Khamis, 21 Januari 2010

ชนชาวมลายูดั้งเดิม หรือ Melayu Asli

โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน
ชนชาวพื้นเมืองดั้งเดิมในแหลมมลายู หรือที่เรียกว่า คนมลายูอัสลี นั้น ตามรัฐธรรมนูญของประเทศมาเลเซียถือว่ากลุ่มชาวมลายูดั้งเดิมนี้เป็นชนชาวภูมิบุตรของประเทศมาเลเซียด้วย สำหรับชนชาวมลายูดั้งเดิมนี้แบ่งออกเป็น 19 เผ่า และทั้งหมดได้แยกออกเป็น 3 กลุ่มคือ

1. ชาวเซมัง (Semang)
เป็นกลุ่มชนที่มีผิวค่อนข้างดำ ผมหยิก ร่างกายเล็ก บางครั้งเรียกกลุ่มนี้ว่า กลุ่มเนโกรโต (Negroto)แต่ในรัฐปาหัง และรัฐเปรัค จะเรียกชนกลุ่มนี้ว่า เซมัง กลุ่มชนเซมัง ยังแบ่งออกเป็น กลุ่มย่อยอีกหลายกลุ่ม เช่น

1.1 Bateq
กลุ่มเผ่าบาติก หรือ บาเต๊ะ มีความหมายว่า ประชาชนของกลุ่มเรา (people of our group)อาศัยอยู่ในอำเภอกัวลาไกร รัฐกลันตัน อำเภอเบอซุต รัฐตรังกานู อำเภอเยอรันตุต และอำเภอกัวลาลีปิส รัฐปาหัง ส่วนหนึ่งของเผ่าบาติก อาศัยอยู่บริเวณชุมชนที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลมาเลเซีย บริเวณตอนกลางของแม่นำเลอเบร์ นอกจากนั้นยังมีที่ตั้งถิ่นฐานบริเวณป่าสงวนแห่งชาติ ชายแดนติดต่อระหว่างรัฐกลันตันกับรัฐปาหัง


แหล่งถิ่นฐานของชาวบาติก



ชาวบาติก


1.2 Jahai
กลุ่มชาวจาไฮ หรือ ยาไฮ จะเรียกตนเองว่า ยะห์เยอไฮ (Jah Jehai)และบางครั้งจะเรียกว่าคนเซมัง ตัวเตี้ย ผมหยิก พบในอำเภอเยอลี รัฐกลันตันและอำเภอฮูลูเปรัค รัฐเปรัค ชีวิตประจำวันจะล่าสัตว์เป็นอาหาร กินเผือก มัน


แหล่งถิ่นฐานของชาวจาไฮ



ชาวจาไฮ


1.3 Kensiu
ชาวเกนซิว เป็นชาวพื้นเมืองดั้งเดิมที่มีภาษาพูดใกล้เคียงกับชาวพื้นเมืองดั้งเดิมเผ่ากินตัก ด้วยทั้งสองเผ่ามีความสัมพันธ์ทางสังคม เศรษฐกิจ พบในอำเภอบาลิง รัฐเคดะห์ ส่วนหนึ่งพบในรัฐเปรัคและรัฐกลันตัน ชาวเกนซิวมีความสัมพันธ์กับชาวเกนซิวที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย


แหล่งถิ่นฐานของชาวเก็นซิว



ชาวเก็นซิว


1.4 Kintak
เป็นกลุ่มที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับชาวเกนซิว ชาวกินตักจะพบอาศัยอยู่ในบริเวณเมืองกริก อำเภอฮูลูเปรัค รัฐเปรัค พบบางส่วนอาศัยอยู่ในรัฐกลันตัน


แหล่งถิ่นฐานของชาวกินตัก



ชาวกินตัก


1.5 Lanoh
เป็นกลุ่มที่มีผมหยิก ผิวดำ ชื่อว่า ลาเนาะห์ เป็นชื่อที่ใช้เรียกกลุ่มที่เรียกตนเองว่า เซมนัม (Semnam), ซาบุม (Sabum )และลาเนาะห์ยีร์ (Lanoh Yir) พบชนเผ่าลาเนาะห์บริเวณรัฐเปรัค


แหล่งถิ่นฐานของชาวชาวลาเนาะห์



ชาวลาเนาะห์


1.6 Mendriq
เป็นกลุ่มชนที่มีผิวดำ ผมหยิก รูปร่างเตี้ยกว่าชาวมาเลเซียทั่วไป มีชนเผ่านี้อาศัยอยู่ชุมชนชาวพื้นเมืองดั้งเดิมในอำเภอกัวมูซัง รัฐกลันตัน


แหล่งถิ่นฐานของชาวเมนดริก



ชาวเมนดริก


2. ชาวเซอนอย (Senoi)
เป็นกลุ่มชนที่เป็นนักล่าสัตว์ ตั้งถิ่นฐานอยู่ในรัฐเปรัค รัฐกลันตัน และรัฐปาหัง ชาวเซอนอย แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยอีกหลายกลุ่ม เช่น

2.1 Che Wong
ชนพื้นเมืองดั้งเดิมเผ่านี้จะรู้จักในนามของซีวัง (Siwang) แต่คำว่าเจ๊ะวง หรือ Che Wong จะเป็นที่รู้จักของคนภายนอก ชนชาวเจ๊ะวงจะอาศัยอยู่ในอำเภอราอุบ (Raub)รัฐปาหัง นอกจากนั้นยังพบในรัฐเปรัค รัฐสลังงอร์ และรัฐโยโฮร์ ชาวเจ๊ะวงจะประกอบอาชีพเป็นชาวไร่ และล่าสัตว์


แหล่งถิ่นฐานของชาวเจ๊ะวง



ชาวเจ๊ะวง


2.2 Mahmeri
ชื่อของชนเผ่า Mahmeri นั้นมาจากคำสองคำ คือ มะห์ (Mah) มีความหมายว่า คน ส่วนคำว่า เมอรี (meri) มีความหมายว่า ป่า ดังนั้น มะห์เมอรี จึงมีความหมายว่า คนป่า เป็นกลุ่มชนที่พบในรัฐสลังงอร์ รัฐนัครีซัมบีลัน รัฐมะละกา และรัฐโยโฮร์


แหล่งถิ่นฐานของชาวมะห์เมอรี



ชาวมะห์เมอรี


2.3 Jah Hut
ชื่อของชนเผ่า Jah Hut นั้นมาจากคำสองคำ คือ ยะห์ (Jah) มีความหมายว่า คน ส่วนคำว่า ฮุต (hut) มีความหมายว่า ไม่ใช่ ดังนั้น จึงมีความหมายว่า ไม่ใช่คน กลุ่มชนเผ่านี้พบบริเวณเชิงเขาในอำเภอเยอรันตุต และอำเภอเตอเมอร์โละห์ รัฐปาหัง


แหล่งถิ่นฐานของชาวยะห์ ฮุต



ชาวยะห์ ฮุต


2.4 Semoq Beri
คำว่า เซม๊อคเบอรี (Semoq Beri) นั้น คำว่า เซม๊อค(Semoq ) มีความหมายว่า คน ส่วนคำว่า เบอรี (Beri)มีความหมายว่า ป่ารกทึบ ดังนั้นชนเผ่านี้มีความหมายว่า คนที่อาศัยอยู่ในป่ารกทึบ ชนกลุ่มนี้จะเรียกตนเองเพียงว่า เซม๊อค แต่คนภายนอกจะรู้จักในชื่อ เซม๊อคเบอรี พบในป่าทึบของอำเภอเยอรันตุต อำเภอกวนตัน อำเภอมารัน รัฐปาหัง อำเภอเกอมามันและอำเภอฮูลูตรังกานู รัฐตรังกานู


แหล่งถิ่นฐานของชาวเซอม๊อค เบอรี



ชาวเซม๊อค เบอรี


2.5 Semai
ชนกลุ่มนี้บางกลุ่มจะเรียกตนเองว่า ไม ดารัต (Mai darat) ประกอบอาชีพด้วยการเพาะปลูก ล่าสัตว์


แหล่งถิ่นฐานของชาวเซไม



ชาวเซไม


2.6 Temiar
กลุ่มนี้อาศัยอยู่ในรัฐเปรัค รัฐกลันตัน รัฐปาหัง รัฐสลังงอร์ และรัฐนัครีซัมบีลัน ชนเผ่าเตอเมียร์นี้ บางครั้งชาวมลายูทั่วไปจะเรียกว่า ชาวซาไก


แหล่งถิ่นฐานของชาวเตอเมียร์



ชาวเตอเมียร์


3. ชาวมลายูโปรโต (Melayu Proto)
เป็นอีกหนึ่งในกลุ่มชนชาวมลายูดั้งเดิม กลุ่มนี้สามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยอีก 6 กลุ่ม ประกอบด้วย

3.1 Jakun
ชนเผ่าจากุน กล่าวว่าเป็นชนเผ่าที่อาศัยอยู่ในแหลมมลายูมานับหลายพันปีมาแล้ว ชนเผ่านี้ทางกรมกิจการชนพื้นเมืองดั้งเดิม จะเรียกว่า โอรังฮูลู (Orang Hulu)มีความหมายว่า คนทางตอนเหนือ แต่ชนกลุ่มนี้จะเรียกตนเองว่า จากุน หรือ ยากุน พบในรัฐโยโฮร์ และรัฐปาหัง


แหล่งถิ่นฐานของชาวจากุน



ชาวจากุน


3.2 Orang Kanaq
ชนเผ่ากานักมีถิ่นฐานเดิมอยู่ในเกาะเซอกานัก ของหมู่เกาะเรียว ประเทศอินโดเนเซีย ชนเผ่านี้ได้เดินทางมายังแหลมมลายูเมื่อกลางศตวรรษที่ 19 ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวทางรัฐโยโฮร์ต้องการแรงงานในกิจการป่าไม้ พบชนเผ่านี้ในหมู่บ้านที่เรียกว่า หมู่บ้านเซอลางี (Kampong Selangi)ในรัฐโยโฮร์


แหล่งถิ่นฐานของชาวกานัก



ชาวกานัก


3.3 Orang Kuala
คำว่า โอรังกัวลา มาจากคำสองคำ คือ โอรัง (orang) มีความหมายว่า คน ส่วนคำว่า กัวลา (kuala) มีความหมายว่า อ่าว ปากน้ำ ดังนั้นโอรังกัวลา จึงมีความหมายว่า คนปากน้ำ หรือ คนปากอ่าว กลุ่มชนเผ่านี้จะเรียกตนเองว่า ดูวานอ (Duano) แต่มีบางกลุ่มเรียกตนเองว่า เดซิน โดลัก (Desin Dolaq) มีความหมายว่า คนแห่งทะเล หรือที่ชาวมลายูเรียกว่า โอรังลาอุต (orang laut) พบชนเผ่านี้บริเวณริมปากน้ำของอำเภอปาตูปาฮัต และอำเภอปอนเตียนของรัฐโยโฮร์


แหล่งถิ่นฐานของชาวโอรังกัวลา



ชาวโอรังกัวลา


3.4 Orang Seletar
กลุ่มชนเผ่าเซอเลตาร์นี้ ครึ่งหนึ่งของกลุ่มชนอาศัยอยู่ทางตอนเหนือของประเทศสิงคโปร์ ชาวเซอเลตาร์สืบเชื้อสายมาจากกลุ่มชาวทะเล หรือ โอรังลาอุต (orang laut)ซึ่งเดิมกลุ่มชนชาวทะเลนี้อาศัยอยู่ในหมู่เกาะของประเทศอินโดเนเซีย ในยุคที่รัฐมะละการุ่งเรืองนั้น กองทัพเรือรัฐมะละกา ถือเป็นกองทัพเรือที่เข้มแข็งอีกแห่งหนึ่ง ความเข้มแข็งของกองทัพรัฐมะละกาในอดีตนั้น ส่วนหนึ่งมาจากทหารที่เป็นชาวทะเล ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของชนเผ่าเซอเลตาร์


แหล่งถิ่นฐานของชาวเซอเลตาร์



ชาวเซอเลตาร์


3.5 Semelai
กลุ่มชนชาวเซอเมอไล เป็นชนเผ่าที่พบอาศัยอยู่ในรัฐนัครี ซัมบีลัน รัฐปาหัง รัฐสลังงอร์ รัฐมะละกา และรัฐโยโฮร์ ส่วนหนึ่งของชนเผ่าเซอเมอไลอาศัยอยู่บริเวณรอบทะเลสาบบือรา ซึ่งตั้งอยู่ในอำเภอบือรา รัฐปาหัง ชาวเซอเมอไลที่เป็นสตรีจะมีชื่อเสียงในเรื่องการทอเสื่อ


แหล่งถิ่นฐานของชาวเซอเมอไล



ชาวเซอเมอไล


3.6 Temuan
กลุ่มชนชาวเตอมวน เป็นกลุ่มชนเผ่าที่พบอาศัยอยู่ในรัฐมะละกา รัฐนัครีซัมบีลัน รัฐปาหัง รัฐสลังงอร์ และรัฐโยโฮร์ เป็นกลุ่มที่มีความสัมพันธ์กับชุมชนชาวมลายู ทำให้รับส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมมลายูมาใช้ด้วย


แหล่งตั้งถิ่นฐานของชาวเตอมวน



ชาวเตอมวน


จำนวนประชากรชาวมลายูอัสลี
จำนวนชาวมลายูอัสลีทั่วประเทศรวมกันมีจำนวนแสนกว่าคน นับว่ามีจำนวนมากมากจนกลุ่มน้อยบางกลุ่ม เช่น กลุ่มชาวมาเลเซียเชื้อสายไทยพุทธ นอกจากนั้น ทั้งกลุ่มชาวมลายูอัสรี และกลุ่มชาวมาเลเซียเชื้อสายไทยพุทธ ยังมีตัวแทนของกลุ่มตนเองในรัฐสภาของประเทศมาเลเซีย เพียงแต่ในปัจจุบัน ด้วยเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในประเทศมาเลเซีย ทำให้รัฐเคดะห์ตกอยู่ใต้การปกครองของพรรคปาส (พรรคอิสลามแห่งมาเลเซีย)และนักการเมืองฝ่ายรัฐบาลหลายคนสอบตก จนโควต้าตำแหน่ง ส.ว.ในนามพรรคอัมโน ที่เคยให้กับกลุ่มชาวมาเลเซียเชื้อสายไทยพุทธ ต้องให้โควต้ากับคนอื่นไป


ประชากรชาวมลายูอัสลีทั่วประเทศมาเลเซีย


รัฐบาลมาเลเซียได้มีการจัดตั้งกรมที่รับผิดชอบเกี่ยวกับคนพื้นเมืองดั้งเดิม หรือ โอรังอัสลี โดยกรมนี้จัดตั้งขึ้นในปี 1954 โดยใช้ชื่อว่ากรมกิจการเกี่ยวกับโอรังอัสลี (Jabatan Hal Ehwal Orang Asli)หรือ Department of Orang Asli Affairs

Tiada ulasan: