Ahad, 9 Januari 2011

รัฐซาบะห์และรัฐซาราวัคกับการจัดตั้งประเทศมาเลเซีย

โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน

แผนที่ประเทศมาเลเซีย

แผนที่รัฐซาบะห์และรัฐซาราวัค

ประเทศเพื่อนบ้านที่ชื่อว่ามาเลเซียนั้น แม้ว่าจะมีชายแดนที่ติดต่อกับประเทศไทย ทั้งระหว่างจังหวัดอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลากับรัฐเคดะห์และรัฐเปอร์ลิส จังหวัดยะลากับรัฐเปรัค จังหวัดสตูลกับรัฐเปอร์ลิส และจังหวัดนราธิวาสกับรัฐกลันตัน เมื่อเราอยู่ที่จังหวัดนราธิวาส เราจะรู้ว่าฝั่งรัฐกลันตันมีวันหยุดคือวันศุกร์และวันเสาร์ แต่ถ้าเราอยู่ที่จังหวัดยะลา วันหยุดของรัฐเปรัคกลับเป็นวันเสาร์และวันอาทิตย์ หรือเราอยู่ที่จังหวัดสงขลา เราจะรู้ว่าฝั่งรัฐเคดะห์มีวันหยุดคือวันศุกร์และวันเสาร์ แต่รัฐเปอร์ลิสกลับเป็นวันเสาร์และวันอาทิตย์ สร้างความสับสนแก่เราเป็นอย่างมาก นั้นเป็นเพราะเราไม่ค่อยรู้จักประเทศเพื่อนบ้าน

แผนที่รัฐในแหลมมลายูที่มีระบบการปกครองถึง 3 แบบ

ประเทศสหพันธรัฐมาลายา หรือ Federation of Malaya ได้รับเอกราชเมื่อ 31 สิงหาคม 1957 โดยการรวมของรัฐต่างๆที่มีโครงสร้างแตกต่างกัน 3 ระบบ คือ 1. รัฐที่เรียกว่า Federated Malay States ประกอบด้วยรัฐสลังงอร์ รัฐเปรัค รัฐปาหัง และรัฐนัครีซัมบีลัน รัฐเหล่านี้ก่อนได้รับเอกราช จะมีชาวอังกฤษทำหน้าที่ปกครองรัฐควบคู่กับสุลต่านเรียกว่า Resident มีวันหยุดประจำสัปดาห์คือ วันเสาร์และวันอาทิตย์ 2. รัฐที่เรียกว่า Unfederated Malay States ประกอบด้วยรัฐกลันตัน รัฐตรังกานู รัฐเคดะห์ รัฐเปอร์ลิสและรัฐโยโฮร์ รัฐเหล่านี้ก่อนได้รับเอกราช จะมีชาวอังกฤษทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้แก่สุลต่านเรียกว่า Adviser มีวันหยุดประจำสัปดาห์คือ วันศุกร์และวันเสาร์ ในปัจจุบันรัฐโยโฮร์และรัฐเปอร์ลิส ได้เปลี่ยนวันหยุดเป็นวันเสาร์และวันอาทิตย์ 3. รัฐที่เรียกว่า Straits Settlements ประกอบด้วยรัฐมะละกาและรัฐปีนัง เป็นรัฐที่อังกฤษเข้ามาปกครองโดยตรง เมื่อเราทราบความเป็นมาของสหพันธรัฐมาลายา ก็สามารถไขข้อสงสัยถึงวันหยุดที่แตกต่างกันของแต่ละรัฐได้

ตนกูอับดุลราห์มาน ปุตรา นายกรัฐมนตรีสหพันธรัฐมาลายา ลงนามในหนังสือการจัดตั้งประเทศมาเลเซีย เมื่อ 9 กรกฎาคม 1963 ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

ส่วนประเทศมาเลเซีย หรือ Malaysia ได้รับการจัดตั้งเมื่อ 16 กันยายน 1963 โดยการรวมประเทศสหพันธรัฐมาลายาเข้ากับสิงคโปร์, รัฐซาบะห์ และรัฐซาราวัค ซึ่งรัฐซาบะห์ และรัฐซาราวัคนั้นก่อนการรวมเป็นประเทศมาเลเซียยังเป็นดินแดนอาณานิคมของอังกฤษอยู่ ส่วนบรูไนซึ่งเห็นด้วยกับการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศมาเลเซีย แต่ต่อมาถอนตัวเนื่องจากไม่สามารถตกลงในเรื่องตำแหน่งพระราชาธิบดีและผลประโยชน์น้ำมันที่บรูไนไม่ยอมให้รฐบาลกลางเข้ามารับผิดชอบ

เราอาจไม่ทราบว่าแม้แต่ในปัจจุบันประชาชนจากรัฐต่างๆที่ตั้งอยู่ในแหลมมลายู หรือ ประเทศสหพันธรัฐมาลายาเดิม เมื่อต้องการจะเดินทางไปยังซึ่งรัฐซาบะห์ และรัฐซาราวัคสามารถอยู่ได้เพียง 3 เดือน ถ้าจะอยู่นานกว่านั้นก็ต้องดำเนินการตามระเบียบของสำนกงานตรวจคนเข้าเมืองของรัฐซาบะห์หรือรัฐซาราวัค แม้แต่ข้าราชการที่มาจากรัฐต่างๆที่ตั้งอยู่ในแหลมมลายู เมื่อต้องไปทำงานในรัฐซาบะห์หรือรัฐซาราวัค ข้าราชการดังกล่าวต้องทำ Work

ก่อนการจัดตั้งประเทศมาเลเซียนั้น ทางรัฐซาบะห์และรัฐซาราวัคได้ตั้งเงื่อนไขการเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของประเทศมาเลเซีย โดยทางรัฐซาบะห์ได้เสนอข้อตกลง 20 ประการ ส่วนรัฐซาราวัคได้เสนอข้อตกลง 18 ประการ โดยข้อตกลงทั้งสองรัฐมีเนื้อหาที่แตกต่างกันบ้าง แต่โดยภาพรวมแล้วมีลักษณะที่คล้ายกัน ซึ่งอย่างไรก็ตามข้อตกลง 20 ประการของรัฐซาบะห์กลายเป็นข้อตกลงที่รู้จักมากกว่า

ธนบัตรของบอร์เนียวเหนือ

ธนบัตรของบอร์เนียวเหนือ

ธนบัตรของรัฐซาราวัค

ธนบัตรของรัฐซาราวัค

ข้อตกลง 20 ประการของรัฐซาบะห์ที่ตั้งเงื่อนไขในการเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของมาเลเซีย
1. ศาสนา : แม้ว่าจะไม่ต่อต้านศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติของมาเลเซีย แต่ไม่มีศาสนาประจำชาติใน
บอร์เนียวเหนือ และทุกกฎหมายที่เกี่ยวกับศาสนาอิสลามที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญของสหพันธรัฐมาลายาจะต้อง
ไม่นำมาใช้ในบอร์เนียวเหนือ

2. ภาษา :
1. ภาษามลายูจะต้องเป็นภาษาประจำชาติของสหพันธรัฐ
2. การใช้ภาษาอังกฤษยังคงใช้ต่อไปเป็นเวลา 10 ปีนับจากวันก่อตั้งประเทศมาเลเซีย
3. ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของบอร์เนียวเหนือสำหรับการติดต่อทั้งในระดับรัฐและระดับประเทศ โดยไม่มี
การจำกัดระยะเวลา

3. รัฐธรรมนูญ : แม้ว่าจะยอมรับว่ารัฐธรรมนูญของสหพนธรัฐมาลายาเป็นพื้นฐานของรัฐธรรมนูญมาเลเซีย แต่
รัฐธรรมนูญของมาเลเซียจะต้องได้รับความเห็นชอบจากบรรดารัฐอิสระที่ได้เข้าร่วมกัน จะต้องไม่ใช่การร่าง
รัฐธรรมนูญที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐในที่แตกต่างกันและในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน รัฐธรรมนูญแห่งรัฐ
สำหรับบอร์เนียวเหนือจำเป็นต้องมี

4. ประมุขสหพันธรัฐ : ประมุขของรัฐในบอร์เนียวเหนือไม่สามารถเป็นประมุขของสหพันธรัฐ

5. ชื่อของสหพันธรัฐ : มาเลเซีย (Malaysia) ไม่ใช่ มลายูรายา (Melayu Raya)

6. การตรวจคนเข้าเมือง (Imigration) : การควบคุมดูแลการอพยพของผู้คนจากภายนอก(มาเลเซีย)มายังพื้นที่ต่างๆของมาเลเซียอยู่ภายใต้อำนาจของรัฐบาลกลาง แต่การอพยพของผู้คนจากภายนอก(มาเลเซีย)มายังพื้นที่ของบอร์เหนียวเหนือต้องได้รับการเห็นชอบจากรัฐบาลของรัฐ รัฐบาลสหพันธรัฐไม่มีอำนาจในการห้ามผู้หนึ่งผู้ใดที่จะเข้าไปยังบอร์เนียวเหนือในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกิจการของรัฐบาลท้องถิ่น ยกเว้นในเรื่องความมั่นคงเท่านั้น บอร์เนียวเหนือควรมีอำนาจที่ไม่จำกัดในการควบคุมดูแลต่อผู้หนึ่งผู้ใดยกเว้นผู้ที่เข้ามาปฏิบัติงานภายใต้รัฐบาลสหพันธรัฐที่มาจากรัฐอื่นๆในบอร์เนียวเหนือ

7. สิทธิของการถอนตัวจากสหพันธรัฐ : ไม่ควรมีสิทธิของการแยกตัว หรือการถอนตัวจากสหพันธรัฐ

8. การแต่งตั้งคนพื้นเมือง(Borneanisation) : จะต้องดำเนินการแต่งตั้งคนพื้นเมืองชาวบอร์เนียวเหนือเข้ามา
ปฏิบัติงานในภาคราชการโดยด่วน

9. ข้าราชการชาวอังกฤษ : ต้องส่งเสริมให้ข้าราชการชาวอังกฤษปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนกว่าตำแหน่งของพวกเขาจะ
สามารถนำชาวพื้นเมืองจากบอร์เนียวเหนือที่มีคุณสมบัติมาแทนที่ได้

10. สัญชาติ : จากรายงานของ Cobbold ย่อหน้าที่ 148 (k) ( มีการจัดตั้งคณะทำงาน โดยมี Lord Cameron Cobbold เป็นประธาน สำหรับการสำรวจความคิดเห็นของชาวบอร์เนียวเหนือและรัฐซาราวัคในการเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของมาเลเซีย) การกำหนดสัญชาติของชาวบอร์เนียวเหนือในสหพันธรัฐมีดังนี้ :
1. ต้องไม่มีเงื่อนไขการตั้งถิ่นฐานเป็นเวลา 5 ปี
2. เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายของเรา วรรค (II) (a) จะต้องเป็น “ 7 ปี จาก 10 ปี” ไม่ใช่ “ 8 ปี จาก 12 ปี”
3. วรรค (II) จะต้องไม่กีดกั้นผู้หนึ่งผู้ใดที่มีบิดามารดาเป็นบุคคลสัญชาติอื่น แต่เกิดในบอร์เนียวเหนือหลังจาก
การจัดตั้งประเทศมาเลเซีย ผู้บุคคลผู้นั้นต้องได้รับสัญชาติของสหพันธรัฐ

11. ภาษีและการคลัง : บอร์เนียวเหนือจะต้องมีอำนาจดูแลการคลัง กองทุนการพัฒนา และภาษีด้วยตนเอง

12. สถานะพิเศษของชนพื้นเมือง : โดยหลักการพื้นฐานชนพื้นเมืองของบอร์เนียวเหนือต้องมีสถานะพิเศษเหมือนที่
ชาวมลายูในสหพันธรัฐมาลายาได้รับ แต่หลักการที่ปฏิบัติอยู่ในสหพันธรัฐมลายาไม่จำเป็นต้องปฏิบติใน
บอร์เนียวเหนือ

13. รัฐบาลท้องถิ่น :
1. มุขมนตรีได้รับการเลือกจากสมาชิกไม่เป็นทางการของสภานิติบัญญัติแห่งรัฐของบอร์เนียวเหนือ
2. บอร์เนียวเหนือต้องมีระบบการบริหารการปกครองโดยใช้ระบบคณะรัฐมนตรี (จนถึงปัจจุบัน คณะผู้บริหาร
รัฐซาบะห์ มีตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีกระทรวงต่างๆของรัฐซาบะห์)

14. ระยะเวลาการถ่ายโอนอำนาจ : ภายในเวลา 7 ปี อำนาจนิติบัญญัติจะดำเนินการโดยรัฐบาลท้องถิ่น ไม่ใช่การ
ดำเนินการโดยรัฐบาลสหพันธรัฐผ่านรัฐบาลท้องถิ่น

15. การศึกษา : ระบบการศึกษาที่มีอยู่ในปัจจุบันต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลท้องถิ่น

16. การปกป้อง พิทักษ์รัฐธรรมนูญ : การแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือยกเลิก สิทธิพิเศษที่ให้แก่บอร์เนียวเหนือ จะ
กระทำโดยรัฐบาลสหพันธรัฐไม่ได้ ถ้าไม่ได้รับการเห็นชอบจากรัฐบาลท้องถิ่นของบอร์เนียวเหนือ
และการแก้ไขรัฐธรรมนูญของบอร์เนียวเหนือจะกระทำได้โดยอำนาจของประชาชนบอร์เนียวเหนือเท่านั้น

17. ตัวแทนในสภาผู้แทนราษฎรของสหพันธรัฐ : ต้องไม่ยึดหลักจำนวนประชากรของบอร์เนียวเหนือเท่านั้น แต่
ต้องยึดหลักขนาดพื้นที่และความสามารถของบอร์เนียวเหนือด้วย และโดยหลักการแล้วต้องมีจำนวนที่ไม่น้อย
กว่าสิงคโปร์

18. ชื่อผู้นำรัฐ : ผู้ว่าการรัฐ (Yang Di Pertua Negara)

19. ชื่อรัฐ : ซาบะห์ (Sabah)

20. ที่ดิน, ป่าไม้ องค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น และอื่นๆ : บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญสหพันธรัฐเกี่ยวกับสภาที่ดิน
สหพันธรัฐ รวมทั้งสภาองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นแห่งชาติต้องไม่เกี่ยวข้องกับบอร์เนียวเหนือ

การที่เราได้รับรู้ถึงความเป็นมาของการจัดตั้งสหพันธรัฐมาลายา ก็ทำให้เราสามารถไขข้อสงสัยถึงทำไมรัฐต่างๆในประเทศมาเลเซียจึงมีวันหยุดสุดสัปดาห์ที่ไม่เหมือนกัน และการที่เราได้รับรู้ถึงความเป็นมาของการจัดตั้งประเทศมาเลเซีย โดยเฉพาะข้อตกลง 20 ประการของรัฐซาบะห์ ซึ่งก็ได้รับการสนบสนุนจากรฐซาราวัค ก็ทำให้เราสามารถไขข้อสงสัยถึงอำนาจของรฐซาบะห์และรัฐซาราวัคมากขึ้น เราคงจะรู้จักประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้นนะครับ

Tiada ulasan: