Isnin, 30 Disember 2013

ร่วมงานสัมมนา "งานวรรณกรรมภูมิภาคมลายู ครั้งที่ 17 - Pertemuan Sastrawan Nusantara ke XVII" ที่เมืองเปอกันบารู จังหวัดเรียว ประเทศอินโดเนเซีย

โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน
หลังจากเสร็จสิ้นงานสัมมนาเรื่อง Kenduri Seni Melayu ที่เมืองบาตัม จังหวัดหมู่เกาะเรียวแล้ว ผู้เขียนได้เดินทางต่อด้วยเครื่องบินสายการบิน Citilink ซึ่งเป็นสายการบินลูกของสายการบิน Garuda สายการบินแห่งชาติของปอระเทศอินโดเนเซีย
สายการบิน Citilink สายการบินลูกของสายการบินการูดา 
เมื่อเดินทางถึงสนามบินนานาชาติสุลต่านชารีฟ กาซีมที่สอง จึงได้โทรศัพท์ไปหาคุณโฮเซยุสรีรีซาล เซ็น ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์แห่งจังหวัดเรียว ซึ่งเป็นประธานจัดงานสัมมนา Pertemuan Sastrawan Nusantara XVII โดยเขาได้เดินทางมารับที่สนามบิน แล้วส่งผู้เขียนไปยังโรงแรมราตูมายังการ์เดน เมืองเปอกันบารู เมืองเอกของจังหวัดเรียว
ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์แห่งจังหวัดเรียว
โรงแรมราตูมายังการ์เดน โรงแรมที่จัดงานสัมมนา
สภาพถนนหน้าโรงแรมราตูมายังการ์เดน
เวทีการจัดงานสัมมนา
การจัดงานสัมมนาครั้งนี้ จัดขึ้นที่โรงแรมราตูมายังการ์เดน มีนักเขียน นักวรรณกรรม นักวัฒนธรรม จากจังหวัดต่างๆของประเทศอินโดเนเซีย มาจากประเทศมาเลเซีย บรูไน สิงคโปร์ รวมทั้งมาจากภาคใต้ประเทศไทย สองคน คือผู้เขียนและดร.เภาซัน เจ๊ะแว  เริ่มเปิดพิธีโดยคุณโยเซยุสรีรีซาล เซ็น เป็นผู้กล่าวเปิด โดยมีตัวแทนผู้ว่าราชการจังหวัดเรียวเป็นประธานเปิดพิธี 
ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์แห่งจังหวัดเรียวกล่าวเปิดงาน
ตัวแทนผู้ว่าราชการจังหวัดเรียวกล่าวเปิดพิธี
การรำและร้องเพลงต้อนรับผู้เข้าร่วมงานสัมมนา
การจัดงานครั้งมีการจัดสัมมนาเกี่ยวกับวรรณกรรมในระดับภูมิภาค โดยมีนักเขียน นักวิชาการจากมาเลเซีย อินโดเนเซีย บรูไน สิงคโปร์ รวมทั้งพวกเราจากประเทศไทย เข้าร่วมสัมมนา
ศ. ดร. ดาโต๊ะอับดุลลาตีฟ บาการ์ และ ศ.ดร. บูดี ร่วมสัมมนา
ผู้ร่วมจากประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดเนเซีย และผู้เขียน
ผู้ร่วมจากประเทศบรูไน อินโดเนเซีย และประเทศไทย
เมื่อมีเวลาว่างจากการสัมมนา ผู้เขียนจะเดินทางไปยังร้านหนังสือเพื่อซื้อหนังสือของประเทศอินโดเนเซีย ซึ่งไม่อาจซื้อหนังสือดังกล่าวได้ในประเทศมาเลเซีย หรือถ้ามีก็ราคาสูงมากกว่าในประเทศอินโดเนเซีย
ร้านหนังสือ Gramedia ร้านใหญ่แห่งอินโดเนเซีย
นอกจากการสัมมนาเกี่ยวกับวรรณกรรมแล้ว ก็มีการอ่านบทกวีด้วย โดยนักเขียน นักวรรณกรรมจากประเทศต่างๆได้ร่วมอ่านบทกวีด้วย การอ่านบทกวี้ จะมีหลายสถานที่ด้วยกัน ทั้งในโรงแรมที่จัดสัมมนา ในสวนวัฒนธรรมของเมืองเปอกันบารู รวมทั้งมีการแยกนักเขียน นักวรรณกรรมไปบรรยายในสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ เช่น มหาวิทยาลัยเรียว มหาวิทยาลัยอิสลามเรียว และมหาวิยาลัยลันจังกูนิง โดยผู้เขียนเดินทางไปยังมหาวิทยาลัยอิสลามเรียว โดยได้บรรยายเกี่ยวกับวรรณกรรมมลายูในประเทศไทย และได้อ่านบทกวีด้วย

มีการอ่านบทกวีจากผู้เข้าร่วมที่ส่งบทความเข้าไป โดยบทความแต่ละชิ้นที่ได้รับการคัดเลือกจะได้รับค่าตอบแทนชิ้นละ 1 ล้านรูเปียะห์ หรือประมาณ 3 พันบาท บทความที่ได้รับเลือกนี้ มีทั้งที่มาจากจังหวัดต่างๆของประเทศอินโดเนเซีย มาเลเซีย บรูไน สิงคโปร์ และจากประเทศไทยเอง 
การจัดงานสัมมนาครั้งจะแบ่งออกเป็นการสัมมนา การอ่านบทกวี  สำหรับการสัมมนานั้น นอกจากการสัมมนาที่จัดขึ้นที่โรงแรมราตูมายังการ์เดนแล้ว ทางเจ้าภาพยังจัดให้มีการสัมมนาเกี่ยวกับวรรณกรรมสู่สถาบันอุดมศึกษา โดยแบ่งกลุ่มผู้เข้าร่วมออกเป็น 3 ส่วน คือ การสัมมนาที่มหาวิทยาลัยลันจังกูนิง ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนที่มีจังหวัดเรียวเป็นเจ้าของ มหาวิทยาลัยอิสลามเรียว มหาวิทยาลัยเอกชนของจังหวัดเรียว และมหาวิทยาลัยเรียว อันเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ
 

การเข้าร่วมในงานสัมมนา "งานวรรณกรรมภูมิภาคมลายู ครั้งที่ 17 หรือ Pertemuan Sastrawan Nusantara ke XVII" ที่เมืองเปอกันบารู จังหวัดเรียว ประเทศอินโดเนเซีย นั้นนอกจากเป็นการแสดงถึงจุดยืนที่ว่าจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นส่วนหนึ่งของโลกวัฒนธรรมมลายูแล้ว ยังเป็นการสร้างเครือข่าย รู้จักเพื่อนใหม่ สร้างความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นกับเพื่อนเก่า ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมในโอกาสต่อไป
ส่วนการอ่านบทกวีนั้น นอกจากที่มีการอ่านในเวทีงานสัมมนาที่โรงแรมราตูมายังแล้ว ยังมีการอ่านบทกวีตามมหาวิทยาลัยทั้งสามแห่งที่กล่าวมาแล้ว และนอกจากนั้นยังเวทีอ่านบทกวีที่สวนสาธารณะที่เรียกว่า Taman Budaya ของเมืองเปอกันบารูอีกด้วย




การเดินทางมาร่วมสัมมนาในครั้งนี้ โชคดีได้รับหนังสือชุดมาชุดหนึ่งชื่อว่า สารานุกรมวัฒนธรรมเรียว หรือ Ensiklopedia Kebudayaan Riau ซึ่งชุดหนึ่งมีทั้งหมด 5 เล่ม คิดว่าถ้าคิดราคาก็น่าจะแพงพอสมควร โดยอาจารย์เอลมุสเตียน อาจารย์จากมหาวิทยาลัยเรียวเป็นผู้แต่ง

และในตอนสุดท้ายก็มีการประชุมระหว่างนักเขียน นักวรรณกรรม ที่มาจากประเทศมาเลเซีย อินโดเนเซีย สิงคโปร์ บรูไน และจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยประเทศไทยนั้น เป็นที่ตกลงว่าทางศูนย์นูซันตาราศึกษาจะเป็นตัวแทนของประเทศไทยในการจัดงานสัมมนาครั้งต่อๆไป 
ตัวแทนจากประเทศต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตัวแทนจากประเทศเจ้าภาพ ประเทศอินโดเนเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ บรูไน และจังหวัดชายแดนภาคใต้ ร่วมประชุมสรุปการสัมมนา และร่วมกันลงมติเนื้อหาการจักสัมมนา และการจัดงานสัมมนา "งานวรรณกรรมภูมิภาคมลายู ครั้งที่ 18 - Pertemuan Sastrawan Nusantara ke XVIII" จะเป็นที่ประเทศมาเลเซีย