Isnin, 27 September 2010

ดร. มหาเธร์ โมฮัมหมัด กับองค์กรเปอร์กาซา (Pertubuhan Pribumi Perkasa Malaysia)

โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน

เมื่อ 25 กันยายน 2010 ทางองค์กรเปอร์กาซา ได้จัดงานที่ชื่อว่า Perhimpunan Melayu Perkasa Kelantan จัดที่อำเภอปาเซร์ มส รัฐกลันตัน โดยเชิญ ดร. มหาเธร์ โมฮัมหมัด มาปราศรัยในงานดังกล่าว มีผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 2 หมื่นคน ดร.มหาเธร์ โมฮัมหมัด ได้เรียกร้องให้ชาวมลายูมีความสามัคคีกัน เขากล่าวว่าปัจจุบันชาวมลายูได้แตกออกเป็น 3 ฝ่าย คือ ผู้สนับสนุนพรรค UMNO,ผู้สนับสนุนพรรค PAS และผู้สนับสนุนพรรค PKR ดังนั้นชาวมลายูต้องกลับมาสามัคคีอีกครั้ง

ดร. มหาเธร์ โมฮัมหมัด ขณะปราศรัยที่เขตปาเซร์ มัส รัฐกลันตัน

ดร. มหาเธร์ โมฮัมหมัด ที่เขตปาเซร์ มัส รัฐกลันตัน

ดร. มหาเธร์ โมฮัมหมัด ที่เขตปาเซร์ มัส รัฐกลันตัน

ดร. มหาเธร์ โมฮัมหมัด ที่เขตปาเซร์ มัส รัฐกลันตัน

องค์การเปอร์กาซา หรือ Pertubuhan Pribumi Perkasa (Perkasa)
เป็นองค์กรพัฒนาเอกชน หรือ NGO ของชาวมลายูที่ต่อสู้เพื่อปกป้องสิทธิพิเศษของชาวมลายูในประเทศมาเลเซีย องค์กร NGO นี้ได้รับการขนานนามว่าเป็น "องค์กรชาตินิยมสุดขั้วของชาวมลายู" หรือ Ultranationalist NGO และได้รับการต่อต้านจากกลุ่มชาติพันธุ์บางกลุ่ม

การจัดตั้งองค์กรเปอร์กาซา หรือ Pertubuhan Pribumi Perkasa (Perkasa)
จัดตั้งโดยดาโต๊ะอิบราฮิม อาลี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขตปาเซร์มัส รัฐกลันตัน การลงสมัครรับเลือกตั้งของดาต๊ะอิบราฮิม อาลี ค่อนข้างแปลกว่าคนอื่น ด้วยดาต๊ะอิบราฮิม อาลี สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขตปาเซร์มัสโดยไม่สังกัดพรรคการเมือง เป็นผู้สมัครอิสระ แต่ขอใช้ตราสัญญลักษณ์ของพรรอิสลามแห่งมาเลเซีย หรือ Parti Islam Malaysia (PAS)ปรากฎว่าเขาสามารถมีชัยเหนือผู้สมัครจากพรรคองค์การมลายูสามัคคีแห่งชาติ หรือ UMNO ในการประชุมจัดตั้งองค์กรเปอร์กาซานั้น ดาโต๊ะอิบราฮิม อาลี ได้รับความไว้วางใจให้เป็นประธานองค์กรเปอร์กาซา ส่วนรองประธานองค์กรเปอร์กาซา คือ ดาโต๊ะฟูอัด ตันศรีฮัสซัน อดีตสมาชิกสภานิติบัญญติแห่งรัฐสลังงอร์

ในช่วงทศวรรษที่ 1970 ตุน ดร. มหาเธร์ โมฮัมหมัด ถูกกล่าวหาจากนายลี กวน ยิว รัฐมนตรีอาวุโสและอดีตนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ว่าเป็น "ชาวมลายูสุดขั้ว" หรือ "Ultra Malay" แต่ในยุคปัจจุบัน ปรากฎว่า ดาโต๊ะอิบราฮิม อาลี และ องค์กรเปอร์กาซา ได้รับการขนานนามว่าเป็น "ชาวมลายูสุดขั้ว" หรือ "Ultra Malay" ยุคใหม่

ดาโต๊ะอิบราฮิม อาลี

ดร. มหาเธร์ โมฮัมหมัดกับดาโต๊ะอิบราฮิม อาลี

ดร. มหาเธร์ โมฮัมหมัดกับดาโต๊ะอิบราฮิม อาลี

วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งองค์กร
วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งองค์กร
องค์กรมีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องสิทธิพิเศษของคนมลายูจากการถูกกดดันโดยคนไม่ใช่เชื้อชาติมลายู โดยเฉพาะกลุ่มคนจีน

สมาชิกองค์กร
ดาโต๊ะอิบราฮิม อาลี ได้กล่าวว่า องค์กรมีสมาชิกมากกว่า 5 พันคน ตามหลักฐานบัตรสมาชิกและใบประกาศนียบัตรที่ได้มอบให้แก่สมาชิก ปัจจุบันยังมีใบสมัครที่อยู่ระหว่างอนุมัติการเป็นสมาชิกอีกมากกว่า 5 หมื่นใบ องค์กรเปอร์กาซาเป็นองค์กรที่เคลื่อนไหวอยู่ภายใต้การนำของ สภาองค์กรพฒนาเอกชนชาวมลายู หรือ Majlis Perundingan NGO Melayu (MPM) โดยองค์กร MPM เป็นองค์กรร่วม (Umbrella Organisation) ขององค์กร NGO ชาวมลายูประมาณ 76 องค์กร องค์กรเหล่านี้เช่น หอการค้าชาวมลายูมาเลเซีย (Dewan Perniagaan Melayu Malaysia), สมาคมผู้รับเหมาก่อสร้างชาวมลายู (Persatuan Kontraktor Melayu Malaysia ), หอการค้ามุสลิมมาเลเซีย (Dewan Perniagaan Islam Malaysia), สหพันธ์นักศึกษาชาวมลายูแห่งแหลมมลายู (Gabungan Pelajar Melayu Semenanjung)

องค์กรเปอร์กาซาได้รับใบอนุญาตออกหนังสือพิมพ์
เมื่อ 3 มีนาคม 2010 องค์กรเปอร์กาซาได้รับใบอนุญาตจากกระทรวงมหาดไทยในการออกหนังสือพิมพ์ของตนเอง โดยใช้ชื่อว่า เสียงเปอร์กาซา หรือ Suara Perkasa หนังสือพิมพ์นี้จะออกเป็นรายปักษ์

การประชุมใหญ่ครั้งแรกขององค์กรเปอร์กาซา
เมื่อ 27 มีนาคม 2010 องค์กรเปอร์กาซาได้จัดประชุมใหญ่ครั้งแรกขึ้นที่ Putra World Trade Center กรุงกัวลาลัมเปอร์ แรกเริ่มสุลต่านชาราฟฟุดดิน อิดริส ชาห์ (Sultan Shrafuddin Idris Shah) สุลต่านแห่งรัฐสลังงอร์จะทำหน้าที่เป็นองค์ประธานเปิดพิธีการประชุม แต่ต่อมาได้ยกเลิก ด้วยเหตุผลไม่ต้องการจะให้กลายเป็นประเด็นทางการเมือง พร้อมได้เรียกร้องให้องค์กรเปอร์กาซาลดความเป็นองค์กรมลายูสุดขั้วลง ดังนั้นองค์กรเปอร์กาซาจึงเชิญ ดร. มหาเธร์ โมฮัมหมัด มาเป็นประธานเปิดการประชุมใหญ่แทน ในการประชุมใหญ่ครั้งนี้มีสมาชิกเข้าร่วมประชุมมากกว่า 8 พันคน และแขกรับเชิญอีกประมาณ 2 พันคน

ตราสัญญลักษณ์องค์กรเปอร์กาซา

ในการประชุมใหญ่ขององค์กรเปอร์กาซา ดาโต๊ะอิบราฮิม อาลี ได้ปราศรัยในที่ประชุมถึงปัญหาทางเศรษฐกิจของชาวมลายู เขาอ้างถึงหนังสือที่ชื่อว่า World On Fire ซึ่งแต่งโดยนักวิชาการชาวจีนชื่อว่า Prof. Amy Chua แห่งมหาวิทยาลัยเยล สหรัฐอเมริกา ในหนังสือดังกล่าวแสดงให้เห็นภัยของการที่กลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งกลายเป็นผู้คุมเศรษฐกิจเหนือกลุ่มชนพื้นเมือง จนเกิดเหตุการณ์การเผาร้านค้าขึ้น เช่น ชาวฟิลิปปินส์เผาร้านค้าของคนจีนในประเทศฟิลิปปินส์ คนอินโดเนเซียเผาร้านค้าของคนจีนในประเทศอินโดเนเซีย หรือ การที่ชาวอฟริกาใต้เผาร้านค้าของคนอินเดียในประเทศอัฟริกาใต้ เขายังกล่าวถึงความอุดมสมบูรณ์ของประเทศมาเลเซียที่แต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ได้รับที่ไม่เท่าเทียมกัน เศรษฐกิจมาเลเซียถูกคนมาเลเซียเชื้อสายจีนคุมอยู่ถึง 60 เปอร์เซ็นต์ ส่วนชาวภูมิบุตร ชนพื้นเมืองมาเลเซียคุมเศรษฐกิจอยู่ไม่ถึง 20 เปอร์เซ็นต์

นายอิบราฮิม ซูฟเฟียน จากสำนักโพลล์ ที่ชื่อว่า Merdeka Center กล่าวถึงการสำรวจประชามติของสำนักโพลล์ของเขา ปรากฏว่า เกือบ 70 เปอร์เซ็นต์ของผู้ที่มีสิทธิ์ลงคะแนนเลือกตั้งเห็นด้วยกับข้อเรียกร้องขององค์กรเปอร์กาซา ประมาณ 61 เปอร์เซ็นต์เห็นด้วยให้องค์กรเปอร์กาซาให้การสนับสนุนพรรครัฐบาลในการเลือกตั้งครั้งต่อไป คือ ครั้งที่ 3 และ 44 เปอร์เซ็นต์ เห็นด้วยกับประเด็นที่ว่า “ในอนาคตชาวจีนจะสามารถยึดครองประเทศมาเลเซีย”

นักการเมืองที่มีความเห็นแตกต่างจาก ดร. มหาเธร์ โมฮัมหมัด เช่น ดาโต๊ะศรีโมฮัมหมดนัซรี ตันศรีอาซีซ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และ ตันศรีราฟีดะห์ อาซีซ โดยทั้งสองคนเป็นรัฐมนตรีในยุค ดร. มหาเธร์ โมฮัมหมัด กล่าวว่า องค์กรเปอร์กาซา และองค์กร Gertak ( Gerakan Kebangsaan Rakyat) จะอยู่ไม่ได้ ถ้าไม่มี ดร. มหาเธร์ โมฮัมหมัด

การประชุมจัดตั้งองค์กรเปอร์กาซา ที่ร้านอาหารชาวมาเลเซียเชื้อสายปัตตานี

ดาโต๊ะอิบราฮิม อาลี ช่วงการจัดตั้งองค์กรเปอร์กาซา

ดาโต๊ะอิบราฮิม อาลี ช่วงการจัดตั้งองค์กรเปอร์กาซา

ดาโต๊ะอิบราฮิม อาลี ช่วงการจัดตั้งองค์กรเปอร์กาซา

องค์การเปอร์กาซา สาขาต่างๆ

Khamis, 16 September 2010

Prasasti Dong Yen Chau, Vietnam.


Prasasti Dong Yen Chau
Prasasti Dong Yen Chau adalah prasasti berbahasa Cham yang ditulis dalam aksara Brahmi Selatan Kuno,[3] yang ditemukan pada tahun 1936 di Đông Yen Châu, barat laut dari Trà Kiệu, tak jauh dari ibu kota lama Kerajaan Champa di Indrapura, yang saat ini termasuk wilayah negara Vietnam. Prasasti ini ditulis dalam bentuk prosa, yang merupakan prasasti tertua dalam bahasa Cham, serta memperlihatkan adat kepercayaan dari orang-orang Cham zaman dahulu di kerajaan Champa. Meskipun tidak bertanggal, ungkapan yang digunakan mirip dengan yang digunakan pada prasasti bertanggal dalam bahasa Sanskerta yang dikeluarkan oleh Raja Bhadravarman I dari dinasti kedua Champa, yang memerintah pada akhir abad ke-4 Masehi. Isi prasasti adalah mantra seruan untuk menghormati 'naga suci kepunyaan raja', yang besar kemungkinan dipercayai sebagai hewan suci pelindung dari suatu mata air atau sumur. Penggunaan teks bahasa sehari-hari ini menunjukkan, bahwa pada abad ke-4, daerah yang sekarang merupakan Vietnam bagian tengah dihuni oleh populasi masyarakat yang berbahasa Austronesia. Bukti-bukti monumen dan palaeografi juga menunjukkan bahwa agama Hindu adalah sistem kepercayaan yang dominan saat itu.

Kemiripan tata bahasa dan kosakata yang digunakan dalam prasasti ini dengan prasasti-prasasti berbahasa Melayu, menyebabkan beberapa peneliti berpendapat bahwa peninggalan ini dapat dipandang sebagai contoh tertua bentuk bahasa Melayu Kuno; yang bahkan lebih tua tiga abad daripada prasasti terawal Sriwijaya yang ditemukan di Sumatra bagian tenggara. Namun, sebagian besar peneliti berpendapat bahwa prasasti ini ditulis dalam bahasa Cham Kuno. Kesamaan tata bahasa dan kosakata dasar tidak mengherankan, karena bahasa Chamik dan Melayik berkaitan erat, yang mana keduanya adalah dua subkelompok dari kelompok rumpun bahasa Malayik-Chamik, yaitu cabang rumpun bahasa Melayu-Polinesia dari keluarga bahasa Austronesia.

Teks prasasti
Bahasa yang dipergunakan dalam prasasti secara tata bahasa dan kosa katanya tidak terlalu berbeda dengan bahasa Cham dan Melayu modern. Kemiripan dengan tata bahasa Cham dan Melayu modern terlihat misalnya pada penggunaan penanda relatif yang dan ya, pemakaian kata dengan dan penanda lokatif di, sintaksis pada kalimat ekuatif Ni yang naga punya putauv yang artinya "inilah naga suci kepunyaan raja", pemakaian penanda genitif punya, dan lain-lain. Pengaruh India tampak pada terminologi Sanskerta Siddham, sebuah mantra seruan yang sering digunakan untuk keberuntungan; naga "ular, naga"; svarggah "syurga", paribhu "menghina", naraka "neraka", dan kulo "keluarga". Teks prasasti itu sendiri, yang berhubungan dengan sebuah sumur di dekat Indrapura, cukup singkat namun secara kebahasaan memperlihatkan sbb.:

Transliterasi
Siddham! Ni yang naga punya putauv.
Ya urang sepuy di ko, kurun ko jema labuh nari svarggah.
Ya urang paribhu di ko, kurun saribu thun davam di naraka, dengan tijuh kulo ko.

Terjemahan bahasa Melayu
Sejahtera! Inilah naga suci kepunyaan Raja.
Orang yang menghormatinya, turun kepadanya permata dari syurga.
Orang yang menghinanya, akan seribu tahun diam di neraka, dengan tujuh keturunan keluarganya.

Prasasti Vo Canh Vietnam


Prasasti Vo Cahn adalah sebuah prasasti dalam bahasa Sanskerta yang tertua di Asia Tenggara, yang ditemukan pada tahun 1885 di desa Vo Cahn, sekitar 4 km dari kota Nha Trang, Vietnam. Prasasti ini berbentuk tugu batu setinggi 2,5 m, dengan tiga sisinya yang tak rata bertuliskan baris-baris kalimat isi prasasti.

Pada prasasti ini disebutkan nama Raja Sri Mara, yang menurut analisis paleografi diperkirakan dibuat oleh penguasa keturunannya pada sekitar abad ke-2 atau ke-3 Masehi. Masih terdapat perdebatan apakah prasasti ini merupakan peninggalan Lin-yi, Champa, ataukah Funan. George Coedès menyebutkan kemungkinan identifikasi Sri Mara dengan Fan Shih Man (k. 230 M), yang menurut kronik Tiongkok adalah salah seorang penguasa Funan.[1] Namun prasasti Vo Canh ini menurut Coedès adalah bukti atas proses Indianisasi gelombang pertama di Asia Tenggara.

Saat ini, prasasti Vo Canh tersimpan di Museum Nasional Sejarah Vietnam di kota Hanoi, Vietnam

Teks prasasti
Teks bahasa Sanskerta yang tertulis pada prasasti ini telah banyak mengalami kerusakan. Dari ketiga sisi prasasti, pada sisi pertama setidaknya enam baris pertama sudah hampir hilang sama sekali, dan demikian pula delapan baris pertama pada sisi kedua. Pada sisi ketiga, bahkan hanya beberapa aksara saja yang masih terbaca.

Bagian-bagian teks yang masih dapat terbaca mengandung kalimat-kalimat sbb.:

"karunia untuk para makhluk"
"para pendeta, tentu saja, yang telah meminum amerta dari beratus-ratus sabda raja"
"hiasan... yang karenanya merupakan sukacita keluarga putri dari cucu Raja Sri Mara... telah dinobatkan"
"mereka yang duduk di atas singgasana"
"yaitu yang harus dikerjakan dengan perak atau emas"
"harta benda"
"semua yang disediakan oleh ku sebagai seorang yang baik dan berguna"
"menteri saya Vira"
"perintah yang membawa kesejahteraan para makhluk, dari yang terbaik di antara dua karin, kepergian dan kedatangan dunia ini"
Penyebutan ".. sukacita keluarga putri dari cucu Raja Sri Mara.." mungkin mengindikasikan keberadaan sistem matrilineal, yang menerapkan pewarisan harta kepada kerabat perempuan. Kata karin dapat berarti "gading" atau "pajak", yang di sini mungkin saja berarti sang raja seorang yang pemurah.

Penggunaan istilah Sanskerta tertentu pada teks prasasti, menurut Jean Filliozat, menunjukkan kemungkinan bahwa epik Ramayana karya Valmiki telah tersebar di Semenanjung Indocina pada saat dibuatnya prasasti ini. Istilah keagaamaan Hindu yang digunakan pada prasasti diperkirakan berasal dari masa pra-purana.

Rabu, 15 September 2010

สุลต่านมูฮัมหมดฟารีสเปตรา : สุลต่านองค์ใหม่แห่งรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย

โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน

รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ได้สุลต่านองค์ใหม่
เมื่อ 13 กันยายยยน 2010 รัฐกลันตันได้มีสุลต่านองค์ใหม่ โดยเต็งกูมูฮัมหมัดฟาริสเปตรา (Tengku Muhammad Faris Petra ) พระโอรสองค์โตของตวนกูอิสมาแอลเปตรา(Tuanku lsmail Petra) สุลต่านองค์เก่าที่ทรงประชวร ได้ขึ้นเป็นสุลต่านตามมติของสภาองคมนตรีแห่งรัฐกลันตัน (Majlis Perajaan Negeri Kelantan) โดยใช้พระนามว่า สุลต่านมูฮัมหมัดที่ 5 (Sultan Muhammad ke V) ถือเป็นสุลต่านแห่งรฐกลนตันองค์ที่ 29 สำหรับสุลต่านองค์ใหม่นี้ ครั้งหนึ่งเคยแต่งงานกับคนจังหวัดชายแดนภาคใต้จนมีข่าวโด่งดังตามหนังสือประเทศไทย

สภาพการประชวรของสุลต่านองค์เก่า

สภาพการประชวรของสุลต่านองค์เก่า

พระองค์มีพี่น้องอีก 3 องค์ คือ เต็งกูมูฮัมหมัดฟาอิซ เปตรา (Tengku Muhammad Faiz Petra ), เต็งกูมูฮัมหมัดฟัครี เปตรา (Tengku Muhammad Fakhry Petra) และ เต็งกูอามาลิน อาอีชะห์ ปุตรี (Tengku Amalin A’ishah Putri)

พระองค์ประสูติเมื่อเดือน 6 ตุลาคม 1969 ได้รับการแต่งตั้งเป็นมกุฎราชกุมาร เมื่อเดือนตุลาคม 1985 ได้รับ
การศึกษาชั้นต้นที่เมืองโกตาบารู และกรุงกัวลาลัมเปอร์ ต่อมาศึกษาต่อที่ Oakham School Rutland ประเทศอังกฤษ จนถึงปี 1989 ต่อมาเข้าศึกษาด้านการทูตที่ วิทยาลัยเซนต์ครอสส์ (St. Cross College) และศึกษาที่ Oxford Centre for Islamic Studies ประเทศอังกฤษจนถึงปี 1991 พระองค์ทรงเป็นที่ยอมรับของชาวรัฐกลันตัน

พิธีการแต่งตั้งเป็นสุลต่านแห่งรัฐกลันตัน

เต็งกูมูฮัมหมัดฟาริสเปตรา (Tengku Muhammad Faris Petra)หรืออีกพระนามหนึ่งว่า สุลต่านมูฮัมหมัดที่ 5 (Sultan Muhammad ke V)

สายราชวงศ์แห่งรัฐกลันตัน

ครอบครัวสุลต่านแห่งรัฐกลันตัน

เต็งกูมูฮัมหมัดฟาอิซ เปตรา (Tengku Muhammad Faiz Petra )

เต็งกูมูฮัมหมัดฟัครี เปตรา (Tengku Muhammad Fakhry Petra)

เต็งกูอามาลิน อาอีชะห์ ปุตรี (Tengku Amalin A’ishah Putri)

จากการที่อาจารย์แผนกวิชามลายูศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีได้ลงภาคสนามสำรวจการยอมรับของชาวรัฐกลันตันที่มีต่อพระองค์นั้น ปรากฏว่าส่วนใหญ่ที่ได้สัมภาษณ์ ประชาชนยอมรับในสุลต่านพระองค์นี้ ด้วยเหตุผลเป็นสุลต่านที่ไม่ถือพระองค์ มีความรู้ด้านศาสนาอิสลาม สามารถเชือดวัวเพื่อการกุรบานได้ และยังสามารถเป็นอีหม่ามในการละหมาดโดยมีมุขมนตรีเป็นผู้ตาม ชาวรัฐกลันตันถือว่าการที่มุขมนตรี นายนิอับดุลอาซีซ นิมัต ( Tuan Guru Nik Abdul Aziz Nik Mat) ผู้มีความรู้ด้านศาสนาอิสลามยอมรับในการเป็นผู้นำละหมาดของสุลต่านองค์ใหม่ ถือว่าไม่ใช่เป็นเรื่องธรรมดา

ทำหน้าที่เป็นอิหม่ามในการละหมาด

ทำหน้าที่เป็นอิหม่ามในการละหมาด

มีความใกล้ชิดกับประชาชนชาวรฐกลันตัน

ทรงขับรถด้วยตนเอง

สุลต่านมูฮัมหมัดที่ 5 (Sultan Muhammad ke V)ขณะเป็นมกุฎราชกุมารทำการเชือดวัวกุรบ่านด้วยตนเอง

สุลต่านมูฮัมหมัดที่ 5 (Sultan Muhammad ke V)ขณะเป็นมกุฎราชกุมารทำการเชือดวัวกุรบ่านด้วยตนเอง

Jumaat, 10 September 2010

มารู้จัก สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งบรูไน (RTB : Radio Televisyen Brunei)กันดีกว่า

โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน

เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2010 ที่ผ่านมา คุณฮัสนัน ฮัจญีสุไฮลี หัวหน้าวิทยุเนชั่นนัล เอฟ.เอ็ม. ของสถานีวิทยุโทรทัศน์บรูไน(RTB)โทรศัพท์ทางไกลแจ้งว่าในวันที่ 9 กันยายน 2010 ขอสัมภาษณ์ข้าพเจ้าผ่านโทรศัพท์จากประเทศบรูไน ถึงการเตรียมตัวของชาวมลายูมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ในการต้อนรับวันรายาอัยดิลฟิตรี หรือวันรายอ และในวันดังกล่าวข้าพเจ้าก็ใช้เวลาเกือบ 16 นาทีในการพูดคุยถึงการเตรียมตัวของชาวมลายูมุสลิม ในที่นี้ข้าพเจ้าคิดว่าเรามาทำความรู้จักกับสถานีวิทยุโทรทัศน์บรูไน



ความเป็นมาของสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งบรูไน
สถานีวิทยุแห่งนี้เริ่มออกอากาศโดยการอนุญาตของสุลต่านบรูไนขณะนั้น คือ สุลต่านโอมาร์ อาลี ไซฟุดดิน ซาอาดุล คัยรี วัดดีน ผู้เป็นพระบิดาของสุลต่านฮัสซันนัลโบเกียะห์ สุลต่านองค์ปัจจุบัน เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 1957 เวลา 07.45 น. ได้ประกาศออกอากาศว่า "Inilah Radio Brunei" มีความหมายว่า "ที่นี่ วิทยุบรูไน" ขณะนั้นวิทยุบรูไนสามารถออกอากาศได้ในรัศมี 8 กิโลเมตรเท่านั้น ออกอากาศระหว่างเวลา 07.30 ถึง 09.45 น. โดยออกอากาศวันละ 2.45 ชั่วโมง เป็นภาษามลายู 1.5 ชั่วโมง ภาษาอังกฤษ 45 นาที

ปัจจุบันสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งบรูไนนอกจากมีสถานีหลักอยู่ในตัวเมืองบันดาร์ ศรีเบอกาวันแล้ว ยังมีสถานีย่อยตั้งกระจายทั่วประเทศบรูไนอีก 4 แห่ง คือ
1. สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งบรูไน ประจำสุไหงอาการ์
2. สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งบรูไน ประจำเขตตูตง
3. สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งบรูไน ประจำเขตเติมบูรง
4. สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งบรูไน ประจำเขตเบอไลต์

กิจการสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งบรูไน
สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งบรูไนแบ่งกิจการออกเป็น 2 ส่วนคือ กิจการด้านวิทยุและกิจการด้านโทรทัศน์

กิจการด้านวิทยุ
สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งบรูไนมีคลื่นวิทยุอยู่ 4 คลื่น คือ
1. คลื่นเนชั่นนัล เอฟ.เอ็ม. (Nasional FM)
เริ่มตั้งแต่ปี 1957 ออกอากาศเป็นภาษามลายู ออกอากาศตั้งแต่เวลา 04.30 น. ถึง 24.00 น.

2. คลื่นปีลีฮัน เอฟ.เอ็ม.(Pilihan FM) ปีลีฮัน มีความหมายว่า ทางเลือก
เริ่มตั้งแต่ปี 1967 ออกอากาศเป็นภาษาอังกฤษและภาษาจีน ออกอากาศตั้งแต่เวลา 06.00 น. ถึง 24.00 น.

3. คลื่นเปอลางี เอฟ.เอ็ม.(Pelangi FM) เปอลางี มีความหมายว่า สายรุ้ง
เริ่มตั้งแต่ปี 1995 ออกอากาศเป็นภาษาอังกฤษและภาษาจีน เป็นคลื่นสำหรับเด็ก เยาวชนและคนวัยเรีน ออกอากาศตั้งแต่เวลา 06.00 น. ถึง 24.00 น.

4. คลื่นฮาร์โมนี เอฟ.เอ็ม.(Harmoni FM)
เริ่มตั้งแต่ปี 1996 ออกอากาศเป็นภาษามลายู เป็นคลื่นสำหรับคนอายุ 25 ปีขึ้นไป กลุ่มแม่บ้าน ออกอากาศตั้งแต่เวลา 06.00 น. ถึง 24.00 น.

5. คลื่นนูร์อิสลาม เอฟ.เอ็ม.(Nur Islam FM)
เริ่มตั้งแต่ปี 1997 ออกอากาศเป็นภาษามลายู เป็นคลื่นสำหรับคนอายุ 25 ปีขึ้นไป เป็นคลื่นเผยแพร่ศาสนาอิสลาม ออกอากาศตั้งแต่เวลา 06.00 น.ถึง 24.00 น.

กิจการด้านโทรทัศน์
สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งบรูไนมีโทรทัศน์อยู่ 5 ช่อง คือ
1.RTB ช่อง 1 เป็นช่องข่าว กีฬา และสารคดี
2.RTB ช่อง 2 เป็นช่องบันเทิง
3.RTB ช่อง 3
4.RTB ช่อง 4 เป็นช่องนานาชาติ
5.RTB ช่อง 5 เป็นช่องที่มีรายการแนวทางศาสนาอิสลาม เริ่มต้งแต่ 1 มกราคม 2010

กลุ่มผู้ระกาศข่าว พิธีกรของสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งบรูไน

ขณะเตรียมออกอากาศ

ความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน
สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งบรูไนได้ร่วมมือกับสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งมาเลเซีย(RTM : Radio Televisyen Malaysia)และสถานีวิทยุสาธารณรัฐอินโดเนเซีย(RRI : Radio Republik Indonesia)ออกอากาศรายการวิทยุที่เรียกว่า Radio Tiga Serumpun หรือ วิทยุสาม ร่วมชาติพันธุ์(มลายู)

ข้าพเจ้าได้เข้าไปที่สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งบรูไนครั้งแรกเมื่อ 14 ธันวาคม 2009 โดยคุณฮัจญีมุสตสฟา เพื่อนชาวบรูไนได้พาไปยังสถานีวิทยุโทรทัศน์ดังกล่าว เมื่อครั้งที่วิทยุที่ชื่อว่า Pilihan FM จะสัมภาษณ์เพื่อนชาวมาเลเซีย แม้ประเทศบรูไนจะเป็นประเทศร่ำรวย แต่สถานีวิทยุแห่งนี้มีสภาพที่ไม่แตกต่างจากสถานีวิทยุต่างจังหวัดของบ้านเรา

เก็บภาพภายในห้องส่งของวิทยุ Pilihan

ถ่ายภาพหน้าสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งบรูไน

เพื่อนชาวมาเลเซียขณะกำลังสัมภาษณ์รายการวิทยุของวิทยุ Pilihan

นักจัดรายการวิทยุชาวบรูไนเชื้อสายอินเดีย

นักจัดรายการวิทยุชาวบรูไนเชื้อสายอินเดีย

ถ่ายภาพภายในสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งบรูไน

ถ่ายภาพกับเพื่อนชาวมาเลเซียและชาวบรูไนภายในสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งบรูไน

และในเดือนกรกฎาคม 2010 ข้าพเจ้าก็ได้เดินทางไปยังสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งบรูไนอีกครั้ง ครั้งนี้เป็นการเข้าร่วมงานสัมมนาด้านวรรณกรรม ที่มีชื่อว่า งานวรรณกรรมโลกมลายูครั้งที่ 4 (Pertemuan Penyair Nusantara ke IV) ซึ่งจัดสัมมนากันที่ห้องประชุมของสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งบรูไน และทางวิทยุเนชั่นนัลถือโอกาสสัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมงานสัมมนาจากประเทศที่เข้าร่วม คือชาวบรูไน เจ้าภาพงาน ชาวมาเลเซีย ชาวอินโดเนเซีย และข้าพเจ้าจากภาคใต้ประเทศไทย

ถ่ายภาพภายในห้องส่งกับเพื่อนชาวบรูไน ชาวอินโดเนเซีย ชาวบรูไน และนักจัดรายการของวิทยุเนชั่นนัล

ขณะกำลังสัมภาษณ์วิทยุเนชั่นนัล

ถ่ายภาพหน้าสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งบรูไน

ถ่ายภาพกับอาจารย์ซาวา ปะดาอามีนหน้าสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งบรูไน