Rabu, 2 Januari 2008

Brunei Investment Agency : องค์กรทางเศรษฐกิจของประเทศบรูไน

โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน

ในเดือนมิถุนายน 1983 สุลต่านบรูไนได้นำเงินลงทุนประมาณ 3 พันล้านดอลลาร์บรูไน หรือประมาณครึ่งหนึ่งของเงินลงทุนทั้งหมดของบรูไนในต่างประเทศ ที่ปกติแล้วมีการลงทุนผ่านองค์กรของอังกฤษที่เรียกว่า agents of the British crown มาลงทุนเอง โดยมีการจัดตั้งองค์กรการลงทุนของตนเองเรียกว่า The Brunei Investment Agency โดยองค์กรนี้มีชื่อย่อว่า BIA 

กองทุน Brunei Investment Agency กับการลงทุนในประเทศไทย
- ในวันที่ 27 สิงหาคม 2545 ไทยและบรูไนได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจได้แก่ สัญญาระหว่าง Brunei Investment Agency (BIA) กับ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข) และสัญญาระหว่าง Brunei Investment Agency (BIA) กับ the Biz Dimesion Co. Ltd.
- เมื่อ 16 มกราคม 2546 Brunei Investment Agency (BIA) และกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข) ได้ร่วมลงนามในสัญญาจัดตั้งกองทุนร่วมลงทุน (Matching Fund) ในชื่อกองทุนไทยทวีทุน (Thailand Prosperity Fund – TPF) โดยมีวงเงิน 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และสามารถเพิ่มวงเงินได้ไม่เกิน 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ กบข. ลงทุนประมาณ 66 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 33 ของวงเงินทั้งหมด และ BIA ลงทุนประมาณ 134 ดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 67 ของวงเงินทั้งหมด
- กองทุนไทยทวีทุนมีระยะเวลาลงทุน 8 ปี และต่ออายุได้อีก 2 ปี มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการลงทุนทั้งในและนอกตลาดหลักทรัพย์ โดยเฉพาะหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และเสนอขายแบบเฉพาะเจาะจง (Private Placement) รวมทั้งหลักทรัพย์ที่มีแผนจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ทั้งบริษัทเอกชนและรัฐวิสาหกิจที่กำลังจะแปรรูป ทั้งนี้ กองทุนไทยทวีทุนได้แต่งตั้งบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม ING (ประเทศไทย) จำกัดเป็นผู้จัดการกองทุน


- นอกจากนั้น BIA และ กบข. ยังได้ร่วมลงทุน (joint venture) จัดตั้งบริษัท Thai Prosperity Advisory Company Limited (TPA) เพื่อเป็นบริษัทที่ปรึกษาทางเทคนิคให้กับกองทุนไทยทวีทุน โดย กบข. และBIA มีสัดส่วนการลงทุนร้อยละ 59 และ 41 ตามลำดับ กองทุนไทยทวีทุนได้เปิดดำเนินการอย่างเป็นทางการเมื่อ 18 มีนาคม 2546 และได้เข้าร่วมทุนกับธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยโดยถือหุ้นร้อยละ 15 คิดเป็นจำนวนเงินประมาณ 2.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (104.53 ล้านบาท) รวมทั้งร่วมทุนกับบริษัทควอลิตี้เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) คิดเป็นจำนวนเงิน ประมาณ 19 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (780 ล้านบาท) รวมมูลค่าการลงทุนของกองทุนทั้งสิ้นประมาณ 21.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (885 ล้านบาท) ทั้งนี้ กองทุนยังคงอยู่ระหว่างการจัดหาบริษัทอื่น ๆ เพื่อเข้าร่วมลงทุนเพิ่มเติม


-ระหว่าง 26 - 28 สิงหาคม 2545 ธนาคารอิสลามแห่งบรูไน (Islamic Bank of Brunei Berhad : IBB) ได้ตกลงร่วมลงทุนในธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยตามข้อเสนอของไทย โดยถือหุ้นเป็นสัดส่วนร้อยละ 15
ของจำนวนหุ้นทั้งหมด คิดเป็นเงินทั้งสิ้น 104.53 ล้านบาท นอกจากนี้ กองทุนไทยทวี ทุนถือหุ้นอีกร้อยละ 15 เช่นกัน ขณะนี้ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยได้เปิด ดำเนินการแล้วเมื่อ 12 มิถุนายน 2546
วิกฤตการณ์กองทุน The Brunei Investment Agency
เมื่อ Pengeran Jefri Bolkiah ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานของ The Brunei Investment Agency แล้ว นอกจากการบริหารกองทุนของประเทศบรูไนแล้ว ทาง Pengeran Jefri Bolkiah ได้ดำเนินธุรกิจในกิจการของตนเอง โดย Pengeran Jefri Bolkiah ได้จัดตั้งบริษัทของตนเองขึ้นโดยใช้ชื่อว่า Amedeo Development Corporation เพื่อดำเนินการลงทุนทางธุรกิจในกิจการที่ไม่ใช่น้ำมัน 
ปี 2000 – รัฐบาลบรูไนฟ้องศาลว่า Pengeran Jefri Bolkiah ประธานกองทุน The Brunei Investment Agency มีการยักยอกทรัพย์สินเพื่อนำเงินไปซื้อทรัพย์สินภายในเวลา 10 ปี เป็นจำนวนเงินถึง 15.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
ปี 2001 – มีการประมูลขายทรัพย์สินของ Pengeran Jefri Bolkiah ในประเทศบรูไนมากกว่า 10,000 ชิ้น
ปี 2006 สุลต่านบรูไนให้คำมั่นสัญญาว่าจะยกฟ้องคำกล่าวหาต่อ Pengeran Jefri Bolkiah
ปี 2007 เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน ศาลสูงบรูไนได้ตัดสินให้ Pengeran Jefri Bolkiah อดีตรัฐมนตรีการคลังประเทศบรูไน และประธานกองทุน Brunei Investment Agency คืนทรัพย์สินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ เครื่องประดับ และเงินสด คืนแก่รัฐบาลบรูไน โดย British Privy Council ซึ่งถือเป็นศาลอุธรณ์สุงสุดของบรูไนในฐานะอดีตอาณานิคมของอังกฤษ เป็นผู้ประกาศการตัดสินครั้งนี้ และ British Privy Council ให้ Pengeran Jefri Bolkiah ปฏิบัติตามการเจรจานอกศาลกับรัฐบาลบรไนเมื่อเดือนพฤษภาคม 2543 ทรัพย์สินที่ต้องคืนแก่รัฐบาลบรูไนประกอบด้วย Hotel New York Palace และ Hotel Bel-Air, Los Angeles ในสหรัฐ, 3-5 Place Vendome ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส, St. John’s Lodge ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และบ้านในประเทศสิงคโปร์ ปัจจุบัน Pengeran Jefri Bolkiah ลี้ภัยอาศัยอยู่ในประเทศอังกฤษและฝรั่งเศส


องค์กรที่จัดตั้งขึ้นใหม่นี้มีเจ้าชายเจฟรีโบลเกียะห์ (Pengeran Jefri Bolkiah) ซึ่งเป็นพระอนุชาของสุลต่านฮัสซันนัลโบลเกียะห์ ขณะนั้นเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธานของ The Brunei Investment Agency สำหรับการบริหารการลงทุนของประเทศบรูไนนั้นมีการลงทุนภายในและต่างประเทศต่างประเทศ 


การลงทุนในต่างประเทศของ The Brunei Investment Agency (BIA) นั้นมีการลงทุนสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ยุโรป และกลุ่มประเทศอาเซี่ยน วัตถุประสงค์การจัดตั้งกองทุน-เพื่อบริหารเงินลงทุนของรัฐบาลในประเทศบรูไนและต่างประเทศ-เพื่อบริหารผลกำไร ผลประโยชน์ และสิ่งตอบแทนอื่นๆของรัฐบาลบรูไน


เมื่อช่วงที่ภูมิภาคอเชียประสบกับวิกฤตการเงินในปี 2540 นั้นปรากฏว่าทางบริษัท Amedeo Development Corporation ก็ได้ประสบปัญหาด้วย สำหรับการดำเนินกิจการของบริษัท Amedeo Development Corporation นั้นส่วนหนึ่งเป็นการนำเงินการลงทุนจาก The Brunei Investment Agency มีการนำเงินจากกองทุน The Brunei Investment Agency ถ่ายเทสู่ บริษัท Amedeo Development Corporation ซึ่งการกระทำดังกล่าวในเวลาต่อมาถือว่า Pengeran Jefri Bolkiah ได้ยักยอกทรัพย์สินของประเทศบรูไน 


ซึ่งบางส่วนมีความเห็นว่าในความเป็นจริงแล้ว การประสบความล้มเหลวของ บริษัท Amedeo Development Corporation เกิดจากการบริหารของ Pengeran Jefri Bolkiah มากกว่าที่จะมีสาเหตุมาจากวิกฤตทางเศรษฐกิจในช่วงดังกล่าว ด้วย Pengeran Jefri Bolkiah มีการใช้จ่ายเงินอย่างไม่เป็นระบบ

1 ulasan:

Tanpa Nama berkata...

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆ