Sabtu, 29 April 2017

ขบวนการอาเจะห์เสรี ตอนที่ 4

โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน
เริ่มแรกการต่อสู้ของประชาชนชาวอาเจะห์
ในหลักการของดาวุด  บือเระห์  ประเทศอิสลามอินโดเนเซีย  เขตอาเจะห์  เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีการปกครองอิสระที่กว้างขวาง  จังหวัดปกครองอิสระนี้มีผู้นำโดยตรงคือ  ดาวุด  บือเระห์  ในการนำของดาวุด  บือเระห์นั้น  มีรองผู้ว่าราชการจังหวัดอยู่  3 คน  คือ  ฮาซัน  อาลี  รับผิดชอบเขตอาเจะห์ใหญ่,  ปีดี  และอาเจะห์กลาง  ฮาซัน  สาและห์รับผิดชอบเขตอาเจะห์เหนือ,  อาเจะห์ตะวันตก  และตาปานูลีตะวันตก  สำหรับการปกครองระดับ  2  (อำเภอ)  ดาวุด  บือเระห์  ได้แต่งตั้งนายอำเภอจำนวนหนึ่ง  นายอำเภออาเจะห์ใหญ่  คือ  สุไลมาน  ดาวุด  ตอนที่แรกเริ่มการต่อสู้ของประเทศอิสลามอินโดเนเซียจับกุมในปี  1954  ตำแหน่งของเขาจึงถูกแทนที่โดยอิสหัก  อามีน  ส่วนอาเจะห์ปีดีมีนายอำเภอชื่อ  ที.เอ.ฮาซัน  อาเจะห์เหนือมือนายอำเภอชื่อ  เธอ  อับดุลฮามิด  อาเจะห์ตะวันออกมีนายอำเภอชื่อ  สาและห์อัครี  และอาเจะห์ใต้มีนายอำเภทชื่อ  ซากาเรีย  ยูนุส  สำหรับการต่อสู้ทางทหาร  ดาวุด  บือเระห์  ได้จัดตั้ง  7  กองพันทหาร  และอีกหน่วยตำรวจภายใต้การนำของ  เอ  อาร์.  ฮาชิม  ภายหลังจากได้จัดตั้งหน่วยพลเรือนและทางทหารแล้ว  ดาวุด  บือเระห์  ก็ดำเนินการต่อสู้กับรัฐบาลสาธารณรัฐอินโดเนเซีย  การต่อสู้นี้เกิดขึ้นเนื่องจากได้รับการกดดันจากกำลังทหารของสาธารณรัฐอินโดเนเซีย  เมื่อหลีกเลี่ยงการสงครามอย่างเปิดเผย  และการถูกจับกุมจากกองทัพแห่งชาติอินโดเนเซีย  (TNI)  ทางกองกำลังประเทศอิสลามอินโดเนเซีย  เขตอาเจะห์  เลือกการเข้าป่า  จากตรงนี้พวกเข้าได้สร้างพลังของดารุลอิสลาม / กองทัพอิสลามอินโดเนเซีย  สว่นรัฐบาลซูการ์โนนั้นใช้วิธีการหลากหลายวิธี  รวมทั้งการเจรจาการทูตเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่อาเจะห์นี้

ถึงจะฉะนั้นก็ตาม  บรรดานักต่อสู้ชาวอาเจะห์  ไม่สนใจสิ่งนั้นพวกเขายิ่งผิดหวังต่อซูการ์โน  นั่นคือเมื่อเดือนมีนาคม  1955  เกิดเหตุการณ์สังหารหมู่ชาวบ้าน  ซึ่งกระทำโดยรัฐบาลซูการ์โน  ขณะนั้นมีประชาชนประมาณ  64  คน  ที่ไม่มีความผิดที่หมู่บ้าน  โจต  จิมปา,  อาเจะห์ใหญ่  ถูกบังคับให้เข้าเรียงแถวที่สนามแห่งหนึ่ง  แล้วพวกเขาถูกยิงจนเสียชีวิต  พวกเขาถูกกล่าวหาว่าเป็นคนของดารุลอิสลาม / กองทัพอิสลามอินโดเนเซีย  แต่ตามคำบอกเล่าของอดีตหัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์และการศึกษาของกองทัพประชาชนอินโดเนเซีย  เขตฆาระห์ 1 อาเจะห์  คือ  นาย  เอช.เอ็ม.นูร์  เอล อิบราฮีมี  ได้ยืนยันว่าพวกเขาไม่ผิด  พวกเขาเป็นเพียงประชาชนทั่วไปที่ตามคนอื่นเท่านั้น (8)

การกระทำสิ่งนี้ยังทำให้ผู้นำอาเจะห์ที่สนับสนุนรัฐบาลซูการ์โนผิดหวังด้วย  มีผลทำให้ประชาชนชาวอาเจะห์ยิ่งสนับสนุนดาวุด  บือเระห์  มากขึ้นในการเลือกตั้งปี  1955  ที่เกิดขึ้นในช่วงเหตุการณ์ที่สงบในอาเจะห์  ตรงกับวันที่  23  กันยายน  1955  บรรดาผู้นำท้องถิ่นได้ร่วมกันจัดสมัชชาประชาชนชาวอาเจะห์  กิจกรรมครั้งนี้ต่อมารู้จักในนามสมัชชามาตีกรง  ความจริงแล้วสมัชชาครั้งนี้เกิดจากการผลักดันของบรรดาผู้นำดารุลอิสลามเพื่อสร้างความมั่นคงของการปกครองของประเทศอิสลามอินโดเนเซีย  ที่อาเจะห์ที่พวกเขาได้ประกาศสนับสนุนเมื่อ  2 ปี  ที่ผ่านมา  เมื่อวันที่  21  กันยายน  1953  ในการประชุมสมัชชาครั้งนี้บรรดาผู้นำดารุลอิสลามได้ทำการเปลี่ยนแปลงหลักการจำนวนหนึ่งเกี่ยวกับรัฐอิสลามที่พวกเขาได้จุดประกายเมื่อสองปีที่แล้ว  บรรดาผู้เข้าร่วมประชุมสมัชชาประชาชนอาเจะห์ได้พร้อมกันยกผู้นำรัฐเป็นประธานรัฐประชาชนอาเจะห์ซึ่งไม่เป็นที่สงสัยว่า  ผู้เข้าร่วมสมัชชาจะพร้อมกันยกเต็งกู  มูฮัมหมัด  ดาวุด  บือเระห์  เป็นผู้นำรัฐและประธานรัฐประชาชนอาเจะห์  หลักการเกี่ยวกับประเทศของพวกเขาเปลี่ยนอย่างสิ้นเชิง  ถ้าในตอนประกาศสนับสนุนการจัดตั้งประเทศอิสลามอินโดเนเซียภายใต้การนำของการ์โซวีร์โจ  เมื่อวันที่  21  กันยายน  1953  นั้น  บรรดาผู้นำดารุดอิสลาม / กองทัพอิสลามอินโดเนเซียถือว่าอาเจะห์เป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศอิสลามอินโดเนเซีย  ดังนั้นตั้งแต่การประชุมสมัชชา,  ประชาชนอาเจะห์  พวกเขากล่าวว่าอาเจะห์เป็นรัฐอาเจะห์ซึ่งอยู่ในสหพันธรัฐของประเทศอิสลามอินโดเนเซียที่มีผู้นำชื่อการ์โตโซวีร์โจ  ที่ชาวตะวันตก

ด้วยประการฉะนั้น  บรรดาผู้นำดารุลอิสลาม / กองทัพอิสลามอินโดเนเซีย  เขตอาเจะห์  ได้เห็นถึงระบบการปกครองแบบทวิเป็นเวลา 2 ปี  สุดท้ายในการต่อสู้ของพวกเขานั้นไม่สัมพันธ์กันอีกต่อไป  พวกเขาจึงลงมติใช้ระบบการปกครองแบบปกติโดยการแยกการปกครองพลเรือนและอำนาจทหาร  พวกเขามั่นใจว่าการปกครองพลเรือนต้องดำเนินการโดยนักการเมืองพลเรือน  ส่วนอำนาจทางทหารนั้น  สมควรที่บรรดานักการทหารเป็นผู้รับผิดชอบ  จนทำให้การต่อสู้กับกองกำลังซูการ์โนมีผลและสำเร็จเพื่อทำให้การปกครองมีผลทางสมัชชาประชาชนอาเจะห์ได้จัดตั้งสภาผู้แทนราษฎร  โดย เต็งกู  ฮูซิน  อัล มูจาฮิด  ได้รับเลือกเป็นประธานสภาผู้แทนราษฏรหรือสมัชชาซูรอ

หลังจากส่วนประกอบทั้งสามได้พร้อมใจกันแล้ว  บรรดาผู้เข้าร่วมประชุมสมัชชาได้ลงมติจัดตั้งคณะรัฐมนตรีรัฐอาเจะห์  โดยทำหน้าที่ช่วยเหลือประชาของรัฐ  นี้ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของอาเจะห์ที่ได้มีการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีรัฐอาเจะห์  ที่ได้มีการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีแบบสมัยใหม่  นี้นับเป็นก้าวหนึ่งของประชาชนชาวอาเจะห์ในการต่อสู้กับการปกครองของซูการ์โน  ผู้ว่าราชการอาเจะห์ขณะนั้นคือ  อับดุลวาฮับ  เหมือนไม่สามารถจะทำอะไรได้เลยต่อการกดดันทางการเมืองจากบรรดานักต่อสู้กดารุลอิสลาม  ไม่เพียงอับดุลวาฮับเท่านั้น  นับตั้งแต่ดาวุด บือเราะห์ได้เข้าป่า  และประกาศสงคามต่อการปกครองชองซูการ์โน  บรรดาผู้นำการปกครองท้องถิ่นที่อาเจะห์ล้วนวางตัวเป็นกลาง  ผู้ว่าราชการจังหวัดอาเจะห์เพียงปลงตกต่อสิ่งแวดล้อมและสถานการณ์ที่เป็นอยู่  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อจังหวัดอาเจะห์ถูกยุบลง

นับตั้งแต่จังหวัดอาเจะห์ถูกยุบเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดสุมาตราเหนือ  ผู้นำท้องถิ่นดินแดนแห่งเบียงมักกะห์นี้ถูกโอนให้กับดานูโบรโตในปี  1951  การนำของเขามีอายุไม่นานนัก เพียงไม่กี่เดือนเท่านั้น  ต่อมาถูกมอบอำนาจให้แก่  สุไลมาน  ดาวุด ,  อับดุลวาฮับ  และอับดุลราซิค  ทั้งหมดนี้ล้วนสามารถอยู่ได้เพียงหนึ่งปีเท่านั้น

การกดดันจากนักต่อสู้ดารุลอิสลามรุนแรงยิ่งนัก  โดยเฉพาะหลังจากการประชุมสมัชชาประชาชนอาเจะห์  ยิ่งสมัชชานั้นสามารถจัดตั้งคณะรัฐมนตรีรัฐอาเจะห์ประกอบด้วยบุคคล  9 คน  โดยการนำของนายกรัฐมนตรีที่มีชื่อว่า  ฮาซัน อาลี  พร้อมควบตำแหน่งรัฐมนตรีมหาดไทย,  พันโทฮูซัน  ยูซูฟ  เป็นรัฐมนตรีกลาโหม,  เต็งกูไซนาล  อาบีดิน  เป็นรัฐมนตรียุติธรรม, เอ.จี.มูเทียรา  เป็นรัฐมนตรีประชาสัมพันธ์,  มูฮัมหมัดอามีน  เป็นรัฐมนตรีเศรษฐกิจและทรัพยากร,  มูฮัมหมัด  อาลีกาซิม  เป็นรัฐมนตรีศึกษาธิการ,  เต็งกูฮารุน  บี.อี.  เป็นรัฐมนตรีกิจการสังคม  และเอ็ม.วาย.  ฮาริม  เป็นรัฐมนตรีการประสานงาน

สำหรับผู้นำการทหาร  รัฐอาเจะห์ได้แบ่งออกเป็น  7 หน่วยการทหาร  และการต่อสู้  กรมที่ 1 / ฆายะห์ปูเตะห์  ผู้นำคือ  อิบราฮิม  ซาและห์,  กรมที่ 2 / สมุทรา  ผู้นำคือ  เอช. อิบราฮิม,  กรมที่ 3 / ซาลาฮุดดินย  ผู้นำคือ  ลาอุตตาวาร์  ผู้นำคือ  อิลเลียส  ลือเบ,  กรมที่ 6 / โกตาการัง  ผู้นำคือ  อับดุลวาฮับ  อิบราฮิม  และกรมที่ 7 / ตาร์มีฮิน  ผู้นำคือ  ฮาซานุดดิน  ซีเรฆาร์  นอกจากผู้นำการทหารในหลายพื้นที่  มีการตั้งผู้นำพลเรือน  ในการประชุมสมัชชาครั้งนั้นมีการลงมติให้รัฐอาเจะห์มี  6  อำเภอ  โดยศูนย์กลางตั้งอยู่ที่อาเจะห์ปีดี,  อาเจะห์เหนือ,  อาเจะห์ตะวันออก,  อาเจะห์ตะวันตก,  อาเจะห์กลาง  และอาเจะห์ใหญ่  การจัดตั้งการปกครองพลเรือนและผู้บัญชาการการทหารนี้มีการจัดกิจกรรมการทำงานแยกกัน  สำหรับการทำงานของคณะรัฐมนตรี  บรรดารัฐมนตรีของรัฐอาเจะห์มีการชุมนุมเฉพาะในวันที่  27  กันยายน  1955  หรือ  4  วันหลังจากที่มีการจัดตั้ง  แต่กิจกรรมนี้ไม่ประสบผลสำเร็จเพราะบรรดานักต่อสู้ดารุลอิสลามถูกกดดันอย่างหนักจากรัฐบาลส่วนกลางที่ได้ส่งกำลังทหารจำนวนหนึ่งจากกองทัพแห่งชาติอินโดเนเซียที่ร่วมกันในปฏิบัติการ  17  สิงหาคม 

ถึงแม้ว่าจะส่งกำลังทหารจากกองทัพแห่งชาติ  แต่นักการเมืองในกรุงจาการ์ตาดำเนินการในการเจรจาทางการทูต  รัฐบาลซูการ์โนแสดงออกการประนีประนอมด้วยการสัญญาให้สถานะเขตปกครองพิเศษแก่อาเจะห์ทั้งหมดนี้แสดงออกเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียเลือดเนื้อ  หนึ่งในการพยายามที่เป็นยุทธวิธีคือในวันที่  27  มกราคม  1957  ซูนาร์โย  รัฐมนตรีมหาดไทยได้แต่งตั้งผู้นำนักการศาสนาอาเจะห์ที่ชื่อ  อาลี  ฮัชมี  เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดที่ดินแดนระเบียงมักกะห์แห่งนั้น  การแต่งตั้งอาลี  ฮัชมี  เป็นภาพลักษณ์ของการประนีประนอมรัฐบาลซูการ์โน  ต่อการต่อสู้ของประชาชนชาวอาเจะห์

ก้าวต่อมาติดตามด้วยกองทัพแห่งชาติอินโดเนเซีย  มีการแต่งตั้งพันโทซามาอูน  ฆาฮารู  เป็นผู้บัญชาการการทหารเขตอาเจะห์  ซามาอูน  ฆาฮารู  เป็นผู้บังคับบัญชากองกำลังที่ไปจู่โจมฐานของบรรดาขุนนางอาเจะห์ที่ต่อต้านการประกาศเอกราชสาธารณรัฐอินโดเนเซียในเดือนกันยายน  1945  เหตุการณ์จู่โจมครั้งนั้นรู้จักกันในนามเหตุการณ์จุมบอก  ซึ่งเป็นการยุติประวัติศาสตร์ที่ยาวนานของกลุ่มขุนนางที่อาเจะห์  การทำงานของอาลี  ฮัชมีและ  ฆาฮารู  มีผลทำให้ไดรับความร่วมมือจากนักต่อสู้ดารุลอิสลาม / กองทัพอิสลามอินโดเนเซีย  พวกเขาได้ทำการพบปะหลายครั้งจนทำให้มีการยุติสงครามระหว่างรัฐบาลอินโดเนเซียกับบรรดานักต่อสู้ดารุลอิสลาม / กองทัพอิสลามอินโดเนเซีย  สำหรับก้าวแรกที่ต้องทำเพื่อยุติการเป็นศัตรูต่อกัน  มีการลงนามเรียกว่าปฏิญญาลามเทในเดือนกรกฎาคม  957  เนื้อหาของปฏิญญานั้นหนึ่งในนั้นมีว่าจะเชิดชูเกียรติและความสำคัญของศาสนาอิสลามประชาชนและดินแดนอาเจะห์  นับแต่นั้นสถานการณ์การก่อกบฏในอาเจะห์ก็สามารถดับลง  เหตุการณ์อาเจะห์ก็สงบลง

เป็นที่น่าเสียดาย  สถานการณ์สงบนี้มีอยู่ได้ไม่นาน  ในวันที่ 15  กุมภาพันธ์  1958  เกิดกบฏขึ้นเรียกตัวเองว่า  การปกครองที่ปฏิวัติสาธารณรัฐอินโดเนเซีย  (PRRI)  และเปอร์เมสตา  (Permasta)  เกิดขึ้นในหลายพื้นที่  ที่เกาะสุมาตราศูนย์ของกบฏตั้งอยู่ที่สุมาตราเหนือ  และสุมาตราตะวันตก  ความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างนักต่อสู้ดารุลอิสลามที่อาเจะห์กับกลุ่มการปกครองที่ปฏิวัติสาธารณรัฐอินโดเนเซีย / เปอร์เมสตา  ทำให้สถานการณ์ของอาเจะห์กลับร้อนขึ้นอีกครั้ง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้นเดือนมีนาคม  1958  ผู้นำผู้ปกครองที่ปฏิวัติของสาธารณรัฐอินโดเนเซียทำให้การทำงานร่วมกันกับบรรดาผู้นำรัฐอาเจะห์มีความแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น  โดยเฉพาะในด้านการทหาร  รัฐบาลส่วนกลางก็กังวลที่ต้องประสบกับสิ่งนี้


ในขณะที่เกิดกบฏผู้ปกครองที่ปฏิวัติสาธารณรัฐอินโดเนเซีย  ดาวุด  บือเระห์ได้ตัดสินยุติความสัมพันธ์กับดารุลอิสลาม / กองทัพอิสลามอินโดเนเซีย  ของการ์โตโซวีร์โจที่ชาวตะวันตก  ซึ่งขณะนั้นเกือบทั้งหมดถูกปราบโดยซูการ์โน  การแสดงออกของดาวุด  บือเระห์ที่เข้าร่วมกับผู้ปกครองที่ปฏิวัติสาธารณรรัฐอินโดเนเซียได้มีคำถามจากบรรดาผู้นำดารุลอิสลาม / กองทัพอิสลามที่อาเจะห์  คำถามก็คือแนวทางการเมืองระหว่างดารุลอิสลาม / กองทัพอิสลามอินโดเนเซียค่อนข้างจะมีความแตกต่างมาก  ยิ่งเป็นการถอยหลังเข้าคลอง  ดารุลอิสลาม / กองทัพอิสลามอินโดเนเซียนั้นต่อสู้ด้วยพื้นฐานการต่อสู้เพื่ออิสลามส่วนผู้ปกครองที่ปฏิวัติสาธารณรัฐอินโดเนเซียนั้นมีความเนเซคูลาร์ยิ่ง  นอกจากนั้นผู้นำของผู้ปกครองที่ปฏิวัติของสาธารณรัฐอินโดเนเซียคือ  พันเอก  มาลูดี  ซิมโบโลน  นั้นเป็นอดีตผู้บัญชาการทหารภาค  1 / บูกิตบารีซัน  กรมทหารนี้ก่อนหน้านี้นั้นเป็นเครื่องมือของซูการ์โนและมีความแข็งกร้าวในกาปราบขบวนการดารุลอิสลาม / กองทัพอิสลามอินโดเนเซีย  เขตอาเจะห์  การปราบปรามครั้งนั้นมีพันเอก  มาลูดี  ซิมโบโลน  เป็นผู้นำ  แล้วทำไมดาวุด  บือเระห์  ต้องการร่วมมือกับศัตรูสำคัญของนักต่อสู้ดารุลอิสลาม / กองทัพอิสลามอินโดเนเซีย  ดาวุด  บือเระห์ได้กล่าวว่าเขาเห็นว่ามีความเหมือนกันในการต่อสู้ของผู้ปกครองที่ปฏิวัติสาธารณรัฐอินโดเนเซีย  นั้นคือต้องการต่อต้านการครอบงำของรัฐบาลส่วนกลางภายใต้การนำของซูการ์โน  วัตถุประสงค์ระยะสั้นของเขาต้องการให้ซูการ์โนถูกโค่นโดยเร็ว


อ้างอิง
8.  สัมภาษณ์  H. M. Nur  El  Ibrahimy ในนิตยสาร Tempo  ฉบับ  26  ธันวาคม    1999



Jumaat, 28 April 2017

ขบวนการอาเจะห์เสรี ตอนที่ 3

โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน   
เริ่มแรกการต่อสู้ของประชาชนชาวอาเจะห์  
จากการลงมติดังกล่าวนั้น ประชาชนชาวอาเจะห์มีความรู้สึกว่าตลอดเวลาการต่อสู้ของพวกเขาในการสนับสนุนเอกราชของสาธารณรัฐอินโดเนเซีย ไม่ได้รับการตอบสนองจากผู้ปกครองสาธารณรัฐอินโดเนเซียเอง ยิ่งถ้าย้อนคำสัญญาของประธานาธิบดีซูการ์โนแล้ว ดวงใจของประชาชนชาวอาเจะห์เหมือนถูกรอยบาด ครั้งแรกที่เดินทางมาเยี่ยมอาเจะห์ เมื่อ 16 มิถุนายน 1948 ประธานาธิบดี ซูการ์โน กล่าวในนามพระเจ้าว่าจะให้สิทธิแก่อาเจะห์ในการจัดการตนเองตามหลักชารีอะห์ของศาสนาอิสลาม ซูการ์โน สัญญาจะใช้อิทธิพลของตนเองเพื่อให้ประชาชนชาวอาเจะห์สามารถใช้หลักชารีอะห์ในดินแดนตนเอง สัญญานี้ความเป็นจริงเป็นสัญญาที่ว่างเปล่า ที่มีจริงคือจังหวัดอาเจะห์ถูกยกเลิกและเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดสุมาตราเหนือ

การจัดตั้งสาธารณรัฐอิสลามอาเจะห์
แม้ว่าจังหวัดอาเจะห์จะถูกยุบโดย ซูการ์โน แต่ความต้องการของประชาชนชาวอาเจะห์ในการใช้หลักชารีอะห์ในดินแดนตนเองยังคงมีอยู่ ย้อนดูประวัติศาสตร์ที่ยาวนานของอาเจะห์ที่เกิดบรรดารัฐอิสลามเริ่มจากรัฐสมุทรา ปาไซ จนถึงรัฐอาเจะห์ดารุสสาลาม เพราะฉะนั้นเมื่อจังหวัดอาเจะห์ถูกยุบและเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดสุมาตรา ประชาชนชาวอาเจะห์มีความรู้สึกเหมือนถูกตบหน้าและผิดหวังกับผู้ปกครองสาธารณัฐอินโดเนเซียภายใต้การนำของ ซูการ์โน ความไม่พอใจของประชาชนชาวอาเจะห์สามารถเห็นได้ในการประชุมสมัชชานักการศาสนาทั่วอินโนเนเซีย(Kongres Alim Ulana Se-Indonesia) ที่เมืองเมดาน เมื่อวันที่ 21 เมษายน 1953 เต็งกู มูฮัมหมัด ดาวุด บือเระห์ ขณะนั้นได้รับเลือกเป็นผู้นำได้กล่าวคำเรียกร้องให้บรรดานักการศาสนาทั้งหลายต่อสู้ในการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในปี 1955 เพื่อให้ประเทศสาธารณรัฐอินโดเนเซียเป็นประเทศอิสลามอินโดเนเซีย การเรียกร้องนี้ได้รับการตอบรับและสนับสนุนจากผู้เข้าร่วมจำนวนหนึ่ง ส่วนหนึ่งของพวกเขาได้ร่วมกันวางแผนจะตั้งประเทศอิสลามอินโดเนเซีย (NII) เพื่อแทนที่ประเทศสาธารณรัฐอินโดเนเซียที่มี ซูการ์โน เป็นผู้นำ  ปรากฏว่าแนวคิดนี้สอดคล้องกับส่วนหนึ่งของผู้นำอิสลามที่รุนแรงในพื้นที่บางส่วน โดยเฉพาะที่ชวาตะวันตกที่กำลังประสบกับประเทศอิสลามอินโดเนเซีย (NII) ภายใต้การนำของ การ์โตโซวีร์โจ ขบวนการประเทศอิสลามอินโดเนเซีย (NII) ที่ชวาตะวันตกเองได้มีการประกาศจัดตั้งโดยนายการ์โตโซวีร์โจ เมื่อ 7 สิงหาคม 1949 จนทำให้ขบวนการประชาชนชาวอาเจะห์ภายใต้การนำของ ดาวุด บือเระห์ กลายเป็นผู้ปลุกจิตสำนึกในหมู่ขบวนการต่อสู้ของประชาชนในพื้นที่ต่างๆ ขบวนการต่อสู้นี้ยิ่งมีมากขึ้นและทำให้เกิดการต่อสู้ดารุลอิสลาม/กองทัพอิสลามอินโดเนเซีย (DI/TII) พร้อมกันในหลายพื้นที่ที่มีต่อรัฐบาลกลางภายใต้การนำของ ซูการ์โน  ในขณะนั้นหลักการต่อสู้ของดารุลอิสลามนั้น ดาวุด บือเระห์ ไม่ได้พูดถึงอาเจะห์และดารุลอิสลาม/กองทัพอิสลามอินโดเนเซีย ในพื้นที่ต่างๆ จะแยกตัวออกจากอินโดเนเซีย เขาเพียงร่างแนวคิดเพื่อให้สาธารณรัฐอินโดเนเซียมีจิตสำนึก ความคาดหวัง และระบบการปกครองแบบอิสลาม ไม่มีความคิดในการแยกดินแดน นอกจากจิตสำนึกแห่งความเป็นหนึ่งของสาธารณรัฐอินโดเนเซีย

ในอาเจะห์มีการชุมนุมโดยบรรดานักการศาสนา มีดาวุด บือเระห์ แสดงจุดยืนในการตั้งประเทศอิสลามอินโดเนเซีย (NII) เพื่อให้สอดคล้องกับมติของสมัชชานักการศาสนาแห่งอินโดเนเซีย ณ เมืองเมดาน ในการจัดเสวนาต่างๆ ครั้งนี้ไม่มีแนวความคิดของดาวุด บือเระห์ ในการแยกอาเจะห์ออกจากอินโดเนเซีย ในโอกาสต่างๆ ดาวุด บือเระห์ ได้เรียกร้องประชาชนอาเจะห์ให้เลือกกลุ่ม (พรรคต่างๆ) อิสลามในการเลือกตั้ง ปี 1955 ซึ่งจะสามารถโค่นการปกครองของซูการ์โน ถ้าประชาชนชาวอาเจะห์ต้องการให้เกิดประเทศอิสลามอินโดเนเซียจริง นี่คือโอกาส ดาวุด บือเระห์ กล่าวไว้ สำหรับในหมู่ประชาชนระดับล่าง ในเบื้องต้นขบวนการจัดตั้งประเทศอิสลามอินโดเนเซีย จะเป็นเพียงการกระซิบกันเท่านั้น และไม่เปิดเผย การกระซิบ-กระซิบนี้ปรากฏว่าเกิดขึ้นในหมู่ข้าราชการการปกครองในตำบลรวมทั้งหมู่บ้านต่างๆ ทั่วดินแดนอาเจะห์

บรรดาผู้นำสังคมในชนบทของอาเจะห์โดยทั่วไปถือแนวคิดของ ดาวุด บือเระห์ ด้วยความจริงจัง จนกลายเป็นเชื้อเพลิงสนับสนุนการจัดตั้งประเทศอิสลามอินโดเนเซียโดยรวดเร็วกระจายไปทั่วทุกมุมในหมู่ประชาชนชาวอาเจะห์ สิ่งเหล่านี้ทำให้ ดาวุด บือเระห์ มีความกระตือรือร้นยิ่งขึ้นในการตั้งประเทศอิสลามอินโดเนเซีย  ถึงแม้ว่าการต่อสู้จะเหมือนกันแต่ในขณะนั้น ดาวุด บือเระห์ ไม่ด่วนที่จะสนับสนุนการตั้งประเทศอิสลามอินโดเนเซียที่ประกาศโดยการ์โตโซวีร์โจ ที่ชวาตะวันตก ดาวุด บือเระห์ ใช้เวลาในการสังเกตุความคืบหน้าต่อไป ในเวลา 4 ปี ที่ได้มีการจัดตั้ง ดาวุด บือเระห์ ได้ศึกษาขบวนการของการ์โตโซวีร์โจ  เพื่อทำให้ผู้นำผู้มากบารมีของอาเจะห์ผู้นั้นมั่นใจ ทางการ์โตโซวีร์โจ  ได้ส่งตัวแทนชื่อ ฟาตะห์ไปยังอาเจะห์ การพบกับดาวุด บือเระห์ ทางฟาตะห์ได้อธิบายถึงหลักการต่อสู้ของการ์โตโซวีร์โจ ดังนั้นในวันที่ 21 กันยายน 1953 หรือ 5 เดือนหลังจากสมัชชานักการศาสนาอินโดเนเซียที่เมืองเมดาน ดาวุด บือเระห์ จึงประกาศการสนับสนุนของอาเจะห์ต่อการจัดตั้งประเทศอิสลามอินโดเนเซีย ที่ประกาศขึ้นโดยการ์โตโซวีร์โจ  ไม่มีการอธิบายในประวัติศาสตร์ว่าทำไม ดาวุด บือเระห์ จึงใช้เวลานาน เพียงมีในหนังสือบันทึกการสนับสนุนของประชาชนชาวอาเจะห์ต่อขบวนการของการ์โตโซวีร์โจ ที่ลงนามโดยดาวุด บือเระห์ มีนื้อหาดังนี้

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงกรุณายิ่ง ผู้ทรงเมตตา การประกาศความที่มีการจัดตั้งประเทศสาธารณรัฐอิสลามอินโดเนเซีย เมื่อวันที่ 12 เดือนชาวัล ปีฮิจเราะห์ศักราช 1308/
7 สิงหาคม 1949 โดยอิหม่าม เอ็ส.เอ็ม.การ์โตโซวีร์โจ ในนามของประชาชาติมุสลิมแห่งชาติอินโดเนเซีย ดังนั้นพวกเราประกาศว่า ดินแดนอาเจะห์และบริเวณใกล้เคียงเป็นส่วนหนึ่งของประเทศอิสลามอินโดเนเซีย พระเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ พระเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ พระเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ อาเจะห์ ดารุสสาลาม วันที่ 13 มูฮารัม 1312/21 กันยายน 1953 ในนามของประชาชาติมุสลิมแห่งดินแดนอาเจะห์และบริเวณใกล้เคียง ลงนาม เต็งกู มูฮัมหมัด ดาวุด บือเระห์

เหตุผลของ ดาวุด บือเระห์ ในการสนับสนุนการจัดตั้งประเทศอิสลามอินโดเนเซีย เพราะผู้นำสาธารณรัฐอินโดเนเซียที่กรุงจารการ์ตาได้ออกนอกแนวทางที่ถูกต้อง จากพฤติกรรมบรรดาผู้นำสาธารณรัฐอินโดเนเซียตลอดมานั้น ดาวุด บือเระห์ กล่าวว่าสาธารณรัฐดังกล่าวจะไม่พัฒนากลายเป็นประเทศที่ตั้งบนพื้นฐานของอิสลาม ความจริงแล้วหลักคิดของ ดาวุด บือเระห์นั้น ประเทศอิสลามสามารถเป็นไปได้โดยการแทรกอยู่ในหลักการพระผูเป็นเจ้าผู้ยิ่งใหญ่นั้นเป็นหลักการประการแรกของสาธารณรัฐอินโดเนเซีย หรือที่เรียกว่า หลักปัญจศิลา แม้ว่าหลักการพระผู้เป็นเจ้าผู้ยิ่งใหญ่จะเป็นหลักการประการแรกในหลักปัญจศิลา แต่ในมุมมองของดาวุด บือเระห์ รัฐบาลซูการ์โน ไม่เคยให้อิสระในการนับถือศาสนาแก่ประชาชน เช่น ประชาชนชาวอาเจะห์ เขาได้ยกตัวอย่างเช่น ถ้าแท้จริงมีความอิสระในการนับถือศาสนาแล้ว จะต้องปฏิบัติตามนั้น ก็หมายถึงหลักการชารีอะห์อิสลามจะต้องปฏิบัติในอาเจะห์ ด้วยประชาชนชาวอาเจะห์เป็นชาวมุสลิม 100 เปอร์เซ็นต์ แต่สิ่งเหล่านี้ไม่เคยเกิดขึ้น ประชาชนชาวอาเจะห์เห็นถึงความระวาดระแวงของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ทุกสิ่งเกิดขึ้นต่อหน้าประชาชนชาวอาเจะห์ พวกเขาขูดรีดประชาชนชาวอาเจะห์ โรคคอร์รัปชั่นกระจายไปทั่วทุกระดับขอลหน่วยงานรัฐบาล จากระดับส่วนกลางจนถึงระดับล่าง ขณะที่ประชาชนชาวอาเจะห์ยังคงยากจนอยู่ ช่องว่างทางสังคม เศรษฐกิจ ระหว่างดินแดนอาเจะห์และส่วนกลางห่างยิ่งขึ้น สิ่งเหล่านี้ประชาชนชาวอาเจะห์มีความรู้สึกเอื่อมระอา ดังนั้นจากการประกาศที่ได้อ่านโดย ดาวุด บือเระห์ ประชาชนชาวอาเจะห์จึงสนับสนุนการจัดตั้งประเทศอิสลามอินโดเนเซีย ซึ่งพวกเขาหวังว่าจะสามารถล้างสิ่งสกปรกของรัฐบาลซูการ์โน และอาเจะห์สามารถจัดระเบียบด้วยตัวเอง

รัฐบาลซูการ์โน ตั้งแต่แรกแล้วที่กังวลอย่างยิ่งในการที่บรรดาผู้นำอิสลามต้องการจัดตั้งประเทศอิสลาม เหตุผลของ ซูการ์โน ในขณะนั้นถ้าจัดตั้งประเทศอิสลาม เขาคิดว่าดินแดนบางส่วนจะแยกออกจากสาธารณรัฐอินโดเนเซีย ดังนั้นซูการ์โน จึงละเลยการจัดตั้งประเทศอิสลาม และแนวโน้มเลือกหลักการประเทศชาตินิยม ที่สามารถรวมทุกแนวคิด พลัง เชื้อชาติ ชนเผ่า กลุ่มคน และศาสนาที่มีอยู่ในดินแดนต่างๆ ของสาธารณรัฐอินโดเนเซีย อย่างไรก็ตาม ดาวุด บือเระห์ ได้ยืนยันว่าประชาชนชาวอาเจะห์ไม่ต้องการแยกตัวเองออกจากพี่น้องของเขาในสาธารณรัฐอินโดเนเซีย และประชาชนชาวอาเจะห์ก็ไม่ต้องการให้ตัวเองและดินแดนของตัวเองถูกปฏิบัติดังเช่นลูกเลี้ยงโดยรัฐบาลสาธารณรัฐอินโดเนเซีย  คำถามก็คือสาธารณรัฐอินโดเนเซียได้ประกาศเอกราชมาแล้วถึง 8 ปี รัฐบาลไม่เคยเยี่ยมเยือนเลย ทั้งที่ประธานาธิบดีมักพูดอยู่เสมอว่า อาเจะห์เป็นต้นทุนสำคัญของสาธารณรัฐอินโดเนเซีย สิ่งเหล่านั้นเป็นเพียงการพูดเปล่าแค่ริมฝีปาก ความจริงแล้วอาเจะห์ไม่เคยได้รับการเหลียวแลจากรัฐบาล ในการต่อสู้รัฐบาลซูการ์โนในของ ดาวุด บือเระห์ เขาได้กล่าวว่าการอำนวยความสะดวกด้านการศึกษาของชาวอาเจะห์ไม่เพียงพอ การติดต่อสื่อสารและคมนาคมที่มีอยู่ไม่อาจเป็นที่คาดหวังของประชาชนชาวอาเจะห์ในการพัฒนาการดำรงชีวิตทางสังคม เศรษฐกิจของพวกเขา ในด้านการมีงานทำ คนหนุ่มชาวอาเจะห์เหมือนไม่รู้จะไปทางไหน เวลา 8 ปี ที่มีเอกราชของสาธารณรัฐอินโดเนเซีย ซึ่งชาวอาเจะห์สนับสนุน ปรากฎว่าดินแดนนั้นไม่รู้สึกถึงการมีอยู่ของเอกราช

แม้จะเป็นเช่นนั้น ประชาชนชาวอาเจะห์ไม่ได้หมายความว่าต้องการแยกดินแดนออกจากสาธารณรัฐอินโดเนเซีย เหตุผลตามคำกล่าวของ ดาวุด บือเระห์ การประกาศจัดตั้งประเทศอิสลามอินโดเนเซียที่ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนชาวอาเจะห์นั้น ไม่ได้หมายความว่าการจัดตั้งประเทศหนึ่งในอีกประเทศหนึ่ง นอกจากเหตุผลแรกเริ่มประชาชนชาวอาเจะห์ถือว่าสาธารณรัฐอินโดเนเซีย เป็นสะพานทองคำที่จะเดินข้ามสู่ความคาดหวังที่ฝันไว้ เป็นที่แน่ชัดว่าความฝันได้สลายไป เพราะรัฐบาลซูการ์โนไม่สนใจอาเจะห์ ในมุมมองของ ดาวุด บือเระห์ ในเรื่องนี้สาเหตุมาจากหลักการของรัฐบาลซูการ์โนแตกต่างอย่างยิ่งกับหลักการของประชาชนชาวอาเจะห์ ซูการ์โนต้องการประเทศหนึ่งที่มีหลักการชาตินิยม ส่วนประชาชนชาวอาเจะห์ต้องการระบบการปกครองประเทศที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของอิสลาม 

ถึงอย่างนั้นก็ตาม  ดาวุด  บือเระห์  หวังว่าบรรดาผู้นำสาธารณรัฐอินโดเนเซียจะไม่ใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหาความขัดแย้งกับบรรดาผู้นำประเทศอิสลามอินโดเนเซีย  โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับอาเจะห์  แต่ดำเนินการแก้ไขนโยบายของประเทศ  และการพัฒนาพื้นที่ต่างๆ

รัฐบาลซูการ์โนรู้ตัว่าเป็นการลำบากในการแก้ไขปัญหาอาเจะห์  สาเหตุมาจากความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลสาธารณรัฐอินโดเนซับกับฮาลันดาก็ยังคาราคาซัง  การยอมรับอธิปไตยของสาธารณรัฐอินโดเนเซียโดยฮาลันดาก็ยังสร้างรอยร้าวในหมู่นักการเมืองที่กรุงจาการ์ตา  จนทำให้ผลกระทบต่อการแก้ไขปัญหาอาเจะห์  และยังมีพื้นที่อื่นๆ  อีกที่เกี่ยวข้อง  ประชาชนชาวอาเจะห์ที่เรียกร้องนั้นต้องการหรือไม่ต้องการกับสภาพการณ์นี้  พวกยังคงมีความรู้สึกว่าถูกปฏิบัติแบบลูกเลี้ยงโดยรัฐบาลอินโดเนเซีย  เพื่อการต่อสู้ร่วมกับประชาชนชาวอาเจะห์  ดาวุด  บือเระห์ได้ทำให้หลักการสมบูรณ์ขึ้น  โดยจัดระบบองค์กรการปกครองสาธารณรัฐอิสลามอินโดเนเซียเขตอาเจะห์  นโยบายจำนวน  13  ประการที่ดาวุด  บือเระห์  สร้างขึ้นในการจัดระบบการปกครองของสาธารณรัฐอิสลามอินโดเนเซียเขตอาเจะห์ (7)

1.อาเจะห์  และบริเวณใกล้เคียง  เป็นดินแดนปกครองอิสระที่กว้างขวางที่จัดตั้งเป็นจังหวัดซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐอิสลามอินโดเนเซีย
2.จังหวัดที่ปกครองอิสระที่กว้างขวางนั้นมีผู้นำเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดพลเรือนและผู้ว่าราชการจังหวัดการทหาร  มีศูนย์อยู่ที่เมืองเอกของจังหวัด
3.ผู้ว่าราชการจังหวัดผลเรือนและการทหาร  เป็นผู้ทำการบริหารสูงสุด  และผู้บริหารจากกองทัพสาธารณรัฐอิสลามอินโดเนเซีย  ที่ตั้งอยู่ในดินแดนอาเจะห์  และพื้นที่ใกล้เคียง กองทัพนี้เป็นผู้บัญชาการกองทัพอิสลามอินโดเนเซีย  ภาค 5  โดยมีชื่อว่าภาคเต็งกูจิ  ดีตีโร
4.สำหรับจังหวัดนั้นประกอบด้วย  สภาซูรอ  (สภาบริหารเขต)  และสมัชชาซูรา  (สภาผู้แทนราษฎรเขต)
5.สภาซูรอประกอบด้วย  ผู้นำหนึ่งคน  รองผู้นำ  และสมาชิกอีก  5  คน
6.ผู้ว่าราชการจังหวัดพลเรือนและการทหาร  ดำรงตำแหน่งเป็นประชาชนสมัชชาซูรอ
7.สมัชช่าซูรอประกอบด้วยผู้นำหนึ่งคน  และรองผู้นำอีกหนึ่งคน  และสมาชิกจำนวน  ตามกฎเกณฑ์ที่จะกำหนดไว้
8.สมัชชาซูรอเป็นองค์กรฝ่ายบริหาร  และสมัชชาซูรอเป็นองค์กรฝ่ายนิติบัญญัติ
9.ผู้ว่าราชการจังหวัดพลเรือนและการทหาร  ด้วยนอกจากตำแหน่งผู้นำฝ่ายบริหารแล้ว  ยังเป็นตัวแทนผู้ปกครองส่วนกลางจากมูฮัมหมัด  ผู้นำประเทศ
10.ผู้ว่าราชการจังหวัดพลเรือนและการทหารได้รับการสนับสนุนจากคณะที่ปรึกษาการทหาร  และสภาการทหาร
11.สภาการทหารมีอำนายหน้าที่ดังนี้ ให้คำปรึกษาและพิจารณาคำปรึกษาต่อผู้ว่าราชการจังหวัดพลเรือนและการทหาร  มีจะจอคำปรึกษาหรือไม่ก็ตาม  โดยเฉพาะคำปรึกษาด้านการทหาร  นอกจากนั้นกำหนดวางแผนทางการเมืองในทางยุทธศาสตร์และการความมั่นคง  การความมั่งคงและการนำสำหรับกองทัพไม่ว่าด้วยการทหารหรือการเคลื่อนไหวทั่วไป  สภานี้จะวางแผนและประสานงานในที่เกี่ยวข้องกับประชาชนอาสาสมัครทุกระดับชั้น
12.จังหวัดอาเจะห์  และบริเวณใกล้เคียง  เป็นดินแดนพื้นที่การทหารด้วยอำนาจของกองทัพภาคที่เรียกว่ากองทัพอิสลามอินโดเนเซียภาค  5  เต็งกูจิ  ดีตีโร

13.กองทัพอิสลามอินโดเนเซียภาค  5  เต็งกูจิ  ดีตีโร  ในการปฏิบัติการจะบังคับบัญชาโดยคณะผู้บังคับบัญชาคณะหนึ่ง  มีผู้นำคนหนึ่งเป็นหัวหน้าในการบังคับบัญชา

อ้างอิง
  7.Gerakan  Aceh  Merdeka, Jihad  Rakyat  Aceh  Mewujudkan Negara  Islam : Al  Chaidar
dan Penerbit Madani  Pers.