Sabtu, 26 Disember 2009

ชนพื้นเมืองในรัฐซาราวัค ประเทศมาเลเซีย

โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน

แผนที่รัฐซาราวัค

รัฐซาราวัคเป็นอีกรัฐหนึ่งที่มีประชากรหลากหลายทางชาติพันธุ์ ในรัฐซาราวัคมีชาติพันธุ์ต่างๆ เช่น ชาวพื้นเมือง ชาวจีน ชาวอินเดีย สำหรับชนพื้นเมืองในรัฐซาราวัคนั้น มีจำนวนนับสิบชนเผ่า เช่น
1. Kenyah
2. Melanau
3. Lun Bawang
4. Iban
5. Penan
6. Kedayan
7. Kayan
8. Kelabit
9. Murut
10.Bidayuh
11.และอื่นๆ


ผู้เฒ่าชาวอีบัน


การเล่นดนตรีของชาวอีบัน

ชนเผ่าอีบัน (Iban)
เป็นชาติพันธุ์ที่มีถิ่นฐานอยู่ทั้งในประเทศมาเลเซียและอินโดเนเซีย เฉพาะในรัฐซาราวัคมีประชากรประมาณ 600,000 คน ส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาคริสต์และยึดถือความเชื่อประจำเผ่า จะมีภาษาพูดของตนเองนั้นคือภาษาอีบัน เดิมจะรู้จักในนามของชนเผ่าดายัก (Dayak) เป็นชาติพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดในรัฐซาราวัค แต่ด้วยชาติพันธุ์นี้ส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาคริสต์ ทำให้ตำแหน่งประมุขของรัฐซาราวัคต้องเป็นของชนเผ่ามลาเนา (Melanau) ซึ่งนับถือศาสนาอิสลาม เพราะรัฐธรรมนูญของรัฐซาราวัคกำหนดให้ประมุขหรือผู้ว่าการรัฐเป็นชาวมุสลิม ถึงแม้ว่าชาวอีบันจะนับถือศาสนาคริสต์ แต่ยังคงมีการประกอบพิธีตามความเชื่อของชนเผ่าอยู่ รวมทั้งบางส่วนก็ยังคงนับถือความเชื่อประจำเผ่า

การแต่งกายของชาวอีบัน


การแต่งกายของชาวอีบัน

งานฉลองวันกาวัย (Perayaan Gawai)
งานวันกาวัย ถือเป็นงานที่สำคัญมากสำหรับชนชาวอีบัน งานวันกาวัยเป็นเฉลิมฉลองการเกี่ยวข้าว ( Pesta Menuai ) ซึ่งงานวันกาวัย มีหลายประเภท เช่น
Gawai Burung,
Gawai Batu,
Gawai Kenyalang และ
Gawai Antu สำหรับกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์

ในงานเฉิมฉลองวันกาวัย สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ การดื่มน้ำมะพร้าวหมัก (Tuak) เป็นน้ำที่ทำมาจากข้าวกับแป้งหมัก

การรำงายัต (Ngajat)ในงานวันกาวัย

ชาวอีบันในชนบทยังอยู่อาศัยอยู่เป็นกลุ่มก้อนในหลังเดียวที่มีลักษณะยาว แบ่งพื้นที่กันในแต่ละครอบครัว บ้านลักษณะนี้เรียกว่า บ้านยาว หรือ Rumah Panjang (Long House)

ลักษณะบ้านยาวของชาวอีบัน


อีกหนึ่งบ้านยาวของชาวอีบัน

ภาษาอีบันที่ชาวอีบันพูดส่วนหนึ่งจะมีความเหมือนกับภาษามลายู ชาวอีบันมีอักขระเป็นของตนเอง อักขระในภาษาอีบันมีทั้งหมด
59 ตัว โดยชาวอีบันใช้บันทึกความเป็นมาของวงศ์ตระกูล และเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ของชนชาวอีบัน

ความเชื่อของชาวอีบัน
ชาวอีบันจะยึดถือความเชื่อที่ได้รับตกทอดมาจากบรรพบุรุษ โดยความเชื่อเหล่านี้ถูกบันทึกลงบนแผ่นที่เรียกว่า Papan Turai ผู้ที่บันทึกความเชื่อเหล่านี้คือผู้นำเผ่า ที่เรียกว่า Tuai raban bansa หรือ Chief Paramount
ส่วนหนึ่งของความเชื่อดังกล่าวเป็นการชี้นำของผู้นำชนเผ่าในอดีต เช่น

ในการสร้างบ้านนั้น ต้องมีการตรวจสอบสภาพพื้นที่ที่จะสร้างบ้านก่อน ด้วยชาวอีบันในสิ่งที่เรียกว่า Petanda หรือสิ่งบอกเหตุการณ์ เชื่อหรือสังเกตจากเสียงนก หรือสัตว์อื่นๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นสิ่งที่จะบอกถึงความปลอดภัยในการสร้างบ้านต่อไป

การล่าหัวมนุษย์

ในอดีตนั้นชาวอีบันจะถูกเรียกว่า ชนเผ่านักล่าหัวมนุษย์ โดยชาวอีบันจะล่าหัวศัตรู แล้วนำกะโหลกของศัตรูมาเก็บไว้

ผู้เฒ่าชาวอีบันกับสองกะโหลกที่เก็บไว้


ลักษณะกะโหลกที่เก็บรักษาไว้


หนึ่งในลักษณะการเก็บรักษากะโหลก

เมื่อชาวอีบันฆ่าศัตรูได้แล้ว ก่อนอื่น จะดื่มเลือดศัตรู 2-3 หยด หลังจากนั้นนำหัวศัตรูไปต้มให้สุก เมื่อหัวกะโหลกสุกแล้วจึงนำมาเลาะ เนื้อและทุกสิ่งที่อยู่ในกะโหลก เมื่อเสร็จสิ้นแล้วจึงนำกะโหลกไปเก็บไว้ ถือเป็นความภาคภูมิในความกล้าหาญของตนเอง ในปัจจุบันชาวอีบันไม่มีการล่าหัวมนุษย์อีกแล้ว แต่กะโหลกที่ล่าได้ในอดีตก็ยังคงเก็บไว้อยู่

กลุ่มชาติพันธุ์ในแหลมมลายู ประเทศมาเลเซีย

โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน

แผนที่ประเทศมาเลเซียในส่วนที่เรียกว่าแหลมมลายู (Semenanjung Tanah Melayu)

กลุ่มชาติพันธุ์ในแหลมมลายู
ในแหลมมลายูนั้น ปรากฏว่ามีความหลากหลายทางชาติพันธุ์เช่นเดียวกันกับพื้นที่อื่นๆของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือภูมิภาคมลายู (Nusantara) สำหรับกลุ่มชาติพันธุ์ที่ถือว่าเป็นกลุ่มชนพื้นเมืองของประเทศมาเลเซีย หรือที่เรียกว่า ภูมิบุตร (Bumiputra) นั้นประกอบด้วย

ชนชาวมลายู
คำว่า “มลายู” ในความหมายที่ทางองค์การ UNESCO ได้ให้คำอธิบายนั้นคือ กลุ่มชนที่รวมกันอยู่ในกลุ่มมลายู-โปลีเนเซีย (Melayu-Polinesia) ซึ่งมีอาณาเขตที่กว้างขวาง จากเกาะมาดากัสการ์ทางตะวันตก จนถึงเกาะอิสเตอร์หรือที่ชาวมลายูเรียกว่าเกาะปัสกะห์ (Pulau Paskah) ทางตะวันออก รวมทั้งเกาะไต้หวัน และ ฮาวาย ทางด้านเหนือ จนถึงหมู่เกาะอินโดเนเซีย และ นิวซีแลนด์ทางใต้

การแต่งกายชุดมลายู

ขบวนแต่งงานของชาวมลายู

ชุดแต่งกายชาวมลายู

ศาสตราจารย์วัง กง วู (Prof. Wang Gung Wu) ได้ทำการศึกษาค้นคว้าในบันทึกจีนโบราณ ปรากฏว่าในศตวรรษที่ 13 ยังไม่มีการบันทึกถึงคำว่า “มลายู” ในฐานะชนชาติหนึ่ง มีเพียงการบันทึก “มลายู” ในฐานะเป็นสถานที่แห่งหนึ่งในทางตะวันออกของเกาะสุมาตรา จะมีเพียงในศตวรรษที่ 18 ที่กล่าวถึง “มลายู” ในฐานะชนชาติหนึ่ง ส่วนบันทึกของตะวันตกนั้นกล่าวว่า ตอนต้นศตวรรษที่ 17 คำว่า “มลายู” มีการใช้ในความหมายที่กว้าง ครอบคลุมถึงชนชาติที่อยู่ในภูมิภาคมลายู (Nusantara) ชนชาวมลายูได้ทิ้งร่องรอยทางอารยธรรมไว้มาก อาณาจักรโบราณของชนชาวมลายู เช่น อาณาจักร ฟูนัน ซึ่ง Daniel Georse E. Hall ได้กล่าวว่า “ชาวฟูนันเป็นชนชาติมลายู ”(The Funanese were Malay Race) และ Prof. Nguyen The Ah ชาวเวียดนามก็ได้กล่าวว่า “อาณาจักรฟูนันใช้ภาษามลายู” นอกจากนั้นยังมีอาณาจักรจามปาในเวียดนาม อาณาจักรลังกาสุกะ อาณาจักรมาชาปาหิต อาณาจักรศรีวิชัย รวมทั้งอาณาจักรมะละกา

ศ. ดร. วัง กง วู

ศ. ดร. วัง กง วู

ชนชาวมลายูนั้นถือว่าเป็นชนชาติใหญ่ชนชาติหนึ่งในโลก ทางองค์กรที่ที่ชื่อว่า Joshua Project ซึ่งเป็นองค์กรเผยแพร่ศาสนาคริสต์ของสหรัฐตั้งอยู่ในรัฐ โคโลราโด ของสหรัฐอเมริกา ได้สำรวจและปรากฎผลได้ดังนี้ :

โลกอาหรับ 279,654,470 คน
อินโด-อิหร่านเนียน 137,509,326 คน
ยิว 17,593,084 คน
ชนชาวมลายู 339,134,635 คน
ชาวตุรกี 169,026,980 คน

จากข้อมูลข้างต้นที่มีชนชาติมลายูถึง 339,134,635 คน ปรากฏว่าชนชาวมลายูเหล่านั้น กระจัดกระจายไปทั่วโลก นอกจากพวกเขาจะตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศอินโดเนเซีย, มาเลเซีย, บรูไน, สิงคโปร์, ฟิลิปปินส์, ภาคใต้ของไทย, พม่า, เวียดนาม, เขมร และลาวแล้ว พวกเขายังอพยพไปยังภูมิภาคต่างๆ พวกเขาตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศอัฟริกาใต้, มาดากัสการ์, สุรีนาม, ตะวันออกกลาง, ยุโรป และสหรัฐ

สำหรับความหมายของชนชาวมลายูในประเทศมาเลเซียนั้น ตามรัฐธรรมนูญมาเลเซียได้บัญญัติว่า ชาวมลายูคือผู้ที่พูดภาษามลายู ยึดถือขนบธรรมเนียมประเพณีมลายู และนับถือศาสนาอิสลาม

นักวิชาการได้มีการแบ่งชนชาวมลายูที่แตกต่างกันตามแต่ทัศนะของแต่ละคน ในที่นี้ขอแบ่งชนชาวมลายูออกเป็น 2 ส่วน คือ

1. ชนชาวมลายูที่ตั้งถิ่นฐานมาแต่ดั้งเดิม หรือที่เรียกว่า Melayu Anak Jati ชนชาวมลายูกลุ่มนี้เป็นชนชาวมลายูที่ตั้งถิ่นฐานมาแต่ดั้งเดิมในรัฐต่างๆของประเทศมาเลเซีย เช่น ชนชาวมลายูในรัฐโยโฮร์ รัฐมะละกา รัฐนัครีซัมบีลัน(บางส่วน) รัฐสลังงอร์ รัฐเปรัค รัฐปาหัง รัฐปีนัง รัฐเคดะห์ รัฐเปอร์ลิส รัฐตรังกานู รัฐกลันตัน และรวมถึงชนชาวมลายูในจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย

2. ชนชาวมลายูต่างถิ่น เป็นกลุ่มชนชาวมลายูที่มีรากเหง้าเดิมไม่ได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในแหลมมลายู แต่เป็นกลุ่มชาวมลายูที่อพยพมาจากหมู่เกาะมลายู การอพยพนี้เป็นการอพยพมานานนับร้อยปีมาแล้ว กลุ่มชนชาวมลายูต่างถิ่นนี้เรียกว่า Melayu Anak Dagang เป็นกลุ่มที่เดินทางมาค้าขาย หรือเป็นการอพยพทางเศรษฐกิจ กลุ่มชนชาวมลายูนี้ประกอบด้วย ชนชาวอาเจะห์ (Aceh) ส่วนหนึ่งอาศัยตั้งถิ่นฐานอยู่ในรัฐเคดะห์, ชนชาวอัมบน (Ambon), ชนชาวบันยาร์ (Banjar) ชนชาวบาตัก (Batak) โดยเฉพาะมาจากเผ่ามันไดลิง (Mandailing) ชนชาวบาเวียนหรือโบยาน (Bawean/Boyan) ชนชาวบูกิส (Bugis) โดยชนชาวบูกิส สามารถเป็นกลุ่มผู้ปกครอง หรือ เจ้าผู้ครองรัฐ ในรัฐโยโฮร์ รัฐสลังงอร์ และรัฐเปรัค ชาวจาม (Cham) ที่อพยพมาจากกัมพูชาและเวียดนาม ชนชาวชวา (Jawa) ชนชาวมลายูที่อพยพมาจากเกาะสุมาตรา ที่รู้จักในนามของ ชาวมลายูเดอลี (Melayu Deli), มลายูจัมบี (Melayu Jambi), มลายูปาเล็มบัง(Melayu Palembang), มลายูเรียว (Melayu Riau) และมลายูเซียะ (Melayu Siak) นอกจากนั้นชนชาวมีนังกาเบาก็ถือว่าอยู่ในกลุ่มชนชาวมลายูนี้ด้วย

ชนชาวมลายูดั้งเดิม หรือ Melayu Asli
ชนชาวพื้นเมืองดั้งเดิมในแหลมมลายู หรือที่เรียกว่า คนอัสลี นั้น ตามรัฐธรรมนูญของประเทศมาเลเซียถือว่ากลุ่มชาวมลายูดั้งเดิมนี้เป็นชนชาวภูมิบุตรของประเทศมาเลเซียด้วย จากการสำรวจประชากรในปี 2004 ปรากฎว่ามีประชากรชาวมลายูอัสลีทั้งหมด 149,723 คน สำหรับชนชาวมลายูดั้งเดิมนี้แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ

1. ชาวเซมัง (Semang)เป็นกลุ่มชนที่มีผิวค่อนข้างดำ ผมหยิก ร่างกายเล็ก ในรัฐเคดะห์ และรัฐเปรัค จะเรียกชนกลุ่มนี้ว่า เซมัง กลุ่มชนเซมัง ยังแบ่งออกเป็น กลุ่มย่อยอีกหลายกลุ่ม เช่น

1. Bateq
2. Jahai
3. Kensiu
4. Kintak
5. Lanoh
6. Mendriq

2. ชาวเซอนอย (Senoi)เป็นกลุ่มชนที่เป็นนักล่าสัตว์ ตั้งถิ่นฐานอยู่ในรัฐเปรัค รัฐกลันตัน และรัฐปาหัง ชาวเซอนอย แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยอีกหลายกลุ่ม เช่น

1. Che Wong
2. Mahmeri
3. Jah Hut
4. Semoq Beri
5. Semai
6. Temiar.

3. ชาวมลายูโปรโต (Melayu Proto)
เป็นอีกหนึ่งในกลุ่มชนชาวมลายูดั้งเดิม กลุ่มนี้สามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยอีก 6 กลุ่ม ประกอบด้วย

1. Jakun
2. Orang Kanaq
3. Orang Kuala
4. Orang Seletar
5. Semelai
6. Temuan

ผู้ชายชาวมลายูอัสลี

เครื่องดนตรีของชาวมลายูอัสลี

การแสดงของเยาวชนชาวมลายูอัสลี

ชาวมลายูอัสลี

ชนชาวจีน
ชนชาวจีนเป็นกลุ่มชนที่มีจำนวนประชากรใหญ่เป็นอันดับสอง รองจากชนชาวมลายู ชนชาวจีนเป็นกลุ่มชนที่มีบทบาททางเศรษฐกิจในประเทศมาเลเซีย กลุ่มชาวจีนยังแบ่งออกเป็นหลายกลุ่มชน เช่น

1. Hokkien
2. Hakka
3. Kantonis
4. Hainan
5. Hoklo
6. Hui
7. Henghua
8. กลุ่มชาวจีนที่อพยพมานับร้อยปี เป็นกลุ่มชาวจีนที่แต่งงานผสมผสานกับชาวพื้นเมือง กลุ่มชาวจีนกลุ่มนี้เรียกว่าชาวจีนเปอรานักกัน (Cina Peranakan) หรือรู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า ชาวจีนบาบ๋า ยะหยา (Baba Nyonya)

การแต่งกายของชายหญิงชาวจีน

การแต่งกายของชายหญิงชาวจีน

การแต่งกายของสตรีชาวจีน

ชาวจีนบาบ๋ายะหยากำลังรำ

ชนชาวอินเดีย
ชนชาวอินเดียได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในแหลมมลายู โดยการนำเข้ามาของอังกฤษ เพื่อเป็นแรงงานในภาคการเกษตร ชนชาวอินเดียเป็นกลุ่มชนที่มีประชากรใหญ่เป็นอันดับสามของประเทศมาเลเซีย ชนชาวอินเดียในประเทศมาเลเซีย ยังแบ่งออกเป็นชนเผ่าอีกหลายกลุ่ม เช่น

1. Tamil
2. Bengali
3. Gujerati
4. Malayali
5. Sinhala
6. Telugu
7. Punjabi
8. กลุ่มชนชาวอินเดียที่ได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานในประเทศมาเลเซียมานานนับร้อยปีมาแล้ว ต่อมาได้แต่งงานกับชนพื้นเมือง ชาวอินเดียกลุ่มนี้รู้จักในนามของชาวอินเดียเจตตี (India Jetty)

การแต่งกายของสตรีชาวอินเดีย

การแต่งกายของชาวอินเดีย

การแต่งกายของชาวอินเดียเจตตี


ชนชาวโปร์ตุเกส
ชนชาวโปร์ตุเกสได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศมาเลเซีย โดยเฉพาะเมื่อตอนรัฐมะละกาตกอยู่ภายใต้การปกครองของโปร์ตุเกส ชาวโปร์ตุเกสได้มาตั้งถิ่นฐานในรัฐมะละกา ปัจจุบันยังคงมีชุมชนชาวโปร์ตุเกสในรัฐมะละกา กลุ่มชนนี้จะนับถือศาสนาคริสต์ และภาษาโปร์ตุเกสที่พูดเป็นภาษาโปร์ตุเกสโบราณที่ใช้พูดกันเมื่อหลายร้อยปีก่อน

ป้ายหมู่บ้านชาวโปร์ตุเกสมะละกา

การแสดงของชาวโปร์ตุเกสมะละกา

การแสดงของชาวโปร์ตุเกสมะละกา

ชนชาวไทย
ชนชาวไทยในประเทศมาเลเซีย จะรู้จักกันในนามของชาวสยาม หรือ เซียม (Siam ) ส่วนใหญ่ชาวมาเลเซียเชื้อสายไทยจะตั้งถิ่นฐานอยู่ในรัฐกลันตัน รัฐตรังกานู รัฐเปรัค รัฐปีนัง รัฐเคดะห์ และรัฐเปอร์ลิส ประชากรชาวมาเลเซียเชื้อสายไทยมีประมาณ 6 หมื่นคน ในอดีตเคยมี สมาชิกวุฒิสภาที่เป็นตัวแทนชุมชนชาวมาเลเซียเชื้อสายไทย เช่น นายดาโต๊ะเจริญ อินทชาต นางศรีชุน เอี่ยม แต่สมาชิกวุฒสภาชุดปัจจุบันไม่มีตัวแทนชาวมาเลเซียเชื้อสายไทย

ตราสัญลักษณ์ของสมาคมชาวมาเลเซียเชื้อสายไทย ที่รู้จักในนามของสมาคมชาวสยามแห่งมาเลเซีย(Persatuan Siam Malaysia)

การแต่งงานของชาวมาเลเซียเชื้อสายไทย

การอนุรักษ์รักษาประเพณีไทยในหมู่ชาวมาเลเซียเชื้อสายไทย

การลอยกระทงของชุมชนชาวมาเลเซียเชื้อสายไทย

ชนพื้นเมืองในรัฐซาบะห์ ประเทศมาเลเซีย

โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน

แผนที่รัฐซาบะห์

ในรัฐซาบะห์มีกลุ่มชาติพันธุ์เป็นจำนวนหลายสิบกลุ่ม กลุ่มชนพื้นเมืองในรัฐซาบะห์จะรู้จักในนามของชาวภูมิบุตร (bumiputera) ชาติพันธุ์ที่สำคัญๆ เช่น
1. Kadazandusun
2. Bonggi
3. Murut
4. Kimarang
5. Bajau
6. Kwijau
7. Paitan
8. Lundayeh
9. Kedayan
10.Ubian
11.Sulu
12.Binadan
13.Bisaya
14.Kokos
15.Rumanau
16.Lotud
17.Minokok
18.Orang Sungai (Sungei)
19.Rungus
20.Tatana
21.Tagaas
22.Suluk
23.Melayu
24.Irranun
25.Ida'an Brunei
26.กลุ่มชาติพันธุ์ที่อพยพมาจากฟิลิปปินส์ภาคใต้


ชายและหญิงชาวกาดาซาน-ดูซุน


หญิงสาวชาวกาดาซาน-ดูซุน

ชนชาวกาดาซาน-ดูซุน
ชาวกาดาซาน-ดูซุน เป็นกลุ่มชนที่ใหญ่ที่สุดในรัฐซาบะห์ ส่วนใหญ่ชาวกาดาซาน-ดูซุนจะนับถือศาสนาคริสต์ บางส่วนจะนับถือศาสนาอิสลาม ชาวกาดาซาน-ดูซุน มีความหลากหลายทางภาษาและวัฒนธรรม ประชากรของชาวกาดาซาน-ดูซานมีประมาณหนึ่งในสามของประชากรชาวรัฐซาบะห์ทั้งหมด ชาวกาดาซาน-ดูซุน มีเผ่าย่อยประมาณ 27 เผ่า เช่น
Dusun Liwan,
Dusun Tindal,
Dusun Pahu,
Dusun Lotud,
Bagahak,
Dusun Labuk,
Dusun Kimaragang,
Tagahas,
Tangara,
Dusun,
Rungus,
Orang Sungai,
Kuijau,
Tambanuo
และเผ่าอื่นๆ

ชาวกาดาซาน-ดูซุน ส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพด้านการเกษตร
คำว่ากาดาซาน-ดูซุน เป็นการรวมชื่อระหว่าง 2 เผ่าเข้าด้วยกัน นั้นคือเผ่ากาดาซาน และเผ่าดูซุน โดยทั้งสองเผ่ามีความแตกต่างทางด้านภาษาการพูดและวัฒนธรรมที่ค่อนข้างน้อยมาก เหมือนภาษามาเลเซียกับภาษาอินโดเนเซีย

ชนชาวบาจาว (Bajau)
ชาวบาจาวเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในหลายประเทศ ทั้งในประเทศมาเลเซีย บรูไน อินโดเนเซีย และฟิลิปปินส์ภาคใต้ ชนชาวบาจาวบางครั้งจะรู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า ชาวซามา (Sama)

การแต่งงานของชนชาวบาจาว

ชาวบาจาวสามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

1. ชาวบาจาวบก หรือ Bajau Darat เป็นชาวบาจาวที่อาศัยอยู่บริเวณที่ราบของรัฐซาบะห์ กลุ่มชาวบาจาวบก ส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพเกี่ยวกับการเกษตร จุดเด่นของชาวบาจาวบก คือมีความชำนาญเกี่ยวกับการขี่ม้า ดังนั้นเกือบทุกครัวเรือนในชนบท ชาวบาจาวบกจะเลี้ยงม้า และม้าถือเป็นสัญลักษณ์ของชาวบาจาวบก

ชาวบาจาวบกกับม้า


ชาวบาจาวบกกับความชำนาญการขี่ม้า


การขี่ม้าเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตชาวบาจาวบก

2.ชาวบาจาวทะเล หรือ Bajau Laut เป็นชาวบาจาวที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลของรัฐซาบะห์ กลุ่มชาวบาจาวทะเล ส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพเกี่ยวกับการประมง จุดเด่นของชาวบาจาวทะเล คือมีความชำนาญเกี่ยวกับทะเล ชาวบาจาวทะเลจึงมีเรือที่เรียกว่า เรือ เล-ปา (Lepa)ถือเป็นสัญลักษณ์ของชาวบาจาวทะเล


ขบวนแห่เรือของชาวบาจาวทะเล


เรือเล-ปาของชาวบาจาว


ชาวบาจาวบกและชาวบาจาวทะเลทั้งหมดจะนับถือศาสนาอิสลาม ด้วยชาวบาจาวเป็นกลุ่มชาวมุสลิมที่ใหญ่ที่สุดของรัฐซาบะห์ และรัฐธรรมนูญรัฐซาบะห์กำหนดให้ชาวมุสลิมเป็นประมุข หรือผู้ว่าการของรัฐซาบะห์ ดังนั้นชาวบาจาวจึงกลายเป็นผู้ดำรงตำแหน่งประมุของรัฐซาบะห์ นอกจากชาวบาจาวทั้งสองกลุ่มแล้ว ยังมีชาวบาจาวอีกกลุ่มหนึ่ง เรียกว่าชาวบาจาวในทะเล หรือ Bajau Dilaut ชาวบาจาวกลุ่มนี้ยังมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Pala’un หรือ ชาวทะเล (ชาวเล) ชาวบาจาวกลุ่มนี้จะไม่มีศาสนา แต่จะนับถือความเชื่อประจำเผ่าของตนเอง มักอาศัยอยู่ในเรือ จะกลับเข้าสู่ฝั่งเป็นครั้งคราวเท่านั้น เป็นชาวบาจาวที่มีความชำนาญเกี่ยวกับทะเล และถือว่าทะเลเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตพวกเขา

ลักษณะบ้านในทะเลของชาวบาจาวในทะเล หรือ Pala'un


บ้านในทะเลของชาวบาจาวในทะเล


เด็กชาวบาจาวรู้จักการใช้ชีวิตในทะเลตั้งแต่วัยเยาว์

Jumaat, 25 Disember 2009

ขนบธรรมเนียมประเพณีชาวมลายูในประเทศมาเลเซีย

โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน

แผนที่ประเทศมาเลเซีย

ขนบธรรมเนียมประเพณีชาวมลายู
ประเทศมาเลเซียเป็นหนึ่งในบรรดาประเทศที่ประกอบขึ้นด้วยหลากหลายชาติพันธุ์ ประเทศมาเลเซียมีดินแดนแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นรัฐต่างๆจำนวน 11 รัฐตั้งอยู่บนแหลมมลายู อีกส่วนหนึ่งมี 2 รัฐตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว ทั้งสองส่วนนี้มีความแตกต่างทางชาติพันธุ์ รัฐที่ตั้งอยู่บนแหลมมลายูประกอบด้วยชาติพันธุ์ใหญ่ๆจำนวน 3 ชาติพันธุ์ คือ มลายู จีน และอินเดีย ส่วนรัฐที่ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว มีจำนวนชาติพันธุ์หลายสิบชนเผ่า

ดังนั้นชาวมาเลเซียจึงมีความหลากหลายทางขนบธรรมเนียมประเพณี ขอแนะนำชาติพันธุ์มลายูและขนบธรรมเนียมปะเพณีชาวมลายูมาเป็นตัวอย่าง

เครื่องแต่งกายของชาวมลายู


การแต่งกายของชาวมลายู


การแสดงของชาวมลายู

คนมลายู
ในปี 1972 ทางองค์การ Unesco ได้ดำเนินการจัดทำการวิจัยเกี่ยวกับชนชาวมลายู โดยใช้ชื่อหัวข้อการวิจัยว่า The Malay Culture Study Project ซึ่งจากการทำการวิจัยครั้งนั้น คำว่า “มลายู” ในความหมายที่ทางองค์การ UNESCO ได้ให้คำอธิบายนั้นคือ กลุ่มชนที่รวมกันอยู่ในกลุ่มมลายู-โปลีเนเซีย (Melayu-Polinesia) ซึ่งมีอาณาเขตที่กว้างขวาง จากเกาะมาดากัสการ์ทางตะวันตก จนถึงเกาะอิสเตอร์หรือที่ชาวมลายูเรียกว่าเกาะปัสกะห์ (Pulau Paskah) ทางตะวันออก รวมทั้งเกาะไต้หวัน และ ฮาวาย ทางด้านเหนือ จนถึงหมู่เกาะอินโดเนเซีย และ นิวซีแลนด์ทางใต้
จากข้อมูลข้างต้นที่มีชนชาติมลายูถึงกว่า 340 ล้านคน ปรากฏว่าชนชาวมลายูเหล่านั้น กระจัดกระจายไปทั่วโลก นอกจากพวกเขาจะตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศอินโดเนเซีย, มาเลเซีย, บรูไน, สิงคโปร์, ฟิลิปปินส์, ภาคใต้ของไทย, พม่า, เวียดนาม, เขมร และลาวแล้ว พวกเขายังอพยพไปยังภูมิภาคต่างๆ พวกเขาตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศอัฟริกาใต้, มาดากัสการ์, สุรีนาม, ตะวันออกกลาง, ยุโรป และสหรัฐ

ในที่นี้ขอกล่าวถึงชาวมลายูในประเทศมาเลเซีย ชาวมลายูในประเทศมาเลเซีย มีขนบธรรมเนียมประเพณีอยู่ 2 แบบ คือ

1. ชาวมลายูที่ยึดถือขนบธรรมเนียมประเพณีแบบ Adat Temenggong
เป็นขนบธรรมเนียมที่ยึดถือในรัฐส่วนใหญ่ของแหลมมลายู ยกเว้นรัฐนัครีซัมบีลัน ว่ากันว่าเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีที่ยึดถือมาตั้งแต่ยุคแรกรัฐมะละกาจนขยายไปยังรัฐต่างๆในแหลมมลายู ขนบธรรมเนียมนี้จัดตั้งขึ้นโดย Datuk Ketemenggungan จากเกาะสุมาตรา จากการที่ขนบธรรมเนียมประเพณี Adat Temenggong มีการผสมผสานกับขนบธรรมเนียมเดิมที่มีอยู่แล้ว จึงได้เกิดเป็นกฎหมายมีชขื่อแตกต่างกัน เช่น กฎหมายมะละกา (Undang-Undang Melaka) กฎหมายโยโฮร์(Undang-Undang Johor) และกฎหมายเคดะห์ (Undang-Undang Kedah)

หลักการของขนบธรรมเนียมประเพณี Adat Temenggong
•การลงโทษถือเป็นสิ่งที่ได้รับการตอบแทน
•การปกครองต้องใช้อำนาจเด็ดขาด
•การสืบมรดกถือหลักการตามบิดา (Patriline)
•การแต่งงานนั้นจะแต่งงานกับผู้ใดก็ได้ ถ้าไม่ผิดตามหลักการศาสนาอิสลาม (hukum syarak)

2. ชาวมลายูที่ยึดถือขนบธรรมเนียมประเพณีแบบ Adat Minangkabau หรือ Adat Perpatih เป็นขนบธรรมเนียมที่ยึดถือในรัฐนัครีซัมบีลัน และบางส่วนของรัฐมัละกา ผู้สร้างขนบธรรมเนียมประเพณีนี้คือ Datuk Nan Sebatang ซึ่งเป็นพี่น้องของ Datuk Ketumanggungan ผู้สร้างขนบธรรมเนียมประเพณี Adat Temenggong

ความเป็นมาของชื่อเผ่า
ชื่อเผ่านี้มาจากคำว่า Menang (Minang)+ Kerbau (Kabau) รวมกันเรียกว่า มีนังกาเบา มีความหมายว่า ชนความชนะ ซึ่งในอดีตมีการกล่าวว่า เมื่อครั้งชวาต้องการรบกับชนเผ่านี้ มีการตกลงว่า ไม่ต้องการให้ทหาร และชาวบ้านเสียชีวิต จึงมีการชนความยกัน ควายผู้ใดชนะ ถือว่าชนเผ่าตนเองชนะ ในขณะที่ฝ่ายชนะนำความที่แข็งแรง มีพลังมาสู้ ส่วนชาวมีนังกาเบากลับนำลูกควาย โดยให้อดอาหาร เมื่อควายทั้งสองฝ่ายสู้กัน ลูกควายจึงวิ่งไปหาควายฝ่ายชวา เพื่อดูดนมจากเต้า ที่เขาลูกควายมีการนำให้แหลมคม เมื่อลูกควายวิ่งไปหาเต้านมของควายฝ่ายชวา เขาลูกควายฝ่ายมีนังกาเบาจึงทิ่มแทงเต้านมควายฝ่ายชวาจนเสียชีวิต หลังจากนั้น ชนเผ่ามีนังกาเบาจึงเรียกเผ่าตนเองว่า เผ่ามีนังกาเบา หรือ เผ่าที่ชนควายชนะ


ภาพวาดการต่อสู้ระหว่างควายฝ่ายชวากับควายฝ่ายมีนังกาเบา


ดินแดนของ Adat Minangkabau
สำหรับดินแดนของ Adat Minangkabau แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ
1.Daerah Darek เป็นพื้นที่บริเวณที่ราบสูงจากทิศเหนือไปยังทิศใต้ของเกาะสุมาตรา
2.Pasisir (Pesisir)อยู่บริเวณชายฝั่งด้านตะวันตกของสุมาตรา
3.Rantau (Marantau) เป็นพื้นทีที่ชาวมีนังกาเบา(Minangkabau)ได้เดินทางไปตั้งถิ่นฐานอยู่นอกดินแดนเดิม เช่น บริเวณนานิง (Naning)ในรัฐมะละกาและดินแดนรัฐนัครี ซัมบีลัน ประเทศมาเลเซีย

Daerah Daerek นั้นมีศูนย์กลางอำนาจของ Adat Minangkabau อยู่ที่ Paringan Panjang อำเภอ Tanah Datar ส่วนศูนย์อำนาจทางวัฒนธรรมของอยู่ที่ Pagar Ruyung, Batusangkar เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดเนเซีย

สตรีชาวมีนังกาเบากับบ้านฆาดัง (Rumah Gadang)บ้านสำหรับพิธีกรรมทางวัฒนธรรม

ผู้นำของ Adat Minangkabau
ผู้นำของ Adat Minangkabau แบ่งออกเป็น 3 Luak (Luhak) คือ
1.Luak Tana Data มีศูนย์อำนาจอยู่ที่ Batu Sangkar เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดเนเซีย
2.Luak Agan (Luhak Nan Tangah )มีศูนย์อำนาจอยู่ที่ Bukit Tinggi เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดเนเซีย
3.Luak Sokoto มีศูนย์อำนาจอยู่ที่ Pagakumouh เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดเนเซีย

Adat Minangkabau หรือ Adat Perpatih นี้เป็นขนบธรรมเนียมประเพณีที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษในสมัยศตวรรษที่ 14 ก่อนศาสนาอิสลามเข้ามา

การแต่งกายของชาวมีนังกาเบา


การแต่งกายของสตรีชาวมีนังกาเบา


ประเภทของ Adat Minangkabau
Adat Minangkabau มี 4 ประเภท คือ
1.Adat nan sabana Adat ถือเป็นแกนหลักของ Adat Minangkabau ซึ่งมาจาก Datuk Nan Sebatang และ Datuk Ketumanggungan
2.Adat nan diadatkan oleh nenek mayang เป็นขนบธรรมเนียมประเพณีที่ยึดถือตั้งแต่บรรพบุรุษ
3.Adat teradat เป็นขนบธรรมเนียมประเพณีที่สร้างขึ้นโดยผู้ทำหรือ Penghulu ของคน Minangkabau
4.Adat istiadat เป็นขนบธรรมเนียมประเพณีที่สร้างขึ้นโดยผู้นำหรือ Penghulu ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเกี่ยวกับเรื่องศิลปะวัฒนธรรม ซีละ การแต่งกายของชาย – หญิงและการกีฬา

ความเด่นของ Adat Minangkabau หรือ Adat perpatih คือจะยึดถือทางฝ่ายมารดาหรือ Matrilineal หมายถึงอำนาจต่าง ๆ ทรัพย์มรดกจะถูกสืบทอดจากรุ่นหนึ่งไปยังรุ่นหนึ่งโดยทางสายเลืดของมารดา ดังนั้นมรดกต่าง ๆ ของชาว Minangkabau จะตกเป็นของบุตรสาว ซึ่งแตกต่างจากขนบธรรมเนียมประเพณีมลายูที่ยึดถือ Adat Temenggong ที่ยึดถือทางฝ่ายบิดาหรือ Patrilineal นั้นคืออำนาจต่าง ๆ ทรัพย์สินมรดกจะยึดถือทางสายเลือดของผู้ชายหรือบิดา

ชาวมีนังกาเบาในรัฐนัครีซัมบีลัน
สังคมชาวมลายูเชื้อสายมีนังกาเบาในประเทศมาเลเซีย โดยเฉพาะที่รัฐนัครีซัมบีลัน มีการแบ่งโครงสร้างทางสังคมออกเป็น 3 ส่วน คือ Perut, Suku และ Luak

แผนที่รัฐนัครีซัมบีลัน

Perut เป็นหน่วยแรก ซึ่งถือเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของสังคมมันังกาเบา โดยที่บุคคลที่อยู่ใน Perut เดียวกัน หมายถึงบุคคลที่มีบรรพบุรุษ(ฝ่ายมารดา)เป็นบุคคลเดียวกัน ทุกหน่วย Perut จะมีความใกล้ชิด มีความสัมพันธ์ที่ค่อนข้างแน่นแฟ้น โดยมีผู้นำร่วมกัน เรียกว่า Buapak ที่ได้รับการเลือกจากสมาชิกที่อยู่ใน Perut เดียวกัน

Suku เป็นหน่วยที่สองของสังคมมีนังกาเบาในรัฐนัครีซัมบีลัน Suku ประกอบขึ้นด้วยหลายๆ Perut ทำให้หน่วยทางสังคมหน่วยนี้ใหญ่ขึ้น สำหรับผู้นำของ Suku นี้เรียกว่า Dato’ Lembaga

Luak เป็นหน่วยที่สาม ถือเป็นหน่วยที่ใหญ่ที่สุด เป็นเขตการปกครองทางสังคมมีนังกาเบา ในรัฐนัครีซัมบีลันมี 4 เขตการปกครองทางสังคมมีนังกาเบา ประกอบด้วย Rembau, Sungai Ujung, Johol และ Jelebu โดยผู้นำของแต่ละเขต เรียกว่า Undang สำหรับ Undang ในรัฐนัครีซัมบีลันนั้นมีสถานะเป็นกษัตริย์ท้องถิ่น และ Undang ทั้งสี่เขตนี้จะทำหน้าที่เป็นผู้เลือกเจ้าผู้ครองรัฐของรัฐนัครีซัมบีลัน ที่เรียกว่า Yang DiPertuan Besar
นอกจาก Luak ทั้งสี่ที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีอีก 1 Luak ซึ่งเป็นเขตการปกครองของ Yang DiPertuan Besar ตั้งอยู่ในเขตศรีมือนันตี (Seri Menanti) เรียก Luak นี้ว่า Luak Tanah Mengandung เขตการปกครองนี้ประกอบด้วย Luak เล็กๆจำนวน 5 Luak คือ Luak Inas, Luak Ulu Muar, Luak Gunung Pasir, Luak Terachi และ Luak Jempol บรรดา Luak เหล่านี้มีผู้นำเรียกว่า Penghulu Luak

พระราชวังศรีมือนันตี

หลักการของขนบธรรมเนียมประเพณี Adat Perpatih
1.ชาติตระกูลยึดถือทางมารดา ถือว่าว่าเป็น bonda kandung บุคคลหนึ่งเป็นสมาชิกส่วนหนึ่งของตระกูลมารดา ไม่ใช่ตระกูลบิดา
2.การตั้งถิ่นฐานในพื้นที่มารดาและภรรยา เมื่อมีการแต่งงานเกิดขึ้น ฝ่ายชายต้องมาอาศัยอยู่กับครอบครัวฝ่ายภรรยา เรียกว่า ญาติที่เกี่ยวข้องจากการแต่งงาน หรือ orang semenda ในอดีตนั้นฝ่ายชายต้องมาประกอบอาชีพในที่ดินฝ่ายหญิง
3.ฝ่ายหญิงเป็นผู้สืบทอดมรดก หรือ pusaka ส่วนฝ่ายชายเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางสังคม หรือ saka นั้นหมายถึงฝ่ายหญิงจะเป็นผู้สืบทอดมรดกที่ได้รับมาจากครอบครัวฝ่ายมารดา ส่วนฝ่ายชายจะเป็นผู้ดำรงตำแหน่งที่เกี่ยวข้องการขนบธรรมเนียมประเพณี การปกครอง
4.การแต่งงานระหว่างผู้ร่วมตระกูลที่เรียกว่า perut และผู้ร่วมตระกูลที่เรียกว่า suku ถือเป็นสิ่งต้องห้ามสำหรับขนบธรรมธรรมเนียมประเพณี Adat Temenggong ฝ่ายผู้ชายต้องถือว่าสตรีที่ร่วม Perut หรือ ร่วม Suku มีสถานะเป็นพี่สาวหรือน้องสาวของตนเอง ผู้ชายที่แต่งงานกับผู้หญิงร่วม Perut หรือ ร่วม Suku ถือว่าหมดสิทธิ์จากการดำรงตำแหน่งใดๆทางขนบธรรมเนียมประเพณี Adat Temenggong ส่วนผู้หญิงที่แต่งงานกับผู้ชายร่วม Perut หรือ ร่วม Suku ถือว่าหมดสิทธิ์จากการได้รับมรดกตามขนบธรรมเนียมประเพณี Adat Temenggong และถูกตัดขาดทางสังคมชาวมีนังกาเบา

ส่วนประกอบของพิธีเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ Suku ที่เรียกว่า Berkedim


ขั้นตอนการจุ่มนิ้วในเลือดควายของพิธี Berkedim


ขั้นตอนการจุ่มนิ้วในเลือดควายของพิธี Berkedim


การบันทึกลงในเอกสารถึงการประกอบพิธี Berkedim

5.บุคคลที่ไม่ได้เป็นชนชาวมีนังกาเบา สามารถเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ suatu ชาวมีนังกาเบาได้ โดยจะมีการทำพิธีที่เรียกว่า พิธี berkedim มีการปฏิญาณว่าจะซื่อตรง และเป็นพี่น้องร่วม suku กับชาวมีนังกาเบาดังกล่าว