัฐตรังกานู

ด้านหลังบ้านนักการศาสนาที่ชื่อเชคอับดุลกาเดร์ กอลาม สร้างในปี 1885 ถูกนำมาเก็บไว้ในบริเวณพิพิธภัณฑ์สถานแห่งรัฐตรังกานู

วารสารพิพิธภัณฑ์สถานแห่งรัฐตรังกานู ที่ชื่อว่า Pesaka

พิพิธภัณฑ์สถานแห่งรัฐตรังกานูยังได้มีการพิมพ์วารสารประจำของพิพิธภัณฑ์สถานแห่งรัฐตรังกานู โดยมีชื่อว่า Pesaka ซึ่งมีความหมายว่า มรดก เป็นวารสารเชิงวิชาการที่มีบทความต่างๆ บางบทความมีความเกี่ยวข้องกับจังหวัดชายแดนภาคใต้

วารสาร Pesaka ฉบับที่ 1

วารสาร Pesaka ฉบับที่ 2

วารสาร Pesaka ฉบับที่ 3

วารสาร Pesaka ฉบับที่ 4

วารสาร Pesaka ฉบับที่ 5

วารสาร Pesaka ฉบับที่ 6

การจัดแสดงเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่เกี่ยวข้องกับรัฐตรังกานูในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งรัฐตรังกานู

เปโตรเลี่ยม

ประเพณีราชสำนัก

ประเพณีราชสำนัก

ศาสนาอิสลาม

การประมง

การเดินเรือ

บาติก

หัตถกรรม

เสื้อผ้า

การจัดแสดงเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของชาวมลายูตรังกานูในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งรัฐตรังกานู
ประวัติศาสตร์ของชาวมลายูตรังกานู

ประวัติศาสตร์ของชาวมลายูตรังกานู

ประวัติศาสตร์ของชาวมลายูตรังกานู

การจัดแสดงเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ
สิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ

สิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ

สิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ

สิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ

การจัดแสดงเกี่ยวกับศัตราวุธของชาวมลายูในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งรัฐตรังกานู

ศัตราวุธของชาวมลายู

ศัตราวุธของชาวมลายู

ศัตราวุธของชาวมลายู