Ahad, 19 Disember 2010

เยี่ยมพิพิธภัณฑ์สถานแห่งรัฐตรังกานู (Lembaga Perbadan Muzium Negeri Terengganu)

โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน

พิพิธภัณฑ์สถานแห่งรัฐตรังกานูเป็นพิพิธภัณฑ์ที่น่าสนใจยิ่ง เมื่อเปรียบเทียบกับพิพิธภัณฑ์อื่นๆของประเทศมาเลเซียจะเห็นได้ว่าพิพิธภัณฑ์สถานแห่งรัฐตรังกานูเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุด จนรัฐตรังกานูเองถือว่าพิพิธภัณฑ์สถานแห่งรัฐตรังกานูเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวนออกเฉียงใต้ มีเนื้อที่ท้งหมด 27 เฮกเตอร์ หรือ ประมาณ 164.7 ไร่ ครั้งแรกที่ข้าพเจ้าเดินทางไปยังพิพิธภัณฑ์สถานแห่งรัฐตรังกานู เป็นช่วงที่กำลังก่อสร้างอาคารอยู่ จนต่อมาก็ได้เดินทางไปยังพิพิธภัณฑ์สถานแห่งนี้หลายต่อหลายครั้ง และเมื่อต้นเดือนนี้ ซึ่งไม่กี่วันที่ผ่านมาก็ได้เดินทางไปยังพิพิธภัณฑ์สถานแห่งรัฐตรังกานูอีกครั้ง วันนี้จึงขอแนะนำพิพิธภัณฑ์สถานแห่งรัฐตรังกานู ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ที่เก็บรักษาส่วนหนึ่งของตำรับตำราศาสนาของคนจังหวัดชายแดนภาคใต้และประวัติศาสตร์ปาตานีไว้

แผ่นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์แห่งรัฐตรังกานู

ป้ายชื่อพิพิธภัณฑ์สถานแห่งรัฐตรังกานู

แผนผังพิพิธภัณฑ์สถานแห่งรัฐตรังกานู

ประวัติความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์สถานแห่งรัฐตรังกานู
พิพิธภัณฑ์สถานแห่งรัฐตรังกานู(Lembaga Muzium Negeri Terengganu)จัดตั้งขึ้นในปี 1976 ภายใต้ พ.ร.บ. พิพิธภัณฑ์สถานแห่งรัฐตรังกานู ฉบับที่ 9 ปี 1976 และได้ผ่านการลงมติของสภานิติบัญญัติแห่งรัฐเมื่อ 28ธันวาคม 1976และเริ่มบังคับใช้เมื่อ 1 พฤศจิกายน 1977

หลักศิลาจารึกตรังกานู

เริ่มจากการที่สัยยิดฮุสเซ็น กูลาม อัล-บุคารี (Syed Hussein Ghulam Al Bukhari)ได้พบศิลาจารึกตรังกานู(Batu Bersurat Terengganu) ที่หมู่บ้านบูโละห์(Kampung Buloh) ฮูลูตรังกานู (Hulu Terengganu) ในปี 1902 และแนวความคิดในการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์สถานแห่งรัฐตรังกานูเริ่มมีในทศวรรษที่ 1920 และด้วยไม่มีทางเลือกอื่น สุลต่านสุไลมานบัดรุลอาลามชาห์(Duli Yang Maha Mulia Sultan Sulaiman Badrul Alam Syah) แห่งรัฐตรังกานูจึงยินยอมให้นำศิลาจารึกตรังกานูไปเก็บไว้และแสดงที่พิพิธภัณฑ์ภาพถ่ายรัฟเฟิลส์(Muzium Gambar Raffles)ในปี 1923 มุขมนตรีแห่งรัฐตรังกานูขณะนั้นคือดาโต๊ะฮัจญีงะห์ มูฮัมหมัด บินยูซุฟ (Dato’ Haji Ngah Mohd Bin Yusof) ได้รับหนังสือตอบจากที่ปรึกษาของอังกฤษว่า

" Maka apakala diadakan Muzium di dalam Terengganu kelak ataupun tempat lain yang munasabah bolehlah kerajaan mengambil balik pula pada bila-bila masa yang dikehendaki adanya "
(เมื่อมีพิพิธภัณฑ์ที่ตั้งอยู่ในรัฐตรังกานูแล้ว หรือสถานที่อื่นที่มีความเหมาะสม รัฐบาล(ตรังกานู)ก็สามารถเรียกคืน(หลักศิลาจารึก)เมื่อใดก็ได้)

เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์1974 ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการเกี่ยวกับการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์สถานแห่งรัฐตรังกานูขึ้น หลังจากนั้นก็ได้มีการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์สถานแห่งรัฐตรังกานูขึ้นมา

การบริหารพิพิธภัณฑ์สถานแห่งรัฐตรังกานูอยู่ภายใต้อำนาจของสำนักเลขาธิการรัฐตรังกานู (Pejabat Setiausaha Kerajaan Negeri Terengganu) และเริ่มมีการสะสมวัตถุและสิ่งของทางประวัติศาสตร์ในปี 1979

ในปี 1981 มีการแต่งตั้งหัวหน้าผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์สถาน ทำหน้าบริหารพิพิธภัณฑ์สถาน ต่อมาในปี 1985 มีการยกฐานะจากหัวหน้าผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์เป็นผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์สถาน

ในเดือนกรกฎาคม 1992 ศิลาจารึกตรังกานูถูกนำจากพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ กรุงกัวลาลมเปอร์มามอบให้แก่รัฐตรังกานู ต่อมาในเดือน เมษายน 1994 การบริหารการจัดการและสิ่งของที่จัดแสดงได้ย้ายไปอยู่”บ้านใหม่” นั้นคืออาคารพิพิธภัณฑ์สถานแห่งรัฐตรังกานู(Kompleks Muzium Negeri Terengganu) ที่มีพื้นที่ถึง 27 เฮกเตอร์ ตั้งอยู่ที่ หมู่บ้านบูกิตโลซง (Kg. Bukit Losong) เขตปาโละห์(Paloh) เมืองกัวลาตรังกานู (Kuala Terengganu) เมืองเอกของรัฐตรังกานู

ในปัจจุบันพิพิธภัณฑ์แห่งรัฐตรังกานูมีผู้อำนวยการชื่อว่า ฮัจญีมูฮัมหมัดยูซุฟ บินอับดุลลอฮ (Haji Mohd Yusof bin Abdullah)ซึ่งเป็นผู้ที่มีความสนใจเกี่ยวกับจังหวัดชายแดนภาคใต้

Haji Mohd Yusof bin Abdullah ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์สถานแห่งรัฐตรังกานู

Haji Mohd Yusof bin Abdullah ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์สถานแห่งรัฐตรังกานู

มอบของที่ระลึกแก่ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์แห่งรัฐตรังกานู

นักศึกษามลายูศึกษาโชว์แผ่นไม้ประวัติศาสตร์ปาตานีที่เก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์แห่งรัฐตรังกานู

อาคารพิพิธภัณฑ์สถานแห่งรัฐตรังกานูนี้ออกแบบโดยเชื้อพระวงศ์รัฐตรังกานูที่ชื่อว่า ราชาดาโต๊ะ กามารุลบะห์ริน ชาห์(YM Raja Dato’ Kamarul Bahrin Shah) โดยมีอาคารหลักอยู่ 4 อาคาร อาคารหลักมี 5 ชั้น และอีก 3 อาคารมี 4 ชั้น เปิดเป็นทางการโดยสุลต่านมาห์มุดชาห์ อิบนีสุลต่านนาซีรุดดินชาห์

อาคารพิพิธภัณฑ์สถานแห่งรัฐตรังกานู

อาคารพิพิธภัณฑ์สถานแห่งรัฐตรังกานู

สะพานบริเวณอาคารพิพิธภัณฑ์สถานแห่งรัฐตรังกานู

อาคารพิพิธภัณฑ์สถานแห่งรัฐตรังกานู

อาคารพิพิธภัณฑ์สถานแห่งรัฐตรังกานู

อาคารพิพิธภัณฑ์สถานแห่งรัฐตรังกานู

อาคารพิพิธภัณฑ์สถานแห่งรัฐตรังกานู

ด้านหน้าบ้านนักการศาสนาที่ชื่อเชคอับดุลกาเดร์ กอลาม สร้างในปี 1885 ถูกนำมาเก็บไว้ในบริเวณพิพิธภัณฑ์สถานแห่งรัฐตรังกานู

ด้านหลังบ้านนักการศาสนาที่ชื่อเชคอับดุลกาเดร์ กอลาม สร้างในปี 1885 ถูกนำมาเก็บไว้ในบริเวณพิพิธภัณฑ์สถานแห่งรัฐตรังกานู

วารสารพิพิธภัณฑ์สถานแห่งรัฐตรังกานู ที่ชื่อว่า Pesaka

พิพิธภัณฑ์สถานแห่งรัฐตรังกานูยังได้มีการพิมพ์วารสารประจำของพิพิธภัณฑ์สถานแห่งรัฐตรังกานู โดยมีชื่อว่า Pesaka ซึ่งมีความหมายว่า มรดก เป็นวารสารเชิงวิชาการที่มีบทความต่างๆ บางบทความมีความเกี่ยวข้องกับจังหวัดชายแดนภาคใต้

วารสาร Pesaka ฉบับที่ 1

วารสาร Pesaka ฉบับที่ 2

วารสาร Pesaka ฉบับที่ 3

วารสาร Pesaka ฉบับที่ 4

วารสาร Pesaka ฉบับที่ 5

วารสาร Pesaka ฉบับที่ 6

การจัดแสดงเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่เกี่ยวข้องกับรัฐตรังกานูในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งรัฐตรังกานู

เปโตรเลี่ยม

ประเพณีราชสำนัก

ประเพณีราชสำนัก

ศาสนาอิสลาม

การประมง

การเดินเรือ

บาติก

หัตถกรรม

เสื้อผ้า

การจัดแสดงเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของชาวมลายูตรังกานูในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งรัฐตรังกานู
ประวัติศาสตร์ของชาวมลายูตรังกานู

ประวัติศาสตร์ของชาวมลายูตรังกานู

ประวัติศาสตร์ของชาวมลายูตรังกานู

การจัดแสดงเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ
สิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ

สิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ

สิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ

สิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ

การจัดแสดงเกี่ยวกับศัตราวุธของชาวมลายูในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งรัฐตรังกานู

ศัตราวุธของชาวมลายู

ศัตราวุธของชาวมลายู

ศัตราวุธของชาวมลายู

Tiada ulasan: