Khamis, 28 November 2013

Arena Wati : นักเขียนรางวัลซีไรต์ปี 1985 และรางวัลศิลปินแห่งชาติของมาเลเซีย เกิดที่อินโดเนเซีย เสียชีวิตที่มาเลเซีย แต่เป็นผู้มีรากเหง้าเชื้อสายปาตานี

โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน

Arena Wati นักเขียนเชื้อสายปาตานีจากเกาะสุลาเวซี อินโดเนเซีย ไปสร้างชื่อในมาเลเซีย

มีชื่อเดิมว่านายมูฮัมหมัดดะห์ลัน บินอับดุลเบียง (Muhammad Dahlan bin Abdul Biang)หรือ อันดีโมฮาลัน อันดีเบียง (Andi Mohalan Andi Beang) แต่ส่วนใหญ่จะรู้จักเขาในนามของ อาเรนาวาตี (Arena Wati) เกิดเมื่อ 30 กรกฎาคม 1925 และเสียชีวิตเมื่อ 25 มกราคม 2009 ได้รับเลือกให้เป็นศิลปินแห่งชาติในปี 1988  นอกจากนั้นเขายังมีนามปากกาว่า Duta Muda และ Patria  นอกจากนั้นเขายังได้รับรางวัลซีไรต์ (SEA Write Award) ของประเทศไทยในปี 1985 อีกด้วย

Arena Wati เกิดที่ Kalumpang Kabupaten, Jeneponto, Makasar เกาะสุลาเวซี  เขาเคยบอกกับผู้เขียนว่าเขาเป็นลูกหลานของชาวปาตานีในอดีตที่อพยพไปยังเกาะสุลาเวซี ภายใต้การนำของดาโต๊ะมหาราชาเลลา โดยลำเรือพร้อมชาวปาตานี 40 ลำเดินทางไปยังเกาะสุลาเวซี   เขาได้รับการศึกษาเริ่มแรกจากโรงเรียนของฮอลันดาที่ชื่อว่า Hollands Indische School ซึ่งเป็นช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เขาประกอบอาชีพเป็นนักเดินเรือสินค้าในปี 1943 ประสบการณ์จากการเป็นนักเดินเรือสินค้า เขาสามารถนำประสบการณ์เหล่านั้นไปใช้ในการเขียนหนังสือและเขียนนวนิยาย เขาจบชั้นมัธยมที่มากัสซาร์ในปี 1953


ภายหลังจากจบการศึกษา เขาได้ไปทำงานกับสำนักพิมพ์ในสิงคโปร์ ต่อมาไปทำงานในรัฐโยโฮร์ ประเทศมาเลเซีย และบรูไน โดยในช่วงเวลาดังกล่าว เขาได้รับสัญชาติมาเลเซียแล้ว และระหว่างปี 1962 ถึงปี 1974 เขาได้ทำงานกับสำนักพิมพ์ Pustaka Antara ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์


Arena Wati เข้าสู่วงการหนังสือพิมพ์ราวปี 1954 และเคยเป็นบรรณาธิการที่สำนักพิมพ์ Pustaka Antara และในที่สุดได้รับเลือกให้เป็นศิลปินแห่งชาติของมาเลเซีย หรือ Sasterawan Negara ในปี 1988 งานเขียนของเขามีลักษณะวิชาการ งานเชิงจินตนาการ 

เขาแต่งงานกับนางฮาลีมะห์ สุหลง (Halimah Sulong) ภรรยาเขาก็เคยบอกผู้เขียนว่าตนเองก็มีเชื้อสายปาตานีเหมือนกัน  โดยเขากล่าวว่าตนเองเป็นลูกหลานของปังลีมาอามีเนาะห์ ซึ่งเป็นนักรบสตรีชาวปาตานีที่หนี้ภัยไปยังรัฐโยโฮร์ เขามีบุตรธิดา 6 คน คือ Rahmahwati, Hiryati, Ilhamuddin, Ratna Siti Akbari, Hasanudin และ Kamaluddin Rostov

ผลงานเขียนของเขา

งานนวนิยายชิ้นแรกของเขา คือ Kisah Tiga Pelayaran พิมพ์ในปี 1959 ที่สิงคโปร์ หลังจากนั้นก็จะมีงานเขียนต่อๆมา เช่น

Lingkaran (1962)

Sandera (1971)

Rontok (1980)

Bunga Dari Kuburan (1987)

Kuntum Tulip Biru (1987)

Sakura Mengorak Kelopak (1987)

Panrita (1993).

Sukma Angin (1999)

Cakra Waruga (KN)

Sebuah Trilogi Tiga Genre(KN)

Sebuah Trilogi Tiga Genre(KT)

Trilogi Busa - Busa Hati

Trilogi Busa - Busa Sukma

Trilogi Busa - Busa Kalbu

Trilogi Armageddon : Mandala (2004)

Trilogi Armageddon : Menorah

Trilogi Armageddon : Pentagon

Warna Sukma Usia Muda

นอกจากนั้นยังมีงานเขียนอื่นๆ เช่น

Eno (1985)

Syair Pangeran Syarif (1989)

Syair Pangeran Syarif Hasyim Al-Qudsi (1989)

Syair Perang Cina Di Monterado (1989)

Burung Badai (1990)

Turina (1991)

Citra (1991)

Memoir Arena Wati Enda Gulingku (1991)

Ombak Samudera (1992)

Meniti Kala by Arena Wati (1993)

 Panrita (1993)

Sudara (1994)

ในปกหลังของนวนิยายเรื่อง Sudara เขาได้ใส่เนื้อหาเป็นภาษาบูกิส โดยเนื้อหาดังกล่าวได้กล่าวถึงการอพยพของชาวปาตานีไปยังเกาะสุลาเวซี โดยการนำของดาโต๊ะมหาราชาเลลา ผู้นำชาวปาตานีพร้อมลูกเรือจำนวน 40 ลำเพื่อไปตั้งถิ่นฐานในเกาะสุลาเวซี และเขาก็เป็นหนึ่งในบรรดาลูกหลานชาวปาตานีกลุ่มนั้น

Mevrouw Toga (1995)

Begawan (1996)

Jejak Kreatif oleh Dewan Bahasa dan Pustaka (1996)

Koleksi Terpilih Arena Wati (1996)

Sukma Angin (1999)

Getar-Getir Maya Kumpulan Cerpen (2000)

Trilogi Busa (2002).

Armageddon (2004)

Kutukan Dari Langit (2004)

Langkah Pertama Kumpulan Cerpen Awal, 1954-1959 (2004)

7 Tegak Bersama (2005)

Warna Sukma Usia Muda (2005)


และงานเขียนสุดท้ายคือ Cakra Waruga (2006)

งานเขียนของเขาส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของปัญญาคนผู้ใช้แรงงานและชนชั้นล่าง รวมทั้งงานเขียนปกป้องชนผู้ถูกกดขี่ โดยนำประสบการณ์ของตนเองจากการเดินทางจากเกาะหนึ่งไปยังอีกเกาะหนึ่งในภูมิภาคมลายู  


นวนิยายเรื่อง Sandera ได้รับเลือกให้เป็นวรรณกรรมสำหรับนักเรียนในระดับมัธยมปลาย(ระดับ SPM)ของมาเลเซียในช่วงปีทศวรรษที่ 1980


สำหรับงานเขียนที่ชื่อว่า Trilogi Bara-Baraya เป็นงานเขียนที่เขียนเสร็จในช่วงที่เขารักษาตัวที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งชาติมาเลเซีย (HUKM)  งานเขียนชิ้นนี้เป็นเรื่องราวการต่อสู้ของชาวมลายูในภูมิภาคมลายู นักเขียนรางวัลศิลปินแห่งชาติอีกคน ซึ่งเป็นเพื่อนของเขา คือนายอับดุลซามัด  ซาอิด (A. Samad Said) กล่าวว่า Arena Wati เป็นนักเขียนที่มีคุณค่าในวงการวรรณกรรมของประเทศ


รางวัลเกียรติยศ

เขาได้รับรางวัลซีไรต์ (SEA Write Award) ในปี 1985

ศิลปินแห่งชาติ (Sasterawan Negara)ในปี  1987

งานเขียนเรื่อง Sukma Angin (1999) ดั้บรางวัล Hadiah Sastera Perdana Malaysia ประจำปี 1998/99

เขาได้รับรางวัลนักเขียนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ Hadiah Sastera Majlis Sastera Asia Tenggara (Hadiah MASTERA) ในปี 2003 การเสียชีวิตเขาเสียชีวิตจากการเป็นมะเร็งปอด เขารักษาตัวที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งชาติมาเลเซีย (HUKM) ตั้งแต่ 20 กันยายน 2008 สุสานของเขาตั้งอยู่ที่สุสานอิสลามบูกิตเกียรา (Tanah Perkuburan Islam Bukit Kiara)ส่วนหนึ่งของงานเขียนของ Arena Wati










Ahad, 17 November 2013

นโยบายภูมิบุตร (Bumiputra) ของมาเลเซีย : สิ่งที่ผู้สนใจหลักการนี้ไม่เคยกล่าวถึง "สัญญาประชาคม (Social Contract)"

โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน

ผู้เขียนได้รับอีเมล์ฉบับหนึ่งจากนักศึกษาภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ของสถาบันอุดมศึกษาแถวสามย่านกรุงเทพฯ สอบถามเกี่ยวกับความไม่เป็นประชาธิปไตยในประเทศมาเลเซีย ในเรื่องของนโยบายภูมิบุตราของประเทศมาเลเซีย  


คำถามของนักศึกษาคนนั้นน่าสนใจยิ่ง โดยให้ผู้เขียนแสดงความคิดเห็นในเรื่องภูมิบุตร คำถาม เช่น นโยบายภูมิบุตราขัดกับหลักการการปกครองในระบอบประชาธิปไตยและการพัฒนาประชาธิปไตยในสังคมมาเลซียหรือไม่ เพราะเหตุใด ในขณะที่กระแสโลกกาภิวัฒน์ ประชาธิปไตย และสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะในเรื่องของสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค เป็นที่รัฐควรมีให้กับพลเมืองโดยเท่าเทียมกัน


ผมถึงคิดว่าคำถามนี้ไม่สมควรที่จะตอบนักศึกษาผู้นั้นคนเดียว น่าจะมีการเผยแพร่ให้สาธารณะได้รับรู้อีกด้วย เพื่อว่าเราจะได้รับความเป็นมาของหลักนโยบายดังกล่าว ว่ามีความเป็นมาอย่างไร และทำไมนโยบายดังกล่าวยังคงต้องมีอยู่ต่อไป
ก่อนที่เราจะมารับรู้ถึงทำไมต้องมีนโยบายภูมิบุตร ทำไมชาวมลายูต้องได้รับสิทธิพิเศษทางสังคม เราควรมารับรู้ถึงการเกิดขึ้นของหลักการหนึ่งในประเทศมาเลเซีย นั้นคือหลักการ Social Contract หรือว่า การตกลงทางสังคม

Social Contract (สัญญาประชาคม)เมื่อเราศึกษาถึงประเทศมาเลเซีย  จะต้องกล่าวถึงหลักการ Social Contract ด้วย  คำนี้อาจไม่เป็นที่เผยแพร่มากนัก  ในรัฐธรรมนูญมาเลเซียไม่มีการกล่าวถึงคำว่า Social Contract หรือ kontrak sosial โดยชัดเจน นอกจากนั้นยังไม่ปรากฎว่ามีกฎหมายหรือเอกสารทางราชการที่กล่าวถึง Social Contract อย่างละเอียด[1]    

การเกิดขึ้นของ Social Contract ในสังคมมาเลเซียนั้น  เป็นความเห็นชอบของบรรดาผู้นำทางการเมืองเชื้อชาติต่างๆในประเทศมาเลเซียในช่วงยุคการต่อสู้เพื่อเอกราชของประเทศมาเลเซีย  

ด้วยเดิมนั้นชาวมลายูและชนพื้นเมืองดั้งเดิมถือว่าพวกเขาเป็นเจ้าของประเทศมาตั้งแต่เดิม  เมื่ออังกฤษเข้ามายึดครองมาลายา  ได้นำเข้าแรงงานชาวจีนจากประเทศจีนและชาวอินเดียจากบรรดาประเทศในชมพูทวีป  เมื่อมาลายาจะได้รับเอกราชนั้น  จึงมีความเห็นชอบของบรรดาผู้นำเชื้อชาติต่างๆ ทั้งชาวมลายู ชาวจีน และชาวอินเดียต่อหลักการ Social Contract  โดยชาวมลายูและชนพื้นเมืองอื่นๆต้องยอมรับให้ชาวจีนและชาวอินเดีย รวมทั้งชนเชื้อสายอื่นๆที่ไม่ใช่ชาวมลายูและชนพื้นเมืองสามารถเป็นผู้มีสัญชาติมาลายาได้  

ในทางกลับกันชาวจีนและชาวอินเดีย รวมทั้งชนเชื้อสายอื่นๆที่ไม่ใช่ชาวมลายูและชนพื้นเมืองก็ต้องยอมรับถึงการมีสิทธิพิเศษ และการคงอยู่ของสถาบันกษัตริย์ของชาวมลายู  และเมื่อมีการจัดตั้งประเทศมาเลเซียขึ้นมา  หลักการ Social Contract จึงครอบคลุมถึงรัฐซาบะห์ และรัฐซาราวัคด้วย[2]

เป็นการตกลงของบรรดาผู้นำทางการเมืองโดยมีการกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ โดยได้กำหนดไว้ในมาตรา 14-18 เกี่ยวกับการให้สัญชาติมาเลเซียแก่บุคคลที่ไม่ใช่ชาวมลายู กับมาตรา 153 ที่ได้กำหนดถึงอำนาจหน้าที่ของพระราชาธิบดีในการปกป้องผลประโยชน์ชาวมลายูและภูมิบุตร


มาตรา 153 รัฐธรรมนูญมาเลเซียให้อำนาจต่อพระราชาธิบดีในการปกป้องสิทธิพิเศษของคนมลายูและภูมิบุตรมาเลเซีย (Bumiputra Malaysia)
รัฐบาลกลางได้ปกป้องผลประโยชน์ของกลุ่มดังกล่าวโดยการจัดโควตา(รัฐบาลกลางได้ปกป้องผลประโยชน์ของกลุ่มดังกล่าวโดยการจัดโควตา(Kuota)ในด้านต่างๆ เช่น

ข้าราชการพลเรือน
-ข้าราชการพลเรือน(Perkhidmatan Awam)
-ทุนการศึกษา(Biasiswa)
-การศึกษา(Pendidikan)
รัฐบาลกลางได้ปกป้องผลประโยชน์ของกลุ่มดังกล่าวโดยการจัดโควตา(Kuota)ในด้านต่างๆ เช่น-ข้าราชการพลเรือน(
-ข้าราชการพลเรือน( -ข้าราชการพลเรือน(Perkhidmatan Awam)
-ทุนการศึกษา(Biasiswa)
-การศึกษา(Pendidikan)การมีนโยบายเพื่อปกป้องชาวมลายูและชนพื้นเมืองอื่นๆ ที่รวมเรียกว่าชาวภูมิบุตร หรือ Bumiputra นี้ เพื่อเป็นหลักประกันทางด้านสังคมและเศรษฐกิจของชาวภูมิบุตร  ด้วยสถานะทางเศรษฐกิจนั้นปรากฏว่าชาวภูมิบุตรยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าชนเชื้อชาติอื่นๆ


แม้ชาวภูมิบุตรจะเป็นชนกลุ่มใหญ่ของประเทศ แต่มีอำนาจทางเศรษฐกิจค่อนข้างน้อย ช่องว่างทางเศรษฐกิจระหว่างชาวภูมิบุตรกับชนชาวอื่นๆค่อนข้างห่างกันมาก ภายหลังเกิดเหตุการณ์นองเลือดในประเทศมาเลเซีย ทางรัฐบาลมาเลเซียจึงมีนโยบายในการลดช่องว่างทางเศรษฐกิจระหว่างชาวภูมิบุตรกับชนชาวอื่นๆ


จาก ในวิทยานิพนธ์ปริญญาโทสาขาเศรษศาสตร์เรื่อง The Political Economy of Restructuring in Malaysia ของ Low Kam Yoke จากมหาวิทยาลัยมาลายา ปี 1985 หน้า 26 เขียนว่า ในสมัยตนกูอับดุลอับดุลราห์มานปุตรา ก็มีการพยายามที่จะส่งเสริมทุนนิยมของชาวภูมิบุตร แต่ไม่ได้ผลมากนัก   


โดยในปี 1970 ชาวภูมิบุตรที่เป็นชาวเจ้าหรือหุ้นส่วนในอุตสาหกรรมสำคัญๆยังอยู่ในระดับที่ต่ำมาก มีชาวภูมิบุตรเป็นเจ้าของกิจการเพียง 1.9 %  ส่วนชาวจีนมี 22.5 %  ชาวอินเดีย 1.0 % และชาวยุโรปรวมทั้งอังกฤษ เป็นเจ้าของกิจการสูงถึง 60.7 %  


เมื่อรัฐบาลมาเลเซียมีนโยบายภูมิบุตร ส่งเสริมชาวภูมิบุตรในมีการพัฒนาทางเศรษฐกิจมากขึ้น ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางช่องว่างระหว่างชาวภูมิบุตรกับชนชาวอื่นๆ 


ดร. ชัยโชค จุลศิริวงศ์ ในงานวิจัยเรื่อง การพัฒนาเศรษฐกิจและการเมือง มาเลเซีย หน้า 146-147 ได้อ้างอิงจากแผนการพัฒนาเศรษฐกิจมาเลเซีย ฉบับที่ 3-4-6-7 ได้กล่าวว่า
ความยากจนแยกตามอัตราส่วนของกลุ่มเชื้อชาติแหลมมลายูในปี 1970
ความยากจนของชาวมลายูในแหลมมลายู มี 64.8 %
 ความยากจนของชาวจีนในแหลมมลายู มี 26.0 %
ความยากจนของชาวอินเดียในแหลมมลายู มี 39.2 %


ในปี 1990
ความยากจนของชาวมลายูในแหลมมลายู มี 20.8 %
ความยากจนของชาวจีนในแหลมมลายู มี 5.7 %
ความยากจนของชาวอินเดียในแหลมมลายู มี 8.0 %


รัฐซาบะห์  ในปี 1976
ความยากจนของชาวภูมิบุตรในรัฐซาบะห์  มี 82.9 %
 ความยากจนของชาวจีนในรัฐซาบะห์  มี 5.7 %
ในปี 1990
ความยากจนของชาวภูมิบุตรในรัฐซาบะห์  มี 41.2 %
ความยากจนของชาวจีนในรัฐซาบะห์  มี 4.0 %


รัฐซาราวัค  ในปี 1976
ความยากจนของชาวภูมิบุตรในรัฐซาราวัค  มี 85.9 %
ความยากจนของชาวจีนในรัฐซาราวัค  มี 14.0 %
ในปี 1990
ความยากจนของชาวภูมิบุตรในรัฐซาราวัค    มี 28.5 %
ความยากจนของชาวจีนในรัฐซาราวัค  มี 4.4 %


อัตราส่วนการถือหุ้นในบริษัทจำกัด ในปี 1970, 1990 และ 1995ชาวภูมิบุตร ปี 1970 การถือหุ้นในบริษัทจำกัด 2.4 %  1990 มี 19.3 % และ 1995 มี 20.6 %
ชาวจีน ปี 1970 การถือหุ้นในบริษัทจำกัด 27.2 %  1990 มี 45.5 % และ 1995 มี 40.9 %
ชาวอินเดีย ปี 1970 การถือหุ้นในบริษัทจำกัด 1.1 %  1990 มี 1.0 % และ 1995 มี 1.5 %

จากข้อมูลข้างต้น จะเห็นได้ว่านโยบายภูมิบุตร เป็นนโยบายที่สร้างขึ้นว่าเพื่อพิทักษ์ ปกป้องชนชาวมลายูและชนพื้นเมืองอื่นๆ แม้ว่าจะมีนโยบายภูมิบุตร จะในนามของนโยบายเศรษฐกิจ หรือ Dasar Ekonomi Baru (New Economy Policy) และนโยบายพัฒนาประเทศ หรือ Dasar Pembangunan Negara (National Development Policy) ขึ้นมา 

และปัจจุบันได้ใช้ โมเดลเศรษฐกิจใหม่ หรือ Model Ekonomi Baru (New Economy Model) ก็เพื่อลดชิองว่างความยากจน ลดช่องว่างของการถือสินทรัพย์ของประเทศ และจนถึงปัจจุบัน ชาวมลายูและชาวพื้นเมืองอื่นๆ ที่รวมกันถูกเรียกว่าชาวภูมิบุตร โดยรัฐบาลมีเป้าหมายจะให้ชาวภูมิบุตรมีอำนาจทางเศรษฐกิจของประเทศเพียง 30 % ของทั้งหมด แต่จนถึงปัจจุบันเป้าหมายดังกล่าวก็ยังไม่อาจเกิดขึ้นได้
[1] สัมภาษณ์ ดร. กุสนี  ซาอัด (Dr. Gusni  Saad) อาจารย์คณะมนุษยศาสตร์  มหาวิทยาลัยแห่งชาติมาเลเซีย   เมื่อ 21
    มกราคม  2551
[2] Mahdi Shuid, Pengajian Malaysia, Petaling Jaya : Longman , 1998 หน้า 46

Isnin, 11 November 2013

Patani Dalam Kenangan : Sebuah Puisi dari Patani, Selatan Thailand

โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน
 

Patani dalam kenangan

                         Aku melihat sejarah masa silam
                         Ketika negeri ini masih di sudut peta dunia
                         Perkampungannya terletak di pesisir pantai
                         Bandar Kerisik namanya ibu kota
                         Pelabuhannya tak pernah diacuhkan
                         Pengembara dan nakhoda asing

                        Disinilah lahirnya para ratu
                        Raja  Kuning
                        Raja Hijau
                        Raja Biru
                        Raja Ungu

                        Empat ratu perkasa
                        Membungai negeri Patani
                        Mengharumi negeri Patani
                        Menyuburi negeri Patani

                        Negeri ini tiada lagi di sudut peta dunia
                        Tiada lagi bunga bunga membungai, mengharumi   
                        Negeri ini, tanah air ini, bumi ini
                        Hanya tinggal Patani dalam kenangan.


Hamra Hassan

Ahad, 10 November 2013

Pasar Malam di Patani : Sebuah Puisi dari Patani, Selatan Thailand.


Pasar Malam di Patani

Di tengah kecakauan
Di tengah lingkaran senjata
Di tengah suara jeritan manusia
Di tengah bintang dan bulan
Di bawah cahaya  eletrik

Aku masih merasai ketenangan
Di pasar malam di Patani
Penjual terdiri wanita dan lelaki
Pembeli dari bocah hingga dewasa

Kuih muih  dijual
Makanan dijual
Ada Tom Yum**
Ada Som tam**
Ada Ladna**
Ada Khanom Khrok**
Ada makanan makanan ala Thai

Dimanakah nasi dagang
Dimanakah nasi kerabu
Dimanakah kuih muih Melayu


Makanan Melayu diketepikan
Kuih muih Melayu dipinggirkan
Nasib makanan dan kuih muih Melayu
Senasib manusia Melayu dibumi Patani
Satu trajedi di Pasar Malam di Patani.


Hamra  Hassan
.....................................................
** jenis makanan asli orang Thai