Jumaat, 21 September 2007

การเมืองการปกครองประเทศมาเลเซีย


โดย Nik Abdul Rakib Bin Nik Hassan
รัฐธรรมนูญสหพันธรัฐ

รัฐธรรมนูญสหพันธรัฐมีจำนวน 181 มาตรา ในจำนวนทั้งหมด14 บท รัฐธรรมนูญนี้ร่างขึ้นมาใช้ เมื่อ 1 กันยายน 1963 โดยใช้พื้นฐานเดิมของรัฐธรรมนูญมาลายาปี 1957

สาระสำคัญของรัฐธรรมนูญสหพันฐรัฐ คือ

1. การปกครองด้วยระบบกษัตริย์

พระราชาธิบดีเป็นพระมหากษัตริย์ของสหพันธรัฐมาเลเซีย การปฏิบัติงานของพระราชาธิบดีต้องปฏิบัติตามคำชี้แนะของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี ส่วนสุลต่านหรือเจ้าผู้ครองรัฐต้องปฏิบัติตามคำชี้แนะของมุขมนตรีและสภาบริหารรัฐบาลท้องถิ่นแห่งรัฐ(Majlis Mesyuarat Kerajaan Negeri)

2. ศาสนาอิสลาม
ในรัฐธรรมนูญสหพันธรัฐมาตรา 160 ได้บัญญัติถึงความหมายของคำว่า “มลายู “ หมายถึง “ ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม พูดภาษามลายูและยอมรับขนบธรรมเนียมประเพณีของมลายู” ในรัฐธรรมนูญ
สหพันธรัฐมาตรา 3(1) ได้บัญญัติถึงศาสนาอิสลามว่า “ ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติของสหพันธรัฐ”

3. ภาษามลายู
รัฐธรรมนูญสหพันธรัฐมาตรา 152 (1) ได้บัญญัติถึงภาษามลายูว่า “เป็นภาษาแห่งชาติของสหพันธรัฐ”

4. สิทธิพิเศษของคนมลายู
รัฐธรรมนูญสหพันธรัฐมาตรา 153 ได้บัญญัติถึงสิทธิพิเศษของคนมลายูว่าพระราชาธิบดีต้องดำเนินนโยบายในการปกป้องสถานะพิเศษของคนมลายูและ Bumiputra

ในรัฐซาบะห์และซาราวัค ในด้านตำแหน่งหน้าที่การงานของข้าราชการพลเรือน ทุนการศึกษา การช่วยเหลือหรือโอกาสทางการศึกษา การออกใบอนุญาติธุรกิจการค้า

Yang Dipertuan Agong
Yang Dipertuan Agong หรือพระราชาธิบดีมีฐานะเป็นผู้นำของประเทศ พระองค์อยู่ในฐานะสูงสุดโดยมี 3 ส่วน อยู่ใต้พระองค์คือ ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายศาลฎีกา

ตำแหน่ง Yang Dipertuan Agong เกิดขึ้นเมื่อ 31สิงหาคม 1957 ตามรัฐธรรมนูญสหพันธรัฐมาลายาปี 1957 ตำแหน่งนี้คือตำแหน่งเดียวในโลกที่พระราชาธิบดีได้รับเลือกตามวาระ โดยไม่มีการสืบทอดราชบังลังก์จากบิดาสู่บุตรดังเช่นตำแหน่งพระราชาธิบดีของประเทศอื่นๆ

พระราชาธิบดีได้รับเลือกโดยสภาผู้ครองรัฐหรือ Majlis Raja-Raja ซึ่งประกอบด้วยสุลต่านหรือผู้ครองรัฐจำนวน 9 รัฐ การเลือกพระราชาธิบดีนั้นยึดถือผู้ที่ครองตำแหน่งสุลต่านหรือเจ้าผู้ครองรัฐที่อาวุโสที่สุด การเลือกโดยวิธีดังกล่าวเปิดโอกาสให้สุลต่านหรือเจ้าผู้ครองรัฐ ทุกคนมีสิทธิเป็นพระราชาธิบดี ยกเว้นสุลต่านหรือเจ้าผู้ครองรัฐคนนั้นมีอายุไม่ครบเกณฑ์ ไม่ต้องการที่จะเป็นหรือสภาเจ้าผู้ครองรัฐลงมติด้วยวิธีลับว่าบุคคลนั้นไม่เหมาะสมที่จะเป็นพระราชาธิบดี

การเลือกพระราชาธิบดีจะใช้วิธีหมุนเปลี่ยนกันเป็นบุคคลที่เคยเป็นแล้วไม่อาจเป็นอีก พระราชาธิบดีมีวาระ 5 ปี พระราชาธิบดีสามารถลาออกก่อนกำหนด หรือถูกปลดโดยสภาเจ้าผู้ครองรัฐ เมื่อสุลต่านหรือเจ้าผู้ครองรัฐจากรัฐใดได้เป็นพระราชาธิบดี พระองค์จะไม่สามารถทำหน้าที่เป็นสุลต่านหรือเจ้าผู้ครองรัฐนั้นๆจะต้องแต่งตั้งราชทายาทเป็นรักษาการสุลต่านหรือเจ้าผู้ครองรัฐแทน พระราชาธิบดีจะเป็นผู้นำสูงสุดของกองทัพมาเลเซีย และเป็นผู้นำของศาสนาอิสลามของรัฐปีนัง, มะละกา, ซาบะห์, ซาราวัคและดินแดนสหพันธรัฐ ( กัวลาลัมเปอร์- ปุตราจายา- เกาะลาบวน ) รวมทั้งของรัฐที่พระองค์เป็นสุลต่านหรือเจ้าผู้ครองรัฐด้วย พระราชาธิบดีมีอำนาจในการอภัยโทษต่อศาลทหารของดินแดนสหพันธรัฐ( กัวลาลัมเปอร์ และเกาะลาบวน ) ส่วนการอภัยโทษที่เกิดขึ้นในรัฐต่างๆนั้นเป็นอำนาจขอสุลต่านหรือเจ้าผู้ครองรัฐและผู้ว่าการรัฐ (Governor) ของรัฐที่ไม่มีสุลต่านหรือเจ้าผู้ครองรัฐ พระราชาธิบดีองค์แรกของมาเลเซียคือ Tuanku Abdul Rahman ibni Al –Marhum Tuanku Muhammad

รองพระราชาธิบดี (Timbalan Yang dipertuan Agong)
ตามรัฐธรรมนูญของมาเลเซียได้กำหนดให้มีการเลือกสุลต่านหรือเจ้าผู้ครองรัฐเพื่อดำรงตำแหน่งรองพระราชาธิบดีอีกด้วย โดยมีวาระ 5 ปี เมื่อพระราชาธิบดีเดินทางไปต่างประเทศเกิน 15 วัน หรือประชวรให้รองพระราชาธิบดีทำหน้าที่รักษาการพระราชาธิบดี ถ้าผู้เป็นรองพระราชาธิบดีได้รับเลือกในเวลาพร้อมกับพระราชาธิบดี เมื่อพระราชาธิบดีหมดวาระ ทางรองพระราชาธิบดีก็หมดวาระด้วย รองพระราชาธิบดีสามารถลาออกจากตำแหน่งโดเยการเขียนเป็นลายลักษณ์ถึงสภาเจ้าผู้ครองรัฐ

สภาเจ้าผู้ครองรัฐ ( Majlis Raja-Raja)
สภานี้ประกอบด้วยบรรดาสุลต่านและผู้ว่าการรัฐ (Yang Dipertua Negeri ) ของบรรดารัฐที่ไม่มีสุลต่านหรือเจ้าผู้ครองรัฐการจัดตั้งสภานั้นมีขึ้นเพื่อสกัดความสามัคคีระหว่างรัฐต่างๆที่อยู่ในสหพันธรัฐ สภาเจ้าผู้ครองรัฐมีการจัดตั้งขึ้นเมื่อปี 1897 และยั่งยืนจนถึงปัจจุบัน

หน้าที่หลักของสภาเจ้าผู้ครองรัฐคือการคัดเลือก Yang Dipertuan Agong และ Timbalan Yang Dipertuan Agong โดยผู้ว่าการรัฐ Yang Dipertua negeri หรือ Governor ทั้งสี่รัฐ คือ รัฐปีนัง , มะละกา, ซาบะห์ และซาราวัค ไม่มีส่วนในการคัดเลือกตำแหน่งทั้งสองแต่อย่างใด สภาเจ้าผู้ครองรัฐยังมีหน้าที่เกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณีของคนมลายูและกิจการศาสนาอิสลามทั่วสหพันธรัฐ ยกเว้นในรัฐซาบะห์และซาราวัค สภาเจ้าผู้ครองรัฐต้องได้รับการรับรู้เกี่ยวกับการแต่งตั้งผู้พิพากษา สมาชิกคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน( กพ.) สภาเจ้าผู้ครองรัฐต้องมีส่วนร่วมในการเจรจาและยอมรับในการแบ่งเขตดินแดนระหว่างรัฐ การขยายเขตสหพันธรัฐ การแก้ไขรัฐธรรมนูญ สภาเจ้าผู้ครองรัฐต้องมีส่วนร่วมเมื่อมีกรณีพาดผิงถึงสิทธิพิเศษของคนมลายู และคนพื้นเมือง (Anak- Negeri) ของรัฐซาบะห์และซาราวัค

ฝ่ายนิติบัญญัติ
องค์กรฝ่ายนิติบัญญัติในมาเลเซียประกอบด้วย 3 ส่วน คือ1. พระราชาธิบดี และสภา อีก 2 สภาคือ วุฒิสมาชิก (Dewan Negara) และสภาผู้แทนราษฎร (Dewan Rakyat)

วุฒิสภา (Dewan Negara)
วุฒิสภาถือเป็นสภาสูงสุดของระบบการปกครองในประเทศมาเลเซีย วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งวุฒิสภาเพื่อพิจารณาการร่างกฎหมายที่ละเอียดยิ่งขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกของวุฒิสภาประกอบด้วยบุคคลหลากหลายอาชีพไม่เพียงเป็นนักการเมืองเท่านั้น

วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิก 69 คน

และสมาชิกของวุฒิสภาแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือ

1. สมาชิกที่ได้รับเลือกโดยสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ โดยรัฐละจำนวน 2 คน รวมเป็นจำนวน 26 คน

2. สมาชิกที่ได้รับการแต่งตั้งจากพระราชาธิบดีจากกัวลาลัมเปอร์ จำนวน 2 คน และจากเกาะลาบวน จำนวน 1 คน

3. สมาชิกที่ได้รับการแต่งตั้งจากพระราชาธิบดี จากบุคคลทั่วไปจำนวน 40 คน

ในจำนวนสมาชิกเหล่านี้ ส่วนหนึ่งมาจากชนกลุ่มน้อยในประเทศมาเลเซีย เช่น กลุ่มชนพื้นเมือง(Orang Asli) ชุมชนคนไทยพุทธ( 2005 -นางศรีชุม เอี่ยม ) จากรัฐเปอร์ลิสได้รับการเลือกเป็นวุฒิสภาสมาชิกตัวแทนชุมชนคนไทยพุทธ

สมาชิกวุฒิสภาจะเรียกว่า “ Senator “ วุฒิสภาจะมีประธานวุฒิสภาและรองประธานวุฒิสภา ถ้าสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ(ADUN-Ahli Dewan Undangan Negeri) ได้รับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา บุคคลนั้นต้องลาออกจากสภานิติบัญญัติแห่งรัฐก่อนที่จะทำหน้าที่สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกวุฒิสภามีวาระ 3 ปี

สภาผู้แทนราษฎร (Dewan Rakyat)
สภาผู้แทนราษฎรถือว่าเป็นสภาที่สำคัญเพราะสมาชิกสภาได้รับการเลือกตั้งโดยประชาชน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีสมาชิกจำนวน 219 คน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคนหนึ่งเป็นตัวแทนของเขตเลือกตั้งหนึ่ง

และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบางคนเป็นตัวแทน 2 เขต คือบุคคลหนึ่งสามารถสมัครรับเลือกตั้งเป็นทั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(Parliament) และสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ ( Ahli Dewan Undangan negeri) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีวาระ 5 ปี เมื่อเกิดตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรว่างลงจะต้องมีการเลือกตั้งภายใน 60 วัน นับจากวันที่ตำแหน่งว่างลง ส่วนรัฐซาบะห์และซาราวัค ต้องมีการเลือกตั้งภายใน 90 วัน นับจากวันที่ตำแหน่งว่างลง

ประธานสภาผู้แทนราษฎรไม่เพียงจะมาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น แต่ยังสามารถเลือกบุคคลภายนอกที่ไม่ได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร โดยถือว่าบุคคลนั้นเป็นสมาชิกสมทบของสภาผู้แทนราษฎรแต่บุคลผู้นั้นไม่สามารถได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีช่วยและSetiausaha Parlimen (Parliament Secretary to ministry)

( ในมาเลเซียนี้ถือเป็นอันดับ 3 ของกระทรวงนั้นๆ รองจากรัฐมนตรีและรัฐมนตรีช่วย )

พ.ร.บ. งบประมาณที่ผ่านการเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรแล้ว เมื่อไม่ได้รับการเห็นชอบจากวุฒิสภา นับจากวันที่ส่ง พ.ร.บ. ฉบับนั้นไปให้วุฒิสภาพิจารณาเป็นเวลาหนึ่งเดือน สามารถทำ พ.ร.บ.งบประมาณไปใช้ได้เลย

ฝ่ายริหาร
ฝ่ายบริหารหรือรัฐบาลที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร โดยนายกรัฐมนตรีต้องมาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รัฐมนตรีได้รับการแต่งตั้งมาจากสมาชิกของวุฒิสภาหรือสภาผู้แทนราษฎร นายกรัฐมนตรีของมาเลเซียนับตั้งแต่ได้รับเอกราชมีทั้งหมด 5 คน คือ

1.Tunku Abdul rahman Putra Al- Haj ibni Al- Marhum Sultan Abdul Hamid HalimShah

2. Tun Abdul RaZak bin Dato’Hussein

3. Tun Hussein bin Onn

4. Tun Dr. Mahathir bin Mohamad

5. Dato’ Seri Abdullah Ahmad Badawi

Tiada ulasan: