Selasa, 18 Disember 2012

ประเทศมาเลเซียกับองค์กร World Islamic Economic Forum (WIEF)

โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน

                สำหรับเราที่อยู่ในประเทศไทย มักรู้จักการประชุมของบรรดาผู้นำรัฐบาล ผู้นำทางธุรกิจ ที่เรียกว่า World Economic Forum หรือ WEF ซึ่งเป็นองค์กรระดับโลกที่มีสถานะเป็นมูลนิธิของประเทศสวิสเซอร์แลนด์ มีสำนักงานอยู่ในกรุงเจนิวา  ประเทศสวิสเซอร์แลนด์  แต่สำหรับชาวมุสลิมโดยเฉพาะที่อาศัยอยู่ในประเทศมาเลเซีย อินโดเนเซีย บรูไน นอกจากจะรู้จักองค์กร World Economic Forum หรือ WEF ยังรู้จักองค์กรที่ดำเนินกิจกรรมเฉกเช่นเดียวกันกับองค์กรข้างต้น อีกองค์กรหนึ่ง นั้นคือ World Islamic Economic Forum หรือ WIFE
                 ระหว่างวันที่ 4-6 ธันวาคม 2012 ที่ผ่านมา ทางประเทศมาเลเซีย ก็ได้จัดประชุม World Islamic Economic Forum ถือเป็นการประชุมที่ค่อนข้างจะใหญ่มาก และทำลายสถิติการประชุมขององค์กรที่ผ่านๆมา โดยมีผู้เข้าร่วมทั้งจากผู้นำรัฐ ผู้บริหารธุรกิจ นักเศรษศาสตร์ นักวิชาการ  ประมาณ 2,100  คน และมีผู้นำเสนอบทความวิชาการถึง 120 คน มีผู้เข้าร่วมมาจาก 86 ประเทศ โดยมีดาโต๊ะสรี มูฮัมหมัดนายิบ ตุนอับดุลราซัค เป็นประธานเปิดพิธีการประชุม
ดาโต๊ะสรีมูฮัมหมัดนายิบ ตุนอับดุลราซัค กล่าวเปิดงานประชุม
  ราซัคบรรดาผู้นำในการประชุมของ WIEF
ดาโต๊ะอับดุลกานี ออสมาน มุขมนตรีรัฐโยโฮร์ มาเลเซีย
ความเป็นมาของ World Islamic Economic Forum
World Islamic Economic Forum หรือชื่อย่อว่า WIEF จัดตั้งขึ้นเมื่อ 6 มีนาคม 2006 มีสำนักงานเลขาธิการตั้งอยู่ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย  แรกเริ่มเป็น OIC Business Forum หรือ การประชุมทางธุรกิจของกลุ่มประเทศสมาชิก OIC โดยเริ่มเมื่อ 15 ตุลาคม 2003 เป็นเวลาเดียวกันกับการประชุมใหญ่ครั้งที่ 10 ของกลุ่มประเทศสมาชิก OIC ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองปุตราจายา ประเทศมาเลเซีย การประชุมที่จะมีบรรดาผู้นำรัฐบาล ผู้นำทางอุตสาหกรรม นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญในระดับภูมิภาค ผู้ประกอบการ และผู้บริหารองค์กรทางธุรกิจ มาร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เปิดโอกาสทางธุรกิจระหว่างกันในโลกมุสลิม

             ในปี 2004 มีการประชุมครั้งที่ 2 ของ OIC Business Forum โดยจัดขึ้นที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย และในการประชุมครั้งนี้ ได้มีการเสนอความคิดในการจัดประชุมองค์กรทางธุรกิจขึ้นมาเป็นการเฉพาะ  ทำให้ในปี 2005 เกิดการประชุมครั้งแรกภายใต้นามว่า 1st World Islamic Economic Forum ซึ่งก็ได้จัดขึ้นที่กรุงกัวลาลัมเปอร์เช่นเดิม การประชุมครั้งนี้ไม่เพียงครอบคลุมกลุ่มประเทศสมาชิก OIC เท่านั้น แต่ยังรวมถึงกลุ่มสังคมที่ไม่ใช่มุสลิมทั่วโลกเข้าไปด้วย
โครงสร้างองค์กร
มีดาโต๊ะสรีมูฮัมหมัดนายิบ ตุนอับดุลราซัค นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย  ตุนอับดุลลอฮ อาหมัด บาดาวี อดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เป็นสมาชิกอุปถัมภ์ และ นายสุสิโล บัมบัง ยูโธโยโน ประธานาธิบิดีอินโดเนเซีย กับ ดร. อาหมัด มูฮัมหมัด อาลี อัล-มาดานี ประธานธนาคารอิสลามเพื่อการพัฒนา (Islamic Development Bank) เป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์  องค์กรนี้จัดในรูปแบบของมูลนิธิ โดยมี ตุนมูซา  ฮีตัม อดีตรองนายกรัฐมนตรียุค ดร. มหาเธร์ มูฮัมหมัด เป็นนายกรัฐมนตรี เป็นประธานมูลนิธิ และกรรมการผู้รับผิดชอบอีก 2 ท่าน คือ ตันสรี วันมูฮัมหมัดซาฮีด มูฮัมหมัดนอร์ดิน และ ดาโต๊ะ ดร. นอร์ราเอซะห์ มูฮัมหมัด และมีที่ปรึกษามาจากนักวิชาการ นักบริหารชาวมุสลิมจากทั่วโลก   ครั้งแรกในการจัดตั้งมูลนิธินั้นได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณจากมูลนิธิอัลบูคอรี (Al Bukhary Foundation) ของมาเลเซีย บริษัท Felda Holdings จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทรัฐวิสาหกิจของมาเลเซีย และงบประมาณจากรัฐบาลบรูไน
คณะกรรมการที่ปรึกษาในระดับนานาชาติ ประกอบด้วย
1. Tun Musa Hitam, Chairman of WIEF Foundation
2. Dato’ Sri Nazir Razak, Group Managing Director/Chief Executive Officer, CIMB Group, Malaysia
3. Sir Iqbal Sacranie, Chairman, MCB Charitable Foundation, United Kingdom
4. Tan Sri Dr Wan Mohd Zahid Mohd Noordin, Chairman, UniversitiTeknologi MARA, Malaysia
5. Mr. Ian Buchanan, Senior Executive Advisor, Booz & Company, Australia
6. Dato’ Dr Norraesah Mohamad, Chairman, Embunaz Ventures SdnBhd, Malaysia
7. Mr. Omer Cihad Vardan, Chairman, Independent Industrialist and Businessmen’s Association (MUSIAD), Turkey
8. Mr. Ebrahim Patel, Chief Executive Officer, Magellan Investment, South Africa
9. Mr. Essa Al Ghurair, Vice Chairman, Al Ghurair Investment LLC, United Arab Emirates
10. Dr. El Hassane Hzaine, Director General, Islamic Centre for Development of Trade
11. Ms. Evelyn Mungai, Executive Chairman, Speedway Investments Ltd, Kenya
12. Mr. Salahuddin Kasem Khan, Chairman, SEACO Task Force, Bangladesh
13. Mr. Allal Rachdi, Director General, Islamic Centre for Development of Trade
14. Sheikh Saleh Abdullah Kamel, President, Islamic Chamber of Commerce and Industry (ICCI), Saudi Arabia
15. Mr. Nasser Munjee, Chairman, Development Credit Bank Ltd & Aga Khan Rural Support Programme, India
16. Mr. John Sandwick, Specialist, Islamic Wealth & Asset Management, Switzerland
การประชุมของ World Islamic Economic Forum
การประชุมครั้งที่ 1 จัดขึ้นเมื่อ 1-3 ตุลาคม 2005 ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์  ส่วนการประชุมครั้งที่ 2 เมื่อ 5-7 พฤศจิกายน 2006 ที่กรุงอิสลามาบัด ประเทศปากีสถาน การประชุมครั้งที่ 3 จัดขึ้นเมื่อ 27-29 พฤษภาคม 2007 ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ การประชุมครั้งที่ 4 เมื่อ 28 เมษายน – 1 พฤษภาคม 2008  จัดขึ้นที่กรุงคูเวตซีตี้ ประเทศคูเวต การประชุมครั้งที่ 5 เมื่อ 1-4 มีนาคม 2009  จัดขึ้นที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดเนเซีย การประชุมครั้งที่ 6 เมื่อ 18-20  พฤษภาคม 2010  ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์  การประชุมครั้งที่ 8 เมื่อ 4-6 ธันวาคม 2012 จัดขึ้นที่รัฐโยโฮร์ ประเทศมาเลเซีย
การประชุมฝ่ายสตรีของ WIEF 
 บรรดาผู้นำรัฐที่เข้าร่วมประชุม
 บรรยากาศภายในห้องประชุม WIEF
การลงนามระหว่างผู้นำทางธุรกิจ
บรรดาฝ่ายสื่อมวลชนของการประชุม WIEF
             สำหรับการประชุมครั้งที่ 8 เมื่อ 4-6 ธันวาคม 2012 ที่ผ่านมานั้น ปรากฏว่า นอกจากมีผู้นำภาครัฐและภาคเอกชนจากประเทศต่างๆแล้ว ยังมีนายมูราด อิบราฮิม ประธานขบวนการปลดปล่อยอิสลามแห่งโมโร หรือ Moro Islamic Liberatuion Front ซึ่งได้เซ็นสัญญายุติสงครามกับรัฐบาลฟิลิปปินส์เข้าร่วมในการประชุมด้วย ได้เรียกร้องในที่ประชุมของ WIFE ให้นักธุรกิจเข้าไปลงทุน พัฒนาจังหวัดภาคใต้ของประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งปรากฏว่าได้รับการขานรับจากภาครัฐและภาคเอกชน
แผนที่ภาคใต้ของประเทศฟิลิปปินส์
แผนที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
             เพื่อนชาวมาเลเซียถามผู้เขียนว่า แล้วผู้นำภาครัฐและภาคเอกชน รวมทั้งภาคสังคมมลายูมุสลิมของจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้เข้าร่วมประชุมกับเขาด้วยไหม และมีบทบาทอย่างไร ครับ ! ใครทราบช่วยตอบแทนผู้เขียนด้วย 

Rabu, 12 Disember 2012

สุลต่านแห่งรัฐสลังงอร์ ประเทศมาเลเซีย

โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน
รัฐสลังงอร์ มาเลเซีย
24 ธันวาคม วันครบรอบวันประสูติของสุลต่านแห่งรัฐสลังงอร์ มาเลเซีย
สุลต่านชาราฟุดดิน อิดริส ชาห์ อัลฮัจญ์ นับเป็นสุลต่านที่น่าสนใจยิ่ง เนื่องในโอกาสวันครบรอบวันเกิดของพระองค์ จึงขอเสนอประวัติของสุลต่านแห่งรัฐสลังงอร์องค์นี้  ความจริงผู้เขียนได้ติดตามการเดินทางรอบโลกของพระองค์ในครั้งที่ยังเป็นราชทายาท ที่ได้มีการตีพิมพ์ลงหนังสือพิมพ์ อุตุซันมาเลเซีย (Utusan Malaysia) ฉบับวันอาทิตย์ที่ใช้ชื่อว่า มิงฆูวันมาเลเซีย (Mingguan Malaysia) ที่เผยแพร่สู่สาธารณะเมื่อหลายปีก่อน

สุลต่านชาราฟุดดิน อิดริส ชาห์ อัลฮัจญ์ เป็นสุลต่านองค์ที่ 9 ของรัฐสลังงอร์ โดยครองราชย์ตั้งแต่21 พฤศจิกายน 2001 นับตั้งแต่พระบิดาของพระองค์ที่ชื่อว่าสุลต่านซาลาฮุดดิน อับดุลอาซีซ ชาห์ อัลฮัจญ์ สิ้นชีพ พระองค์เกิดเมื่อ 24 ธันวาคม 1945 ที่พระราชวังจามาอะห์ เมืองกลัง รัฐสลังงอร์ บิดาคือ สุลต่านซาลาฮุดดิน อับดุลอาซีซ ชาห์ อัลฮัจญ์  และมารดาคือ ราชานูรซาอีดาตุล เอะห์ซาน เต็งกูบาดาร์ ชาห์  ปัจจุบันพระราชวังจามาอะห์ถูกเปลี่ยนสภาพมาเป็นสถาบันการศึกษาชื่อว่า วิทยาลัยอิสลามสุลต่านอาลัมชาห์
ชีวิตครอบครัว
ในปี 1968 ได้สมรสกับราชาซารีนา ราชาตันศรีไซนาล มีบุตรี 2 องค์ คือ เต็งกูเซราฟีนา และเต็งกูซาตาชาห์  ในปี 1986 พระองค์หย่ากับภรรยา และในปี 1988 ได้แต่งงานใหม่อีกครั้งกับชาวสหรัฐอเมริกา คือ นางนูร์ลีซา อิดริส บินตีอับดุลลอฮ มีบุตร 1 องค์ คือ เต็งกูอามีร์ ชาห์ แต่ในปี 1997 ได้หย่ากับสตรีชาวสหรัฐอเมริกาคนนั้น

การศึกษา
ได้รับการศึกษาขั้นต้นจากโรงเรียนมลายู ถนนราชามูดา กรุงกัวลาลัมเปอร์ ในปี 1950 และโรงเรียนเซนต์จอห์นอินสตีติวชั่น กรุงกัวลาลัมเปอร์ ต่อมาได้ศึกษาต่อที่โรงเรียนเฮล เมืองเพิร์ธ ออสเตรเลีย หลังจากนั้นเข้าศึกษาต่อที่วิทยาลัยแลงเฮิร์สต์ ประเทศอังกฤษ
 การทำงาน
เมื่อจบการศึกษาแล้วได้เข้าทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ของสำนักงานเลขาธิการรัฐบาลท้องถิ่นแห่งรัฐสลังงอร์  เจ้าหน้าที่สำนักงานตำรวจแห่งกรุงกัวลาลัมเปอร์  ต่อมาได้รับแต่งตั้งให้เป็นราชทายาทในปี 1960  และในปี 1999 ได้รับแต่งตั้งในเป็นรักษาการสุลต่านแห่งรัฐสลังงอร์ เมื่อพระบิดาได้รับแต่งตั้งเป็นพระราชาธิบดีของประเทศมาเลเซีย  การเดินทางรอบโลกด้วยเรือพระองค์ได้เดินทางรอบโลกด้วยเรือใบส่วนพระองค์ที่ชื่อว่า Jugra โดยใช้เวลา 644 วัน ตั้งแต่วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 1995 โดยการเดินทางรอบโลกของพระองค์ครั้งนั้นได้ลงตีพิมพ์เป็นตอนๆในหนังสือพิมพ์ฉบับวันอาทิตย์ Mingguan Malaysia

นับเป็นสุลต่านองค์หนึ่งที่มีความสามารถ  การที่พระองค์ชอบการเดินเรือ  ด้วยชอบประวัติการเดินเรือของชาวอาหรับในอดีตที่ชื่อว่า อัลอิดรีซี