Jumaat, 12 Mei 2017

ขบวนการอาเจะห์เสรี ตอนที่ 5

โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน
เริ่มแรกการต่อสู้ของประชาชนชาวอาเจะห์
ภายหลังจากมีการร่วมพลังทางการทหารของทั้งสอง  ผู้ปกครองที่ปฏิวัติสาธารณรัฐอินโดเนเซียและดารุลอิสลาม / กองทัพอิสลามอินโดเนเซียก็ได้ร่วมกันปฏิบัติการทางทหารในหลายพื้นที่  โดยเฉพาะตลอดชายแดนอาเจะห์  สุมาตราตะวันออก  (ปัจจุบันคือสุมาตราเหนือ)  ปฏิบัติการที่ต้องการปราบคนของซูการ์โนนี้เรียกว่า  ปฏิบัติการซาบัง เมอราวเก  ขบวนการผู้ปกครองที่ปฏิวัติสาธารณรัฐอินโดเนเซีย / เปอร์เมสตา  และดารุลอิสลาม / กองทัพอิสลามอินโดเนเซีย  มีความแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น  ในเดือนธันวาคม  1958  บรรดาผู้นำของพวกเขามีการพบกันที่เจนิวา  ในการพบกันครั้งนี้ทางรัฐอาเจะห์ได้ส่งตัวแทนนั้นคือ  ฮาซัน  อาลี  ผู้เป็นนายกรัฐมนตรี  ในโอกาสการพบกันครั้งนี้มีผู้นำหนุ่มคนหนึ่งเข้าร่วมเขาคือ  ฮาซัน  ตีโร  เขาเดินทางมาจากเจนิวาจากสหรัฐซึ่งเป็นสถานที่ที่เขาศึกษาอยู่เพื่อเข้าร่วมการประชุมสำคัญดังกล่าว  ฮาซัน  ตีโร  เดินทางมาไม่ใช่ในฐานะผู้แทนรัฐอาเจะห์  แต่ในฐานะคนหนุ่มที่สนใจการต่อสู้ของดารุลอิสลาม / กองทัพอิสลามอินโดเนเซีย  จากการพบกันครั้งนั้นปรากฏว่าฮาซัน  ตีโร  ได้แนวคิดว่าต่อไปในอินโดเนเซียจะมีรัฐต่างๆ  เพียง  9 รัฐ  คือ  สาธารณรัฐสุมาตรา,  กาลีมันตัน,  สุลาเวซี,  มาลูก,  ปาปัว,  บาหลี,  ตีมอร์,  ซุนดา  และชวา  รวมอยู่ในสหพันธ์รัฐอินโดเนเซีย  ต่อมาแนวคิดนี้เขามีโอกาสเสนอต่อที่เสวนาของสหประชาชาติ  และไม่ได้รับการสนองรับมากนัก  สำหรับการพบกันระหว่างผู้นำของผู้ปกครองสาธารณรัฐอินโดเนเซียดับดารุลอิสลาม / กองทัพอิสลามอินโดเนเซีย  ที่เจนิวานั้นมีโอกาสได้เจรจาถึงความเป็นไปได้ในการจัดตั้งประเทศที่มีลักษณะเป็นสหพันธรัฐ  ซึ่งขณะนั้นพวกเขาได้ตั้งชื่อว่า  สหสาธารณรัฐอินโดเนเซีย  (Republik  Persatuan  Indonesia)  พันธกิจจากการจัดตั้งนี้ความจริงแล้วเพื่อให้ผู้ปกครองที่ปฏิวัติสาธารณรัฐอินโดเนเซีย / เปอร์เมสตา  และขบวนการดารุลอิสลาม / กองทัพอิสลามอินโดเนเซียได้รับการสนับสนุนจากหลากหลายพื้นที่ในอินโดเนเซีย

แนวคิดนี้ได้รับการขานรับเป็นอยางดีในหมู่ผู้นำดารุลอิสลาม / กองทัพอิสลามอินโดเนเซีย  พร้อมกับที่เกิดสถานการณ์วุ่นวายในอาเจะห์  และพื้นที่อื่นๆ  นั้น  ความขัดแงในหมู่นักการเมืองที่กรุงจาการ์ตาก็เกิดขึ้น  บรรดานักการเมืองที่กรุงจาการ์ตาได้แสดงออกถึงการต่อต้านการนำของประธานาธิบดีซูการ์โน  ทั้งหมดล้วนเป็นพลังในการโค่นล้มซูการ์โน  เมื่อเห็นเหตุการณ์เช่นนี้  ส่วนหนึ่งของผู้นำอาเจะห์ทั้งที่อยู่ในกรุงจาการ์ตา  หรือว่าอยู่ในอาเจะห์เริ่มอึดอัดใจ  ฝ่ายผู้สนับสนุนดาวุด  บือเระห์  เริ่มรู้สึกล้า  พวกเขารู้สึกว่าการต่อสู้ของพวกเขาไม่มีจุดจบ  เป็นผลทำให้แต่ละคนเริ่มลงจากภูเขา  พวกเขาที่อ่อนล้าและลงจากภูเขาเหล่านี้ได้จัดตั้งสภาปฏิวัติ  พวกเขาอยู่ภายใต้การนำของฮาซัน  ซาและห์  และยืนยันว่าได้แยกตัวออกจากลุ่ม  ดาวุด  บือเระห์  ไม่เป็นเรื่องแปลกที่สิ่งนี้ทำให้ดาวุด  บือเระห์โกรธมาก  เขากล่าวว่า  ไม่ผิด  (ฮาลาล)  สำหรับประชาชนชาวอาเจะห์ในการฆ่าฮาซัน  ซาและห์  การแสดงออกของดาวุด  บือเระห์นี้ต้องเข้าใจ  เพราะพันธ์เอกฮาซัน  ซาและห์  คือผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพอิสลามอาเจะห์

ตรงกันข้าม  ฮาซัน  ซาและห์  มีมุมมองอื่น  เขารู้สึกเศร้าที่เห็นประชาชนชาวอาเจะห์อ่อนล้าใช้ชีวิตท่ามกลางความขัดแย้ง  สำรหับฮาซัน  ซาและห์  แล้วจำเป็นต้องฟื้นฟูสภาพทางเศรษฐกิจ  และสังคมของประชาชนชาวอาเจะห์ที่พังพินาศจนทำให้เขากบอาลี  ฮัชมี  ผู้ว่าราชการจังหวัดอาเจะห์ต้องทำการเจรจาหลายต่อหลายครั้งกับรัฐบาลจาการ์ตา  มีผลทำให้ฮาร์ดี  รองนายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐอินโดเนเซียออกหนังสือ  เลขที่  1/Missi/1959  ลงวันที่  16  พฤษภาคม  1959  เรื่อง  การจัดตั้งจังหวัดเขตปกครองพิเศษอาเจะห์  ที่มีอำนาจอิสระในด้านการศึกษา  ศาสนา  และขนบธรรมเนียมประเพณี Š

เป็นที่น่าเสียดา  รางวัลจากรัฐบาลส่วนกลางนี้ได้รับการตอบรับที่เย็นชาจากประชาชนส่วนใหญ่ชาวอาเจะห์  สิ่งนี้เพราะว่าขบวนการดาวุด บือเระห์แพร่ขยายและมีพลังยิ่ง  ส่วนขบวนการต่อสู้กับซูการ์โนในพื้นที่ต่างๆ  มีการร่วมมือยิ่งขึ้น  เช่น  ในวันที่  8  กุมภาพันธ์  1960  ทุกขบวนการที่ต่อต้านซูการ์โนได้ร่วมกันจัดตั้งเป็นกลุ่มพันธมิตร  มีการประกาศจัดตั้งสหสาธารณรัฐอินโดเนเซีย  ผู้เป็นประธานาธิบดีคือ  ชัฟรุดดิน  ปราวีรานครา  และรองประธานาธิบดีคือ  เต็งกูมูฮัมหมัด  ดาวุด  บือเระห์  ในการต่อสู้ครั้งนี้  ตามด้วยสองอดีตนายกรัฐมนตรีคือ  มูฮัมหมัด  นาเซร์  และ  บาฮารุดดิน  ฮาราฮับ  ทั้งสองคนร่วมกับ  ชัฟรุดดิน  ปราวีรานคราได้ออกจากกรุงจาการ์ตา และได้เข้าป่าในพื้นที่จังหวัดสุมาตรา  พวกเขาได้ร่วมมือกับส่วนหนึ่งของผู้บัญชาการทหารท้องถิ่นในหลายพื้นที่ที่ไม่พอใจ  ถึงอย่างไรก็ตามการต่อสู้ครั้งนั้นไม่อาจโค่นล้มประธานาธิบดีซูการ์โนได้  ส่วนซูการ์โนเองก็ได้ตอบโต้ขบวนการแบ่งแยกดินแดนในพื้นที่เหล่านั้นด้วยการส่งกำลังทหารกองทัพแห่งชาติอินโดเนเซียโดยผ่านปฏิบัติการ  17  สิงหาคม  และปฏิบัติการเอกราช

การกดดันด้วยหลากหลายวิธีของซูการ์โนทำให้นักต่อสู้  และผู้นำของผู้ปกครองที่ปฏิวัติสาธารณรัฐอินโดเนเซีย / เปอร์เมสตา  และดารุลอิสลาม / กองทัพอิสลามอินโดเนเซียเริ่มอ่อนล้า  การจัดตั้งสหสาธารณรัฐอินโดเนเซียไม่อาจกระตุ้นให้พวกเขามีพลังในการต่อต้านซูการ์โนตรงกันข้ามเกิดความรู้สึกปฏิเสธ  นึกถึงวิสัยทัศน์และพันธกิจของแต่ละฝ่ายซึ่งมีความแตกต่างและถอยหลังเข้าคลอง  เป็นที่แน่ชัดว่าภายหลังจากการจัดตั้งสหสาธารณรัฐอินโดเนเซียแล้วการเจรจากันหรือว่าการพบประกันระหว่างผู้นำของผู้ปกครองที่ปฏิบัติสาธารณรัฐอินโดเนเซีย / เปอร์เมสตา  กับดารุลอิสลาม / กองทัพอิสลามอินโดเนเซียไม่เคยมีขึ้นเลยไม่เหมือนก่อนหน้านั้น  บรรดาผู้นำที่ต่อต้านซูการ์โนเหล่านั้นมีความจริงจังและร่วมมือกันอย่างดี

การจัดตั้งสหสาธารณรัฐอินโดเนเซียเอก็กลายเป็นตัวทำลายบรรยากาศของขบวนการแยกดินแดนเหล่านั้น  ที่เป็นเรื่องตลกคือในการพบกันแบบไม่เป็นทางการของแต่ละฝ่าย  ผู้นำมักปฏิเสธการทำงานร่วมกันแบบเปิดเผยของทั้งสองฝ่าย  สิ่งที่เกิดขึ้นพื้นที่ต่างๆ  จะจัดกลุ่มฝ่ายของตนเองต่างหาก  เช่น  สภาบันเตง,  สภาฆายะห์,  สภาครุฑ  และอื่นๆ  สิ่งนี้ทำให้ซูตัน  ชาห์รีร์  ศัตรูของซูการ์โนเห็นอกเห็นใจ  เขาวิเคราะห์ว่าถ้าเกิดการต่อสู้ของพื้นที่ต่างๆ  ต่อซูการ์โนมีแต่เพียงจะทำให้พื้นที่ต่างๆ  เหล่านั้นถูกปล่อยละเลย  จนกระทั่วเมื่อสุมิโตร  โยโจฮาดีกุสุมา  ได้ประกาศเข้าร่วมในผู้ปกครองที่ปฏิวัติสาธารณรัฐอินโดเนเซย  ซูตัน  ชาห์รีร์  จึงสั่งให้เขาสร้างความสามัคคีขึ้นอีกครั้งในผู้ปกครองที่ปฏิวัติสาธารณรัฐอินโดเนเซียที่เริ่มจะแตกแยกกัน    11


สุมิโตร  เห็นด้วยและตรงเดินทางไปยังเมือปาเล้ฒบัง,  เมืองปาดัง และเมืองเบงกาลิส  ปรากฏว่าขบวนการสุมิโตรนี้พบกับบรรดาผู้สนับสนุนซูการ์โน  สุมิโตรจึงหนีไปยังสิงคโปร์ต่อมาไปยังเมืองไซง่อน  และฟิลิปปินส์  จากที่นี้เขาได้เข้าไปยังมานาโค  เพื่อพบปะกับบรรดาผู้นำเปอร์เมสตา  ผลจากการล๊อบบี้และการพบปะของสุมิโตรกับบรรดาผู้นำแบ่งแยกดินแดน  ดังกล่าว  ในที่สุดได้มีความเห็นร่วมกันในการจัดตั้งแนวร่วมแห่งชาติ  วัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้มแข็งต่อสหสาธารณรัฐอินโดเนเซียที่ได้จัดตั้งขึ้นมา  ถึงอย่างไรก็ตาม  ความเห็นร่มกันครั้งนี้ไม่มีผล  เพราะบรรดาผู้นำแบ่งแยกดินแดนในพื้นที่ปฏิเสธการเข้าร่วมของเกาะชวาในสหสาธารณรัฐอินโดเนเซีย  สิ่งนี้ทำให้บรรดาผู้นำที่มาจากชวาผิดหวัง  พวกเขาถึงถอยออกมา  ตัวอย่างเช่น  สุมิโตรได้ยืนยันลาออกจากผู้ปกครองที่ปฏิวัติสาธารณรัฐอินโดเนเซีย  ด้วยเพราะกลัวที่จะกลับไปยังเกาะชวา  สุมิโตรจึงลี้ภัยไปยังต่างประเทศ  เป็นเวลาถึง  10  ปี  ที่เขาจำเป็นต้องย้ายจากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่ง

ความไม่เป็นหนึ่งอันเดียวกันนี้ทำให้กำลังของซูการ์โนง่ายในการปราบการก่อกบฏดังกล่าว  ยิ่งต่อมาเกิดการกระทำที่ออกนอกแนว  เช่น  ในปี  1959  ฐานของผู้ปกครองที่ปฏิวัติสาธารณรัฐอินโดเนเซียในสุมาตรเหนือแยกออกเป็น  3 กลุ่ม  กลุ่มหนึ่งข้นข้างรุนแรง  ต้องการให้ผู้ปกครองที่ปฏิวัติสาธารณรัฐอินโดเนเซียต่อสู้ต่อไปโดยไม่มีดารุลอิสลาม / กองทัพอิสลามอินโดเนเซียร่วมอยู่ด้วย

สำหรับกลุ่มที่สองเห็นด้วยกับการที่ดารุลอิสลาม / กองทัพอิสลามอินโดเนเซียเข้าร่วมกัน  ส่วนกลุ่มที่สามเป็นกลุ่มที่ปลงตกกับการต่อสู้เพราะเห็นว่าการต่อสู้ดังกล่าวไม่มีความหมายอีกแล้วและถูกกองกำลังซูการ์โนในปราบจนกระจัดกระจายไป

ทั้งสามกลุ่มนี้ในที่สุดก็ทำให้ผู้ปกครองที่ปฏิวัติสาธารณรัฐอินโดเนเซียจบลง  มีอายุค่อนข้างสั้นไม่ถึง  10  เดือน คำถามมีอยู่ว่าในเดือนเมษายน  1961  ผู้นำปกครองที่ปฏิวัติสาธารณรัฐอินโดเนเซียที่สุมาตราเหนือที่ชื่อมาลูดิน  ซิมโบโลน  ได้แยกตัวออกจากผู้ปกครองที่ปฏิวัติสาธารณรัฐอินโดเนเซีย  ซิมโบโลนพร้อมผู้บัญชาการทหารคนอื่นได้จัดตั้งผู้ปกครองการทหารฉุกเฉิน  การจัดตั้งของซิมโบโลนนี้ได้รับการสนับสนุนจากพันโทอาหมัด  ฮูเซ็น  หัวหน้าสภาบันเต็ง  ที่สุมาตรากลาง  นายทหารหนุ่มคนนี้เป็นที่เกรงขาม  เพราะในปี  1958  เขาได้ให้สัญญาณเตือนต่อรัฐบาลซูการ์โนจนต่อมาเกิดขบวนการผู้ปกครองที่ปฏิวัติสาธารณรัฐอินโดเนเซียด้วยการเกิดเหตุการณ์ที่นายทหารบกหนุ่มคนนี้  ทำให้ความเข้มแข็งของผู้ปกครองที่ปฏิวัติแตกแยกยิ่งขึ้น  โดยเฉพาะหลังจากพวกเขาได้ประกาศให้บรรดานักต่อสู้ผู้ปกครองที่ปฏิวัติสาธารณรัฐอินโดเนเซีย / เปอร์เมสตา  และดารุลอิสลาม / กองทัพอิสลามอินโดเนเซียยุติการต่อสู้ของพวกเขา  และมอบตัวต่อรัฐบาลสาธารณรัฐอินโดเนเซีย  เพราะประธานาธิบดีซูการ์โน  ออกกฎหมายฉบับ  PP  No. 13/1961  โดยสัญญาจะอภัยโทษพวกเขา  ถ้ามอบตัวโดยไม่มีเงื่อนไขและกลับตัวสู่อ้อมกอดของสาธารณรัฐอินโดเนเซีย


ส่วนหนึ่งของผู้นำดารุลอิสลามที่อาเจะห์ไม่สนใจคำประกาศนั้น พวกเขายังคงต่อสู้ต่อไปและทำให้สหสาธารณรัฐอินโดเนเซียยังอยู่ต่อ  แต่ในวันที่  25  สิงหาคม  1961  ชัฟรุดดิน  ปราวีรานครา  ประธานาธิบดีของสหสาธารณรัฐอินโดเนเซียได้ประกาศมอบตัวที่ปาดัง  ซีเดมปวน,  สุมาตราเหนือ  ดังนั้นขวัญกำลังใจของนักต่อสู้ดารุลอิสลามจึงแตกกระจายยิ่งกว่านั้น  ชัฟรุดดินได้เรียกร้องให้บรรดาผู้สนับสนุนเขามอบตัวโดยเร็ว  ชัฟรุดดินยังเรียกร้องให้ดาวุด  บือเระห์รายงานตัวต่อรัฐบาลสาธารณรัฐอินโดเนเซียโดยด่วน  อย่างไรก็ตามหนังสือเรียกร้องนั้นลงวันที่  16  สิงหาคม  1961  ไม่ได้รับความสนใจจากดาวุด  บือเระห์  รวมทั้งหนังสือลงวันที่  31  สิงหาคม  และเดือนตุลาคม  1961  ก็ไม่ได้รับความสนใจเช่นกัน  สิ่งที่เป็นเช่นนี้ด้วยผู้นำอาเจะห์คนนี้ค่อนข้างผิดหวังกับพฤติกรรมของมูฮัมหมัด  นาเซร์  ขณะที่จะมอบตัวไม่มีการบอกข่าวคราวแก่ดาวุด  บือเระห์  ในฐานะเป็นรองประธานาธิบดีสหสาธารณรัฐอินโดเนเซียเลย

Tiada ulasan: