Selasa, 18 Disember 2012

ประเทศมาเลเซียกับองค์กร World Islamic Economic Forum (WIEF)

โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน

                สำหรับเราที่อยู่ในประเทศไทย มักรู้จักการประชุมของบรรดาผู้นำรัฐบาล ผู้นำทางธุรกิจ ที่เรียกว่า World Economic Forum หรือ WEF ซึ่งเป็นองค์กรระดับโลกที่มีสถานะเป็นมูลนิธิของประเทศสวิสเซอร์แลนด์ มีสำนักงานอยู่ในกรุงเจนิวา  ประเทศสวิสเซอร์แลนด์  แต่สำหรับชาวมุสลิมโดยเฉพาะที่อาศัยอยู่ในประเทศมาเลเซีย อินโดเนเซีย บรูไน นอกจากจะรู้จักองค์กร World Economic Forum หรือ WEF ยังรู้จักองค์กรที่ดำเนินกิจกรรมเฉกเช่นเดียวกันกับองค์กรข้างต้น อีกองค์กรหนึ่ง นั้นคือ World Islamic Economic Forum หรือ WIFE
                 ระหว่างวันที่ 4-6 ธันวาคม 2012 ที่ผ่านมา ทางประเทศมาเลเซีย ก็ได้จัดประชุม World Islamic Economic Forum ถือเป็นการประชุมที่ค่อนข้างจะใหญ่มาก และทำลายสถิติการประชุมขององค์กรที่ผ่านๆมา โดยมีผู้เข้าร่วมทั้งจากผู้นำรัฐ ผู้บริหารธุรกิจ นักเศรษศาสตร์ นักวิชาการ  ประมาณ 2,100  คน และมีผู้นำเสนอบทความวิชาการถึง 120 คน มีผู้เข้าร่วมมาจาก 86 ประเทศ โดยมีดาโต๊ะสรี มูฮัมหมัดนายิบ ตุนอับดุลราซัค เป็นประธานเปิดพิธีการประชุม
ดาโต๊ะสรีมูฮัมหมัดนายิบ ตุนอับดุลราซัค กล่าวเปิดงานประชุม
  ราซัคบรรดาผู้นำในการประชุมของ WIEF
ดาโต๊ะอับดุลกานี ออสมาน มุขมนตรีรัฐโยโฮร์ มาเลเซีย
ความเป็นมาของ World Islamic Economic Forum
World Islamic Economic Forum หรือชื่อย่อว่า WIEF จัดตั้งขึ้นเมื่อ 6 มีนาคม 2006 มีสำนักงานเลขาธิการตั้งอยู่ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย  แรกเริ่มเป็น OIC Business Forum หรือ การประชุมทางธุรกิจของกลุ่มประเทศสมาชิก OIC โดยเริ่มเมื่อ 15 ตุลาคม 2003 เป็นเวลาเดียวกันกับการประชุมใหญ่ครั้งที่ 10 ของกลุ่มประเทศสมาชิก OIC ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองปุตราจายา ประเทศมาเลเซีย การประชุมที่จะมีบรรดาผู้นำรัฐบาล ผู้นำทางอุตสาหกรรม นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญในระดับภูมิภาค ผู้ประกอบการ และผู้บริหารองค์กรทางธุรกิจ มาร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เปิดโอกาสทางธุรกิจระหว่างกันในโลกมุสลิม

             ในปี 2004 มีการประชุมครั้งที่ 2 ของ OIC Business Forum โดยจัดขึ้นที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย และในการประชุมครั้งนี้ ได้มีการเสนอความคิดในการจัดประชุมองค์กรทางธุรกิจขึ้นมาเป็นการเฉพาะ  ทำให้ในปี 2005 เกิดการประชุมครั้งแรกภายใต้นามว่า 1st World Islamic Economic Forum ซึ่งก็ได้จัดขึ้นที่กรุงกัวลาลัมเปอร์เช่นเดิม การประชุมครั้งนี้ไม่เพียงครอบคลุมกลุ่มประเทศสมาชิก OIC เท่านั้น แต่ยังรวมถึงกลุ่มสังคมที่ไม่ใช่มุสลิมทั่วโลกเข้าไปด้วย
โครงสร้างองค์กร
มีดาโต๊ะสรีมูฮัมหมัดนายิบ ตุนอับดุลราซัค นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย  ตุนอับดุลลอฮ อาหมัด บาดาวี อดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เป็นสมาชิกอุปถัมภ์ และ นายสุสิโล บัมบัง ยูโธโยโน ประธานาธิบิดีอินโดเนเซีย กับ ดร. อาหมัด มูฮัมหมัด อาลี อัล-มาดานี ประธานธนาคารอิสลามเพื่อการพัฒนา (Islamic Development Bank) เป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์  องค์กรนี้จัดในรูปแบบของมูลนิธิ โดยมี ตุนมูซา  ฮีตัม อดีตรองนายกรัฐมนตรียุค ดร. มหาเธร์ มูฮัมหมัด เป็นนายกรัฐมนตรี เป็นประธานมูลนิธิ และกรรมการผู้รับผิดชอบอีก 2 ท่าน คือ ตันสรี วันมูฮัมหมัดซาฮีด มูฮัมหมัดนอร์ดิน และ ดาโต๊ะ ดร. นอร์ราเอซะห์ มูฮัมหมัด และมีที่ปรึกษามาจากนักวิชาการ นักบริหารชาวมุสลิมจากทั่วโลก   ครั้งแรกในการจัดตั้งมูลนิธินั้นได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณจากมูลนิธิอัลบูคอรี (Al Bukhary Foundation) ของมาเลเซีย บริษัท Felda Holdings จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทรัฐวิสาหกิจของมาเลเซีย และงบประมาณจากรัฐบาลบรูไน
คณะกรรมการที่ปรึกษาในระดับนานาชาติ ประกอบด้วย
1. Tun Musa Hitam, Chairman of WIEF Foundation
2. Dato’ Sri Nazir Razak, Group Managing Director/Chief Executive Officer, CIMB Group, Malaysia
3. Sir Iqbal Sacranie, Chairman, MCB Charitable Foundation, United Kingdom
4. Tan Sri Dr Wan Mohd Zahid Mohd Noordin, Chairman, UniversitiTeknologi MARA, Malaysia
5. Mr. Ian Buchanan, Senior Executive Advisor, Booz & Company, Australia
6. Dato’ Dr Norraesah Mohamad, Chairman, Embunaz Ventures SdnBhd, Malaysia
7. Mr. Omer Cihad Vardan, Chairman, Independent Industrialist and Businessmen’s Association (MUSIAD), Turkey
8. Mr. Ebrahim Patel, Chief Executive Officer, Magellan Investment, South Africa
9. Mr. Essa Al Ghurair, Vice Chairman, Al Ghurair Investment LLC, United Arab Emirates
10. Dr. El Hassane Hzaine, Director General, Islamic Centre for Development of Trade
11. Ms. Evelyn Mungai, Executive Chairman, Speedway Investments Ltd, Kenya
12. Mr. Salahuddin Kasem Khan, Chairman, SEACO Task Force, Bangladesh
13. Mr. Allal Rachdi, Director General, Islamic Centre for Development of Trade
14. Sheikh Saleh Abdullah Kamel, President, Islamic Chamber of Commerce and Industry (ICCI), Saudi Arabia
15. Mr. Nasser Munjee, Chairman, Development Credit Bank Ltd & Aga Khan Rural Support Programme, India
16. Mr. John Sandwick, Specialist, Islamic Wealth & Asset Management, Switzerland
การประชุมของ World Islamic Economic Forum
การประชุมครั้งที่ 1 จัดขึ้นเมื่อ 1-3 ตุลาคม 2005 ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์  ส่วนการประชุมครั้งที่ 2 เมื่อ 5-7 พฤศจิกายน 2006 ที่กรุงอิสลามาบัด ประเทศปากีสถาน การประชุมครั้งที่ 3 จัดขึ้นเมื่อ 27-29 พฤษภาคม 2007 ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ การประชุมครั้งที่ 4 เมื่อ 28 เมษายน – 1 พฤษภาคม 2008  จัดขึ้นที่กรุงคูเวตซีตี้ ประเทศคูเวต การประชุมครั้งที่ 5 เมื่อ 1-4 มีนาคม 2009  จัดขึ้นที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดเนเซีย การประชุมครั้งที่ 6 เมื่อ 18-20  พฤษภาคม 2010  ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์  การประชุมครั้งที่ 8 เมื่อ 4-6 ธันวาคม 2012 จัดขึ้นที่รัฐโยโฮร์ ประเทศมาเลเซีย
การประชุมฝ่ายสตรีของ WIEF 
 บรรดาผู้นำรัฐที่เข้าร่วมประชุม
 บรรยากาศภายในห้องประชุม WIEF
การลงนามระหว่างผู้นำทางธุรกิจ
บรรดาฝ่ายสื่อมวลชนของการประชุม WIEF
             สำหรับการประชุมครั้งที่ 8 เมื่อ 4-6 ธันวาคม 2012 ที่ผ่านมานั้น ปรากฏว่า นอกจากมีผู้นำภาครัฐและภาคเอกชนจากประเทศต่างๆแล้ว ยังมีนายมูราด อิบราฮิม ประธานขบวนการปลดปล่อยอิสลามแห่งโมโร หรือ Moro Islamic Liberatuion Front ซึ่งได้เซ็นสัญญายุติสงครามกับรัฐบาลฟิลิปปินส์เข้าร่วมในการประชุมด้วย ได้เรียกร้องในที่ประชุมของ WIFE ให้นักธุรกิจเข้าไปลงทุน พัฒนาจังหวัดภาคใต้ของประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งปรากฏว่าได้รับการขานรับจากภาครัฐและภาคเอกชน
แผนที่ภาคใต้ของประเทศฟิลิปปินส์
แผนที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
             เพื่อนชาวมาเลเซียถามผู้เขียนว่า แล้วผู้นำภาครัฐและภาคเอกชน รวมทั้งภาคสังคมมลายูมุสลิมของจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้เข้าร่วมประชุมกับเขาด้วยไหม และมีบทบาทอย่างไร ครับ ! ใครทราบช่วยตอบแทนผู้เขียนด้วย 

Rabu, 12 Disember 2012

สุลต่านแห่งรัฐสลังงอร์ ประเทศมาเลเซีย

โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน
รัฐสลังงอร์ มาเลเซีย
24 ธันวาคม วันครบรอบวันประสูติของสุลต่านแห่งรัฐสลังงอร์ มาเลเซีย
สุลต่านชาราฟุดดิน อิดริส ชาห์ อัลฮัจญ์ นับเป็นสุลต่านที่น่าสนใจยิ่ง เนื่องในโอกาสวันครบรอบวันเกิดของพระองค์ จึงขอเสนอประวัติของสุลต่านแห่งรัฐสลังงอร์องค์นี้  ความจริงผู้เขียนได้ติดตามการเดินทางรอบโลกของพระองค์ในครั้งที่ยังเป็นราชทายาท ที่ได้มีการตีพิมพ์ลงหนังสือพิมพ์ อุตุซันมาเลเซีย (Utusan Malaysia) ฉบับวันอาทิตย์ที่ใช้ชื่อว่า มิงฆูวันมาเลเซีย (Mingguan Malaysia) ที่เผยแพร่สู่สาธารณะเมื่อหลายปีก่อน

สุลต่านชาราฟุดดิน อิดริส ชาห์ อัลฮัจญ์ เป็นสุลต่านองค์ที่ 9 ของรัฐสลังงอร์ โดยครองราชย์ตั้งแต่21 พฤศจิกายน 2001 นับตั้งแต่พระบิดาของพระองค์ที่ชื่อว่าสุลต่านซาลาฮุดดิน อับดุลอาซีซ ชาห์ อัลฮัจญ์ สิ้นชีพ พระองค์เกิดเมื่อ 24 ธันวาคม 1945 ที่พระราชวังจามาอะห์ เมืองกลัง รัฐสลังงอร์ บิดาคือ สุลต่านซาลาฮุดดิน อับดุลอาซีซ ชาห์ อัลฮัจญ์  และมารดาคือ ราชานูรซาอีดาตุล เอะห์ซาน เต็งกูบาดาร์ ชาห์  ปัจจุบันพระราชวังจามาอะห์ถูกเปลี่ยนสภาพมาเป็นสถาบันการศึกษาชื่อว่า วิทยาลัยอิสลามสุลต่านอาลัมชาห์
ชีวิตครอบครัว
ในปี 1968 ได้สมรสกับราชาซารีนา ราชาตันศรีไซนาล มีบุตรี 2 องค์ คือ เต็งกูเซราฟีนา และเต็งกูซาตาชาห์  ในปี 1986 พระองค์หย่ากับภรรยา และในปี 1988 ได้แต่งงานใหม่อีกครั้งกับชาวสหรัฐอเมริกา คือ นางนูร์ลีซา อิดริส บินตีอับดุลลอฮ มีบุตร 1 องค์ คือ เต็งกูอามีร์ ชาห์ แต่ในปี 1997 ได้หย่ากับสตรีชาวสหรัฐอเมริกาคนนั้น

การศึกษา
ได้รับการศึกษาขั้นต้นจากโรงเรียนมลายู ถนนราชามูดา กรุงกัวลาลัมเปอร์ ในปี 1950 และโรงเรียนเซนต์จอห์นอินสตีติวชั่น กรุงกัวลาลัมเปอร์ ต่อมาได้ศึกษาต่อที่โรงเรียนเฮล เมืองเพิร์ธ ออสเตรเลีย หลังจากนั้นเข้าศึกษาต่อที่วิทยาลัยแลงเฮิร์สต์ ประเทศอังกฤษ
 การทำงาน
เมื่อจบการศึกษาแล้วได้เข้าทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ของสำนักงานเลขาธิการรัฐบาลท้องถิ่นแห่งรัฐสลังงอร์  เจ้าหน้าที่สำนักงานตำรวจแห่งกรุงกัวลาลัมเปอร์  ต่อมาได้รับแต่งตั้งให้เป็นราชทายาทในปี 1960  และในปี 1999 ได้รับแต่งตั้งในเป็นรักษาการสุลต่านแห่งรัฐสลังงอร์ เมื่อพระบิดาได้รับแต่งตั้งเป็นพระราชาธิบดีของประเทศมาเลเซีย  การเดินทางรอบโลกด้วยเรือพระองค์ได้เดินทางรอบโลกด้วยเรือใบส่วนพระองค์ที่ชื่อว่า Jugra โดยใช้เวลา 644 วัน ตั้งแต่วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 1995 โดยการเดินทางรอบโลกของพระองค์ครั้งนั้นได้ลงตีพิมพ์เป็นตอนๆในหนังสือพิมพ์ฉบับวันอาทิตย์ Mingguan Malaysia

นับเป็นสุลต่านองค์หนึ่งที่มีความสามารถ  การที่พระองค์ชอบการเดินเรือ  ด้วยชอบประวัติการเดินเรือของชาวอาหรับในอดีตที่ชื่อว่า อัลอิดรีซี


Selasa, 6 November 2012

Patani dalam Puisi Dato' Kemala (Ahmad Khamal Abdullah)

Oleh Nik Abdul Rakib  Bin Nik Hassan

Patani dalam Puisi Dato' Kemala
Dato' Kemala atau  Dato' Dr. Ahmad Kamal Abdullah adalah salah satu Sasterawan Negara (SN) Malaysia. Dalam puisinya terdapat beberapa buah puisi mengenai Patani yang telah dilawatinya beberapa tahun lalu.


Dato' Ahmad Kamal Abdullah
Masjid Raja Patani, Cabang Tiga, Patani.
Maghrib di Masjid Raja, Cabang Tiga, Pattani
sajarah bersaksi nyata
syahadah berjenjang cinta
hanya Kau yang maklum
Awal dan Akhir
Kasih dan Takdir.

Sebelum tergulung rindu
panjatkan doa ke 'arasy Ilahi
sebelum terbujur kaku
tancapkan makrifat Kasih-Mu.

Ada kasih bercahaya di mata
malam panjang memeluk tasbih
teluk, laut dan pesisir
berkabar benar si burung camar.

Pattaniku peluklah daku.

KEMALA
PATTANI 14 Sept. 1983
(Pelabuhan Putih 1989:23)


Teluk Ru Sembilan, Patani.
PAGI DI TELUK RUSAMELAE, PATTANI
berkesiur nyanyi angin pagi
membelai kasihnya di teluk
menjadi emaskah pasir
sepanjang pesisir

apa khabar samudera lepas
dengan lidah taufan
bergulung di hujung tatapan
lagu nelayan zaman

kudakap cintamu kekasih
helai-helai catatan hitam
kupungut di istana tua
senyum pahit tersusun
di lipatan langkah silam

sebelum jatuh puisi
di haribaanmu
kugabungkan rindu
yang satu.

KEMALA
Pattani September 1983
(PELABUHAN PUTIH 1989:17)
Sungai Patani, Patani.
Sungai Patani, Patani.
SENJA SUNGAI PATTANI
biarkan daku meratap
dengan lagu lampau
ada oleng jung dan perahu
dan lampu-lampu

kalau ada kasih sehiris
melekat di tali layar
gagak atau camar mengguris
dadaku calar

sampai penyairku
dengan duka pertama
kauciumi lagu sejarah
di pangkal lidah.

Pattani 1983
(Pelabuhan Putih 1989:16)

Khamis, 1 November 2012

แผนกวิชามลายูศึกษา ม. สงขลานครินทร์ ปัตตานีกับข้าพเจ้า

โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน


ความเป็นมาของแผนกวิชามลายูศึกษา
เดิมมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีมีแผนกวิชาภาษามลายู ซึ่งเน้นการสอนเกี่ยวกับวิชาต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับภาษามลายู เช่น สนทนาภาษามลายู  การอ่านภาษามลายู  การเขียนภาษามลายู โครงสร้างภาษามลายู การแปลภาษามลายู  วรรณคดีมลายู  ร้อยกรองมลายู  วาทศิลป์  วัจนลีลา
ต่อมาในปี 2539 มีการจัดตั้งแผนกวิชามลายูศึกษาขึ้นมา โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วรวิทย์  บารู ซึ่งปัจจุบันเป็นสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดปัตตานี

สำหรับการเรียนการสอนของแผนกวิชามลายูศึกษานั้น จะเป็นการบูรณาการระหว่างวิชาต่างๆ เน้นศึกษาเกี่ยวกับมลายู  โดยเฉพาะโลกมลายู หรือภูมิภาคมลายู หรือ ที่รู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า นูซันตารา (Nusantara)  ซึ่งประกอบด้วยจังหวัดชายแดนภาคใต้ มาเลเซีย อินโดเนเซีย บรูไน สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ ดังนั้นเกือบทุกวิชาของแผนกวิชามลายูศึกษาจะลงท้ายด้วยคำว่า นูซันตารา (Nusantara)  เช่น วิชาเศรษฐกิจการเมืองในภูมิภาคมลายู (431-335 Political Economy in Nusantara) หรือวิชาการเมืองการปกครองในภูมิภาคมลายู (431-336 Politics and Government in Nusantara)  สำหรับหลักสูตรแรกที่ใช้ ซึ่งจัดทำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วรวิทย์  บารู  เป็นหลักสูตรสาขาวิชามลายูศึกษา ปี 2539  โดยนักศึกษาสาขามลายูศึกษาต้องเรียนวิชาภาษามลายู 4 วิชากับแผนกวิชาภาษามลายู

ในปี 2549 ทางผู้บริหารคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ในขณะนั้น เห็นให้มีการวมระหว่างทั้งสองแผนกวิชา  แม้ว่าคณาจารย์ทั้งสองแผนกวิชาจะไม่เห็นด้วยก็ตาม  ด้วยการเรียนการสอนของทั้งสองแผนกมีความแตกต่างกัน การรวมสองแผนกวิชามาเป็นแผนกวิชาเดียวครั้งนั้น ทำให้กลายเป็นแผนกวิชาใหม่ เรียกว่า แผนกวิชาภาษามลายูและมลายูศึกษา   แต่ภายในแผนกวิชามีการแยกออกเป็นแนว เรียกว่า แนวภาษามลายู  แนวมลายูศึกษา   โดยนักศึกษาภาษามลายู ต้องเรียนวิชาของแผนกวิชามลายูศึกษา 2 วิชา คือ วิชาอารยธรรมมลายู และวิชาสังคมมลายู  ส่วนนักศึกษามลายูศึกษาต้องเรียนวิชาภาษามลายู 6 วิชากับแผนกวิชาภาษามลายู และต้องเรียนวิชาภาษามลายู 2 วิชากับแผนกวิชามลายูศึกษา  รวมเป็น 8 วิชา  สำหรับหลักสูตรนี้ ข้าพเจ้ากับอาจารย์ซาวาวี  ปะดาอามีน ได้ร่วมกันปรับปรุงจากหลักสูตรเดิมที่เป็นหลักสูตรสาขาวิชามลายูศึกษา ปี 2539

ในปี 2554 มีการแยกแผนกวิชาภาษามลายูและมลายูศึกษา ออกมาเป็น 2 สาขาวิชาเหมือนเดิม สำหรับหลักสูตรใหม่ของสาขาวิชามลายูศึกษาในครั้งนี้ ถือเป็นการก้าวไปข้างหน้าอีกก้าวหนึ่ง  โดยข้าพเจ้ากับอาจารย์ซาวาวี  ปะดาอามีน ได้นำจุดเด่น ข้อดีของหลักสูตรสาขาวิชามลายูศึกษาของมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ และมหาวิทยาลัยมาลายา  มาประยุกต์ใช้กับหลักสูตรใหม่  แม้เราจะฝืนใจเปลี่ยนคำต่อท้ายรายวิชาจากคำว่า นูซันตารา มาเป็นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  (ยกเว้นวิชาภูมิศาสตร์ภูมิภาคมลายู หรือ Geography of Nusantara ที่สอนโดยศาสตราจารย์ ดร. ครองชัย  หัตถา)  เพราะได้รับการบ่นจากนักศึกษาที่จบการศึกษาแล้วว่า เมื่อสมัครงาน ต้องอธิบายว่า ภูมิภาคมลายู หรือ Nusantara คืออะไร

ดังนั้นเมื่อใช้คำว่า เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็น่าจะไม่ต้องอธิบายอีกต่อไป เพราะมีความชัดเจนอยู่ในตัวแล้ว  เพียงในคำอธิบายรายวิชา ก็ยังคงให้ความสำคัญกับคำว่า ภูมิภาคมลายู หรือ Nusantara  เกือบทั้งหมดจะเขียนคำอธิบายรายวิชา เช่น วิชาเศรษฐกิจการเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  (431-335 Political Economy in Southeast Asia) จะเขียนว่า ศึกษาเศรษฐกิจการเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  โดยเน้นภูมิภาคมลายู หรือ นูซันตารา (Nusantara) หรือวิชาการเมืองการปกครองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  (431-336 Politics and Government in Southeast Asia)  จะเขียนว่า ศึกษาการเมืองการปกครองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  โดยเน้นภูมิภาคมลายู หรือ นูซันตารา (Nusantara)  สำหรับหลักสูตรใหม่นี้นอกจากนักศึกษามลายูศึกษาต้องเรียนวิชาบังคับภาษามลายู 6 วิชากับแผนกวิชาภาษามลายู และต้องเรียนวิชาบังคับภาษามลายู 2 วิชากับแผนกวิชามลายูศึกษา  รวมเป็น 8 วิชา  แล้วนักศึกษามลายูศึกษาสามารถเลือกเรียนวิชาภาษาอินโดเนเซีย 2 วิชา และวิชาภาษาตากาล๊อก หรือ ภาษาฟีลีปีโน 2 วิชา  ซึ่งสิ่งนี้เราเห็นว่าจำเป็นต้องเพิ่มภาษาอินโดเนเซียและภาษาภาษาตากาล๊อก หรือ ภาษาฟีลีปีโนนั้น ในอนาคตนักศึกษามลายูศึกษาอาจไปเรียนในประเทศเจ้าของภาษาข้างต้น และโอนหน่วยกิตกลับมายังมหาวิทยาลัย จะทำให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจต่อประเทศที่ได้เรียนมามากขึ้น เพราะมีการสัมผัสจริง

ส่วนประเทศมาเลเซียนั้น ถือเป็นเรื่องปกติของนักศึกษามลายูศึกษา  ด้วยนักศึกษามลายูศึกษาจะมีโครงการ่วมกับทางมาเลเซียตลอด   และหลักสูตรใหม่นี้ ในกรณีนักศึกษามีเกรด 2.7 ขึ้นไป ก็สามารถเรียนแค่ 3 ปีครึ่ง ส่วนเทอมสุดท้ายนั้น จะเป็นการฝึกงานในสถานที่จริง ซึ่งทางแผนกวิชาได้มีการติดต่อกับบางหน่วยงานในประเทศมาเลเซีย เพื่อรองรับการฝึกงานของนักศึกษามลายูศึกษาแล้ว  สำหรับหลักสูตรใหม่นี้ เรียกว่า หลักสูตรสาขาวิชามลายูศึกษา ปี 2555

การเข้ามาเป็นอาจารย์ในแผนกวิชามลายูศึกษาของข้าพเจ้า
ข้าพเจ้าไม่เคยคิดว่าตัวเองจะมาเป็นอาจารย์ของม. สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี  ก่อนหน้านั้นข้าพเจ้าเคยมาร่วมเสวนาที่เกี่ยวข้องกับม. สงขลานครินทร์ ซึ่งจัดโดยศาสตราจารย์นายแพทย์วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์  แห่ง ม. สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ซึ่งเมื่อพบท่านอีกครั้ง ที่ ม. สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี  ท่านยิ้มและถามว่า มาอยู่ มอ. ปัตตานี แล้วหรือ ?

การเข้ามาเป็นอาจารย์ในแผนกวิชามลายูศึกษาโดยบังเอิญ
เมื่อครั้งญาติของข้าพเจ้าต้องการจะศึกษาต่อในระดับปริญญาโท ที่ประเทศมาเลเซีย ข้าพเจ้าแนะนำว่าอย่าสมัครแห่งเดียว ให้สมัครหลายๆแห่ง  เมื่อได้รับคัดเลือกให้เข้าเรียนจากหลายๆแห่งแล้ว  เราก็สามารถที่จะตัดสินว่าสถาบันไหนเหมาะกับเรา ถ้าสมัครแห่งเดียว ถ้าเขาไม่รับ เราก็หมดสิทธิ์  แต่การสมัครปริญญาโทนั้น จำเป็นต้องมีหนังสือรับรอง หรือที่เรียกว่า Letters of Recommendation หลังจากที่ขอหนังสือรับรองจากเพื่อนซึ่งเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยมาลายา กรุงกัวลาลัมเปอร์แล้ว ก็ได้ส่งในสมัครไปยังมหาวิทยาลัยมาลายา  มหาวิทยาลัยแห่งชาติมาเลเซีย  มหาวิทยาลัยไซนส์มาเลเซีย มหาวิทยาลัยอิสลามนานาชาติ มาเลเซีย

ปรากฏว่า เมื่อจะส่งใบสมัครในมหาวิทยาลัยมาเลเซียซาบะห์ (Universiti Malaysia Sabah) ยังขาดหนังสือรับรองอีกใบหนึ่ง ขณะนั้นข้าพเจ้ากับญาติได้กลับมานราธิวาสแล้ว จึงตัดสินเดินทางมายังม. สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี  เพื่อขอหนังสือรับรองจากผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วรวิทย์  บารู  ในขณะที่ท่านกำลังจะเซ็นชื่อลงในหนังสือรับรองนั้น ท่านได้หยิบหนังสือของท่านมารองหนังสือรับรอง  และใต้หนังสือที่ท่านหยิบนั้น เป็นใบลาออกของอาจารย์คนหนึ่ง จึงเห็นว่ามีตำแหน่งว่าง ข้าพเจ้าจึงเอยปากกับท่านมา อยากสมัครเป็นอาจารย์ที่นี้  จึงได้ดำเนินตามกระบวนการสมัครเป็นอาจารย์ของ ม. สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

การสมัครเป็นอาจารย์ของข้าพเจ้า ผิดวัตถุประสงค์ของการกลับประเทศไทยของข้าพเจ้า  เพราะก่อนหน้าที่ข้าพเจ้าจะกลับประเทศไทยนั้น  คุณมูฮัมหมัดซับรี เอ. มาเล็ก (Mohd. Zamberi A. Malek) นักเขียนประวัติศาสตร์ปาตานีนามอุโฆษ โดยมีข้าพเจ้าไปเป็นเพื่อน  ด้วยเขาจะสมัครเป็นนักวิชาการของสถาบันมลายูศึกษา มหาวิทยาลัยมาลายา  ผู้รับสมัครเป็นคณบดีของสถาบันมลายูศึกษา และเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาของข้าพเจ้า เมื่อเขาสมัครแล้ว ข้าพเจ้าจึงถามท่านคณบดีว่า ยังมีตำแหน่งว่างไหม ท่านตอบว่ามี พร้อมกล่าวต่อไปว่า ข้าพเจ้าไม่มีหนังสือเขียนสักเล่ม ข้าพเจ้าจึงรับปากจะกลับประเทศไทย เพื่อเขียนหนังสือสักเล่ม พร้อมแจ้งชื่อหนังสือที่จะเขียนว่า Masyarakat Melayu di Selatan Thailand หรือ สังคมมลายูในจังหวัดชายแดนภาคใต้  และเมื่อกลับประเทศไทย

ปรากฏว่ามาเป็นอาจารย์ที่แผนกวิชามลายูศึกษาโดยบังเอิญ โครงการที่จะเขียนหนังสือจึงหยุดชะงักชั่วคราว  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วรวิทย์  บารู ก็ได้พูดว่า ต้องเป็นให้ครบปีนะ ไม่เช่นนั้นจะทำให้ท่านเสียชื่อ  หลายๆคนก็มีการพนันว่า ข้าพเจ้าน่าจะไม่รอด เพราะรู้นิสัยว่า เป็นคนค่อนข้างจะเป็นตัวของตัวเอง  ไม่ค่อยชอบอยู่ในกรอบ แต่สภาพการทำงานที่ ม. สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ค่อนข้างสนุก ท้าทาย แม้จะเต็มไปด้วยอุปสรรค ต่างๆ

นำประสบการณ์กิจกรรมนักศึกษามาใช้กับนักศึกษามลายูศึกษา
โดยพื้นฐานข้าพเจ้าจบปริญญาตรีด้านรัฐศาสตร์ และมีความสนใจในเรื่องเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ดังนั้นเมื่อมีสาขาวิชามลายูศึกษาในประเทศมาเลเซีย จึงไปศึกษาต่อ และสามารถนำมาใช้ในสาขาวิชามลายูศึกษา  ข้าพเจ้าค่อนข้างมีความสนใจในการทำกิจกรรมนักศึกษา ทำกิจกรรมนักศึกษาทั้งในรั้วและนอกรั้วมหาวิทยาลัยตลอด  เคยเป็นสมาชิกสภานักศึกษาของมหาวิทยาลัยรามคำแหง และรับหน้าที่เป็นฝ่ายวิชาการ และรับผิดชอบฝ่ายต่างประเทศด้วย ขณะนั้น มีนายละม้าย เสนขวัญแก้ว เป็นประธานสภานักศึกษา ปัจจุบันเป็นรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช และมีนายเทพไท เสนพงศ์ เป็นนายกองค์การนักศึกษา ปัจจุบันเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครศรีธรรมราช และเป็นโฆษกประจำตัวนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี 

ส่วนกิจกรรมนักศึกษานอกรั้วมหาวิทยาลัยนั้น โดยการนำขององค์การนักศึกษาและสภานักศึกษา มีส่วนในการผลักดันจนทำให้สามารถจัดตั้งสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย หรือ สนนท. ซึ่งต่อมาเป็นภาคีสมาชิกของสมาพันธ์นักศึกษาเอเชีย หรือ Asian Students Association มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ฮ่องกง ยุคนั้นเลขาธิการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย คือ คุณบุญแทน ตันสุเทพวีรวงศ์ ปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการ Amnesty International Thailand และข้าพเจ้าเป็นหนึ่งในตัวแทนของสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยในการเข้าร่วมประชุมสมัชชาใหญ่ ครั้งที่ 7 ของสมาพันธ์นักศึกษาดังกล่าว

นอกจากนั้นก่อนที่จะมาเป็นอาจารย์ในม. สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี  ข้าพเจ้าเองมีความสนใจด้านงานเขียน งานวรรณกรรม ขณะที่กำลังศึกษาในประเทศมาเลเซีย ก็ไปร่วมงานด้านวรรณกรรม กับสมาคมนักเขียนของประเทศมาเลเซีย ซึ่งส่วนใหญ่ของคณะกรรมการสมาคมจะเป็นอาจารย์จากมหาวิทยาลัยมาลายา นอกจากทำให้ได้รู้จักนักเขียน นักวรรณกรรมจากประเทศมาเลเซียแล้ว  ยังสามารถรู้จักนักเขียน นักวรรณกรรมจากประเทศอินโดเนเซีย บรูไน สิงคโปร์  และกลุ่มโลกมลายูอื่นๆ

ดังนั้นประสบการณ์ด้านกิจกรรมนักศึกษาและการสร้างเครือข่ายในอดีต รวมทั้งเครือข่ายนักเขียน นักวรรณกรรมในประเทศดังกล่าว จึงสามารถนำมาประยุกต์ใช้สนับสนุนแผนกวิชามลายูศึกษา  การเดินทางไปยังประเทศต่างๆ หรือรอบแหลมมลายู ส่วนหนึ่งและส่วนใหญ่จะใช้เครือข่ายนักเขียน นักวรรณกรรมดังกล่าว
 นักศึกษามลายูศึกษาที่รัฐซาบะห์ ประเทศมาเลเซีย
 นักศึกษามลายูศึกษาที่กรุงมะนิลา  ประเทศฟิลิปปินส์
 นักศึกษามลายูศึกษารุ่นแรกที่เดินทางไปยังประเทศอินโดเนเซีย
 นักศึกษามลายูศึกษาที่เกาะบาตัม ประเทศอินโดเนเซีย
 นักศึกษามลายูศึกษาที่กรุงจาการ์ตา อินโดเนเซีย
 นักศึกษามลายูศึกษาที่ประเทศสิงคโปร์
 นักศึกษามลายูศึกษาที่ประเทศสิงคโปร์
 นักศึกษามลายูศึกษาที่รัฐซาราวัค ประเทศมาเลเซีย
 นักศึกษามลายูศึกษาที่รัฐซาบะห์ ประเทศมาเลเซีย
            นักศึกษามลายูศึกษาที่รัฐนัครีซัมบีลัน ประเทศมาเลเซีย
 นักศึกษามลายูศึกษาที่ประเทศบรูไน
 นักศึกษามลายูศึกษาในประเทศบรูไน
                        นักศึกษามลายูศึกษาในประเทศบรูไน
ต้องนำแผนกวิชามลายูศึกษาและมอบภารกิจต่อให้คนอื่นรับช่วง
เมื่อผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วรวิทย์  บารู ลาออกจากการเป็นอาจารย์ของม. สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี  เพื่อสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดปัตตานี  มีผลทำให้หัวหน้าแผนกวิชามลายูศึกษาว่างลง ด้วยท่านทำหน้าที่เป็นหัวหน้าแผนกวิชามลายูศึกษานับตั้งแต่ที่มีการจัดตั้งขึ้นมา  ข้าพเจ้าจึงได้รับการแต่งตั้งจากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม. สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ให้ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าแผนกวิชามลายูศึกษาคนต่อไป

นอกจากดำเนินงานต่างๆในนามของแผนกวิชามลายูศึกษาแล้ว ข้าพเจ้าก็ได้จัดเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร การเคลื่อนไหวกิจกรรมต่างๆของโลกมลายู นามของ ศูนย์นูซันตาราศึกษาหรือ “Nusantara Studies Center” ลงในบล็อกที่ใช้ที่อยู่ที่นี้ (http://nikrakib.blogspot.com)  และจัดตั้งกลุ่มในเฟสบุ๊ค โดยใช้ชื่อกลุ่มว่า Malay Studies PSU แม้แรกเริ่มมีวัตถุประสงค์เพื่อนักศึกษา ม. สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี โดยเฉพาะนักศึกษามลายูศึกษา แต่กลุ่มก็ได้มีการขยายตัว มีสมาชิกจากภายนอกรั้วมหาวิทยาลัย จากชุมชนในประเทศต่างๆ  นอกจากนั้นมีการเปิดช่อง Nusantara Channel ในยูทิวป์ (Youtube) เพื่อเผยแพร่กิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับมลายูศึกษา

ดังนั้นเพื่อทำให้การทำงานในการเสนอ ข่าวสาร การเคลื่อนไหวกิจกรรมต่างๆของจังหวัดชายแดนภาคใต้ และโลกมลายู  มีการพัฒนาดียิ่งขึ้น จึงเห็นสมควรที่จะมีการแยกกันทำงานระหว่างแผนกวิชามลายูศึกษา กับการทำงานในนามของ ศูนย์นูซันตาราศึกษาโดยทั้งสองส่วนจะสนับสนุนการทำงานระหว่างกัน  ข้าพเจ้าจึงได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าแผนกวิชามลายูศึกษา เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2555 โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2555  โดยจะขอทำงานในส่วนของ ศูนย์นูซันตาราศึกษาอย่างเดียว  สำหรับหัวหน้าแผนกวิชามลายูศึกษาคนใหม่คืออาจารย์ซาวาวี  ปะดาอามีน ซึ่งจะทำหน้าที่นำแผนกวิชามลายูศึกษาให้มีความก้าวหน้าต่อไป

Rabu, 31 Oktober 2012

Situasi Hari Raya Aidil Adha 1433 di Patani, Selatan Thailand.

Oleh Nik Abdul Rakib Bin Nik Hassan

Di Patani, yang dimaksudkan 3 wilayah Melayu di Selatan Thailand iaitu Wilayah Pattani, Wilayah Yala(Jala) dan Wilayah Narathiwas (Kuala Menara). Pada saat sebelum Raya AidilAdha keadaan sangat genting. Kerana hari raya tersebut ditetapkan pada 26 Oktober 2012. Tetapi sebelum tarikh itu 24 Oktober adalah hari genap 8 tahun “trajedi Tak Bai” yang terkenal. Trajedi yang mengaut jiwa penduduk rakyat Melayu Patani seramai 85 orang.

Jadi, semasa penulis dan kawan sepejabat bertolak dari kampus universiti untuk ke Daerah Teluban di dalam Wilayah Pattani. Di kedua dua belah jalan penuh dengan kawalan pihak tentera dan polis Thailand. Kerana pihak kerajaan Thailand bimbang akan berlaku tembakan dan pengeboman di hari genap 8 tahun itu. Penulis dan kawan pergi ke rumah seorang guru agama di daerah tersebut untuk mengambil wang dari seorang guru agama Melayu Patani yang menetap di Kuala Lumpur. 
Sdr. Zawawee bersama Sdr. Abdullah Fathy Al-Fatany
Wang itu untuk membeli 2 ekor lembu qurban yang akan diadakan di sebuah kampung nelayan Melayu bersebelahan universiti. Tahun ini adalah tahun kedua yang pihak saya dan kawan dapat menyumbang lembu hasil dari wang orang Malaysia kepada kampung tersebut. Seletah kami berdua mendapat wang amanah qurban dari Malaysia. Kawan menghantar saya di Pekan Teluban untuk ke Pekan Narathiwas sebaliknya kawan terus pulang ke Pattani.
Peta kawasan penempatan orang Melayu dan orang Siam
Dalam perjalanan dari Pekan Teluban ke Narathiwas terdapat beberapa roadbock tentera dan polis di jalan tersebut. Setelah penulis sampai di kampung berdekat dengan kampong Bukit Tanjung dipinggir Pekan Narathiwas atau disebut orang Melayu tempatan dengan nama Pekan Menara. Kawasan kampung ini pada tahun 1909 masih terletak dalam negeri Kelantan. Tetapi pada tahun itu pihak british dengan Siam mengadakan perjanjian yang dinamakan Anglo-Siamese Treaty 1909. Perjanjian itu membataskan sempadan baru diantara Kelantan dengan Siam menyebabkan berlaku pertukaran kawasan diantara kedua dua pihak. Dan kampung-kampung orang Melayu Kelantan di kawasan yang disebut “A small corner Northeast of Kelantan” telah diserap ke dalam kawasan Wilayah Narathiwas.
Peta lama Kelantan kawasan Dearah Tak Bai (Taba) adalah jajahan Kelantan 
Pada hari rayapenulis telah pergi sembahyang raya di masjid di kampong itu. Keadaan pada hari raya ini diberitahu Imam masjid bahawa agak beza dari raya Aidil  Fitri. Kerana di raya Aidil  Fitri lebih meriah hampir semua warga kampung ini pulang. Tetapi pada hari raya Aidil Adha ini terdapat sesetengah warga tidak pulang ke kampung halaman. Menyebabkan jemaah sembahyang di masjid pada hari raya ini berkurangan jika dibanding dengan raya Aidil  Fitri. Walaupun begitu yang sering penulis pantau ialah kereta yang dibawa orang ke masjid. Setiap kali terlihat kereta plet Malaysia. Kerana terdapat sesetengah pada mereka kerja di Malaysia. Ini bukan hal yang mustahil kerana diantara mereka di kawasan ini dengan Kelantan adalah dua bersaudara. Patani dan Kelantan adalah abang dan adik. Kedua duanya berkongsi sejarah, bahasa, budaya dan sebagainya. Bukan sahaja di Daerah Tak Bai yang bersempadan dengan Daerah Tumpat, Kelantan, Malaysia yang wang Malaysia masih dipakai. Tetapi di Pekan Narathiwas juga wang Malaysia boleh dipakai di kebanyakan kedai untuk membeli barang keperluan harian.
Imam sedang membaca khutbat Sembahyang Raya Aidil Adha
Keadaan sebelum Imam membaca khutbat Raya Aidil Adha
 Setelah sembahyang raya Aidil Adha, pihak pengurusan masjid memberitahu bahawa mereka akan tunda pembinaan bangunan TADIKA selama seminggu kerana masih di dalam masa  raya Aidil Adha. Penulis sangat kagum dengan gotong royang pembinaan TADIKA ini dengan menggunakan tenaga sukarela dari orang kampung. Di Patani (Wilayah Pattani, Wilayah Yala @Jala dan Wilayah Narathiwas @Kuala Menara) peranan TADIKA adalah sangat penting sebagai badan mempertahankan jatidiri Melayu di wilayah-wilayah Melayu tersebut. di Patani agaknya berbeza dari Malaysia. Kerana di sini, TADIKA menjalankan aktiviti di hari sabtu dan ahad. Iaitu hari cuti di sekolah-sekolah rendah kerajaan. Maka pelajar sekolah-sekolah rendah itulah pelajar di TADIKA. Bukan pelajar sepenuh masa seperti  TADIKA di Malaysia.
 Bangunan Tadika yang didirikan atas usaha orang kampung.  
Setelah sembahyang raya Aidil Adha, terdapat sesetengah memberi wang saku kepada kanak-kanak seorang sebanyak 20 baht atau lebih kurang RM 2.  Dan pihak masjid juga letakkan meja untuk minuman dan makanan ringin supaya sesiapa dapat ambilnya.
Seorang wanita memberi wang 20 Baht kepada kanak-kanak
Kanak-kanak masih berpakaian Melayu dan Tub Arab
Setelah selesai sembahyang Raya Aidil Adha
Meja kuih dan biskut disediakan kepada semua orang
Seterusnya masing masing pulang ke rumah. Kerana sesetengah perlu menembelih lembu qurban. Dan daging diagih kepada orang orang kampung. Ini adalah sedikit gambaran tentang situasi hari raya Aidil Adha di sebuah kampong dipinggir Pekan Narathiwas. Walaupun beberapa kampung mungkin situasi berbeza dari kampung yang ditulis ini. Tetapi situasinya tidaklah sangat juah dari kampung dipinggir Pekan Narathiwas ini.
Dua wanita yang berkongsi bahagian dalam qurban
Sedang menjalankan tugas
Sedang menjalankan tugas
selesai berquran seekor lembu