Jumaat, 29 April 2016

นักศึกษา ม.อ. ปัตตานีฝึกงานในรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย

โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน
    นักศึกษา ม.อ. วิทยาเขตปัตตานี จะไปฝึกงานในช่วงฤดูร้อนทุกปี โดยเฉพาะการฝึกงานในหน่วยงานทั้งรัฐและเอกชน ผ่านการประสานงานของศูนย์นูซันตาราศึกษา  ครั้งนี้เป็นการประมวลภาพการฝึกงานของนักศึกษาคนหนึ่ง

Rabu, 27 April 2016

วิชามลายูศึกษาในประเทศเยอรมัน

โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน

  มหาวิทยาลัยฮัมเบิร์ก (Hamburge University)  


ในประเทศเยอรมันนั้น วิชามลายูศึกษามีการเรียนการสอนบางแห่ง  ดำเนินการโดยมหาวิทยาลัย  แต่ส่วนหนึ่งดำเนินการโดยพิพิธภัณฑ์สถาน  มีการจัดตั้งแผนกวิชามลายูศึกษาขึ้นครั้งแรกที่มหาวิทยาลัยฮัมเบิร์ก (Hamburge University)  เรียกว่าแผนกวิชาภาษาอินโดเนเซียและภาษาโอซีเนีย (Indonesian Language and Oseania Languages)    นอกจากนั้นในมหาวิทยาลัยบอนน์ (Bonn  University)  ก็มีการเรียนการสอนภาษาอินโดเนเซีย  ส่วนในมหาวิทยาลัยปาซาว (Passau  University) เริ่มมีการเรียนการสอนเกี่ยวกับมลายูศึกษาในต้นทศวรรษที่ 1980
              
การเรียนการสอนเกี่ยวกับมลายูศึกษาในปัจจุบันดำเนินการในคณะมนุษยศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยโคโลน  และที่คณะสังคมวิทยา  มหาวิทยาลัยบีเลฟิลด์ (Bielefeld  University)   ในมหาวิทยาลัยโคโลนมีสถาบันที่ชื่อว่า Institut  fur  Volkerkunde ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับชุมชนชาวเลเผ่าโอรักลาโวย   ชาวเลเผ่ามอแกน  และชุมชนชาวมลายู  รวมทั้งชุมชนอื่นๆในภูมิภาคมลายู  ส่วนมหาวิทยาลัยบีเลฟิลด์นั้น  ประมาณปี 2543 ทางคณะสังคมวิทยาของมหาวิทยาลัยดังกล่าวได้ประสานงานกับแผนกวิชาสังคมวิทยา  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี นำนักศึกษาปริญญาโทของมหาวิทยาลัยบีเลฟิลด์ลงภาคสนามในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จำนวน 12 คน  โดยนักศึกษาดังกล่าวได้ลงทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับมลายูศึกษาในประเทศมาเลเซีย โดยใช้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี เป็นฐานในการศึกษาวิจัยครั้งนั้น

Sabtu, 16 April 2016

วิชามลายูศึกษาในประเทศรุสเซีย

โดย นิอับดุลรากิบ  บินนิฮัสซัน
 
 
 
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เริ่มมีการเรียนการสอนเกี่ยวกับมลายูศึกษา  โดยเริ่มการสอนเกี่ยวกับภาษามลายูที่สถาบันที่ชื่อว่า สถาบันตะวันออกกรุงมอสโก  มีนาย L. Mervart เป็นผู้นำ  และมีผู้ช่วยเป็นชาวอินโดเนเซียคือ นาย Muso  นาย Semaoen   การเรียนการสอนภาษาและวัฒนธรรมมลายูในปัจจุบันดำเนินการโดย สถาบันความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมอสโก  ซึ่งสถาบันตะวันออกกรุงมอสโก เข้าเป็นส่วนหนึ่งสถาบันนี้ในปี 1954  และสถาบันภาษาตะวันออก ซึ่งปัจจุบันชื่อว่า สถาบันประเทศเอเชียและอัฟริกา  อยู่ภายใต้มหาวิทยาลัยมอสโก 
นอกจากนั้นมีการเรียนการสอนในคณะตะวันออก (Faculty of Oriental) ของมหาวิทยาลัยเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก (University of St.Petersburg) อีกด้วย   กลุ่มนักวิชาการรุสเซียที่สนใจเกี่ยวกับภูมิภาคมลายูได้จัดตั้งสมาคมขึ้นมาเมื่อวันที่ 10 มกราคม  1990   เพื่อศึกษาวิจัยเกี่ยวกับภูมิภาคมลายู  โดยสมาคมดังกล่าวมีชื่อว่า Nusantara  Society  มีประธานชื่อ  Dr. Boris Parnickel  ซึ่งเขาเสียชีวิตในปี 2007  ขณะมีอายุได้  69 ปี  ประธานคนใหม่ชื่อ   Prof. Villen Sikorsky และ  รองประธานชื่อ   Prof. Dr. Alexander Ogloblin  จากมหาวิทยาลัยเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก

Rabu, 13 April 2016

วิชามลายูศึกษาในประเทศฝรั่งเศส


โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน
    ในประเทศฝรั่งเศสนั้นมีการจัดตั้งศูนย์ศึกษาภาษามลายูขึ้น  โดยตั้งผู้อำนวยการศึกษาภาษามลายูในยุโรป ขึ้นในสถาบันที่ชื่อว่า Ecole des Languages Orientes เมื่อวันที่ 2 กันยายน ปี 1844   มีนาย Edmund  Dulaurier  เป็นผู้อำนวยการ   โดยมีการแปลหนังสือภาษามลายูที่ชื่อว่า Kitab Pelayaran Abdullah ในปี 1850  และมีการผลิตพจนานุกรมภาษามลายู-ฝรั่งเศส แต่ไม่เสร็จสมบูรณ์

  นอกจากนั้นสถาบันวิชาการที่ศึกษาเกี่ยวกับมลายูศึกษา เช่น สถาบันที่ชื่อว่า Ecole  Francais d’Extreme Orient มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับชนชาวจามในกลุ่มประเทศอินโดจีน, สถาบันที่ชื่อว่า Institut National des Languaes et  civilizations  orientales เป็นสถานที่ศึกษาเกี่ยวกับภาษาและวัฒนธรรมตะวันออก  ตั้งอยู่ในกรุงปารีส  โดยสถาบันนี้เริ่มสอนภาษามลายูในปี 1841 มีการจัดตั้งฝ่ายภาษามลายูขึ้นในมหาวิทยาลัย La Havre  และมหาวิทยาลัย La Rochelle   โดยในมหาวิทยาลัย La Rochelle มีการจัดตั้งสถาบันโลกมลายู หรือ Maison du Monde  Malais  มีชื่อเป็นภาษามลายูว่า  Wisma Dunia  Melayu มีผู้อำนวยการชื่อ    Philippe  Grange’ ซึ่งมีความชำนาญเกี่ยวกับชนชาวบาจาว ทั้งในประเทศมาเลเซีย, อินโดเนเซีย และฟิลิปปินส์    
              
  มีสถาบันการศึกษาที่สอนเกี่ยวกับภาษาและวัฒนธรรมมลายูอีกหลายแห่งในประเทศฝรั่งเศส เช่น  Ecole  des  Hautes  etudes  en  sciences  sociales  (ประวัติศาสตร์และมนุษยวิทยา)ของคณะสังคมวิทยาและมนุษยวิทยามหาวิทยาลัยปารีส และคณะมานุษยวิทยาของมหาวิทยาลัย Aix-en-Provence   และมีสถาบันที่ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับภูมิภาคมลายูที่มีชื่อเสียงคือ Centre  national  de  la  recherché  scientifique,  Musee  Guimet, Musee  d’Histoire  naturelle  Musee  del  Homeme  โดยสถาบันนี้ผลิตวารสารที่เกี่ยวกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย  มีชื่อว่า Archipel  ตั้งแต่ปี 1973

Selasa, 12 April 2016

การประชุมของสมาคมชาวมลายูศรีลังกาในประเทศแคนาดา

โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน
    ในประเทศแคนาดา จะมีชุมชนชาวมลายูที่อพยพมาจากประเทศศรีลังกาอพยพไปตั้งถิ่นฐานอยู่เป็นจำนวนมาก ชาวมลายูเหล่านั้น ได้รวมตัวกันจัดตั้งเป็นกลุ่ม เป็นสมาคม ในครั้งนี้ จะเป็นการประมวลภาพการประชุมของสมาคมชาวมลายูศรีลังกาในประเทศแคนาดา

x