Jumaat, 29 Disember 2017

ภาษามลายูโบราณ สิ่งที่เราควรรู้ไว้บ้าง

โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน
          ภาษามลายูโบราณ
          เป็นส่วนหนึ่งของตระกูลภาษานูซันดารา  มีความรุ่งเรื่องตั้งแต่ศตวรรษที่  7 จนถึงศตวรรษที่  13 ในสมัยอาณาจักรศรีวิชัย  เป็นภาษา lingua  franca  (ภาษาที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน)  และเป็นภาษาที่ใช้ในการปกครอง  ผู้ที่พูดภาษามลายูโบราณ  ส่วนใหญ่จะอยู่ในแหลมมลายู  ,หมู่เกาะเรียว  และสุมาตรา

          ภาษามลายูโบราณกลายเป็นภาษา lingua  franca  และภาษาที่ใช้ในการปกครองเพราะ
           1.  มีลักษณะเรียบง่าย  และง่ายต่อการรับอิทธิพลจากภายนอก

          2.  ไม่มีการผูกติดกับความแตกต่างทางชนชั้นของสังคม

          3.  มีระบบที่ง่ายกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับภาษาชวา

          ภาษาชวานั้นค่อนข้างจะยากต่อการสื่อสาร เพราะว่าถ้าผู้พูดมีสถานะทางชนชั้นที่แตกต่างกันหรือมีวิจัยที่แตกต่างกัน  ความหมายหนึ่งจะใช้คำที่แตกต่างกันตามสถานะหรือวัยของผู้พูด  ภาษามลายูโบราณได้รับอิทธิพลจากระบบของภาษาสันสฤตมีการใช้คำสันสฤตในการสร้างคำที่เป็นเชิงความรู้

          ภาษามลายูง่ายต่อการรับอิทธิพลของภาษาสันสฤตนั้นเป็นเพราะ
           1. อิทธิพลของศาสนาฮินดู

          2. ภาษาสันสฤตอยู่ในสถานะของภาษาของชนชั้นขุนนางและมีสถานะทางสังคมที่ค่อนข้างสูง

          3.  ภาษามลายูง่ายต่อการใช้ตามสถานการณ์และตามความต้องการของผู้พูด

ภาษามลายูโบราณที่มีตามหลักศิลาจารึกในศตวรรษที่  7  ซึ่งเขียนด้วยอักขระปัลลาวา (Pallawa)

-         ศิลาจารึก  Kedukan  Bukit , Palembang (683)

-         ศิลาจารึก Talang Tuwo ใกล้กับ Palembang (684)

-         ศิลาจารึก Kota Kapur , Pulau Bangka (686)

-         ศิลาจารึก Karang Brahi , meringin.Jambi (686)


          ภาษามลายูโบราณที่มีในหลักศิลาจารึกที่  Gandasuli , ชวากลาง (832)  เขียนด้วยอักขระ Nagiri
 
                                        ศิลาจารึก   Kedukan  Bukit
                                                ศิลาจารึก Talang Tuwo 
                                                   ศิลาจารึก Karang Brahi 
                                                  ศิลาจารึก Kota Kapur
                                                     ศิลาจารึก Kota Kapur


ลักษณะของภาษามลายูโบราณ

-         เติมไปด้วยคำที่ยืมมาจากภาษาสันสกฤต

-         การสร้างประโยคมีลักษณะของภาษามลายู

-         เสี่ยง บ (B)  จะเป็นเสียง ว (W) ในภาษามลายูโบราณ  เช่น  บูลัน  -  วูลัน 
          (เดือน)

-         เสี่ยง อือไม่มี เช่น Dengan (ดืองัน) – Dangan (ดางัน) – กับ

-         คำว่า Ber  จะเป็น Mar  ในภาษามลายูโบราณ  เช่น  berlepas – marlapas

-         คำว่า di  จะเป็น Ni  ในภาษามลายูโบราณ  เช่น  diperbuat – miparwuat

-         อักขระ ฮ (h)  จะหายไปในภาษามลายูสมัยใหม่  เช่น  Semua – samuha , Saya – Sahaya


Tiada ulasan: