Ekonomi/Bisnis

Isnin, 18 Februari 2008

โครงสร้างของศาลอินโดเนเซีย

โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน
โครงสร้างของศาลอินโดเนเซีย
ศาลยุติธรรมประเทศอินโดเนเซียแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. ศาลยุติธรรมทั่วไป

กฎหมายทั่วไปของประเทศอินโดเนเซียมีพื้นฐานมาจากกฎหมายของประเทศตะวันตก นั้นคือประเทศฮอลันดา หรือ เนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นประเทศที่เคยปกครองอินโดเนเซียมาก่อน

ศาลยุติธรรมของประเทศอินโดเนเซียประกอบด้วยศาลดังต่อไปนี้

1. State Court หรือ ในภาษาอินโดเนเซียเรียกว่า Pengadilan Negeri ศาลนี้ในประเทศอินโดเนเซียตั้งอยู่ในตัวเมืองของเขตการปกครองระดับ kabupaten หรือเมืองต่างๆ ศาลนี้ตั้งกระจายทั่วประเทศ มีทั้งหมด 250 แห่ง เป็นศาลที่ดำเนินการทางคดีแพ่งและคดีอาญา ในสมัยที่อินโดเนเซียยังอยู่ภายใต้การปกครองของฮอลันดานั้น ศาลประเภทนี้เรียกว่า landraad เมื่อศาลนี้ตัดสินคดีความแล้ว คู่ความไม่พอใจในคำตัดสิน ก็สามารถอุทธรณ์คดีไปยังศาลที่เรียกว่า Pengadilan Tinggi


2. The High Court หรือ ในภาษาอินโดเนเซียเรียกว่า Pengadilan Tinggi ศาลนี้ในประเทศอินโดเนเซียตั้งอยู่กระจายทั่วประเทศ มีทั้งหมด 20 แห่ง ศาลนี้ตั้งอยู่ในเมืองเอกของจังหวัด

3. The Supreme Court หรือ ในภาษาอินโดเนเซียเรียกว่า Pengadilan Agung ศาลนี้ถือว่าเป็นศาลสูงสุดของประเทศอินโดเนเซีย ตั้งอยู่ในกรุงจาการ์ตา โดยในปี 1985 ศาลสูงสุดนี้ได้มีการเพิ่มอำนาจ สามารถตัดสินว่าคำประกาศ หรือ กฎข้อบังคับของรัฐมนตรีกระทรวงต่างๆนั้น ถูกหรือขัดกับรัฐธรรมนูญของประเทศอินโดเนเซีย (UUD 45 : Undang-Undang Indonesia 1945)หรือไม่ อย่างไร

ในปี 1998 ประเทศอินโดเนเซียได้มีการจัดตั้งศาลขึ้นมาอีกหนึ่งศาล นั้นคือศาลพาณิชย์ โดยมีชื่อเรียกว่า The Commercial Court หรือ ชื่อในภาษาอินโดเนเซียว่า Pengadilan Niaga เมื่อศาลนี้ตัดสินคดีความแล้ว ในกรณีคู่ความยังไม่พอใจก็จะอุทธรณ์ยังศาลสูงสุด หรือ The Supreme Court

ในปี 2001 มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญอินโดเนเซีย 1945 โดยมีการจัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญ ศาลนี้มีชื่อว่า The Constitutional Court หรือเรียกเป็นภาษาอินโดเนเซียว่า Mahkamah Konstitusi

2. ศาลชารีอะห์
กฎหมายชารีอะห์ของประเทศอินโดเนเซียมีพื้นฐานมาจากหลักการกฎหมายของศาสนาอิสลาม ซึ่งประชากรส่วนใหญ่ของประเทศอินโดเนเซียนับถือศาสนาอิสลาม ศาลชารีอะห์ในประเทศอินโดเนเซียมี 2 ระดับ คือ

1. ศาลชารีอะห์ชั้นต้น หรือ Pengadilan Agama

ศาลนี้จัดตั้งขึ้นในพื้นที่ต่างๆทั่วอินโดเนเซีย เป็นศาลที่มีอยู่เคียงข้างศาลที่ชื่อว่า State Court หรือ Pengadilan Negeri ศาลนี้มีอำหนาจหน้าที่ที่เกี่ยวกับ การแต่งงาน การหย่า พินัยกรรม ทรัพย์สินมรดก การบริจาคตามหลักการศาสนาอิสลาม รวมทั้งเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์อิสลาม

2. ศาลชารีอะห์ชั้นสูง หรือ Pengadilan Agama Tinggi

ศาลนี้จัดตั้งขึ้นในพื้นที่ต่างๆทั่วอินโดเนเซีย เป็นศาลที่ตั้งอยู่ในเมืองเอกของจังหวัดในอินโดเนเซีย ดำเนินคดีความที่มีการอุทธรณ์มาจากศาลชารีอะห์ชั้นต้น หรือ Pengadilan Agama เมื่อศาลชารีอะห์ชั้นสูง หรือ Pengadilan Agama Tinggi ตัดสินคดีแล้ว คู่กรณีนั้นยังสามารถอุทธรณ์คำตัดสินของศาลดังกล่าวไปยังศาลสูงสุด (The Supreme Court )หรือ ในภาษาอินโดเนเซียเรียกว่า Pengadilan Agung

นอกจากศาลที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ในประเทศอินโดเนเซียยังมีอีกศาลที่ดำเนินการที่เกี่ยวการเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐและศาลทหาร

Pengadilan Tata Usaha Negara
ศาลที่ตัดสินคดีความที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของรัฐ กิจการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับรัฐ ศาลนี้เรียกว่า Pengadilan Tata Usaha Negara เป็นศาลที่ตั้งอยู่ในเมืองเอกของเขตปกครองระดับ kabupaten หรือ เมืองต่างๆ เมื่อศาลนี้ตัดสินคดีความแล้ว ยังสามารถอุทธรณ์ต่อยังศาลที่สูงขึ้น นั้นคือ Pengadilan Tinggi Tata Usaha Negara


ศาลทหาร
ศาลทหารในประเทศอินโดเนเซียมี 2 ประเภท คือ

ศาลทหารชั้นต้น หรือ Pengadilan Militer เป็นศาลที่อยู่ภายใต้อำนาจของศาลสูงสุด ศาลนี้เป็นศาลทหารที่ดำเนินการพิจารณาคดีความทางอาญาของทหารตั้งแต่ระดับนายร้อยเอกลงมา

ศาลทหารชั้นสูง หรือ Pengadilan Militer Tinggi ศาลนี้อยู่ภายใต้อำนาจของศาลสูงสุดเช่นกัน เป็นศาลทหารที่ดำเนินการพิจารณาคดีความทางอาญาของทหารตั้งแต่ระดับนายพันตรีขึ้นไป

กฎหมายในประเทศอินโดเนเซีย

โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน

กฎหมายอิสลามในประเทศอินโดเนเซีย

ประเทศอินโดเนเซีย เป็นประเทศที่มีประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ดังนั้นวิถีชีวิตของชาวอินโดเนเซียจึงมีความสัมพันธ์กับศาสนาอิสลาม สำหรับกฎหมายอิสลามในประเทศอินโดเนเซียนั้น ในอดีตมีการนำกฎหมายอิสลามมาใช้ โดยในอินโดเนเซียเริ่มมีการนำกฎหมายตามหลักการศาสนาอิสลามมาใช้เมื่อปี 1882 โดยฮอลันดาซึ่งขณะนั้นปกครองอินโดเนเซียได้ประกาศ Royal Decree เพื่ออนุญาตให้มีการจัดตั้งศาลศาสนา หรือที่เรียกว่า Priest Court มาใช้ในพื้นที่เกาะชวา และมาดูรา

การแต่งงานในประเทศอินโดเนเซียตามกฎหมายการแต่งงาน หรือ Marriage Law 1974 กำหนดให้ฝ่ายชายมีอายุไม่ต่ำกว่า 19 ปี ส่วนฝ่ายหญิงมีอายุไม่ต่ำกว่า 16 ปี

การแต่งงานนั้นสำหรับผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามต้องไปจดทะเบียนที่ Department of Religious Affair หรือ กระทรวงการศาสนา ส่วนผู่ที่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลามต้องไปจดทะเบียนที่ Department of Internal Affair หรือ กระทรวงมหาดไทย

บทบาทของกฎหมายอิสลามในประเทศอินโดเนเซียนั้น นอกจากที่มีการจัดตั้งศาลชารีอะห์แล้ว ยังสามารถเห็นได้อย่างชัดเจนในจังหวัดนังโกรอาเจะห์ดารุสสาลาม จังหวัดนี้เดิมมีชื่อว่า จังหวัดเขตปกครองพิเศษอาเจะห์ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นจังหวัดนังโกรอาเจะห์ดารุสสาลาม

กฎหมายในจังหวัดนังโกรอาเจะห์ดารุสสาลาม

ปี 2002 มีการประกาศกฎหมายว่าด้วยศาลชารีอะห์

ปี 2003 มีการประกาศเกี่ยวกับกฎหมายการพนัน (Perjudian)

ปี 2003 มีการประกาศเกี่ยวกับกฎหมาย Khalwat

ปี 2004 มีการประกาศเกี่ยวกับกฎหมายซากาต (Pengelolaan Zakat)

ปี 2004 มีการประกาศเกี่ยวกับกฎหมายการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจในจังหวัดนังโกรอาเจะห์ดารุสสาลาม

กฎหมายการปกครองอาเจะห์ (Undang-Undang Pemerintahan Aceh) เป็นกฎหมายใหม่ที่นำมาใช้ในจังหวัดนังโกรอาเจะห์ดารุสสาลาม แทนกฎหมายการปกครองพิเศษ (Undang-Undang Otonami Khusus) ซึ่งเป็นกฎมายการปกครองอาเจะห์นี้มีผลมาจากการเจรจายุติสงครามระหว่างรัฐบาลอินโดเนเซียกับขบวนการอาเจะห์เสรี หรือ Gerakan Aceh Merdeka (GAM) การเจรจาครั้งนั้นดำเนินการที่กรุงเฮลซินกิ ประเทศนอร์เวย์ สำหรับกฎหมาย การปกครองอาเจะห์นี้ได้ผ่านการลงมติของสภาผู้แทนราษฎร หรือ Dewan Perwakilan Rakyat (DPR) เมื่อ 11 กรกฎาคม 2006

เนื้อหาสำคัญของกฎมายการปกครองอาเจะห์ คือ

- มีการนำหลักการกฎหมายอิสลาม หรือ กฎหมายชารีอะห์มาใช้ในจังหวัดนังโกรอาเจะห์ดารุสสาลาม

- น้ำมันและแก๊ส ซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติของจังหวัดนังโกรอาเจะห์ดารุสสาลามนั้นรัฐบาลอินโดเนเซียต้องให้ผู้ปกครองจังหวัดนังโกรอาเจะห์ดารุสสาลามร่วมรับผิดชอบด้วย

- มีการอนุญาตให้สามารถจัดตั้งพรรคการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดนังโกรอาเจะห์ดารุสสาลามได้ เป็นพรรคการเมืองที่ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองเฉพาะภายในจังหวัดนังโกรอาเจะห์ดารุสสาลาม ด้วยกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งพรรคการเมืองของอินโดเนเซียนั้นมีเงื่อนไขว่าพรรคการเมืองต้องมีสาขาพรรคในท้องถิ่นต่างๆทั่วประเทศ