Selasa, 3 Julai 2012

โครงการทัศนศึกษาประเทศเพื่อนบ้าน มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดเนเซีย และบรูไน (ตอนที่ 3)

โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน


รายงานครั้งที่ 3
โครงการทัศนศึกษาประเทศเพื่อนบ้าน มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดเนเซีย และบรูไน (2012 Thailand-Malaysia-SingaporeIndonesia-Brunei Fieldwork Project) ของแผนกวิชามลายูศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มอ. ปัตตานี
…………………………………………………………………………………
วันที่ 13 พฤษภาคม 2012 หลังจากเข้าพักที่อาคารสำนักงานสมาคมภรรยาข้าราชการกระทรวงศึกษาธิการ หรือ PUSPANITA ซึ่งเปิดเป็นที่พักสำหรับบุคคลทั่วไปแล้ว นักศึกษามลายูศึกษาส่วนใหญ่เดินทางไปยังตึกแฝดเปโตรนัส และตลาดกลางคืนที่ไชนาเทาวน์

 ลองขึ้นรถไฟฟ้าเอง

วันที่ 14 พฤษภาคม 2012 ช่วงเช้าไป Dewan Bahasa Dan Puataka หลังจากนั้นเข้าห้องประชุมทางผอ.ฝ่ายของ Dewan Bahasa Dan Puataka ทำหน้าที่กล่าวต้อนรับนักศึกษามลายูศึกษา จากนั้นผอ.แต่ละฝ่ายทำการแนะนำ Dewan Bahasa Dan Puataka และได้เข้าไปศึกษา เรียนรู้หน่วยงานต่างๆ ของ Dewan Bahasa Dan Puataka เช่น ฝ่ายวรรณกรรม ก็ได้มีการแนะนำเกี่ยวกับหน้าที่ของฝ่ายวรรณกรรม จากนั้นก็ไปเยี่ยมฝ่ายวารสาร ดูวิธีการผลิตวารสาร

     ได้รับการบรรยายจากหัวหน้าหน่วยของ Dewan Bahasa dan Pustaka

         มอบของที่ระลึกแก่หัวหน้าหน่วยของ Dewan Bahasa dan Pustaka

เข้าชมห้องสมุดของ Dewan Bahasa Dan Puataka ที่มีชื่อว่า Pusat Dokumentari Melayu (ศูนย์เอกสารมลายู) ที่นั่นสามารถดูเอกสารเกี่ยวกับปาตานี หลายชิ้น ห้องนี้ครั้งหนึ่งเคยมากับ อาจารย์อิลยาส หญ้าปราง อาจารย์โชคชัย วงษ์ตานี ก็ได้ดูเอกสารเกี่ยวกับปาตานีในไมโครฟิล์ม กับประวัติศาสตร์ฉบับแผ่นไม้ แต่มาครั้งนี้ ฉบับไมโครฟิล์มนั้นได้ดูของจริง ตอนเที่ยงก็รับประทานอาหารที่ Dewan Bahasa Dan Puataka หลังจากนั้นกลับไป PUSPANITA กลางคืนกลุ่มนักศึกษาไปเที่ยวเมืองกัวลาลัมเปอร์ด้วยตนเอง

วันที่ 15 พฤษภาคม 2555 ช่วงเช้าเข้าไปชั้นเรียน เรียนภาษามลายูพร้อมกับกลุ่มนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และกลุ่มนักศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มาฝึกภาษามลายู ที่ Dewan Bahasa Dan Puataka โดยมีอาจารย์ Chaivat เป็นอาจารย์ที่รับผิดชอบโครงการ ตอนค่ำคืน เจ้าหน้าที่ Dewan Bahasa Dan Puataka พากลุ่มนักศึกษาขึ้นรถบัสไปชมเมืองปุตราจายายามค่ำคืน

  ชั้นเรียนภาษามลายูร่วมกับนักศึกษาธรรมศาสตร์-จุฬาลงกรณ์

เข้าชั้นเรียนกับเพื่อนต่างสถาบัน


                                   เรียนภาษามลายูด้วยความตั้งใจ

วันที่ 16 พฤษภาคม 2555 ช่วงเช้าไปพบเจ้าหน้าที่ของสมาพันธ์นักเขียนแห่งชาติมาเลเซีย (GAPENA) เพื่อขออนุญาตเก็บสิ่งของ สัมภาระของคณะนักศึกษามลายูศึกษาไว้ที่สำนักงานของ GAPENA เพราะกลัวว่าอาจจะทำให้ขึ้นเครื่องบินไม่ได้ เพราะไม่ได้ซื้อน้ำหนักสิ่งของ ดังนั้นการเก็บไว้ที่สำนักงานนั้นจึงสามารถแก้ปัญหา เพราะแต่ละคนซื้อของจำนวนมาก หลังจากนั้น คณะนักศึกษามลายูศึกษาไปตลาดมัสยิดอินเดีย ไปช๊อบปิ้งตามกำลังทรัพย์ของแต่ละคน ความจริงตามกำหนดการในวันนี้จะเป็นการเยี่ยมวังศรีเมอนันตี ที่รัฐนัครีซัมบีลัน แต่เพื่อประหยัดค่าเดินทางจึงได้งดการเดินทางไปยังวังดังกล่าว

เก็บสิ่งของ สัมภาระของไว้ที่สำนักงานของ GAPENA

ถ่ายภาพที่ระลึกร่วมกับนักศึกษาธรรมศาสตร์-จุฬาลงกรณ์

วันที่ 17 พฤษภาคม 2555 ช่วงเช้า เจ้าหน้าที่ Dewan Bahasa Dan Puataka ได้ส่งคณะนักศึกษามลายูศึกษาไปยังสนามบินนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ ซึ่งคณะนักศึกษามลายูศึกษาต้องขึ้นเครื่องบิน Air Asia เวลา 12.30 น. ก่อนการเดินทางไปรัฐซาบะห์ ได้ประสานคุณยัสนี มัตลัน เลขาธิการสมาคมนักเขียนของรัฐซาบะห์ หรือ Badan Bahasa ใช้เวลาการเดินทาง 2 ชั่วโมงกว่าก็ถึงรัฐซาบะห์ เมื่อถึงสนามบินเมืองโกตากีนาบาลู ปรากฏว่าทางคุณยัสนี มัตลัน คุณรัมลี ยูโซ๊ะ และน้องชายของคุณอับดุลนัดดีน ชาอิดีน
รถ Dewan Bahasa dan Pustaka ไปส่งที่สนามบินนานาชาติกัวลาลัมเปอร์

รอขึ้นเครื่องด้วยความตื่นเต้น

เก็บภาพที่ระลึก

รอ รอ รอขึ้นเครื่อง

ตื่นเต้น ตื่อเต้น

ถ่ายภาพก่อนขึ้นเครื่อง

กำลังจะขึ้นเครือง

กำลังจะขึ้นเครื่อง

                                              ครั้งแรกในชีวิต

                                          ครั้งแรกในชีวิต

                                         ครั้งแรกในชีวิต

                                          สู้ สู้  ไม่กลัวคะ
                                                         
                                            ตื่นเต้นมากๆ

                                          ครั้งแรกในชีวิตคะ

                                          ประสบการณ์ชีวิต

                                          นักเรียนน้อย

                        ถึงสนามบินนานาชาติโกตากีนาบาลู

                                          ไชโย ถึงแล้ว

                        ถึงสนามบินนานาชาติโกตากีนาบาลู

                        ถึงสนามบินนานาชาติโกตากีนาบาลู

สำหรับคุณอับดุลนัดดีน ชาอิดีน นั้นเป็นเลขาธิการของสมาคมนักเขียนอีกสมาคมหนึ่ง ที่ชื่อว่า Ikatan Penulis Sabah ทั้งสามคนรอรับที่สนามบินแล้ว หลังจากพาคณะนักศึกษามลายูศึกษาเข้าตัวเมืองโกตากีนาบาลูแล้ว ถึงที่พักทางคุณยัสนี มัตลันก็เลี้ยงอาหารเที่ยง(ช่วงบ่ายๆ)แก่คณะนักศึกษามลายูศึกษา ส่วนผมก็ไปจัดการเรื่องตั๋วรถบัสที่จะเดินทางไปยังประเทศบรูไนในวันรุ่งขึ้น

หลังจากกลับมาสมทบกับคณะนักศึกษามลายูศึกษาก็ได้รับแจ้งว่า ในเวลา 19.30 น. ทางสมาคมนักเขียนของรัฐซาบะห์ หรือ Badan Bahasa จะเลี้ยงอาหารค่ำให้คณะนักศึกษามลายูศึกษาที่ร้านอาหารแห่ง พอถึงเวลาที่กำหนด ทางสมาชิกของสมาคมนักเขียนของรัฐซาบะห์ ก็นำคณะนักศึกษามลายูศึกษาไปยังร้านอาหาร หลังจากงานเลี้ยงเสร็จก็ได้พาคณะนักศึกษามลายูศึกษากลับยังที่พัก ด้วยที่พักนั้นอยู่บริเวณที่เรียกว่า Kampong Air หรือ หมู่บ้านน้ำ ซึ่งได้รับการแจ้งว่ามีการถมดินจนมีสภาพเหมือนพื้นดินทั่วๆไป และบริเวณใกล้เคียงที่พัก จะมีตลาดกลางคืน เมื่อคณะนักศึกษามลายูศึกษาถึงที่พัก แทนที่จะเข้าที่พัก กลับเดินช๊อปปิ้ง ดูสินค้าต่างๆในตลาดกลางคืนดังกล่าว

หลังจากซื้อตั๋วแล้ว คุณรัมลี  ยูโซ๊ะ ถือโอกาสพานักศึกษาไปชมเมือง

ไปเยียมมหาวิทยาลัยมาเลเซียซาบะห์

ดูมัสยิดกลางน้ำ

สมาคมนักเขียนรัฐซาบะห์ เลี้ยงอาหาร

แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับนักศึกษา

สามนักเขียนรัฐซาบะห์ร่วมงาน

นักศึกษากล่าวขอบคุณ

ถายภาพหมู่เป็นที่ระลึก

ถ่ายภาพกับรถมหาวิทยาลัยมาเลเซียซาบะห์

ชมตลาดกลางคืนบริเวณหน้าโรงแรมที่พัก

วันที่ 18 พฤษภาคม 2555 ช่วงเช้าคณะนักศึกษามลายูศึกษาเดินทางไปยังสถานีรถบัสที่จะเดินทางไปยังประเทศบรูไน โดยรถบัสออกจากเมืองโกตากีนาบาลู เวลา 08.00 น. ปรากฎว่าเป็นการเดินทางที่สร้างประสบการณ์จริงแก่คณะนักศึกษามลายูศึกษา ความจริงเราเรียนเกี่ยวกับรัฐซาบะห์ตั้งแต่ที่สนามบินโกตากีนาบาลูแล้ว นักศึกษาบางคนบอกว่าตอนที่ฟังผมบรรยายในชั้นเรียนที่ตึก 19 มอ. ปัตตานีในรายวิชาเกี่ยวกับประเทศบรูไนนั้น ยังมองภาพไม่ออก บอกว่าคนมาเลเซียจากรัฐในแหลมมลายูเวลาจะไปรัฐซาบะห์ หรือรัฐซาราวัค สามารถอยู่ได้แค่ 3 เดือน ถ้าจะอยู่นานต้องทำ Permit Work นักศึกษาฟังแล้วไม่เห็นภาพ พอมารัฐซาบะห์ครั้งนี้ ชาวมาเลเซียที่ขึ้นเครื่องบินมาด้วยกัน บอกว่าพวกเขาอยู่ได้แค่ 3 เดือนเท่านั้น

เอกสารตม. สำหรับเข้าอาศัยได้ 3 เดือน

เมื่อรถบัสถึงเขตแดนระหว่างรัฐซาบะห์กับรัฐซาราวัค ซึ่งทั้งสองรัฐล้วนเป็นรัฐในประเทศมาเลเซีย พอถึงตม.ที่เขตแดนระหว่างทั้งสองรัฐ คณะนักศึกษามลายูศึกษาต้องลงประทับตราในหนังสือเดินทางที่ตม.รัฐซาบะห์ แล้วประทับตราในหนังสือเดินทางอีกครั้งที่ ตม.ของรัฐซาราวัค เมื่อเข้าไปในรัฐซาราวัคแล้ว รถบัสหยุดจอดพักและทานอาหารเที่ยงเป็นเวลา 1 ชั่วโมง หลังจากนั้นเดินทางต่อไปยังเขตแดนระหว่างรัฐซาราวัคกับอำเภอเติมบูรงของประเทศบรูไน ต้องทำความเข้าใจว่าประเทศบรูไนมีดินแดน 2 ส่วนที่ไม่ได้ติดกัน คนจากดินแดนหนึ่งจะไปยังอีกดินแดนหนึ่งต้องใช้หนังสือเดินทาง ถ้าจะไม่ใช้หนังสือเดินทางก็ได้ แต่ต้องเดินทางทางเรือ และห้ามขึ้นฝั่งเด็ดขาด เพราะถ้าขึ้นฝั่งก่อนถึงอีกดินแดนหนึ่ง ถือว่าเข้าประเทศมาเลเซียโดยผิดกฎหมาย เมื่อถึงเขตแดนระหว่างรัฐซาราวัคกับอำเภอเติมบูรง ก็ลงประทับตราในหนังสือเดินทางที่ ตม. ของทั้งสองประเทศ


เมื่อเดินทางต่อไปก็จะพบเขตชายแดนระหว่างอำเภอเติมบูรง ประเทศบรูไนกับอำเภอลิมบัง รัฐซาราวัค ก็ลงประทับตราในหนังสือเดินทางที่ ตม. ของทั้งสองประเทศอีกครั้ง เราก็กลับมาอยู่ในรัฐซาราวัคอีกครั้ง หลังจากนั้นเดินทางต่อไป ก็จะพบเขตชายแดนอีกครั้งระหว่างอำเภอลิมบัง รัฐซาราวัคกับอำเภอบรูไน & มัวรา ของประเทศบรูไน ก็ลงประทับตราในหนังสือเดินทางที่ ตม. ของทั้งสองประเทศอีกครั้ง และครั้งนี้ถือเป็นการเข้าประเทศบรูไนในส่วนที่ตั้งของเมืองหลวง เดินทางถึงตัวเมืองบันดาร์ศรีเบอกาวันในช่วงตอนเย็น รถบัสจอดที่หน้าสำนักงานสมาคมครูของประเทศบรูไน

                           บริเวณด่านตม.แห่งหนึ่ง
                                                   
                           บริเวณอำเภอลาวัส  รัฐซาราวัค มาเลเซีย

                           อำเภอลาวัส  รัฐซาราวัค  มาเลเซีย

                           หลังจากที่ได้ประทับตราหนังสือเดินทาง

                                          ตม. ลาบู  อำ้ภอเติมบูรง

                           กำลังเข้าแถวประทับตราหนังสือเดินทาง

                           กำลังจะประทับตราหนังสือเดินทาง

ในอาคารตม.แห่งหนึ่ง

                           สภาพภายในอาคารตม.แห่งหนึ่ง

                           เข้าแถวรอประทับหนังสือเดินทาง

                           ตม. อำเภอลิมบัง  รัฐซาราวัค  มาเลเซีย

                                          ตม. ประเทศบรูไน

กำลังจะไปประทับตราหนังสือเดินทาง

                          ภาพที่ระลึก ขณะเข้าแถว

                          เข้าแถวประทับตราหนังสือเดินทาง

                          เข้าแถวประทับตราหนังสือเดินทาง

                          ป้าย ตม. กัวลาลูเราะห์ ประเทศบรูไน





















ทางเลขาธิการสมาคมนักเขียนแห่งประเทศบรูไน หรือ ASTERWANI จะมารับเราไปยังที่พัก แต่ผมบอกให้นักศึกษาเดิน จะไปรู้จักความลำบากบ้าง หลังจากที่สบายมาหลายแห่งแล้ว คณะนักศึกษามลายูศึกษาพักที่ศูนย์เยาวชน หรือ Pusat Belia ซึ่งทาง ASTERWANI ได้ประสานเรื่องที่พักให้ กลางคืนคณะนักศึกษาไปทานอาหารที่ Taman Selera ไม่ไกลจากที่พักมากนัก เวลาดูป้ายเรื่องราคาอาหาร ก็ต้องคูณกับ 25 บาท เสมอ สุดท่ายก็มาจบตรงข้าวที่ชาวบรูไนเรียกว่า ข้าวกาโต๊ะ หรือ Nasi Katok ซึ่งขายในราคา 1 ริงกิต หรือ 25 บาท แม้เงินบรูไนจะมีชื่อทางการว่า ดอลลาร์บรูไน แต่ชาวบรูไนจะเรียกเงินตนเองว่า ริงกิต เหมือนมาเลเซีย

Tiada ulasan: