Jumaat, 10 September 2010

มารู้จัก สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งบรูไน (RTB : Radio Televisyen Brunei)กันดีกว่า

โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน

เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2010 ที่ผ่านมา คุณฮัสนัน ฮัจญีสุไฮลี หัวหน้าวิทยุเนชั่นนัล เอฟ.เอ็ม. ของสถานีวิทยุโทรทัศน์บรูไน(RTB)โทรศัพท์ทางไกลแจ้งว่าในวันที่ 9 กันยายน 2010 ขอสัมภาษณ์ข้าพเจ้าผ่านโทรศัพท์จากประเทศบรูไน ถึงการเตรียมตัวของชาวมลายูมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ในการต้อนรับวันรายาอัยดิลฟิตรี หรือวันรายอ และในวันดังกล่าวข้าพเจ้าก็ใช้เวลาเกือบ 16 นาทีในการพูดคุยถึงการเตรียมตัวของชาวมลายูมุสลิม ในที่นี้ข้าพเจ้าคิดว่าเรามาทำความรู้จักกับสถานีวิทยุโทรทัศน์บรูไน



ความเป็นมาของสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งบรูไน
สถานีวิทยุแห่งนี้เริ่มออกอากาศโดยการอนุญาตของสุลต่านบรูไนขณะนั้น คือ สุลต่านโอมาร์ อาลี ไซฟุดดิน ซาอาดุล คัยรี วัดดีน ผู้เป็นพระบิดาของสุลต่านฮัสซันนัลโบเกียะห์ สุลต่านองค์ปัจจุบัน เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 1957 เวลา 07.45 น. ได้ประกาศออกอากาศว่า "Inilah Radio Brunei" มีความหมายว่า "ที่นี่ วิทยุบรูไน" ขณะนั้นวิทยุบรูไนสามารถออกอากาศได้ในรัศมี 8 กิโลเมตรเท่านั้น ออกอากาศระหว่างเวลา 07.30 ถึง 09.45 น. โดยออกอากาศวันละ 2.45 ชั่วโมง เป็นภาษามลายู 1.5 ชั่วโมง ภาษาอังกฤษ 45 นาที

ปัจจุบันสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งบรูไนนอกจากมีสถานีหลักอยู่ในตัวเมืองบันดาร์ ศรีเบอกาวันแล้ว ยังมีสถานีย่อยตั้งกระจายทั่วประเทศบรูไนอีก 4 แห่ง คือ
1. สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งบรูไน ประจำสุไหงอาการ์
2. สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งบรูไน ประจำเขตตูตง
3. สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งบรูไน ประจำเขตเติมบูรง
4. สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งบรูไน ประจำเขตเบอไลต์

กิจการสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งบรูไน
สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งบรูไนแบ่งกิจการออกเป็น 2 ส่วนคือ กิจการด้านวิทยุและกิจการด้านโทรทัศน์

กิจการด้านวิทยุ
สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งบรูไนมีคลื่นวิทยุอยู่ 4 คลื่น คือ
1. คลื่นเนชั่นนัล เอฟ.เอ็ม. (Nasional FM)
เริ่มตั้งแต่ปี 1957 ออกอากาศเป็นภาษามลายู ออกอากาศตั้งแต่เวลา 04.30 น. ถึง 24.00 น.

2. คลื่นปีลีฮัน เอฟ.เอ็ม.(Pilihan FM) ปีลีฮัน มีความหมายว่า ทางเลือก
เริ่มตั้งแต่ปี 1967 ออกอากาศเป็นภาษาอังกฤษและภาษาจีน ออกอากาศตั้งแต่เวลา 06.00 น. ถึง 24.00 น.

3. คลื่นเปอลางี เอฟ.เอ็ม.(Pelangi FM) เปอลางี มีความหมายว่า สายรุ้ง
เริ่มตั้งแต่ปี 1995 ออกอากาศเป็นภาษาอังกฤษและภาษาจีน เป็นคลื่นสำหรับเด็ก เยาวชนและคนวัยเรีน ออกอากาศตั้งแต่เวลา 06.00 น. ถึง 24.00 น.

4. คลื่นฮาร์โมนี เอฟ.เอ็ม.(Harmoni FM)
เริ่มตั้งแต่ปี 1996 ออกอากาศเป็นภาษามลายู เป็นคลื่นสำหรับคนอายุ 25 ปีขึ้นไป กลุ่มแม่บ้าน ออกอากาศตั้งแต่เวลา 06.00 น. ถึง 24.00 น.

5. คลื่นนูร์อิสลาม เอฟ.เอ็ม.(Nur Islam FM)
เริ่มตั้งแต่ปี 1997 ออกอากาศเป็นภาษามลายู เป็นคลื่นสำหรับคนอายุ 25 ปีขึ้นไป เป็นคลื่นเผยแพร่ศาสนาอิสลาม ออกอากาศตั้งแต่เวลา 06.00 น.ถึง 24.00 น.

กิจการด้านโทรทัศน์
สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งบรูไนมีโทรทัศน์อยู่ 5 ช่อง คือ
1.RTB ช่อง 1 เป็นช่องข่าว กีฬา และสารคดี
2.RTB ช่อง 2 เป็นช่องบันเทิง
3.RTB ช่อง 3
4.RTB ช่อง 4 เป็นช่องนานาชาติ
5.RTB ช่อง 5 เป็นช่องที่มีรายการแนวทางศาสนาอิสลาม เริ่มต้งแต่ 1 มกราคม 2010

กลุ่มผู้ระกาศข่าว พิธีกรของสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งบรูไน

ขณะเตรียมออกอากาศ

ความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน
สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งบรูไนได้ร่วมมือกับสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งมาเลเซีย(RTM : Radio Televisyen Malaysia)และสถานีวิทยุสาธารณรัฐอินโดเนเซีย(RRI : Radio Republik Indonesia)ออกอากาศรายการวิทยุที่เรียกว่า Radio Tiga Serumpun หรือ วิทยุสาม ร่วมชาติพันธุ์(มลายู)

ข้าพเจ้าได้เข้าไปที่สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งบรูไนครั้งแรกเมื่อ 14 ธันวาคม 2009 โดยคุณฮัจญีมุสตสฟา เพื่อนชาวบรูไนได้พาไปยังสถานีวิทยุโทรทัศน์ดังกล่าว เมื่อครั้งที่วิทยุที่ชื่อว่า Pilihan FM จะสัมภาษณ์เพื่อนชาวมาเลเซีย แม้ประเทศบรูไนจะเป็นประเทศร่ำรวย แต่สถานีวิทยุแห่งนี้มีสภาพที่ไม่แตกต่างจากสถานีวิทยุต่างจังหวัดของบ้านเรา

เก็บภาพภายในห้องส่งของวิทยุ Pilihan

ถ่ายภาพหน้าสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งบรูไน

เพื่อนชาวมาเลเซียขณะกำลังสัมภาษณ์รายการวิทยุของวิทยุ Pilihan

นักจัดรายการวิทยุชาวบรูไนเชื้อสายอินเดีย

นักจัดรายการวิทยุชาวบรูไนเชื้อสายอินเดีย

ถ่ายภาพภายในสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งบรูไน

ถ่ายภาพกับเพื่อนชาวมาเลเซียและชาวบรูไนภายในสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งบรูไน

และในเดือนกรกฎาคม 2010 ข้าพเจ้าก็ได้เดินทางไปยังสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งบรูไนอีกครั้ง ครั้งนี้เป็นการเข้าร่วมงานสัมมนาด้านวรรณกรรม ที่มีชื่อว่า งานวรรณกรรมโลกมลายูครั้งที่ 4 (Pertemuan Penyair Nusantara ke IV) ซึ่งจัดสัมมนากันที่ห้องประชุมของสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งบรูไน และทางวิทยุเนชั่นนัลถือโอกาสสัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมงานสัมมนาจากประเทศที่เข้าร่วม คือชาวบรูไน เจ้าภาพงาน ชาวมาเลเซีย ชาวอินโดเนเซีย และข้าพเจ้าจากภาคใต้ประเทศไทย

ถ่ายภาพภายในห้องส่งกับเพื่อนชาวบรูไน ชาวอินโดเนเซีย ชาวบรูไน และนักจัดรายการของวิทยุเนชั่นนัล

ขณะกำลังสัมภาษณ์วิทยุเนชั่นนัล

ถ่ายภาพหน้าสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งบรูไน

ถ่ายภาพกับอาจารย์ซาวา ปะดาอามีนหน้าสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งบรูไน

Tiada ulasan: