Jumaat, 25 Disember 2009

ขนบธรรมเนียมประเพณีชาวมลายูในประเทศมาเลเซีย

โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน

แผนที่ประเทศมาเลเซีย

ขนบธรรมเนียมประเพณีชาวมลายู
ประเทศมาเลเซียเป็นหนึ่งในบรรดาประเทศที่ประกอบขึ้นด้วยหลากหลายชาติพันธุ์ ประเทศมาเลเซียมีดินแดนแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นรัฐต่างๆจำนวน 11 รัฐตั้งอยู่บนแหลมมลายู อีกส่วนหนึ่งมี 2 รัฐตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว ทั้งสองส่วนนี้มีความแตกต่างทางชาติพันธุ์ รัฐที่ตั้งอยู่บนแหลมมลายูประกอบด้วยชาติพันธุ์ใหญ่ๆจำนวน 3 ชาติพันธุ์ คือ มลายู จีน และอินเดีย ส่วนรัฐที่ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว มีจำนวนชาติพันธุ์หลายสิบชนเผ่า

ดังนั้นชาวมาเลเซียจึงมีความหลากหลายทางขนบธรรมเนียมประเพณี ขอแนะนำชาติพันธุ์มลายูและขนบธรรมเนียมปะเพณีชาวมลายูมาเป็นตัวอย่าง

เครื่องแต่งกายของชาวมลายู


การแต่งกายของชาวมลายู


การแสดงของชาวมลายู

คนมลายู
ในปี 1972 ทางองค์การ Unesco ได้ดำเนินการจัดทำการวิจัยเกี่ยวกับชนชาวมลายู โดยใช้ชื่อหัวข้อการวิจัยว่า The Malay Culture Study Project ซึ่งจากการทำการวิจัยครั้งนั้น คำว่า “มลายู” ในความหมายที่ทางองค์การ UNESCO ได้ให้คำอธิบายนั้นคือ กลุ่มชนที่รวมกันอยู่ในกลุ่มมลายู-โปลีเนเซีย (Melayu-Polinesia) ซึ่งมีอาณาเขตที่กว้างขวาง จากเกาะมาดากัสการ์ทางตะวันตก จนถึงเกาะอิสเตอร์หรือที่ชาวมลายูเรียกว่าเกาะปัสกะห์ (Pulau Paskah) ทางตะวันออก รวมทั้งเกาะไต้หวัน และ ฮาวาย ทางด้านเหนือ จนถึงหมู่เกาะอินโดเนเซีย และ นิวซีแลนด์ทางใต้
จากข้อมูลข้างต้นที่มีชนชาติมลายูถึงกว่า 340 ล้านคน ปรากฏว่าชนชาวมลายูเหล่านั้น กระจัดกระจายไปทั่วโลก นอกจากพวกเขาจะตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศอินโดเนเซีย, มาเลเซีย, บรูไน, สิงคโปร์, ฟิลิปปินส์, ภาคใต้ของไทย, พม่า, เวียดนาม, เขมร และลาวแล้ว พวกเขายังอพยพไปยังภูมิภาคต่างๆ พวกเขาตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศอัฟริกาใต้, มาดากัสการ์, สุรีนาม, ตะวันออกกลาง, ยุโรป และสหรัฐ

ในที่นี้ขอกล่าวถึงชาวมลายูในประเทศมาเลเซีย ชาวมลายูในประเทศมาเลเซีย มีขนบธรรมเนียมประเพณีอยู่ 2 แบบ คือ

1. ชาวมลายูที่ยึดถือขนบธรรมเนียมประเพณีแบบ Adat Temenggong
เป็นขนบธรรมเนียมที่ยึดถือในรัฐส่วนใหญ่ของแหลมมลายู ยกเว้นรัฐนัครีซัมบีลัน ว่ากันว่าเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีที่ยึดถือมาตั้งแต่ยุคแรกรัฐมะละกาจนขยายไปยังรัฐต่างๆในแหลมมลายู ขนบธรรมเนียมนี้จัดตั้งขึ้นโดย Datuk Ketemenggungan จากเกาะสุมาตรา จากการที่ขนบธรรมเนียมประเพณี Adat Temenggong มีการผสมผสานกับขนบธรรมเนียมเดิมที่มีอยู่แล้ว จึงได้เกิดเป็นกฎหมายมีชขื่อแตกต่างกัน เช่น กฎหมายมะละกา (Undang-Undang Melaka) กฎหมายโยโฮร์(Undang-Undang Johor) และกฎหมายเคดะห์ (Undang-Undang Kedah)

หลักการของขนบธรรมเนียมประเพณี Adat Temenggong
•การลงโทษถือเป็นสิ่งที่ได้รับการตอบแทน
•การปกครองต้องใช้อำนาจเด็ดขาด
•การสืบมรดกถือหลักการตามบิดา (Patriline)
•การแต่งงานนั้นจะแต่งงานกับผู้ใดก็ได้ ถ้าไม่ผิดตามหลักการศาสนาอิสลาม (hukum syarak)

2. ชาวมลายูที่ยึดถือขนบธรรมเนียมประเพณีแบบ Adat Minangkabau หรือ Adat Perpatih เป็นขนบธรรมเนียมที่ยึดถือในรัฐนัครีซัมบีลัน และบางส่วนของรัฐมัละกา ผู้สร้างขนบธรรมเนียมประเพณีนี้คือ Datuk Nan Sebatang ซึ่งเป็นพี่น้องของ Datuk Ketumanggungan ผู้สร้างขนบธรรมเนียมประเพณี Adat Temenggong

ความเป็นมาของชื่อเผ่า
ชื่อเผ่านี้มาจากคำว่า Menang (Minang)+ Kerbau (Kabau) รวมกันเรียกว่า มีนังกาเบา มีความหมายว่า ชนความชนะ ซึ่งในอดีตมีการกล่าวว่า เมื่อครั้งชวาต้องการรบกับชนเผ่านี้ มีการตกลงว่า ไม่ต้องการให้ทหาร และชาวบ้านเสียชีวิต จึงมีการชนความยกัน ควายผู้ใดชนะ ถือว่าชนเผ่าตนเองชนะ ในขณะที่ฝ่ายชนะนำความที่แข็งแรง มีพลังมาสู้ ส่วนชาวมีนังกาเบากลับนำลูกควาย โดยให้อดอาหาร เมื่อควายทั้งสองฝ่ายสู้กัน ลูกควายจึงวิ่งไปหาควายฝ่ายชวา เพื่อดูดนมจากเต้า ที่เขาลูกควายมีการนำให้แหลมคม เมื่อลูกควายวิ่งไปหาเต้านมของควายฝ่ายชวา เขาลูกควายฝ่ายมีนังกาเบาจึงทิ่มแทงเต้านมควายฝ่ายชวาจนเสียชีวิต หลังจากนั้น ชนเผ่ามีนังกาเบาจึงเรียกเผ่าตนเองว่า เผ่ามีนังกาเบา หรือ เผ่าที่ชนควายชนะ


ภาพวาดการต่อสู้ระหว่างควายฝ่ายชวากับควายฝ่ายมีนังกาเบา


ดินแดนของ Adat Minangkabau
สำหรับดินแดนของ Adat Minangkabau แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ
1.Daerah Darek เป็นพื้นที่บริเวณที่ราบสูงจากทิศเหนือไปยังทิศใต้ของเกาะสุมาตรา
2.Pasisir (Pesisir)อยู่บริเวณชายฝั่งด้านตะวันตกของสุมาตรา
3.Rantau (Marantau) เป็นพื้นทีที่ชาวมีนังกาเบา(Minangkabau)ได้เดินทางไปตั้งถิ่นฐานอยู่นอกดินแดนเดิม เช่น บริเวณนานิง (Naning)ในรัฐมะละกาและดินแดนรัฐนัครี ซัมบีลัน ประเทศมาเลเซีย

Daerah Daerek นั้นมีศูนย์กลางอำนาจของ Adat Minangkabau อยู่ที่ Paringan Panjang อำเภอ Tanah Datar ส่วนศูนย์อำนาจทางวัฒนธรรมของอยู่ที่ Pagar Ruyung, Batusangkar เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดเนเซีย

สตรีชาวมีนังกาเบากับบ้านฆาดัง (Rumah Gadang)บ้านสำหรับพิธีกรรมทางวัฒนธรรม

ผู้นำของ Adat Minangkabau
ผู้นำของ Adat Minangkabau แบ่งออกเป็น 3 Luak (Luhak) คือ
1.Luak Tana Data มีศูนย์อำนาจอยู่ที่ Batu Sangkar เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดเนเซีย
2.Luak Agan (Luhak Nan Tangah )มีศูนย์อำนาจอยู่ที่ Bukit Tinggi เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดเนเซีย
3.Luak Sokoto มีศูนย์อำนาจอยู่ที่ Pagakumouh เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดเนเซีย

Adat Minangkabau หรือ Adat Perpatih นี้เป็นขนบธรรมเนียมประเพณีที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษในสมัยศตวรรษที่ 14 ก่อนศาสนาอิสลามเข้ามา

การแต่งกายของชาวมีนังกาเบา


การแต่งกายของสตรีชาวมีนังกาเบา


ประเภทของ Adat Minangkabau
Adat Minangkabau มี 4 ประเภท คือ
1.Adat nan sabana Adat ถือเป็นแกนหลักของ Adat Minangkabau ซึ่งมาจาก Datuk Nan Sebatang และ Datuk Ketumanggungan
2.Adat nan diadatkan oleh nenek mayang เป็นขนบธรรมเนียมประเพณีที่ยึดถือตั้งแต่บรรพบุรุษ
3.Adat teradat เป็นขนบธรรมเนียมประเพณีที่สร้างขึ้นโดยผู้ทำหรือ Penghulu ของคน Minangkabau
4.Adat istiadat เป็นขนบธรรมเนียมประเพณีที่สร้างขึ้นโดยผู้นำหรือ Penghulu ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเกี่ยวกับเรื่องศิลปะวัฒนธรรม ซีละ การแต่งกายของชาย – หญิงและการกีฬา

ความเด่นของ Adat Minangkabau หรือ Adat perpatih คือจะยึดถือทางฝ่ายมารดาหรือ Matrilineal หมายถึงอำนาจต่าง ๆ ทรัพย์มรดกจะถูกสืบทอดจากรุ่นหนึ่งไปยังรุ่นหนึ่งโดยทางสายเลืดของมารดา ดังนั้นมรดกต่าง ๆ ของชาว Minangkabau จะตกเป็นของบุตรสาว ซึ่งแตกต่างจากขนบธรรมเนียมประเพณีมลายูที่ยึดถือ Adat Temenggong ที่ยึดถือทางฝ่ายบิดาหรือ Patrilineal นั้นคืออำนาจต่าง ๆ ทรัพย์สินมรดกจะยึดถือทางสายเลือดของผู้ชายหรือบิดา

ชาวมีนังกาเบาในรัฐนัครีซัมบีลัน
สังคมชาวมลายูเชื้อสายมีนังกาเบาในประเทศมาเลเซีย โดยเฉพาะที่รัฐนัครีซัมบีลัน มีการแบ่งโครงสร้างทางสังคมออกเป็น 3 ส่วน คือ Perut, Suku และ Luak

แผนที่รัฐนัครีซัมบีลัน

Perut เป็นหน่วยแรก ซึ่งถือเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของสังคมมันังกาเบา โดยที่บุคคลที่อยู่ใน Perut เดียวกัน หมายถึงบุคคลที่มีบรรพบุรุษ(ฝ่ายมารดา)เป็นบุคคลเดียวกัน ทุกหน่วย Perut จะมีความใกล้ชิด มีความสัมพันธ์ที่ค่อนข้างแน่นแฟ้น โดยมีผู้นำร่วมกัน เรียกว่า Buapak ที่ได้รับการเลือกจากสมาชิกที่อยู่ใน Perut เดียวกัน

Suku เป็นหน่วยที่สองของสังคมมีนังกาเบาในรัฐนัครีซัมบีลัน Suku ประกอบขึ้นด้วยหลายๆ Perut ทำให้หน่วยทางสังคมหน่วยนี้ใหญ่ขึ้น สำหรับผู้นำของ Suku นี้เรียกว่า Dato’ Lembaga

Luak เป็นหน่วยที่สาม ถือเป็นหน่วยที่ใหญ่ที่สุด เป็นเขตการปกครองทางสังคมมีนังกาเบา ในรัฐนัครีซัมบีลันมี 4 เขตการปกครองทางสังคมมีนังกาเบา ประกอบด้วย Rembau, Sungai Ujung, Johol และ Jelebu โดยผู้นำของแต่ละเขต เรียกว่า Undang สำหรับ Undang ในรัฐนัครีซัมบีลันนั้นมีสถานะเป็นกษัตริย์ท้องถิ่น และ Undang ทั้งสี่เขตนี้จะทำหน้าที่เป็นผู้เลือกเจ้าผู้ครองรัฐของรัฐนัครีซัมบีลัน ที่เรียกว่า Yang DiPertuan Besar
นอกจาก Luak ทั้งสี่ที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีอีก 1 Luak ซึ่งเป็นเขตการปกครองของ Yang DiPertuan Besar ตั้งอยู่ในเขตศรีมือนันตี (Seri Menanti) เรียก Luak นี้ว่า Luak Tanah Mengandung เขตการปกครองนี้ประกอบด้วย Luak เล็กๆจำนวน 5 Luak คือ Luak Inas, Luak Ulu Muar, Luak Gunung Pasir, Luak Terachi และ Luak Jempol บรรดา Luak เหล่านี้มีผู้นำเรียกว่า Penghulu Luak

พระราชวังศรีมือนันตี

หลักการของขนบธรรมเนียมประเพณี Adat Perpatih
1.ชาติตระกูลยึดถือทางมารดา ถือว่าว่าเป็น bonda kandung บุคคลหนึ่งเป็นสมาชิกส่วนหนึ่งของตระกูลมารดา ไม่ใช่ตระกูลบิดา
2.การตั้งถิ่นฐานในพื้นที่มารดาและภรรยา เมื่อมีการแต่งงานเกิดขึ้น ฝ่ายชายต้องมาอาศัยอยู่กับครอบครัวฝ่ายภรรยา เรียกว่า ญาติที่เกี่ยวข้องจากการแต่งงาน หรือ orang semenda ในอดีตนั้นฝ่ายชายต้องมาประกอบอาชีพในที่ดินฝ่ายหญิง
3.ฝ่ายหญิงเป็นผู้สืบทอดมรดก หรือ pusaka ส่วนฝ่ายชายเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางสังคม หรือ saka นั้นหมายถึงฝ่ายหญิงจะเป็นผู้สืบทอดมรดกที่ได้รับมาจากครอบครัวฝ่ายมารดา ส่วนฝ่ายชายจะเป็นผู้ดำรงตำแหน่งที่เกี่ยวข้องการขนบธรรมเนียมประเพณี การปกครอง
4.การแต่งงานระหว่างผู้ร่วมตระกูลที่เรียกว่า perut และผู้ร่วมตระกูลที่เรียกว่า suku ถือเป็นสิ่งต้องห้ามสำหรับขนบธรรมธรรมเนียมประเพณี Adat Temenggong ฝ่ายผู้ชายต้องถือว่าสตรีที่ร่วม Perut หรือ ร่วม Suku มีสถานะเป็นพี่สาวหรือน้องสาวของตนเอง ผู้ชายที่แต่งงานกับผู้หญิงร่วม Perut หรือ ร่วม Suku ถือว่าหมดสิทธิ์จากการดำรงตำแหน่งใดๆทางขนบธรรมเนียมประเพณี Adat Temenggong ส่วนผู้หญิงที่แต่งงานกับผู้ชายร่วม Perut หรือ ร่วม Suku ถือว่าหมดสิทธิ์จากการได้รับมรดกตามขนบธรรมเนียมประเพณี Adat Temenggong และถูกตัดขาดทางสังคมชาวมีนังกาเบา

ส่วนประกอบของพิธีเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ Suku ที่เรียกว่า Berkedim


ขั้นตอนการจุ่มนิ้วในเลือดควายของพิธี Berkedim


ขั้นตอนการจุ่มนิ้วในเลือดควายของพิธี Berkedim


การบันทึกลงในเอกสารถึงการประกอบพิธี Berkedim

5.บุคคลที่ไม่ได้เป็นชนชาวมีนังกาเบา สามารถเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ suatu ชาวมีนังกาเบาได้ โดยจะมีการทำพิธีที่เรียกว่า พิธี berkedim มีการปฏิญาณว่าจะซื่อตรง และเป็นพี่น้องร่วม suku กับชาวมีนังกาเบาดังกล่าว

Tiada ulasan: