Jumaat, 8 Januari 2010

ศูนย์นูซันตาราศึกษา : อดีต ปัจจุบัน และอนาคต

โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน
ในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ของชาวมลายูมุสลิม วันที่ 1 มูฮัรราม ฮิจเราะห์ศักราช 1443 ตรงกับวันที่ 18 ธันวาคม 2552 และวันขึ้นปีใหม่สากล วันที่ 1 มกราคม 2553 ที่ผ่านมา ถือเป็นการต้อนรับปีใหม่ ด้วยการเริ่มต้นใหม่ของศูนย์นูซันตาราศึกษา นับจากนี้ไปศูนย์นูซันตาราศึกษา (Nusantara Studies Center) ต้องพัฒนาตนเองสู่การเป็นศูนย์ที่มีความชำนาญด้านภูมิภาคมลายูศึกษา บทความนี้เริ่มเขียนขึ้น เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2553 ที่ผ่านมา ในขณะที่กำลังอยู่ที่ราชวังสุลต่านฮุสเซ็นแห่งสิงคโปร์ (Istana Sultan Husein) ปัจจุบันได้กลายเป็นศูนย์มรดกมลายู(Malay Heritage Center) การเดินทางมาประเทศสิงคโปร์ในครั้งนี้ นอกจากเป็นการพักผ่อนช่วงหยุดยาวปีใหม่แล้ว ยังเป็นการทัศนศึกษาประวัติศาสตร์และชุมชนชาวมลายูสิงคโปร์ภายในตัว

หน้าราชวังสุลต่านฮุสเซ็นแห่งสิงคโปร์ สุลต่านที่อังกฤษอุปโลกขึ้นมา

หน้ามัสยิดสุลต่าน มัสยิดที่ตั้งอยู่บริเวณชุมชนชาวมลายูสิงคโปร์

ศูนย์นูซันตาราศึกษา : ความเป็นมาในอดีต
ได้มีการจัดตั้งศูนย์นูซันตาราศึกษาขึ้นเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2007 (2550) นั้นคือการจัดตั้งที่ใช้วันที่มีตัวเลขสวยเท่านั้นเอง ไม่ได้มีความเชื่อใดๆทั้งสิ้น แรกเริ่มโดยบุคคลจำนวน 4 คน ต่อมาได้เสนอความคิด จนมีผู้สนใจเข้าร่วมจำนวนหนึ่ง จุดประสงค์แรกของการจัดตั้งศูนย์นูซันตาราศึกษาคือการศึกษา ค้นคว้า วิจัย และเผยแพร่องค์ความรู้ด้านภาษา วรรณกรรม ศิลปะ วัฒนธรรม การเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ ประวัติศาสตร์ของชนชาติมลายู ทั้งที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ประเทศอินโดเนเซีย มาเลเซีย บรูไน สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ ตีมอร์เลสเต เกาะโคโคส(ออสเตรเลีย)พม่า เวียดนาม กัมพูชา รวมทั้งภาคใต้ของประเทศไทยด้วย รวมถึงชาวมลายูโพ้นทะเล (Diaspora Malay)ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศมาดากัสการ์ อัฟริกาใต้ สุรีนาม ตะวันออกกลาง สหรัฐและยุโรป สู่สาธารณะ เพื่อให้ชาวไทยได้รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับชาวมลายูมากขึ้น เมื่อทำการสำรวจเว็บไซต์ข้อมูลประเทศเพื่อนบ้าน ที่จัดทำโดยหน่วยงานรัฐ หรือสถาบันอุดมศึกษา ในบรรดาประเทศเพื่อนบ้านทั้งหลาย ปรากฏว่าข้อมูลที่เกี่ยวกับประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดเนเซียค่อนข้างมีน้อยมาก หรือแทบจะไม่มีเว็บไซต์ที่ศึกษาเกี่ยวกับประเทศดังกล่าวโดยตรง เมื่อสำรวจเว็บไซต์ประเทศเพื่อนบ้าน ก็จะพบว่ามีเว็บไซต์ดังนี้

เว็บไซต์ศูนย์เวียดนามศึกษา ของมหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร มีเนื้อหาเกี่ยวกับข้อมูลต่างๆของประเทศเวียดนาม รวมทั้งความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร กับมหาวิทยาลัยในประเทศเวียดนาม ความจริงนอกจากมีศูนย์เวียดนามศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร ยังศูนย์เวียดนามศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

เว็บไซต์ศูนย์พม่าศึกษาของมหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นเว็บไซต์ที่มีข้อมูลเกี่ยวกับสังคม เศรษฐกิจ การเมือง สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม วรรณกรรม ของประเทศพม่า

เว็บไซต์ของศูนย์เขมรศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นเว็บไซต์ที่มีข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับประเทศเขมรหรือกัมพูชา นอกจากศูนย์เขมรศึกษาที่จัดตั้งในมหาวิทยาลัยมหาสารคามแล้ว ยังมีศูนย์เขมรศึกษา ของมหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมณ์อีกด้วย

ศูนย์ข้อมูลลาว ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นศูนย์ที่ให้ข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับประเทศลาว

นอกจากศูนย์ประเทศเพื่อนบ้านต่างๆที่กล่าวมาข้างต้น ยังมีศูนย์อินโดจีนศึกษา ของมหาวิทยาลัยบูรพา และมหาวิทยาลัยบูรพาได้ก้าวมาอีกก้าวหนึ่งเมื่อมีการจัดตั้งโต๊ะมาเลเซียขึ้นมา ทำหน้าที่ดูแลข้อมูลเกี่ยวกับประเทศมาเลเซีย เมื่อกลับมาดูทางภาคใต้ ไม่ปรากฏว่ามีเว็บไซต์เกี่ยวกับประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ หรืออินโดเนเซียใดๆเลย แม้ว่าสถาบันอุดมศึกษาในดินแดนภาคใต้มีหลายแห่ง รวมทั้งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ซึ่งถือเป็นจุดแข็งด้านภูมิภาคมลายู มีความใกล้ชิดกับประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ บรูไน และอินโดเนเซีย แม้จะมีสถาบันที่เกี่ยวข้องกับภูมิภาคมลายู แต่ยังไม่อาจตอบสนองด้านข้อมูลต่างๆได้ สิ่งนี้จึงเป็นส่วนหนึ่งในการจุดประกายให้มีการจัดตั้งศูนย์นูซันตาราศึกษา

การดำเนินการที่ผ่านมาในอดีต
การดำเนินงานนับตั้งแต่การจัดตั้งศูนย์นูซันตาราศึกษา มีหลายประการ เช่น

1. มุมหนังสือศูนย์นูซันตาราศึกษา
นอกจากมีหนังสือเกี่ยวกับมลายูศึกษาในหอสมุด จอห์น เอฟ. เคเนดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี แล้วยังมีหนังสือเกี่ยวกับมลายูศึกษาที่แผนกวิชามลายูศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ศูนย์นูซันตาราศึกษา ยังเป็นอีกส่วนหนึ่งในการเพิ่มหนังสือเกี่ยวกับมลายูศึกษา โดยการจัดตั้งมุมหนังสือศูนย์นูซันตาราศึกษาขึ้น หนังสือทั้งหมดมีประมาณ 4,000 เล่ม โดยหนังสือบางเล่มสามารถเรียกได้ว่าในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มีเพียงที่มุมหนังสือศูนย์นูซันตาราศึกษาเท่านั้น เช่น พจนานุกรมภาษามลายู-ภาษาบาจาว,พจนานุกรมภาษามลายู-ภาษาชวา, พจนานุกรมภาษามลายู-ภาษาซุนดา, พจนานุกรมภาษามลายู-ภาษาเกอดายัน, พจนานุกรมภาษามลายูบรูไน, พจนานุกรมภาษามลายูนูซันตารา (ถือเป็นพจนานุกรมที่ดีที่สุดในบรรดาพจนานุกรมภาษามลายู)มีวิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้องกับโลกมลายูจำนวนหนึ่ง เช่น วิทยานิพนธ์เกี่ยวกับชาวเลของมหาวิทยาลัยในสวีเดน, แนวคิดชาวมลายูของมหาวิทยาลัยในเยอรมัน รวมทั้งวิจัยเกี่ยวกับชุมชนมลายูในอัฟริกาใต้ ของมหาวิทยาลัยโจฮันเนสเบิร์ก ประเทศอัฟริกาใต้

ส่วนหนึ่งของมุมหนังสือศูนย์นูซันตาราศึกษา

ด้านหนึ่งของมุมหนังสือศูนย์นูซันตาราศึกษา

ส่วนหนึ่งของมุมหนังสือศูนย์นูซันตาราศึกษา

หนังสือส่วนหนึ่งที่ไม่สามารถตั้งบนชั้นหนังสือ

2.ร่วมโครงการวิจัยของสำนักงานสนับสนุนกองทุนการวิจัย(สกว.)
ในการเข้าร่วมการวิจัยของสำนักงานสนับสนุนกองทุนการวิจัย(สกว.)นั้น ทีมงานศูนย์นูซันตาราศึกษาได้ร่วมทำการวิจัยในโครงการชุดวิจัย "มาเลเซีย : นัยยะที่สำคัญต่อประเทศไทย" จากการวิจัยในครั้งนั้น ศูนย์นูซันตาราศึกษาสามารถเก็บข้อมูลที่สำคัญสำหรับการวิจัย ค้นคว้าในโอกาสต่อไป


อาจารย์ซาวาวีและผู้วิจัยอื่นๆร่วมเสนอความก้าวหน้าของโครงการวิจัย

อาจารย์ซาวาวีเข้าร่วมเสนอความก้าวหน้าของงานวิจัย สกว.

นายมะบักกรี เจะเลาะ เตรียมตัวเพื่อลงภาคสนามที่รัฐเปรัค

นางสาวซีตีอาแอเสาะ อูมา กับนายมะบักกรี เจะเลาะ หน้าซุ้มการหาเสียงของพรรคอัมโน ที่รัฐตรังกานู

3.ร่วมโครงการวิจัยของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ(วช.)
ในการเข้าร่วมการวิจัยของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ(วช.)นั้น ทีมงานศูนย์นูซันตาราศึกษาได้ร่วมทำการวิจัยในโครงการชุดวิจัย "การแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้" การวิจัยในครั้งนั้น ทีมงานศูนย์นูซันตาราศึกษาได้ลงภาคสนามพร้อมคณะผู้ตรวจสอบจาก วช.เดินทางไปยังรัฐตรังกานู โดยเดินทางไปยังชุมชนบ้านปูเลาดูยง (Pulau Duyong)เป็นชุมชนชาวปัตตานีที่อพยพไปยังรัฐดังกล่าวมานับร้อยปีมาแล้ว ชุมชนนี้มีบุคคลสำคัญทั้งในวงการราชการ นักเขียน นักสื่อสารมวลชน เป็นบ้านเกิดของนักข่าวสงครามของ TV3 ที่มีชื่อเสียงคนหนึ่ง

ทีมงานศูนย์นูซันตาราศึกษาสัมภาษณ์ผู้นำชุมชนไทยพุทธที่อำเภอตุมปัต รัฐกลันตัน

บนรถตู้ขณะเดินทางไปรัฐตรังกานู

ทีมงานศูนย์นูซันตาราศึกษาในอำเภอตุมปัต รัฐกลันตัน

ผู้อำนวยการแผนกำลังซักถามทีมงานศูนย์นูซันตาราศึกษา ที่เมืองกัวลาตรังกานู รัฐตรังกานู

4. เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการ DMDI ประจำปี 2007 ที่รัฐมะละกา ประเทศมาเลเซีย
ในการประชุมครั้งนี้มีตัวแทนจากประเทศต่างๆ เช่น มาเลเซีย อินโดเนเซีย บรูไน สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย เขมร มาดากัสการ์ ประเทศจีน ในการประชุมครั้งนี้ทำให้ได้รู้จักเพื่อนมากขึ้น ทั้งชาวเมรินา จากประเทศมาดากัสการ์ ผู้มีรากเหง้ามาจากชาวมายัน หรือ Mayaan ในเกาะกาลีมันตัน อนโดเนเซีย รวมทั้งได้รู้จักดาตูพักซ์ มังกูดาดาตู ขณะนั้นเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดสุลต่านกูดารัต ประเทศฟิลิปปินส์

กับออกญา ออสมัน ฮาซัน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน ประเทศเขมร

กับอดีตรัฐมนตรีช่วยศึกษาธิการมาเลเซียตัวแทนจากรัฐซาราวัค,ผู้นำชุมชนมลายูจากออสเตรเลีย และผู้นำทางการเมืองจากอาเจะห์ อินโดเนเซีย

5. เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการ DMDI ประจำปี 2008 ที่รัฐมะละกา ประเทศมาเลเซีย
ในการประชุมครั้งนี้มีตัวแทนจากประเทศต่างๆ เช่น มาเลเซีย อินโดเนเซีย บรูไน สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย เขมร อัฟริกาใต้ ประเทศจีน ในการประชุมครั้งนี้ตัวแทนจากประเทศมาดากัสการ์ ไม่ได้ส่งตัวแทนเข้าร่วมประชุม แต่มีตัวแทนชาวมลายูจากประเทศอัฟริกาใต้เข้าร่วมประชุม ทำให้ได้รู้จักเพื่อนจากประเทศอัฟริกาใต้

อาจารย์ริดวาน กับดาตูพักซ์ มังกูดาดาตู ผู้ว่าราชการจังหวัดสุลต่านกูดารัต ตำแหน่งขณะนั้น ปัจจุบันเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประจำจังหวัดสุลต่านกูดารัต

กับตัวแทนจากประเทศสิงคโปร์และประเทศฟิลิปปินส์

6.เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการ DMDI ประจำปี 2009 ที่รัฐมะละกา ประเทศมาเลเซีย
ในการประชุมครั้งนี้มีตัวแทนจากประเทศต่างๆ เช่น มาเลเซีย อินโดเนเซีย บรูไน สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย เขมร ประเทศจีน ในการประชุมครั้งนี้ปรากฎว่าไม่มีตัวแทนจากประเทศอัฟริกาใต้ และประเทศมาดากัสการ์เข้าร่วมประชุม ไม่ทราบว่าเกิดจากการบริการที่ไม่เป็นมืออาชีพของเจ้าภาพหรือเปล่า เพราะทุกปีที่ได้เข้าร่วม มักเห็นข้อบกพร่องของผู้ปฏิบัติงาน DMDI

กับนักวิชาการมหาวิทยาลัยแห่งรัฐมินดาเนา(Mindanao State University,สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตัวแทนจากฟิลิปปินส์ และ ดาโต๊ะอับดุลจามิล รองประธาน DMDI

กับสองปลัดกระทรวงชาวมลายูจาม(Cham)ของประเทศเขมร

7.เสนองานวิชาการในเรื่อง "Moken : Orang Laut di Selatan Thailand"
ในการประชุมสัมมนานาชาติว่าด้วยเรื่องชนเผ่าบาจาว หัวข้อ"International Conference on Bajau/Sama Communities" ที่มหาวิทยาลัยมาเลเซียซาบะห์ รัฐซาบะห์ ประเทศมาเลเซีย

มหาวิทยาลัยมาเลเซียซาบะห์ สถานที่จัดประชุมสัมมนา

ชาวมอแกนในพม่า

8.เสนองานวิชาการในเรื่อง "Bugis Patani dan Thailand"
ในการประชุมสัมมนานาชาติว่าด้วยเรื่องชนเผ่าบูกิส หัวข้อ"Peran Bugis dalam Alam Melayu" ที่กระทรวงวัฒนธรรมและการทองเที่ยว กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดเนเซีย จัดโดยศูนย์อารยธรรมมลายู มหาวิทยาลัยอินโดเนเซีย ประเทศอินโดเนเซีย

รองประธานาธิบดี ยูซุฟ กัลลา เป็นประธานเปิดพิธีการประชุมสัมมนา

ดาโต๊ะนีซาม นักธุรกิจมาเลเซีย, ดาโต๊ะ ศ. ดร. อับดุลลาตีฟ และ ศ. ดร. อับดุลเลาะห์ ซากาเรีย สองนักวิชากการนามอุโฆษแห่งมาเลเซีย ที่สนามบินนานาชาติ ซูการ์โน-หัตตา

ถ่ายภาพกับปลัดกระทรวงพลังงาน ประเทศอินโดเนเซีย และกงสุลอินโดเนเซีย ประจำเมืองเคปทาวน์ ประเทศอัฟริกาใต้ ที่บินมาประชุมสัมมนาด้วย

ชาวมลายูอัฟริกาใต้ที่ร่วมเสนอบทความวิชาการ

9.เสนองานวิชาการในเรื่อง "Tenun Patani"
ในการประชุมสัมมนานาชาติว่าด้วยเรื่องผ้าในภูมิภาคมลายู หัวข้อ"Seminar Antarabangsa Tenun Nusantara : Kesinambungan Tradisi dan Budaya" ที่โรงแรม Vistana เมืองกวนตัน รัฐปาหัง ประเทศมาเลเซีย จัดโดยสถาบันมลายูศึกษา มหาวิทยาลัยมาลายา มาเลเซีย

สุลต่านแห่งรัฐปาหัง อดีตพระราชาธิบดีแห่งมาเลเซีย เป็นองค์ประธานเปิดพิธีการประชุมสัมมนา

ภาพกับนักวิชาการจาก
ห้องประชุมสัมมนา ที่โรงแรม Vistana เมืองกวนตัน รัฐปาหัง

ถ่ายภาพหมู่ผู้ร่วมเสนอบทความวิชาการและผู้จัดงานประชุมสัมมนา

ซ้ายมือเป็นเพื่อนเก่าที่จบจากสถาบันเดียวกัน และปีเดียวกัน ปัจจุบันเป็นนักวิชาการแห่งมหาวิทยาลัยมาเลเซียซาราวัค

ถ่ยภาพกับนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยตันหยงปูรา แห่งเกาะกาลีมันตัน, มหาวิทยาลัยสุมาตราเหนือ แห่งเกาะสุมาตรา, ดาโต๊ะยะกู๊บ อีซา อดีตศึกษาธิการรัฐปาหังและผู้อำนวยการสถาบันมลายูศึกษา มหาวิทยาลัยมาลายา

10.เสนองานวิชาการในเรื่อง "Sastera Melayu Patani"
ในการประชุมสัมมนานาชาติว่าด้วยเรื่องวรรณกรรมภูมิภาคมลายู หัวข้อ"Kongres Serumpun Sebudaya" ที่ Dewan Bahasa dan Pustaka กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย

กับนักเขียนซีไรต์ชาวสิงคโปร์

กับสองนักเขียนซีไรต์ชาวมาเลเซีย

11.เสนองานวิชาการในเรื่อง "Sastera Patani"
ในการประชุมสัมมนานาชาติว่าด้วยเรื่องนักเขียนภูมิภาคมลายู (Pertemuan Sasterawan Nusantara Ke XV" ที่Dewan Bahasa dan Pustaka Brunei ประเทศบรูไน

เจ้าชายอับดุลมาลิก พระราชโอรสของสุลต่านบรูไน เปิดพิธีงานสัมมนา

ถ่ายภาพหมู่กับเจ้าชายอับดุลมาลิก พระราชโอรสของสุลต่านบรูไน

กับรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกิจการศาสนาของประเทศบรูไน ณ บ้านของท่าน

กับรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการของประเทศบรูไน ศิษย์เก่าร่วมสถาบัน

รับประกาศนียบัตรจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานของประเทศบรูไน

กับสองนักวิชาการนามอุโฆษชาวมาเลเซีย

12. โครงการพัฒนาประสิทธิภาพนักศึกษาวิชาเอกมลายูศึกษา
จากการที่ทีมงานศูนย์นูซันตาราศึกษามีความสัมพันธ์กับองค์กรภายนอก ทำให้สามารถทำโครงการพัฒนาประสิทธิภาพนักศึกษาวิชาเอกมลายูศึกษา โดยการดำเนินการโครงการนี้มีกิจกรรมทั้งก่อนและหลังการจัดตั้งศูนย์นูซันตาราศึกษา ในที่นี้สามารถกล่าวได้ว่านักศึกษาวิชาเอกมลายูศึกษาได้เดินทางไปสัมผัสประเทศต่างๆในภูมิภาคมลายูครบแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางไปยังประเทศมาเลเซีย อินโดเนเซีย บรูไน ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ เพียงแต่ว่ากิจกรรมต่างๆเหล่านั้นอาจไม่มีการเผยแพร่ หรือไม่เป็นที่รับรู้ของสาธารณะเท่านั้น กิจกรรมต่างๆเหล่านี้ เช่น

ปี 2549
12.1 โครงการสำรวจชุมชนชาวมอแกนในจังหวัดพังงา
มีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 5 คน สามารถบันทึกคำภาษามอแกน-ภาษาไทยจำนวนประมาณ 500 คำ

นักศึกษาลงภาคสนามบันทึกคำภาษามอแกน

12.2 เข้าร่วมประชุมสัมมนาด้านสันติวิธี ส่งนักศึกษาเข้าร่วมการประชุมสัมมนาด้านสันติวิธีที่มหาวิทยาลัยไซนส์มาเลเซีย รัฐปีนัง มีนักศึกษาเข้าร่วม 1 คน
12.3 โครงการสำรวจชุมชนชาวบาจาว(Bajau)ในรัฐซาบะห์
มีการสำรวจ ศึกษาวิถีชีวิตชนเผ่าบาจาว มีผู้เข้าร่วมโครงการ 2 คน

หมู่บ้านในทะเลของชาวบาจาวทะเล

หมู่บ้านในทะเลของชาวบาจาวทะเล

เรือที่เรียกว่าเล-ปา เล-ปา ของชนเผ่าบาจาว

หมู่บ้านในทะเลของชาวบาจาวทะเล

12.4 โครงการสำรวจชุมชนชาวมุสลิมในกรุงมะนิลา
มีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 2 คน

ชุมชนชาวมุสลิมในกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์

พิพิธภัณฑ์ในมหาวิทยาลัยแห่งฟิลิปปินส์ ประเทศฟิลิปปินส์

ที่สนามบินนานาชาติดีออสดาโด มากาปากัล ประเทศฟิลิปปินส์

12.5 โครงการครอบครัวอุปถัมภ์ในประเทศมาเลเซีย
จัดโครงการครอบครัวอุปถัมภ์เป็นเวลาประมาณ 1 เดือน โดยจัดขึ้นในรัฐปาหังและรัฐนัครีซัมบีลัน นอกจากนั้นเป็นการทัศนศึกษายังรัฐกลันตัน รัฐมะละกา และกรุงกัวลาลัมเปอร์ มีผู้ร่วมโครงการ 18 คน

เข้าเฝ้ากษัตริย์ท้องถิ่น(Undang Luak)แห่งเมืองรึมเบา รัฐนัครีซัมบีลัน

ถ่ายภาพในตำนักกษัตริย์ท้องถิ่น(Undang Luak)แห่งเมืองรึมเบา รัฐนัครีซัมบีลัน

การแสดงการแต่งงานตามประเพณีชาวรัฐนัครีซัมบีลันโดยนักศึกษา ต่อมาทั้งคู่ได้แต่งงานกันจริง

ปี 2550
12.6 โครงการครอบครัวอุปถัมภ์ในประเทศมาเลเซีย
จัดโครงการครอบครัวอุปถัมภ์เป็นเวลาประมาณ 1 เดือน โดยจัดขึ้นในรัฐปาหังและรัฐนัครีซัมบีลัน นอกจากนั้นเป็นการทัศนศึกษายังรัฐกลันตัน รัฐมะละกา และกรุงกัวลาลัมเปอร์ มีผู้ร่วมโครงการ 24 คน

ถ่ายภาพหมู่กับดาโต๊ะอิสมาแอล ซับรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขตเบอรา รัฐปาหัง ปัจจุบันรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าภายในประเทศ คุมครองผู้บริโภค และสหกรณ์

ถ่ายภาพหมู่กับครอบครัวอุปถัมภ์ รัฐปาหัง

เยี่ยมชมพระราชวังกษัตริย์ราชาเมอเลวาร์ กษัตริย์องค์แรกที่มาจากเกาะสุมาตรา อินโดเนเซีย

12.7 การส่งนักศึกษาร่วมฝึกงานที่กระทรวงต่างประเทศ
รัฐบาลได้จัดโครงการฝึกงานนักศึกษาที่กระทรวงการต่างประเทศ โดยมีนักศึกษาวิชาเอกมลายูศึกษาได้รับการคัดเลือกจำนวน 2 คน





นักศึกษามลายูศึกษาร่วมฝึกงานที่กระทรวงต่างประเทศ

นักศึกษามลายูศึกษาร่วมฝึกงานที่กระทรวงต่างประเทศ

เยี่ยมท่านจุฬาราชมนตรี

12.8 โครงการทัศนศึกษาที่รัฐกลันตัน
จัดโครงการทัศนศึกษายังสถานที่ราชการ พิพิธภัณฑ์ สำนักงานมุขมนตรีรัฐกลันตัน มีผู้เข้าร่วมจำนวน 35 คน

หน้าสำนักงานคณะกรรมการอิสลามแห่งรัฐกลันตัน

ฟังการบรรยายสภาพเศรษฐกิจรัฐกลันตัน ที่สำนักงานมุขมนตรีรัฐกลันตัน

12.9 โครงการค่ายเยาวชน DMDI
รัฐมะละกาได้จัดค่ายเยาวชน DMDI ขึ้น โดยได้ส่งนักศึกษาเข้าร่วม มีผู้เข้าร่วมจำนวน 18 คน

ในอาคาร MITC รัฐมะละกา

หน้าพิพิธภัณฑ์เรือ รัฐมะละกา

กับ ดาตู พักซ์ มังกูดาดาตู ขณะเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดสุลต่านกูดารัต ประเทศฟิลิปปินส์

ปี 2551
12.10 โครงการทัศนศึกษาประเทศอินโดเนเซีย
มีการทัศนศึกษายังพิพิธภัณฑแห่งชาติ กรุงจาการ์ตา มหาวิทยาลัยอินโดเนเซีย มหาวิทยาลัยศิลปะจาการ์ตา ในกรุงจาการ์ตา สถาบันเทคโนโลยีแห่งเมืองบันดุง เมืองบันดุง ประเทศอินโดเนเซีย มีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 8 คน

ในสถาบันเทคโนโลยี่บันดุง สถาบันอุดมศึกษาที่มีชื่อเสียงของอินโดเนเซีย ที่อดีตประธานาธิบดีซูการ์โนเคยศึกษา

หน้าคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอินโดเนเซีย ประเทศอินโดเนเซีย

กำลังศึกษาศิลาจารึก ในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดเนเซีย

12.11 โครงการครอบครัวอุปถัมภ์ในประเทศมาเลเซีย
จัดโครงการครอบครัวอุปถัมภ์เป็นเวลาประมาณ 1 เดือน โดยจัดขึ้นในรัฐปาหังและรัฐเปรัค นอกจากนั้นเป็นการทัศนศึกษายังรัฐกลันตัน รัฐมะละกา และกรุงกัวลาลัมเปอร์ มีผู้ร่วมโครงการ 22 คน

เข้าชมโรงงานผลิตน้ำมันปาล์มในรัฐนัครีซัมบีลัน

คุณ Mohd Hashim Ibrahim ผู้อำนวยการ สนง.เทคโนโลยี่การศึกษา ผู้ประสานงานโครงการครอบครัวอุปถัมภ์ในรัฐเปรัค

นางสาวมัสตอนี นักศึกษาจากตลาดปาดังเบซาร์

นางสาวอัสมะ นักศึกษาหญิงที่พร้อมแบกกระเป๋าหนัก

นางสาวแวซา นักศึกษาหญิงที่เข้าร่วมโครงการ

นายสารอฟี นักศึกษาชายที่เข้าร่วมโครงการ

12.12 โครงการฝึกอบรมการเขียนกับสมาคมนักเขียนแห่งชาติมาเลเซีย (PENA-Persatuan Penulis Nasional Malaysia)
ทางสมาคมนักเขียนแห่งชาติมาเลเซียร่วมกับแผนกวิชามลายูศึกษาจัดโครงการฝึกอบรมการเขียนเรื่องสั้น นวนิยาย ในรัฐสลังงอร์ มีผู้ร่วมโครงการจากมหาวิทยาลัยต่างๆในประเทศมาเลเซีย โดยทางแผนกวิชามลายูศึกษาส่งนักศึกษาเข้าร่วมจำนวน 22 คน

บริเวณรีสอร์ทที่จัดงานฝึกอบรม

บริเวณรีสอร์ทที่จัดงานฝึกอบรม

12.13 งาน มอ.วิชาการ
มหาวิทยาลัยจัดประกวดงานวิจัยนักศึกษา ทางแผนกวิชามลายูศึกษาได้จัดส่งงานวิจัยนักศึกษาจำนวน 2 คน คือ นายมะบักกรี เจะเลาะ งานวิจัยเรื่อง "การประมงระหว่างประเทศ: กรณีศึกษาประเทศไทย-มาเลเซีย-อินโดเนเซีย" และ นางสาวมัสตอนี ปาลาเร่ งานวิจัยเรื่อง"การค้าข้าวสารบริเวณชายแดนประเทศไทย-มาเลเซีย" ปรากฎว่านางสาวมัสตอนี ปาลาเร่ ได้รับรางวัลดีเด่นงานวิจัยนักศึกษาด้านเศรษฐกิจ

นางสาวมัสตอนี ปาลาเร่ เจ้าของงานวิจัยนักศึกษาดีเด่นด้านเศรษฐกิจ มอ.วิชาการ ประจำปี 2551

นายมะบักกรี เจะเลาะ กำลังรอการเสนองานวิจัยในการแข่งขันงานวิจัยนักศึกษาดีเด่น มอ.วิชาการ

ปี 2552
12.14 โครงการฝึกอบรมภาษามลายู ที่ Dewan Bahasa dan Pustaka Kawasan Timur
ทาง Dewan Bahasa dan Pustaka เขตฝั่งตะวันออกได้จัดโครงการฝึกอบรมภาษามลายู แก่นักศึกษาที่สนใจ เป็นเวลา 3 วัน ที่เมืองโกตาบารู รัฐกลันตัน มีนักศึกษาวิชาเอกมลายูศึกษา วิชาโทมลายูศึกษา และผู้สนใจเข้าร่วม จำนวน 35 คน

รับประกาศนียบัตรจากผู้อำนวยการ Dewan Bahasa dan Pustaka เขตตะวันออก

ถ่ายหมู่ที่ตลาดกลางคืน เมืองโกตาบารู รัฐกลันตัน

กำลังฟังคำบรรยายของวิทยากร

กำลังฟังคำบรรยายของวิทยากร

12.15 โครงการรู้จักประเทศเพื่อนบ้าน
มีการทัศนศึกษา เพื่อทำความรู้จักประเทศเพื่อนบ้าน โดยเดินทางรอบแหลมมลายู เริ่มจากรัฐกลันตัน รัฐตรังกานู รัฐปาหัง รัฐโยโฮร์ เข้าประเทศสิงคโปร์ แล้วงไปยังรัฐมะละกา รัฐนัครีซัมบีลัน รัฐสลังงอร์ กรุงกัวลาลัมเปอร์ รัฐเปรัค รัฐเคดะห์ รัฐปีนัง รัฐเปอร์ลิส กลับประเทศไทย มีผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 22 คน

ณ พระราชวังศรีมนันตี รัฐนัครีซัมบีลัน

ถ่ายภาพหมู่หน้าสิงโตทะเล สัญลักษณ์ของประเทศสิงคโปร์

12.16 โครงการค่ายเยาวชน DMDI
รัฐมะละกาได้จัดค่ายเยาวชน DMDI ขึ้น โดยได้ส่งนักศึกษาเข้าร่วม มีผู้เข้าร่วมจำนวน 15 คน

เยี่ยมชมท้องฟ้าจำลอง รัฐมะละกา

ร่วมรับประทานอาหารที่อาคาร MITC รัฐมะละกา

ถ่ายภาพหมู่กับเพื่อนชาวรัฐซาบะห์และอินโดเนเซีย

นอกจากนั้นยังมีอีก 2 โครงการที่ดำเนินการทุกปี คือ โครงการทัศนศึกษานอกสถานที่ และโครงการเชิญวิทยากรภายนอกมาให้ความรู้แก่นักศึกษาวิชาเอกมลายูศึกษา
โครงการทัศนศึกษานอกสถานที่
โครงการทัศนศึกษานอกสถานนั้นจะเป็นการลงพื้นที่ภายในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนหนึ่งจะเป็นการทัศนศึกษาโบราณสถาน การเยี่ยมสุสานเจ้าเมือง หรือบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์จังหวัดชายแดนภาคใต้ หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับวิชาเอกมลายูศึกษา

เยี่ยมโบราณสถาน เมืองเก่ายะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี

หน้าสุสานสุลต่านอิสมาแอล ชาห์ เจ้าเมืองปัตตานีคนแรกที่เข้ารับศาสนาอิสลาม

เยี่ยมสุสาน เชคซาอิด อัลบาซีซา ผู้ทำให้เจ้าเมืองปัตตานีเข้ารับศาสนาอิสลาม อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี

สุสานเจ้าเมืองสตรี อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี

มัสยิดตะโลมาเนาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส

บริเวณหน้าสุสานเจ้าเมืองสายบุรี อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี

โครงการเชิญวิทยากรภายนอก
สำหรับโครงการเชิญวิทยากรภายนอกมาให้ความรู้แก่นักศึกษาวิชาเอกมลายูศึกษานั้น จะมีการเชิญวิทยากรทั้งจากภายในและต่างประเทศ ส่วนใหญ่จะเป็นการเชิญที่เรียกเป็นภาษามลายูว่า "jemputan kilat" หรือการเชิญที่ไม่มีการเตรียมการใดๆ เมื่อมีโอกาสทั้งเวลา สถานที่ และนักศึกษาผู้ฟัง ขณะที่วิทยากรมาเยี่ยมมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ก็จะใช้ช่วงเวลาและโอกาสดังกล่าวเชิญเป็นวิทยากรพิเศษ บรรยายในเนื้อหาที่ท่านมีความชำนาญ มีวิทยากรหลายท่านที่มาเป็นวิทยากรพิเศษ เช่น Dr. Dennis Patric Walker จาก Monash Asia Institute, Monash University ประเทศออสเตรเลีย, Dr. Adam Burke จาก School of Oreintal and African Studies, University of London ประเทศอังกฤษ, Teuku Afrizal นักศึกษาปริญญาเอกชาวอาเจะห์ จาก Universiti Kebangsaan Malaysia ประเทศมาเลเซีย, Dr. Lim Swee Tin นักเขียนรางวัลซีไรต์ จาก Universiti Putra Malaysia ประเทศมาเลเซีย

ถ่ายภาพร่วมกับดร.เดนนิส เพตริค วอล์กเกอร์

ดร. เดนนิส เพตริค วอล์กเกอร์ จาก Monash University กำลังบรรยายให้นักศึกษาฟัง

ดร. อาดัม เบิร์ก จาก School of Oriental and African Study, University of London

ดร.ลิม สวี ติน กำลังอ่านบทกวีให้นักศึกษาฟัง หน้าอาคารเรียนรวม ลานแสงจันทร์

ดร.ลิม สวี ติน กำลังบรรยายให้นักศึกษาฟังในชั้นเรียน

13. งาน 100 ปี อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส
อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส ได้จัดงานครบรอบ 100 ปี ทางศูนย์นูซันตาราศึกษา รับผิดชอบด้านการค้นหาข้อมูล โดยเดินทางไปค้นคว้า ข้อมูลอำเภอบาเจาะ ที่ห้องสมุดกระทรวงมหาดไทย หอสมุดแห่งชาติ และหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรุงเทพฯ นอกจากนั้นทำหน้าที่จัดบอร์ดนิทรรศการ โดยร่วมมือกับศาสตราจารย์ ดร. ครองชัย หัตตา ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

การแสดงบนเวที งานครบรอบ 100 ปี อำเภอบาเจาะ

กำลังอธิบายให้ท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย

ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส กับนายอำเภอบาเจาะ (ชุดแต่งกายมลายู) กำลังดูภาพนิทรรศการ

ประชาชนให้ความสนใจกับนิทรรศการครบรอบ 100 ปี อำเภอบาเจาะ

การดำเนินการในปัจจุบัน
ศูนย์นูซันตาราศึกษาได้ศึกษาถึงจุดเด่น จุดด้อยของตนเอง เพื่อพัฒนาการดำเนินการในปัจจุบัน และอนาคต สำหรับลการดำเนินงานในปัจจุบันของศูนย์นูซันตาราศึกษา มีหลายประการ เช่น
1. โครงการผลิตตำรามลายูโบราณแบบ Digital
จากการลงพื้นที่เพื่อค้นคว้า ข้อมูลอำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส ปรากฎว่าชาวอำเภอบาเจาะ ได้อนุเคราะห์ให้ยืมตำราศาสนาหรือที่เรียกว่า กีตาบยาวี เป็นลายมือเขียนของผู้นำศาสนาในอดีต ดังนั้นศูนย์นูซันตาราศึกษา จึงดำเนินการเพื่อจัดทำตำราดังกล่าวในรูปแบบ Digital เพื่อประโยชน์ต่อสาธารณะต่อไป

ต้นฉบับหนังสือศาสนาที่ได้รับการอนุเคราะห์จากหะยีซาการียา

2. โครงการปรับปรุงแก้ไข หนังสือประวัติศาสตร์ปัตตานี
ด้วยทีมงานศูนย์นูซันตาราศึกษาได้ทำการแปลหนังสือประวัติศาสตร์ จากภาษามลายูที่ชื่อว่า Pengantar Sejarah Patani เป็นภาษาไทย ใช้ชื่อว่า ประวัติศาสตร์ปัตตานี โดยได้รับงบประมาณการแปลจาก สถาบันสมุทรรัฐเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ในการปรับปรุง แก้ไขครั้งนี้ เป็นการคัดเกลาภาษาที่แปล เพิ่มเติมเนื้อหา รูปภาพ เป็นการปรับปรุงแก้ไขจากลักษณะของ การแปล มาเป็น การแปลและเรียบเรียง

ต้นฉบับหนังสือแปลประวัติศาสตร์ปัตตานี

3. โครงการปรับปรุงแก้ไข หนังสือประวัติศาสตร์นราธิวาส
ทีมงานศูนย์นูซันตาราศึกษาได้รับงบประมาณจาก สภาวัฒนธรรมจังหวัดนราธิวาส เพื่อศึกษา ค้นคว้า ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติศาสตร์จังหวัดนราธิวาส และครั้งเดินทางไปค้นคว้า ข้อมูลอำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ และหอสมุดแห่งชาติ ทำให้ได้รับเอกสาร ข้อมูลเกี่ยวกับจังหวัดนราธิวาสจำหนวนหนึ่ง จึงเห็นว่าสมควรที่ต้องดำเนินการเพื่อปรับปรุง แก้ไขหนังสือฉบับนี้ เพื่อความสมบูรณ์ของหนังสืออันจะเป็นประโยชน์ต่อจังหวัดนราธิวาสต่อไป

ต้นฉบับหนังสือวิจัยประวัติศาสตร์นราธิวาส

4. โครงการหนังสือ ขบวนการอาเจะห์เสรี
ทีมงานศูนย์นูซันตาราศึกษาได้ทำการแปลหนังสือหนังสือ ขบวนการอาเจะห์เสรี ยังไม่แล้วเสร็จ ดังนั้นในปัจจุบันจึงได้ดำเนินการแปล โดยเพิ่มเนื้อหาล่าสุด ซึ่งหนังสือนี้จะเป็นประโยชน์ต่อนักศึกษาวิชาเอกมลายูศึกษา และนักศึกษาวิชารัฐศาสตร์ รวมทั้งผู้สนใจทั่วไป

5. โครงการผลิตหนังสือ มลายูศึกษา
มีการผลิตหนังสือที่เกี่ยวกับมลายูศึกษาจำนวนหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง มลายูศึกษาของ ศ. ดร. นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์ แต่หนังสือที่ผลิตโดยนักวิชาการท้องถิ่นยังมีจำนวนน้อย ดังนั้นจึงดำเนินการรวบรวมบทความวิชาการที่เกี่ยวข้องกับมลายูศึกษา เพื่อจัดพิมพ์เป็นเล่ม อันจะเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจเกี่ยวกับมลายูศึกษาต่อไป

6. โครงการผลิตหนังสือ "ดารุสสาลาม"
มีการร่วมประชุมระหว่างศูนย์นูซันตาราศึกษา, สมาคมนักเขียนแห่งสิงคโปร์ (ASAS '50)กับ Dewan Bahasa dan Pustaka Brunei ได้มีการตกลงรับหลักการโดยร่วมกันผลิตงานเขียน โดยศูนย์นูซันตาราศึกษากับ Dewan Bahasa dan Pustaka Brunei จะผลิตหนังสือใช้ชื่อว่า "ดารุสสาลาม" และแปลงานเขียนของสุลต่านมูดา โอมาร์ อาลี ซัยฟุดดิน พระบิดาของสุลต่านฮัสซานัลบอลเกียะห์แห่งบรูไน นอกจากนั้นจะร่วมกับสมาคมนักเขียนแห่งสิงคโปร์ (ASAS '50)เพื่อผลิตงานเขียนที่เกี่ยวข้องกับทั้งสองฝ่าย

ร่วมประชุมกับสมาคมนักเขียนแห่งสิงคโปร์ (ASAS '50)และ Dewan Bahasa dan Pustaka Brunei ที่สำนักงานใหญ่ของ DBP Brunei

7. รายการโทรทัศน์ Di Selatan ณ แดนใต้ ทางช่อง ThaiPBS
ด้วยทางโทรทัศน์ช่อง ThaiPBS ในส่วนของทีวีภูมิภาค ได้ดำเนินการผลิตรายการท้องถิ่นภาคใต้ โดยใช้ชื่อรายการว่า ดีสลาตัน ณ แดนใต้ ทางทีมงานศูนย์นูซันตาราศึกษา ได้รับเกียรติจากทางรายการ ดีสลาตัน ณ แดนใต้ มาให้ข้อมูลเกี่ยวกับประเทศในกลุ่มอาเซี่ยน ในชื่อว่า ช่วง มองเพื่อนบ้าน แรกเริ่มใช้ชื่อว่า มองมาเลเซีย โดยวิเคราะห์ การเมือง การปกครอง สังคม วัฒนธรรม เฉพาะประเทศมาเลเซีย ต่อมามีการขยายประเทศให้ครอบคลุมกลุ่มอาเซียน โดยเปลี่ยนจาก ช่วง มองมาเลเซีย มาเป็น ช่วง มองเพื่อนบ้าน แม้การใช้ภาษา หรือสำเนียง อาจไม่ดีพอ แต่ด้วยประสบการณ์ทั้งจากการอ่าน และการผ่านประสบการณ์จริงในประเทศมาเลเซีย บรูไน สิงคโปร์ อินโดเนเซีย และฟิลิปปินส์ ทำให้มีความมั่นใจในประสบการ์และข้อมูลที่มีอยู่

สำหรับรายการโทรทัศน์ Di Selatan ณ แดนใต้ ทางช่อง ThaiPBS จะออกอากาศทุกวันศุกร์ เวลา 11.00-12.00 น.

เป้าหมายการดำเนินการในอนาคต
ต้องทำให้ศูนย์นูซันตาราศึกษา เป็นศูนย์ที่มีความพร้อมทางด้านข้อมูล สังคม วัฒนธรรม การเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ ประวัติศาสตร์ ของโลกมลายู หรือ นูซันตารา (Nusantara)

Tiada ulasan: