Ekonomi/Bisnis

Khamis, 25 November 2010

งานมหกรรมเชงโฮ 2010 ที่เมืองโกตาบารู รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย

โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน

วันนี้วันที่ 26 พฤศจิกายน เป็นวันสุดท้ายของการจัดงานมหกรรมเชงโฮ (Cheng Ho Expo 2010)ที่เมืองโกตาบารู รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย งานมหกรรมเชงโฮครั้งนี้จัดระหว่างวนที่ 21-26 พฤศจิกายน 2010 ถือเป็นงานใหญ่งานหนึ่งของรัฐกลันตัน ด้วยนอกจากมีการจัดบูธแสดงสินค้า การแสดงศิลปะการต่อสู้กังฟูจากวัดเส้าหลิน ประเทศจีนแล้ว ยังมีการพบปะระหว่างนักธุรกิจจากมาเลเซียกับนักธุรกิจจากประเทศจีน และอีกหลายประเทศที่เข้าร่วมในการจัดงานครั้งนี้

สัญญลักษณ์ของงานมหกรรมเชงโฮ

แผ่นโบรชัวร์รายชื่อบูธแสดงสินค้า

การจัดงานมหกรรมเชงโฮ 2010 ของรัฐกลันตันในครั้งนี้ได้มีการประชาสมพันธ์ทั้งโดยการตั้งป้ายโฆษณา มีการซื้อพื้นที่ประชาสัมพันธ์ในสื่อตีพิมพ์ ทั้งในระดับส่วนกลางและระดับท้องถิ่น

ป้ายโฆษณางานมหกรรมเชงโฮ
มีอยู่ทั่วรัฐกลันตัน และมีการประชาสัมพันธ์ถึงการจัดงานมาเป็นเวลานานนับเดือน

ป้ายโฆษณาในงานมหกรรมเชงโฮ

งานมหกรรมเชงโฮ 2010 นี้ได้รับความสนใจจากชาวรัฐกลันตันและคนต่างรัฐจำนวนมาก แม้ว่าพื้นที่จัดงานจะแคบด้วยพื้นที่จัดงานเป็นบริเวณด้านหน้าของสนามกีฬาสุลต่านมูฮัมหมัดที่ 4 แต่ทางผู้จัดได้ขยายพื้นที่จัดงานในส่วนของนิทรรศการเชงโฮ เป็นพื้นที่ภายในของโรงแรมหนึ่งที่ตั้งอยู่ข้างสนามกีฬาสุลต่านมูฮัมหมัดที่ 4

ภายในงานมหกรรมเชงโฮ

มุมหนึ่งภายในงานมหกรรมเชงโฮ

บูธผลิตภัณฑ์สร้างอาคารสถานที่ ผลิตในรัฐกลันตัน

พื้นที่ด้านหน้ากีฬาสุลต่านมูฮัมหมัดที่ 4 จะเป็นบูธแสดงสินค้าทั้งหมด โดยจัดเป็นเต็นท์ติดแอร์ หลายเต็นท์ด้วยกัน โดยแต่ละเต็นท์จะเป็นบูธของกลุ่มผู้ประกอบการ บริษัท ร้านค้าต่างๆ

บูธของกลุ่มผู้ประกอบการของรัฐกลันตัน

สินค้าพื้นเมืองของรัฐกลันตัน

สินค้าพื้นเมืองของรัฐกลันตัน

ในเต็นท์หนึ่งทางรัฐกลันตันได้จัดแสดงโครงการพัฒนาเมืองของรัฐบาลรัฐกลนตัน โดยทางรัฐบาลท้องถิ่นรัฐกลันตันได้จัดสร้างโครงการเมือง Settelite City เป็นโครงการสมัยใหม่ของรัฐกลันตัน เพื่อรองรับกับการพัฒนาเทคโนโลยี่สมัยใหม่

หนึ่งในโครงการเมือง Settelite City ของรัฐกลันตัน

นอกจากนั้นในเต็นท์หนึ่งยังมีการจัดบูธของสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาของรัฐและท้องถิ่น เท่าที่สังเกตุจะเห็นว่าสถาบันอุดมศึกษาเท่าน้นมีทั้งที่เป็นสถาบันอุดมศึกษาระดับประเทศและสถาบันอุดมศึกษาระดับรัฐที่มีรัฐบาลท้องถิ่นของรัฐต่างๆเป็นเจ้าของ

สถาบันอุดมศึกษาของรัฐเคดะห์เข้าร่วมจัดบูธ

งานมหกรรมเชงโฮ 2010 คร้งนี้นอกจากมีบูธของประเทศมาเลเซียแล้ว ยังมีบูธจากประเทศอดีตสหภาพโซเวียต เช่น จากสาธารณรัฐอุสเบกิสถาน สาธารณรัฐกาซักสถาน รวมทั้งบูธจากเขตปกครองจีนมุสลิม ประเทศจีน เช่น เขตมุสลิมนิงเซียะ และเขตปกครองมุสลิมชาวซินเกียง

บูธสินค้าของสาธารณรัฐอุสเบกีสถาน

บูธสินค้าของสาธารณรัฐอุสเบกีสถาน

บูธสินค้าของสาธารณรัฐอุสเบกีสถาน

บูธแสดงสินค้าของสาธารณรัฐกาซักสถาน

ภาพจากบูธของสาธารณรัฐกาซักสถาน

บูธสินค้าเสื้อผ้าจากเขตมุสลิมนิงเซียะ ประเทศจีน

การรักษาโรคโดยใช้ไฟจากบูธการแพทย์แผนจีน

ผู้หญิงชาวซินเกียง ประเทศจีนที่เข้าร่วมเปิดบูธอาหารชาวซินเกียง

ผู้ชายชาวซินเกียง ประเทศจีนที่เข้าร่วมเปิดบูธอาหารชาวซินเกียง

ที่น่าสนใจมีบูธจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย บางบูธนั้นผู้เขียนเคยมาแล้วจากงานต่างๆที่จัดในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี เป็นการเผยแพร่ผลิตภัณฑ์ของจังหวัดชายแดนให้ต่างประเทศได้รู้จัก

บูธแสดงสินค้าจากอำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี

ผู้ปฏิบัติงานในบูธกำลังสาธิตการทำข้าวยำ

สินค้าจากอำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี

บูธสินค้าจากจังหวัดชายแดนภาคใต้

หมวกกะปียะห์จากชุมชนกะมิยอ จังหวัดปัตตานี

มีบูธหนึ่งที่ผู้เขียนสนใจคือบูธของบริษัท Thai OTOP จำกัด โดยได้รับรู้ข้อมูลเรื่องราวของบริษัท Thai OTOP จำกัดจากนิตยสารเนชั่นสุดสัปดาห์ฉบับหนึ่ง เท่าที่จำเนื้อหาในนิตยสารฉบับดังกล่าว กล่าวว่าเดิมทางหน่วยราชการไทยจะจัดบูธแสดงสินค้าจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ในประเทศมาเลเซีย แต่ต่อมาได้จัดตั้งบริษัทขึ้นมาใช้ชื่อว่า บริษัท Thai OTOP จำกัด โดยได้รับงบประมาณจากกงสุลใหญ่ของไทย ณ เมืองโกตาบารู รัฐกลันตัน และศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) นับล้านบาท ในนิตยสารฉบบดังกล่าวทางผู้จัดการบริษัท Thai OTOP จำกัด ได้เรียกร้องให้ทางหน่วยงานรัฐของไทยให้การช่วยเหลืองบประมาณโดยด่วน เพราะบริษัท Thai OTOP จำกัด มีทุนเหลือน้อยมาก ผู้เขียนมีความรู้สึกงงกับเนื้อหาดังกล่าว ด้วยตามสภาพความเป็นจริงแล้ว เมื่อให้เงินนับล้าน ท่านยังเลี้ยงตัวเองไม่รอด แถมยังจะขอทุนเพิ่มเติมอีก ความจริงถือว่าท่านประสบความล้มเหลวในการบริหารทางธุรกิจ หรืออาจคิดว่าเป็นเงินรัฐ(มาจากภาษีของราษฎรอีกนั้นแหละ !!)จะบริหารอย่างไรก็ได้ ไม่ใช่เงินเรา ทางอีกน่าจะไม่ใช่เพิ่มหรือช่วยเหลืองบประมาณ แต่น่าจะเปลี่ยนผู้บริหาร หรือ ปรับปรุงระบบการทำงานมากกว่า

บูธของบริษัท Thai OTOP จำกัด

สินค้าจากประเทศไทย

แผนป้ายของบริษัท Thai OTOP จำกัด

สำหรับประเทศไทย เราจะสนใจเรื่องบ้านดิน หรือบ้านที่สร้างด้วยดินเหนียว มีหนังสือหลายเล่มที่พิมพ์เกี่ยวกับการสร้างบ้านดิน ด้วยบ้านดินเป็นบ้านที่อาศัยอยู่สบาย อากาศเย็นสบาย ในขณะเดียวกันสำหรับประเทศอินโดเนเซีย บ้านไม้ไผ่ หรือบ้านที่สร้างด้วยไม้ไผ่กลายเป็นบ้านที่ได้รับความนิยมจากชาวอินเดีย ในงานมหกรรมเชงโฮ 210 ครั้งนี้ ทางประเทศอินโดเนเซียมีบูธบ้านไม้ไผ่กับเขาด้วย เป็นบูธจากเมืองโบโกร์ จังหวัดชวาตะวันตก ชนส่วนใหญ่ของชาวจังหวัดชวาตะวันตกจะเป็นชาวซุดา (Sunda)

บูธบ้านสร้างด้วยไม้ไผ่จากเมืองโบโกร์ จังหวัดชวากลาง ประเทศอินโดเนเซีย

แบบบ้านสร้างด้วยไม้ไผ่

ในเต็นท์หนึ่งพบบูธที่เป็นของโครงการบริจาคคัมภีร์อัลกุรอ่านสำหรับแจกกลุ่มเป้าหมาย เช่นชาวมุสลิมชนกลุ่มน้อยในประเทศต่างๆ หรือตามแต่ผู้บริจาคต้องการจะให้ โดยผู้บริจาคซื้อคัมภีร์อัลกุรอ่านจากโครงการ และโครงการจะทำหน้าที่นำคัมภีร์อัลกุรอ่านดังกล่าวไปให้แก่ผู้คนตามที่ผู้บริจาคต้องการ

โครงการบริจาคคัมภีร์อัลกุรอ่านสำหรับแจกกลุ่มเป้าหมาย

คัมภีร์อัลกุรอ่านสำหรับแจกกลุ่มเป้าหมาย

สำหรับงานนิทรรศการเชงโฮนั้น ได้จัดขึ้นที่โรงแรมที่อยู่ใกล้กับสนามกีฬาสุลต่านมูฮัมหมดที่ 4 เป็นการแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับแม่ทัพเชงโฮ การแสดงสินค้าที่ทำการค้าในยุคสมัยแม่ทัพเชงโฮ หนังสือประวัติความเป็นมาของแม่ทัพเชงโฮ นอกจากนั้นยังมีการแสดงคัมภีร์อัลกุรอ่านที่ยาวที่สุดในโลก

คัมภีร์อัลกุรอ่านที่ยาวที่สุดในโลก

รูปป้นของแม่ทัพเชงโฮ

ภาพจินตนาการของแม่ทัพเชงโฮ

ภาพจินตนาการของแม่ทัพเชงโฮ

การแสดงถึงกองเรือของแม่ทัพเชงโฮ

เส้นทางการเดินเรือของแม่ทัพเชงโฮ

สุสานของบิดาแม่ทัพเชงโฮ

สุสานของแม่ทัพเชงโฮ

หนังสือต่างๆที่เขียนเรื่องราวของแม่ทัพเชงโฮ

ลูกหลานคนหนึ่งของแม่ทัเชงโฮ

บรรดาลูกหลานเชื้อสายแม่ทัพเชงโฮ

การแสดงเหรียญจีนในยุคแม่ทัพเชงโฮ

Selasa, 16 November 2010

เกาะบาตัม ประเทศอินโดเนเซียที่ได้เห็นมา

โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน

เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน ได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ของคณะมนุษยศาสตร์ ฯ มอ. ปัตตานีว่ามีแฟกซ์จากรัฐมะละกา แจ้งว่าให้เข้าร่วมประชุมประจำปีที่จัดโดยรัฐบาลท้องถิ่นของรัฐมะละกา ซึ่งปีนี้จัดประชุมระหว่างวันที่ 10-12 พฤศจิกายน ที่เมืองบาตัม (Kota Batam)เกาะบาตัม เป็นเกาะหนึ่งในจังหวัดหมู่เกาะเรียว(Provinsi Kepulauan Riau)ของประเทศอินโดเนเซีย ตั้งอยู่ไม่ไกลจากประเทศสิงคโปร์และประเทศมาเลเซีย ดังนั้นผู้เขียนจึงได้เดินทางไปยังประเทศมาเลเซียในตอนเย็นของวันที่ 9 พฤศจิกายน โดยมีเป้าหมายคือเมืองโยโฮร์บารู (Johor Bahru)เมืองเอกของรัฐโยโฮร์ รัฐใต้สุดของประเทศมาเลเซีย เดินทางถึงเมืองโยโฮร์บารูในตอนเช้าของวันที่ 10 พฤศจิกายน จากนั้นจึงเดินทางไปยังเขตปลอดภาษีของเมืองโยโฮร์บารู บริเวณที่เรียกว่าสตูลังลาอุต(Stulang Laut) ในบริเวณดังกล่าวเป็นที่ตั้งของท่าเรือแฟรี่สำหรับเดินทางไปยังเมืองบาตัม เมื่อถึงบริเวณท่าเรือแฟรี่ปรากฎว่าไม่สามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐมะละกาที่ชื่อว่า ไซฟุล (Saiful)ซึ่งทางรัฐมะละกาแจ้งว่าจะเป็นผู้ดูแลเมื่อเดินทางถึงบริเวณท่าเรือแฟรี่ ทำให้เคว้งอยู่เป็นเวลานานพอสมควร ต่อมามีเจ้าหน้าที่ของรัฐมะละกาอีกคนที่ชื่อ คุณไฮกัล (Haikal)มาเป็นผู้ดูแล โดยแจ้งว่าคุณไซฟุลเดินทางไปยังเมืองบาตัมก่อนหน้านั้นแล้ว และคุณไฮกัลก็เป็นผู้ดูแลข้าพเจ้าจนงานเสร็จสิ้น

เกาะบาตัมตั้งอยู่ไม่ไกลจากประเทศสิงคโปร์และประเทศมาเลเซีย

บริเวณที่ซื้อตั๋วเดินทางไปยังเมืองบาตัม

เรือสำหรับเดินทางไปยังเมืองบาตัม

เก็บภาพที่ระลึกที่ท่าเรือแฟรี่สตูลังลาอุต ฝั่งที่เห็นไกลๆเป็นประเทศสิงคโปร์

ที่ท่าเรือก็ได้พบกับคณะของรัฐมะละกา มีทั้งเจ้าหน้าที่รัฐ สื่อมวลชนทั้งจากส่วนรัฐมะละกา เช่น หนังสือพิมพ์ Melaka hari ini และหนังสือพิมพ์ส่วนกลาง รวมทั้งสื่อมวลชนจากสถานีโทรทัศน์มาเลเซียช่อง TV 3 ในคณะจากรัฐมะละกานี้ผู้เขียนเห็นป้ายอยู่ป้ายหนึ่ง เป็นป้ายแสดงการบริจาคเงินเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยในประเทศอินโดเนเซีย จำนวน 5 หมื่นริงกิต หรือประมาณ 5 แสนบาท ต่อมาเงินดังกล่าวได้แยกออกเป็น 2 ส่วนบริจาคแก่ช่วยเหลือผู้ประสบภัยภูเขาไฟเมอราปีระเบิดในยอกยาการ์ตา จำนวน 2.5 หมื่นริงกิต หรือประมาณ 2.5 แสนบาท และบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิในเกาะมึนตาไว(Pulau Mentawai)จำนวน 2.5 หมื่นริงกิต หรือประมาณ 2.5 แสนบาท และมีเงินอีกจำนวน 4 หมื่นริงกิต หรือประมาณ 4 แสนบาท เพื่อบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากแผ่นดินไหวในเมืองปาดัง เกาะสุมาตรา

สิ่งของจากรัฐมะละกาเพื่อนำไปช่วยเหลือชาวอินโดเนเซีย

เก็บภาพที่ระลึกกับ Datuk Othman Muhamad ประธานสภานิติบัญญัติแห่งรัฐมะละกาและภรรยา

เมื่อเดินทางถึงท่าเรือนานาชาติบาตัมเซนเตอร์ เหตุที่ใช้คำว่านานาชาติ เพราะท่าเรือแห่งนี้เป็นท่าเรือสำหรับเดินทางไปยังประเทศสิงคโปร์และประเทศมาเลเซีย คณะของรัฐมะละกาก็ได้รับการต้อนรับด้วยการตีกลองต้อนรับ หลังจากนั้นทางเจ้าของสถานที่จัดงานก็ได้พาไปพักที่โรงแรมห้าดาวชื่อว่า โรงแรมฮาร์โมนี วัน (Hotel Harmoni One) เมื่อเก็บเข้าของเรียบร้อยแล้วจึงไปยังหอประชุมสถานที่จัดงานมีชื่อว่า Samudera Convention Hall และมีการจัดพิธีเปิดการประชุมในตอนบ่าย

ระหว่างอยู่บนเรือเห็นทุ่นสีแดง ถามชาวมาเลเซียได้ความว่าเป็นเขตแดนระหว่างประเทศสิงคโปร์กับประเทศมาเลเซีย

ท่าเรือนานาชาติบาตัมเซนเตอร์

เจ้าภาพต้อนรับด้วยการตีกลอง

กับ Prof. Dr. Amrin Saragih นักวิชาการชาวอินโดเนเซียจากเผ่าบาตัก ซึ่งจะเป็นแหล่งข้อมูลด้านชนชาวบาตักของผู้เขียนในโอกาสต่อไป

กับคุณ Mass Ramli จากประเทศศรีลังกา คุณ Yahya จากประเทศสิงคโปร์และคุณ Dirwan Ahmad Darwis จากประเทศอินโดเนเซีย

กับคุณ A.M. Jameel ตัวแทนจากศรีลังกา มีตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการ College of Management & Technology International นอกจากนั้นยังมีตำแหน่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากจังหวัดตะวันออก (Eastern Province)

วันที่ 11 พฤศจิกายน เป็นวันที่สำคัญที่สุดของงาน โดยกำหนดการเดิม ประธานาธิบดีสุสิโล บัมบัง ยุโธโยโน ประธานาธิบดีประเทศอินโดเนเซียจะเป็นประธานในพิธี แต่ด้วยช่วงเวลาดังกล่าวประธานาธิบดี บารัค โอบามาได้เดินทางมาเยี่ยมประเทศอินโดเนเซีย ทำให้มุขมนตรีรัฐมะละกาต้องทำหน้าที่ประธานพิธีเปิดเอง ในวันที่สองนี้จะมีการมอบเหรียญ Anugerah Temenggung และ Anugerah Hang Tuah แก่ผู้ที่มีผลงานด้านพัฒนาสังคม และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สำหรับปีนี้ผู้ที่ได้รับเหรียญ Anugerah Temenggung มีอยู่ 2 คน และผู้ที่ได้รับเหรียญ Anugerah Hang Tuah มีอยู่ 6 คน เดิมผู้ที่จะมอบเหรียญต่างๆนั้นคือประธานาธิบดีสุสิโล บัมบัง ยุโธโยโนของประเทศอินโดเนเซีย แต่ด้วยเหตุที่กล่าวมาข้างต้น จึงต้องเปลี่ยนผู้มอบเหรียญต่างๆเป็นมุขมนตรีแห่งรัฐมะละกา นอกจากนั้นมีการมอบรางวัลแก่ตัวแทนองค์กรที่มีการฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมมลายู ซึ่งเรียกว่า Anugerah Tokoh Penggerak Budaya ปีนี้ด้วยเกิดเหตุการณ์ภูเขาไฟเมอราปีรระเบิด คลื่นสึนามิที่เกาะมึนตาไว ทำให้รัฐมะละกามอบเงินช่วยเหลือทั้งหมดจำนวน 9 หมื่นริงกิต หรือประมาณ 9 แสนบาท

กับคุณTenas Effendy (ชื่อจริง Tengku Nasaruddin Effendy) นักวิชาการอาวุโสชาวอินโดเนเซียที่เป็นที่ยอมรับของประเทศอินโดเนเซียและประเทศมาเลเซีย ปัจจุบันเป็น Fellow ของสถาบันมลายูศึกษา มหาวิทยาลัยมาลายา กรุงกัวลาลัมเปอร์

ผศ. ดร. บาฮารุดดิน (Dr. Baharuddin)รองอธิการบดีวิทยาลัยอิสลามรัฐมะละกา (Islamic University College of Malacca) วิทยาลัยที่มีรัฐบาลรัฐมะละกาเป็นเจ้าของ เป็นผู้รับเหรียญ Anugerah Hang Tuah

Dr. Zenaida D. Pangandaman-Gania อาจารย์จาก Mindanao State University เป็นผู้รับเหรียญ Anugerah Hang Tuah

ผู้เขียนเข้ารับเหรียญ Anugerah Hang Tuah

คุณ Hamzah Hamdani จากองค์กร GAPENA (สมาพันธ์นักเขียนแห่งชาติมาเลเซีย) รับรางวัล Anugerah Tokoh Penggerak Budaya

คนซ้ายมือคือคุณ Nasir Aman รองประธานองค์กร Majelis Pusat Pertumbuhan Budaya Melayu Singapura (Majlis Pusat)รับรางวัล Anugerah Tokoh Penggerak Budaya

ตัวแทนจากเมืองปาดังเข้ารับเช็คช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากแผ่นดินไหวจำนวน 4หมื่นริงกิต หรือประมาณ 4 แสนบาท

ตัวแทนจากยอกยาการ์ตาเข้ารับเช็คช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากภูเขาไฟเมอราปีระเบิดจำนวน 2.5 หมื่นริงกิต หรือประมาณ 2.5 แสนบาท

ตัวแทนจากเกาะมึนตาไวเข้ารับเช็คช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากคลื่นสึนามิจำนวน 2.5 หมื่นริงกิต หรือประมาณ 2.5 แสนบาท

คุณ Dirwan Ahmad Darwis ชาวสุมาตรา ผู้ประสานงานโครงการขององค์กร Ikatan Setiakawan Wartawan Malaysia Indonesia (สมาคมมิตรภาพสื่อมวลชนมาเลเซีย-อินโดเนเซีย) องค์กรที่ทำหน้าที่สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างทั้งสองประเทศ จากที่ทั้งสองประเทศเกิดความขัดแย้งระหว่างกันบ่อยครั้ง

กงสุลใหญ่มาเลเซียและกงสุลใหญ่สิงคโปร์ร่วมเป็นสักขีพยาน

กับสองอาจารย์จากมหาวิทยาลัย Syiah Kuala ของจังหวัดเขตปกครองอิสระอาเจะห์ดารุสสาลาม

กับตัวแทนจากประเทศบอสเนีย เฮอร์เซโกวีนา

คุณ Haikal เจ้าหน้าที่ของรัฐมะละกาที่ท่าเรือนานาชาติบาตัมเซนเตอร์ ขณะมาส่งผู้เขียนกลับไปยังเมืองโยโฮร์บารู มาเลเซีย

สองเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานจากรัฐมะละกา

สำหรับการสัมผัสเมืองบาตัมนั้น ทั้งเวลาว่างจากวันที่สองและวันที่สามก่อนเดินทางกลับ ผู้เขียนได้สัมผัสเมืองบาตัม ได้รับทราบจากคุณ Ahmad Dahlan นายกเทศมนตรีเมืองบาตัมว่าเมืองนี้เป็นเมืองอุตสาหกรรม ด้วยเมืองนี้อยู่ใกล้กับประเทศสิงคโปร์และประเทศมาเลเซีย และเมืองนี้อยู่ในแผนการพัฒนาตามโครงการพัฒนาซีโยรี (Sijori) หรือชื่อเต็มว่า Indonesia-Malaysia-Singapore Growth Triangle (IMS-GT) โดย Si ย่อมาจาก Singapore Jo ย่อมาจาก Johor Ri ย่อมาจาก Riau

ในช่วงที่มีการจัดประชุมนั้นมีการจัดงาน Sumatra Expo 2010 ขึ้นภายในอาคาร Samudra Convention Hall มีบูธแสดงสินค้าจากจังหวัดและอำเภอต่างๆของอินโดเนเซีย นอกจากนั้นมีการแสดงต่างๆอีกด้วย

การแสดง Gamelan ของนักเรียนประถมแห่งหนึ่ง

บูธจากจังหวัดสุมาตราใต้

กับบูธของเกาะเนียส (Nias Island) ดินแดนที่มีการกระโดนหินสูง

ไม่ไกลจากอาคาร Samudra Convention Hall มีการจัดมหกรรมสินค้าจากกลุ่มผู้ผลิต สหกรณ์ต่างๆขึ้นในห้างสรพพสินค้า Mega Mall มีบูธจากจังหวัดต่างๆ มีสินค้าที่แปลกใหม่

เวทีงานแสดงสินค้า

บูธจากเกาะบาหลี

บูธแสดงสินค้าต่างๆ

บูธแสดงสินค้าต่างๆ

ป้ายสถานที่นวดแผนไทย ชื่อ Sawadika

สถานที่นวดแผนไทย ชื่อ Sawadika ไม่รู้ว่าจะมาจาก "สวัสดีค่ะ"หรือเปล่า !


ตลาดริมถนนในเขตนาโกยา(Nagoya)ของเมืองบาตัม

ตลาดริมถนนในเขตนาโกยา(Nagoya)ของเมืองบาตัม

ตลาดริมถนนในเขตนาโกยา(Nagoya)ของเมืองบาตัม

มารู้จักเกาะบาตัมกันดีกว่า

สัญญลักษณ์ของเกาะบาตัม

เกาะบาตัมเป็นเกาะที่มีความเจริญที่รวดเร็วมาก ชนพื้นเมืองของเกาะบาตัมประกอบด้วยชนชาวมลายู ชาวมีนังกาเบา ชาวบาตัก ชาวชวา นอกจากนั้นยังมีชาวจีนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก เป็นชาวจีนที่พูดภาษาจีนแตจิ๋ว และภาษาจีนฮกเกี้ยน ในช่วงต้นปีทศวรรษที่ 1970 นั้นบนเกาะบาตัมมีอยู่อาศัยอยู่เพียงประมาณ 6 พันคนเท่านั้น จนในปัจจุบันจากการสำรวจเมื่อเดือนมิถุนายน 2010 ปรากฎว่าประชากรเกาะบาตัมมีทั้งหมด 1,025,044 คน

แผนที่เกาะบาตัม

เกาะบาตัมตั้งอยู่ใกล้ประเทศสิงคโปร์และประเทศมาเลเซีย

เกาะบาตัมตั้งอยู่ใกล้ประเทศสิงคโปร์และประเทศมาเลเซีย

เกาะบาตัมตั้งอยู่ใกล้ประเทศสิงคโปร์และประเทศมาเลเซีย

ช่วงที่เดินทางไปเกาะบาตัมนั้น ปรากฏว่าเป็นช่วงการหาเสียงเลือกตั้งนายกเทศมนตรีและรองนายกเทศมนตรีของเมืองบาตัม สำหรับการเลือกตั้งนั้น ประชาชนเป็นผู้เลือกโดยตรง และผู้สมัคจะสมัครพร้อมกันทั้งตำแหน่งนายกเทศมนตรีและรองนายกเทศมนตรี ดังนั้นตามป้ายหาเสียงก็จะเห็นรูปถ่ายของผู้สมัครทั้งตำแหน่งนายกเทศมนตรีและตำแหน่งรองนายกเทศมนตรี

การหาเสียงเลือกตั้งนายกเทศมนตรีและรองนายกเทศมนตรีของเมืองบาตัม

เมืองบาตัมอยู่ในช่วงการหาเสียงเลือกตั้งนายกเทศมนตรีและรองนายกเทศมนตรี

เกาะบาตัมแบ่งการปกครองออกเป็น 12 ตำบล หรือที่เรียกเป็นภาษาอินโดเนเซียว่า เกอจามัตตัน (kecamatan) คือ

1.Kecamatan Batam Kota
2.Kecamatan Nongsa
3.Kecamatan Bengkong
4.Kecamatan Batu Ampar
5.Kecamatan Sekupang
6.Kecamatan Belakang Padang
7.Kecamatan Bulang
8.Kecamatan Sagulung
9.Kecamatan Galang
10.Kecamatan Lubuk Baja
11.Kecamatan Sungai Beduk
12.Kecamatan Batu Aji


สะพานเชื่อมระหว่างเกาะ

ด้านขวาเป็นมัสยิดกลางของเมืองบาตัม ส่วนตึกขาวทางขวามือเป็นสำนักงานหนังสือพิมพ์บาตัมโพสต์

เกาะบาตัมเป็นเกาะที่โชคดีเกาะหนึ่ง ด้วยมีที่ตั้งใกล้กับประเทศสิงคโปร์แประเทศมาเลเซีย ทำให้ชาวเกาะบาตัมสามารถชมโทรทัศน์ทั้งจากสถานีโทรทัศน์ของประเทศอินโดเนเซีย ประเทศสิงคโปร์ และประเทศมาเลเซีย นอกจากนั้นในเกาะบาตัมเองก็มีสถานีโทรทัศน์ท้องถิ่น สถานีวิทยุท้องถิ่น และสิ่งตีพิมพ์ท้องถิ่นที่เป็นของตนเอง เช่น

สถานีโทรทัศน์ท้องถิ่น:
1.Batam TV - 53 UHF
2.Urban TV - 61 UHF
3.Barelang TV
4.Hang Tuah TV
5.Semenanjung Televisi - 39 UHF

หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น:
1.Batam Pos
2.Tribun Batam
3.Sijori Mandiri
4.Posmetro Batam
5.Tanjungpinang Pos

หนังสือพิมพ์ต่างๆของเกาะบาตัม

สถานีวิทยุท้องถิ่น:
1.Radio Aljabar 91.7 FM
2.Radio Kei 102.3 FM
3.Radio Be 107 FM
4.Radio Batam FM 100.7
5.Radio Zoo 101.6 FM
6.Radio DISCOVERY Minang 87.6 FM
7.Radio Sheila 104.3 FM
8.Radio BIGS 104.7 FM
9.Radio Alfa Omega 107.7 FM
10.Radio Sing 105.5 FM
11.Radio Era Baru 106.5 FM
12.Radio Salam 102.7 FM
13.Radio Hang 106 FM
14.Radio Kita 107.9 FM
15.Radio Gress 88.0 FM
16.Radio M3 103.2 FM
17.Radio RRI Studio Prod. Batam 90.9 FM
18.Radio G-Fan 105.1 FM

แหล่งช๊อปปิ้งของเกาะบาตัม:
1.Complex Nagoya
2.Complex Jodoh
3.Mega Mall
4.Nagoya Hill Mall
5.Batam City Square(BCS) Mall
6.Lucky Plaza (แหล่งโทรศัพท์มือถือ)
7.Mymart (แหล่งคอมพิวเตอร์)

ห้างสรรพสินค้า

ห้างสรรพสินค้า

สภาพบ้านเมืองของเมืองบาตัม

สภาพบ้านเมืองของเมืองบาตัม

สภาพบ้านเมืองของเมืองบาตัมในตอนกลางคืน

การคมนาคม
การคมนาคมทางอากาศ
เกาะบาตัมมีท่าอากาศยานที่ชื่อว่า ท่าอากาศยานนานาชาติฮังนาดิม (Hang Nadim International Airport) เป็นท่าอากาศยานที่เชื่อมการคมนาคมทางอากาศภายในประเทศอินโดเนเซียและประเทศมาเลเซีย



การคมนาคมทางทะเล
ด้วยเกาะบาตัมเป็นเกาะที่มีความสำคัญ ตั้งอยู่ใกล้กับประเทศสิงคโปร์และประเทศมาเลเซีย จึงมีท่าเรือในการคมนาคมระหว่างเกาะบาตัม เกาะต่างๆของอินโดเนเซีย รวมทั้งประเทศสิงคโปร์และประเทศมาเลเซีย ถึง 5 คือ ท่าเรือนานาชาติ Batam Centre, Batu Ampar (Harbour Bay), Nongsa, Waterfront City และ Sekupang

อาคารท่าเรือนานาชาติบาตัมเซนเตอร์

เรือบริเวณท่าเรือนานาชาติบาตัมเซนเตอร์

การคมนาคมทางบก
การคมนาคมทางบกจะเป็นการคมนาคมภายในเกาะบาตัม หรือเกาะที่มีการเชื่อมสะพานระหว่างกันเท่านั้น

รถเมล์วิ่งภายในตัวเมืองบาตัม

สถาบันการศึกษาของเกาะบาตัม
การศึกษาในระดับอุดมศึกษาในเกาะบาตัม มีทั้งที่เป็นสถาบันการศึกษาของรัฐและเอกชน บางสถาบันมีการจัดตั้งวิทยาเขตขึ้นในเกาะบาตัม เช่น

สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
1.Universitas Maritim Raja Ali Haji(UMRAH)

สถาบันอุดมศึกษาของเอกชน
2.Universitas Internasional Batam(UIB)
3.Universitas Putera Batam (UPB)
4.Universitas Batam(Uniba)
5.STMIK Putera Batam
6.STIE Ibnu Sina
7.STT Bentara Persada
8.Universitas Riau Kepulauan (Unrika)