Rabu, 10 Mac 2010

การประชุมสภาภาษาบรูไน-มาเลเซีย-อินโดเนเซีย (MABBIM) ครั้งที่ 49 ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย

โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน

เมื่อวันที่ 7-12 มีนาคม 2553 ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย มีการประชุมระดับภูมิภาคงานหนึ่งเกี่ยวกับภาษา งานนั้นคือ การประชุมสภาภาษาบรูไน-มาเลเซีย-อินโดเนเซีย ครั้งที่ 49 หรือ Sidang Ke 49 Majlis Bahasa Brunei Darussalam-Indonesia-Malaysia สำหรับภาษาบรูไน-มาเลเซีย-อินโดเนเซียนี้รู้จักในชื่อย่อว่า MABBIM เป็นการประชุมของประเทศที่ใช้ภาษามลายู ซึ่งประกอบด้วยประเทศบรูไน, มาเลเซีย, อินโดเนเซีย มีตัวแทนสังเกตุการณ์จากประเทศสิงคโปร์ และประเทศตีมอร์เลสเต้ ส่วนตัวแทนจากประเทศไทยนั้น เป็นที่น่าเสียดายว่าไม่มี และน่าจะไม่มีมาหลายปีแล้ว !!!


ทั้งๆที่ก่อนหน้านี้จะมีชื่อ ผศ.ดร.วรวิทย์ บารู และ รศ.ดร.สุมาลี นิมมานุภาพ (ทั้งสองท่านเป็นดุษฎีบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยมาลายา ประเทศมาเลเซีย) ร่วมขบวนกับเขาด้วย การประชุมครั้งที่ 48 จัดขึ้นที่ประเทศบรูไน น่าจะไม่มีตัวแทนประเทศไทย เพราะถ้ามีแล้ว ย่อมต้องมีการเชิญตัวแทนเข้าร่วมในการประชุมครั้งที่ 49 นี้ ส่วนการประชุมครั้งที่ 47 จัดขึ้นที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนเนเซีย ครั้งนั้นก็น่าจะไม่มีตัวแทนประเทศไทย เพราะช่วงเวลาดังกล่าวได้ร่วมกับนักศึกษาแผนกวิชามลายูศึกษาเดินทางไปทัศนศึกษาที่กรุงจาการ์ตา เมืองบันดุง และเมืองโบโกร์ ขณะอยู่ที่กรุงจาการ์ตา ได้ไปเยี่ยมศูนย์ภาษา หรือ Pusat Bahasa ศูนย์ที่รับผิดชอบเกี่ยวกับภาษาอินโดเนเซีย ปรากฎว่า เจ้าหน้าที่ระดับสูงของศูนย์ภาษาได้ขอให้เข้าร่วมสังเกตุการณ์ในนามของประเทศไทย แต่ด้วยไปจองตั๋วเครื่องบินขากลับลแล้ว จึงไม่สามารถเข้าร่วมงานได้

สำหรับการประชุมครั้งที่ 49 นี้ เป็นการบังเอิญที่มีการประชุมในช่วงที่มีธุระต้องทำที่มหาวิทยาลัยมาลายา จึงใช้วิธีทูอินวัน (two in one)คือหลังจากเสร็จงานที่มหาวิทยาลัยมาลายาแล้วจึงเข้าร่วมสังเกตุการณ์การประชุมสภาภาษาบรูไน-มาเลเซีย-อินโดเนเซีย ครั้งที่ 49 ถือว่าเป็นการสร้างความสัมพันธ์ไมตรี ได้พบเพื่อนเก่า พบคนรู้จักที่เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้

ตันศรี มุห์ยิดดิน บินมูฮัมหมัดยัสซิน รองนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย

รองนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย กล่าวเปิดพิธีการประชุมสภาภาษาบรูไน-อินโดเนเซีย-มาเลเซีย

เปิดตัวหนังสือที่จัดพิมพ์ในนามของ MABBIM

ประธานเปิดงาน คือ ตันศรี มุห์ยิดดิน บินมูฮัมหมัดยัสซิน รองนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย นอกจากทำพิธีประธานเปิดงานแล้ว ยังเปิดตัวหนังสือจำนวน 3 เล่มที่เขียนในนามของ MABBIM หนังสือเหล่านี้พิมพ์โดย สถาบันหนังสือและภาษา มาเลเซีย (Dewan Bahasa dan Pustaka Malaysia)คือ

1.Carik Carik Bulu AyamKisah Runding Bahasa Dunia Melayu เขียนโดย ศ.ดร.อัสมะห์ ฮัจญี โอมาร์ (Prof. Dr. Asmah Haji Omar)



2.Tokoh Pembinaan Bahasa Melayu Serantau 35 Tahun MABBIM เขียนโดย ราชา มาซิตตะห์ ราชาอารีฟฟิน (Raja Masittah Raja Ariffin)



3.Kajian Keberterimaan Istilah MABBIM


การเริ่มเปิดการประชุมนั้น ก่อนที่ประธานจะทำการเปิดพิธีการประชุม ตัวแทนของแต่ละประเทศ ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากบรูไน ดารุสสาลาม, อินโดเนเซีย และมาเลเซีย ได้ขึ้นกล่าวบนเวที เริ่มด้วยผู้อำนวยการ สถาบันหนังสือและภาษา มาเลเซีย คือ ดาโต๊ะ ฮัจญี เตอร์มูซี บินฮัจญีอับดุลอาซีซ (Dato' Haji Termuzi Bin HajiAbdul Aziz)ในฐานะเป็นหัวหน้าคณะตัวแทนประเทศมาเลเซีย ต่อมาเป็น ดร. ซูหีโยโน (Dr. Sugiyono)หัวหน้าคณะตัวแทนประเทศอินโดเนเซีย หลังจากนั้นเป็นคุณดายัง ฮัจญะห์อามีนะห์ บินตีฮัจญีมุมิน (Dayang Hajah Aminah Binti Haji Momin)ผู้อำนวยการ สถาบันหนังสือและภาษา ประเทศบรูไนดารุสสาลาม ในฐานะเป็นหัวหน้าคณะตัวแทนประเทศบรูไน จากนั้นเป็นคุณยุฟรี ซูปาอัต หัวหน้าตัวแทนประเทศสิงคโปร์

ดาโต๊ะ ฮัจญี เตอร์มูซี บินฮัจญีอับดุลอาซีซ

คุณดายัง ฮัจญะห์อามีนะห์ บินตีฮัจญีมุมิน

กำลังสลาม จับมือกับผู้เข้าร่วมประชุม

รับประทานอาหารว่างกับ Drs. Masran Sabran (คนกลาง) ตัวแทนจากประเทศสิงคโปร์ เราเจอกันก่อนหน้านี้ที่ ประเทศบรูไน

ภายในห้องประชุม

หลังจากที่ท่านได้เปิดพิธีแล้ว ก็ได้สลามกับผู้เข้าร่วมประชุม ขณะที่สลามกับรองนายกรัฐมนตรีนั้น ได้กล่าวว่า "ผมมาจากภาคใต้ประเทศไทย ครับ!" ท่านตอบว่า "โอ้! มาไกลนะ " ที่จริงอยากบอกท่านว่า ความจริงประเทศไทยกับมาเลเซียไม่ไกลหรอกครับ จากสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาสแค่เดินข้ามสะพานมิตรภาพไทย-มาเลเซียไม่เกิน 5 นาที ก็ถึงตลาดรันเตาปันยัง รัฐกลันตัน แล้วนะครับ ถึงจะอย่างงั้นก็ตาม คนในประเทศไทยยังรู้จักประเทศเพื่อนบ้าน เช่น มาเลเซีย หรือ อินโดเนเซีย น้อยเกินไป บางทีแม้แต่ชื่อของสภาภาษาบรูไน-มาเลเซีย-อินโดเนเซีย หรือ Majlis Bahasa Brunei Darussalam-Indonesia-Malaysia (MABBIM) เราอาจไม่เคยได้ยินก็ได้ ทั้งๆที่องค์กรนี้จัดตั้งมา 35 ปีแล้ว

ประวัติความเป็นมาของ MABBIM
องค์กร MABBIM เป็นคำย่อของ Majlis Bahasa Brunei-Indonesia-Malaysia มีความหมายว่า สภาภาษาบรูไน-อินโดเนเซีย-มาเลเซีย เป็นองค์กรในระดับภูมิภาคที่เกี่ยวกับภาษา จัดตั้งขึ้นเพื่อวางแผน ดูแล ตรวจสอบ การพัฒนาการของภาษามลายู/อินโดเนเซียในภูมิภาคนี้ องค์กรนี้มีสมาชิกประกอบด้วย 3 ประเทศคือ บรูไน, อินโดเนเซีย และมาเลเซีย

องค์กร MABBIM เป็นองค์กรที่ต่อเนื่องจากองค์กรที่ชื่อว่า Majlis Bahasa Indonesia-Malaysia หรือ MBIM มีความหมายว่า สภาภาษาอินโดเนเซีย-มาเลเซีย ซึ่งจัดตั้งขึ้นเมื่อ 29 ธันวาคม 1972 หลังจากที่มีการประกาศร่วมจัดตั้งโดย Tun Hussein Onn อดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ขณะดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการมาเลเซีย และ Mashuri Saleh S.H.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและวัฒนธรรม สาธารณรัฐอินโดเนเซีย เมื่อ 23 พฤษภาคม 1972 ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดเนเซีย

องค์การ MBIM ได้กลายมาเป็นองค์กร MABBIM เมื่อมีการเพิ่มประเทศบรูไน ดารุสสาลาม เข้าเป็นสมาชิกองค์กร เมื่อ 4 พฤศจิกายน 1985 เมื่อมีการประชุมสภาภาษาครั้งที่ 24 สำหรับประเทศสิงคโปร์มีฐานะเป็นตัวแทนสังเกตุการณ์จนถึงปัจจุบัน

ตราของ MABBIM

การประชุมที่ประเทศบรูไน ปี 2009

การประชุมที่ประเทศบรูไน ปี 2009

การประชุมที่ประเทศบรูไน ปี 2009

เพลงประจำ MABBIM
Gema hasrat warga
Sama cita rasa
Jejak mengimbau rampak serantau
MABBIM wadah kita

NUsa bersaudara
Sama tutur kata
Rumpun sedarah penghimpun madah
MABBIM citra basa

Tabah mencerna khazanah ilmu
Gagah membina peradaban
Penggerak warisan pemacu wawasan
Agung bahasaku

Teguh mengukir harapan zaman
Kukuh menjadi ikatan
Bestari bahasa lestari budaya
MABBIM maju jaya

Tiada ulasan: