Rabu, 19 September 2007

ศิลปะการแสดงของชนชาวมลายู


โดย Nik Abdul Rakib Bin Nik Hassan

ศิลปะการแสดงของชนชาวมลายูนั้น คนมลายูก่อนรับศาสนาอิสลาม ได้สร้างวัฒนธรรมด้านวัตถุและสิ่งที่เป็นมรดกของคนมลายู (Warisan Melayu) มากมาย รวมทั้งศิลปะการแสดง และศิลปะการป้องกันตัว โดยการใช้ศิลปะการแสดงและศิลปะป้องกันตัว ในการแสดงต่อสาธารณะ ซึ่งเป็นการแสดงถึงความมีอารยธรรมของสังคมมลายู ศิลปะการแสดงที่มีชื่อเสียงและคงอยู่จนถึงปัจจุบันคือ หนังตะลุง ส่วนศิลปะการป้องกันตัวที่คงอยู่คือ ซีละ ( Silat ) ซึ่งทั้งสองศิลปะนี้ได้รับการสืบทอดภายหลังจากที่ได้ทำให้ถูกต้องตามหลักการของศาสนาอิสลาม คงไว้เค้าโครง หรือ ลีลาการแสดง การแสดงเริ่มใด้วยการกล่าวถึงนามของพระเจ้า ขอกล่าวถึงศิลปะการแสดงของชาวมลายูบางส่วน เช่น

หนังตะลุง

หนังตะลุงเป็นการแสดงพื้นบ้านที่ต้องใช้ทั้งแสงและเงา ในอดีตหนังตะลุงนั้น เราสามารถพบได้ในหลายประเทศ เช่น มอรอคโค และ จีน ถึงอย่างไรก็ตาม ศูนย์กลางการแสดงหนังตะลุงจะอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หนังตะลุงมีอยู่ 2 ประเภท คือ ประเภทแรกมีการสร้างตัวหนังขนาดใหญ่ ในประเทศไทย หนังตะลุงที่มีขนาดตัวหนังใหญ่ เราเรียกว่า หนังใหญ่ ส่วนในกัมพูชา เราเรียกว่า หนัง ซเบก ธม ( Nang Sbek Thom ) ซึ่งเป็นที่รับรู้ว่าตัวหนังที่มีขนาดใหญ่นั้น สามารถพบได้เพียงในประเทศไทย และ กัมพูชา เท่านั้น เรื่องที่ใช้แสดงจะเป็นเรื่อง รามเกียรติ์ ตามเวอร์ชั่นของแต่ละประเทศ สำหรับประเภทที่สองนั้น เป็นหนังตะลุงที่มีตัวหนังขนาดเล็ก สร้างตามลักษณะที่ใช้ตามเรื่องที่จะนำไปแสดง หนังประเภทนี้มีในเอเชียตะวันออกฉียงใต้ โดยในประเทศไทยเรียกว่า หนังตะลุง ที่ประเทศกัมพูชา เรียกว่า หนัง ซเบก ธม (Nang Sbek Thom) ส่วนที่ประเทศมาเลเซีย อินโดเนเซีย จังหวัดชายแดนภาคใต้ จะเรียกว่า Wayang Kulit

หนังที่เรียกว่า Wayang Kulit นั้นยังสามารถแบ่งออกได้อีก 4 ชนิด คือ หนัง Wayang Siam, หนัง Wayang  Melayu, หนัง Wayang Gedek และหนัง Wayang Jawa หนังตะลุงทั้ง 4 ชนิดจะมีศิลปะการแสดง ลีลา ท่วงทำนอง เรื่องราวของหนังที่แตกต่างกัน หนังWayang Jawa หรือที่รียกอีกอย่างว่า Wayang Purwa ที่การแสดงทั้งในมาเลเซียและอินโดนีเซีย จะมีรูปตัวหนังที่มีสีค่อนข้างสีสัน จะแสดงเกียวกับเรื่องราวของอินเดีย เช่น เรื่อง “มหาภารตะ” และยังมีการแสดงเรื่องราวของ Hikayat Panji

หนัง Wayang Jawa ยังมีแสดงในรัฐโยโฮร์ และรัฐสลังงอร์ ที่รัฐกลันตัน การแสดง Wayang Jawa ยังคงมีอยู่ แต่การเปลี่ยนแปลงภาษาที่ใช้พูดโดยใช้ภาษามลายูสำเนียงกลันตัน –ปัตตานี ดังนั้นหนังตะลุงนี้จึงรู้จักในนามของหนัง Wayang Kulit Melayu ส่วนหนัง Wayang Siam นั้นจะรู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า หนัง Wayang Kelantan รูปตัวหนังของ Wayang Siam จะมีตัวหนังที่มีเอกลักษณ์ของไทย หนังชนิดนี้จะมีการแสดงที่รัฐกลันตัน จังหวัดชายแดนภาคใต้, รัฐปาหัง, รัฐตรังกานู จะมีการแสดงเรื่อง Hikayat Sereri Rama หรือ Hikayat Maharaja Wana หรือเรื่องราวเวอร์ชั่นอื่นๆเกี่ยวกับเรื่องรามเกียรติ์

สำหรับหนัง Wayang Gedek นั้นเป็นหนังตะลุงชนิดหนึ่งที่มีตัวหนังแกะสลักค่อนข้างละเอียดอ่อน หนัง Wayang Gedek จะใช้เรื่องรามเกียรติ์เป็นตัวหลักของการแสดง ถึงอย่างไรก็ตามเรื่องที่เป็น “วรรณกรรมบอกเล่า” หรือ Sastera Lisan พื้นบ้านรวมทั้งเรื่องราวพื้นบ้านของคนไทยพุทธ ก็มีการใช้แสดงในหนัง Wayang Gedek หนังชนิดนี้จะใช้ภาษามลายูท้องถิ่นเคดะห์ผสมภาษาไทย

ลิเกฮูลู

ลิเกฮูลู เป็นการละเล่นพื้นบ้านแถบจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ได้รับความนิยมมากประเภทหนึ่ง คำว่า “ลิเก” หรือ “ดิเกร์” เป็นศัพท์เปอร์เซีย มีความหมาย ๒ ประการ คือ

๑. หมายถึง เพลงสวดสรรเสริญพระเจ้า ปกติการขับร้องเนื่องในเทศกาลวันกำเนิดพระนาบี ชาวมุสลิมเรียกงานเมาลิด เลยเรียกการสวดดังกล่าวนี้ว่า “ดิเกร์เมาลิด”

๒. หมายถึง กลอนเพลงโต้ตอบนิยมเล่นกันเป็นกลุ่มหรือเป็นคณะ เรียกว่า“ลิเกฮูลู”

ส่วนประกอบของคณะดีเกร์ฮูลูนั้น นอกจากประกอบด้วยเครื่องดนตรีต่างๆแล้ว ยังประกอบด้วยโต๊ะยอรอ (Tok Juara), ตูแกกาโร๊ะ (Tukang Karut) และลูกคณะของดีเกร์ฮูลู

วิธีการละเล่น ก่อนการแสดงลิเกฮูลูนั้น จะมีการร้องปันตนอีนัง ก่อน ตัวอย่างบทปันตนอินัง เช่น

กล่าวกันว่า เจ้าเมืองตานีสมัยอดีตมักเรียกคณะปันตนอินังที่มีชื่อเสียงเข้าไปแสดงในวัง โดยเฉพาะเนื่องในพิธีเข้าสุหนัดลูกชาย ต่อมาคณะปันตนอินังก็เปลี่ยนมาแสดงลิเกฮูลู ชาวบ้านมักเรียกการแสดงประเภทนี้แตกต่างกัน เช่น ที่กลันตันเรียก “ลิเกบารัต” หรือ “บาฆะ” (ลิเกตะวันตก) ส่วนจังหวัดชายแดนภาคใต้ เรียก “ลิเกฮูลู” (ลิเกเหนือ) ผู้เล่นลิเกฮูลูหลายท่านกล่าวถึงการฝึกว่า บางคนข้ามฝั่งไปเรียนที่กลันตัน โดยใช้เวลาประมาณ ๑ เดือน สมัยโบราณไม่มีการฝึกหัดผู้หญิงเล่นลิเกฮูลู แต่สมัยนี้ดาราลิเกฮูลูหลายคนเป็นหญิง เช่น คณะเจ๊ะลีเมาะ ซึ่งมีลูกคู่เป็นหญิงล้วน และบางคนเป็นดาราโทรทัศน์อันเป็นยอดนิยมของมาเลเซีย ปัจจุบันลิเกฮูลูเป็นยอดนิยมของชาวมลายูมุสลิม นอกจากจะแสดงในงานมาแกปูโละ งานสุหนัต งานเมาลิด งานฮารีรายอแล้ว แม้แต่สถานีวิทยุในท้องถิ่นก็จัดรายการเสนอลิเกฮูลูและเป็นที่ชื่นชอบของชาวบ้านทั่วไป

ดรเกร์ฮูลูนั้น แม้จะเกิดในจังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่สถานะทางสังคมนั้น กลับตรงกันข้าม เพราะในประเทศไทยดีเกร์ฮูลู มีสถานะเป็นเพียงศิลปะการแสดงท้องถิ่นเท่านั้น ส่วนในประเทศมาเลเซีย และสิงคโปร์ ศิลปะการแสดงนี้ได้กลายเป็นศิลปะการแสดงประจำชาติของเขา ยิ่งในประเทศสิงคโปร์แล้ว มีสหพันธ์ดีเกร์บารัตแห่งสิงคโปร์เป็นตัวหลัก มีการจัดทำเว็บไซต์ ประชาสัมพันธ์ศิลปะการแสดงนี้ จนเป็นที่รู้จักกันทั่วไป

มะโย่ง
มะโย่ง เป็นการแสดงเพื่อเฉลิมฉลองหรือเพื่อความรื่นเริง กำเนิดของมะโย่งมีผู้สันนิษฐานแตกต่างกันไปหลายกระแส ดังนี้

๑. มะโย่งเป็นการแสดงที่เกิดจากในวังของเมืองปัตตานี เป็นครั้งแรก เมื่อประมาณ ๔๐๐ ปี มาแล้ว จากนั้นแพร่หลายไปทางกลันตัน

๓. มะโย่งเป็นการแสดงที่ได้รับอิทธิพลมาจากชวาตั้งแต่ครั้งโบราณ แล้วเป็นที่นิยม แพร่หลายในหมู่ชาวไทยมุสลิมในบริเวณจังหวัดชายแดนภาคใต้ และได้อธิบายเพิ่มเติมโดยกล่าวถึงที่มาของคำว่ามะโย่ง คำว่า มะ หรือเมาะ แปลว่า แม่ ส่วนโย่ง หรือโยง เป็นพระนามของเจ้าหญิงพระองค์หนึ่งแห่งชวา จึงชวนให้สันนิษฐานต่อไปได้ว่า เหตุที่เรียกละครประเภทนี้ว่า มะโย่ง อาจเป็นตัวพระ จึงเรียกกันโดยใช้คำว่า มะ หรือ เมาะนำหน้าเครื่องดนตรี นิยมใช้กันอยู่ ๓ ชนิด คือ รือบะ จำนวน ๑ - ๒ คน กลองแขก ๓ หน้า จำนวน ๒ ใบ และฆ้องใหญ่เสียงทุ้มแหลมอย่างละใบ มะโย่งบางคณะยังมีเครื่องดนตรีอีก ๒ ชิ้น คือ กอเลาะ(กรับ) จำนวน ๑ คู่ และจือแระ จำนวน ๓ - ๔ อัน (จือแระ ทำด้วยไม้ไผ่ยาวประมาณ ๑๖–๑๘ นิ้วใช้ตี) ผู้แสดง มะโย่งคณะหนึ่ง ๆ มีคนประมาณ ๒๐ - ๓๐ คน เป็นลูกคู่เล่นดนตรี ๕ - ๗ คน นอกนั้นเป็นผู้แสดงและเป็นผู้ช่วยผู้แสดงบ้าง

ผู้แสดงหรือตัวละครสำคัญมี ๔ ตัว คือ

๑. ปะโย่ง หรือเปาะโย่ง แสดงเป็นพระเอก มีฐานะเป็นกษัตริย์หรือเจ้านาย ตัวปะโย่งจะใช้ผุ้หญิงร่างแบบบางหน้าตาสะสวย มีเสน่ห์ ขับกล่อมเก่ง น้ำเสียงดี เป็นผู้แสดง

๒.มะโย่งหรือเมาะโย่ง แสดงเป็นนางเอก มีฐานะเป็นเจ้าหญิงหรือสาวชาวบ้านธรรมดาตามแต่เนื้อเรื่องที่แสดง ใช้ผู้หญิงร่างแบบบาง หน้าตาดีเป็นผู้แสดง

๓. ปือรันมูดอ แสดงเป็นตัวตลกตัวที่ ๑ มีฐานะเสนาคนสนิทหรือคนใช้ใกล้ชิดของปะโย่งใช้ผู้ชายหน้าตาท่าทางน่าขบขันชวนหัว เป็นผู้แสดง ปือรันมูดอจะพูดจาตลกคะนอง สองแง่สองมุม ฉลาดทันคน กล้าหาญ แต่บางครั้งโงทึบและขลาดกลัวตาขาว

๔. ปือรันดูวอ แสดงเป็นตัวตลกตัวที่ ๒ มีฐานะเป็นเสนาคนสนิทตัวรองของเปาะโย่ง เป็นเพื่อสนิทของปือรันมูดอ จะเป็นตัวที่คอยสนับสนุนให้ปือรันมูดอสามารถตลกจี้เส้นได้มากขึ้น

โรงหรือเวทีแสดง ปัจจุบันโรงมะโย่งปลูกเป็นเพิงหมาแหงน ยกพื้นสูงประมาณ ๑ เมตร กว้าง ๕-๖ เมตร ยาว ๘ - ๑๐ เมตร จากท้ายโรงประมาณ ๑ - ๒ เมตร จะกั้นฝา ๓ ด้าน คือ ด้านท้ายกับด้านข้างทั้งสอง ด้านหน้าใช้ฉากปิดกั้นให้มีช่องออกหน้าโรงได้ เนื้อที่ด้านท้ายโรงใช้เป็นที่แต่งกายเก็บของและพักผ่อนนอนหลับ ด้านหน้าโรงเป็นโล่งทั้ง ๓ ด้าน จากพื้นถึงหลังคาด้านหน้าสูงประมาณ ๓.๕ เมตร ชายหลังด้านหน้านี้จะมีระบายป้ายชื่อคณะอย่างโรงลิเกหรือโนรา ส่วนใต้ถุนโรงใช้เป็นที่พักหลับนอนไปด้วย

โอกาสที่แสดง มะโย่งจะแสดงในงานเฉลิมฉลองงานเทศกาลหรืองานรื่นเริงอื่น ๆ ตามที่เจ้างานรับไปแสดง ปกติแสดงในเวลากลางคืนโดยเริ่มแสดงราว ๑๙ นาฬิกา เลิกเวลาประมาณ ๑ นาฬิกา

Tiada ulasan: